พลิ้วหลบหมายเรียก:ในตอนแรกมาร์ค-เทือกบอกว่าจะไม่ไปพบตำรวจในวันที่2ธันวาคม อ้างไม่ได้รับหมายเรียก ต่อมานายศิริโชค โสภา วอลล์เปเปอร์ของอภิสิทธิ์ชี้แจงแทนนายผ่านเฟซบุ๊คว่า มาร์ค เลื่อนชี้แจงนครบาลคดีเสื้อแดงเป็นกลางเดือนนี้ อ้างเพิ่งได้รับหนังสือเมื่อคืน
โดยระบุว่า นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เผยว่า นายอภิสิทธิ์ เพิ่งได้รับหนังสือจากตำรวจนครบา เมื่อคืนนี้ (1 ธ.ค.54) เนื่องจากมีเรื่องของเอกสารที่ต้องเตรียมประกอบการให้ปากคำ ประกอบกับในวันนี้นายอภิสิทธิ์มีภารกิจที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในการลงพื้นที่ทำ กิจกรรมฟื้นฟูหลังน้ำท่วมที่จังหวัดสุโขทัยไว้ก่อนแล้ว จึงทำหนังสือตอบกลับไปว่า ขอเลื่อนการชี้แจงออกไปเป็นช่วงกลางเดือนธันวาคม ซึ่งคงเป็นช่วงใกล้กับที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ จะไปชี้แจงในวันที่ 15 ธันวาคม โดยให้ทางเจ้าหน้าที่ตอบกลับมาว่าจะสะดวกในวันไหน
ส่วนนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังไม่เห็นรายละเอียดของหนังสือจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล จึงยังไม่ทราบว่าจะต้องเดินทางไปให้ปากคำพร้อมนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ในฐานะอดีตรองนายกรัฐมนตรีหรือไม่
ขณะที่พ.ต.อ.สืบศักดิ์ พันธุ์สุระ รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 6 กล่าวว่า จะต้องขอความร่วมมือให้ทั้งสองเข้าให้ปากคำก่อนสรุปสำนวนทั้งหมด ในวันที่ 17 ธ.ค.นี้ แน่นอน
โดย Pegasus
มีบทความจากอาจารย์คณะนิติศาสตร์ธรรมศาสตร์ได้แก่คุณ ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงในไทยอีนิวส์โดยลิงค์มาจากเว็บไซต์นิติราษฎร์
ในประเด็นที่สอง ซึ่งกล่าวถึงการไม่มีการพิจารณาคดีย้อนหลัง (retroactivity) หมายถึงศาลอาญาระหว่างประเทศจะพิจารณาคดีก็ต่อเมื่อมีเขตอำนาจศาลก่อนแล้ว จากนั้นมีอาชญากรรมนั้นเกิดขึ้น และเขตอำนาจศาลจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการให้สัตยาบันหรือประกาศยอมรับศาล อาญาระหว่างประเทศเป็นการชั่วคราวก็ได้ รายละเอียดโปรดติดตามอ่านบทความนั้นได้(อ่าน:ประเทศไทยกับศาลอาญาระหว่างประเทศ)
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ประเทศไทยไม่ได้ให้สัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศด้วยคำพูดที่ว่า เป็นเรื่องละเอียดอ่อน
คำว่า “ละเอียดอ่อน” ในที่นี้หมายถึงความเกรงกลัวว่า ประมุขของประเทศได้แก่ (เซ็นเซอร์) หรือ (เซ็นเซอร์)แล้วแต่กรณีจะต้องขึ้นศาลในฐานะ(เซ็นเซอร์)ของประเทศ หากได้กระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
และในบทบัญญัติของธรรมนูญกรุงโรมระบุไว้ว่า ผู้กระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติไม่ว่าจะมีฐานะใดมาก่อนก็ตาม จะได้รับการปฏิบัติเฉกเช่นคนสามัญ จึงทำให้มีการผัดผ่อนเรื่อยมา
กรณีเช่นนี้ผู้เขียนเห็นว่า ไม่มีความเกี่ยวข้องอันใด เพราะ(เซ็นเซอร์)ของประเทศ กรณีของไทยซึ่งอยู่ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น องค์พระประมุขจะไม่ทรงยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ไม่ต้องทรงรักษาพระราชอำนาจทางการปกครองใดๆเหมือนเช่นในสมัยราชาธิปไตยอัน โหดร้าย ทารุณ และตามอำเภอพระทัยเหมือนในยุโรป อินเดียและจีนไม่
หากแต่เป็นเรื่องของหัวหน้ารัฐบาล ดังนั้นโอกาสที่(เซ็นเซอร์)ของไทยจะต้องขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศนั้นคงไม่ มี การรีบรับศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามามีอำนาจศาลนั้น กลับจะเป็นผลดีต่อระบบศาลไทยให้เกิดความยุติธรรมยิ่งขึ้นด้วยซ้ำไป เพราะจะได้เห็นหลักการทำงานอย่างสากล และความมีมาตรฐานนั้นมีลักษณะอย่างไรอย่างใกล้ชิด
สำหรับบทความนั้นได้กล่าวอีกว่าถ้ามีการแก้ไขกฎหมายให้อนุวัตรตามธรรมนูญ กรุงโรมทำให้ต้องนำเข้าสภานั้น ผู้เขียนไม่เห็นด้วย เนื่องจากมาตรา 190 เขียนไว้ชัดว่า เป็นเรื่องเงื่อนไขก่อนทำสัญญากับต่างประเทศ ดังปรากฏในวรรคหนึ่งและวรรคสองของมาตรานี้ ซึ่งจะเป็นกรณีก่อนมีการลงนามในสัญญา
และจากนั้นในมาตราเดียวกันวรรคสามขึ้นต้นว่า “เมื่อลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรคสองแล้ว” ซึ่งประเทศไทยก็ได้ลงนามแล้วเป็นประเทศแรกๆด้วย จึงหมายถึงขั้นตอนในขณะนี้อยู่ในการบังคับของวรรคสามตามมาตรานี้
ที่บอกให้รัฐบาลต้องทำให้ประชาชนเข้าถึงรายละเอียดของสัญญานั้น และหากมีผลกระทบให้จัดการเยียวยาแล้ว คณะรัฐมนตรีจึงจะสามารถแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันได้
กรณีในต่างประเทศก็มักมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ แถลง สำหรับกรณีประเทศไทยก็เพียงเผยแพร่ธรรมนูญกรุงโรมเป็นภาษาไทย แล้วคณะรัฐมนตรีก็มีมติมอบหมายให้ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้แถลง
ซึ่งกลายเป็นคำถามตัวโตๆ อยู่ในปัจจุบันนี้ว่าการกระทำง่ายดายเช่นนี้ทำไมรัฐบาลไม่ทำต่างหาก ที่ควรตั้งข้อสงสัย
ในกรณีกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง ถ้ายังไม่เป็นเขตอำนาจศาล กรณีนี้ได้ข้อยุติไปแล้วว่าถูกต้อง
และที่ว่าถูกต้องคือสามารถดำเนินคดีได้ คำถามอาจมีว่า ถ้าไม่ใช่เขตอำนาจศาลแล้ว ทำไมจะดำเนินคดีได้ กฎหมายไม่มีผลย้อนหลังไม่ใช่หรือ
คำตอบคือใช่กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง แต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นบุคคลสัญชาติอังกฤษซึ่งได้เป็นภาคีกับธรรมนูญกรุงโรมแล้ว จึงมีเขตอำนาจศาลครอบคลุมคนสัญชาติอังกฤษเช่นนายอภิสิทธิ์ฯ
และเมื่อมีการสอบสวนคดี ก็สามารถที่จะเชื่อมโยงกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดได้ด้วย ดังเช่นกรณีถ้าคนจีน หรือคนอเมริกันไปทำผิดในประเทศที่เป็นเขตอำนาจศาล ก็เป็นจำเลยได้ ทั้งๆที่ประเทศของตนเองไม่ได้เป็นภาคี
ประเด็นนี้ก็กลับกันแม้ว่าจะเป็นการกระทำในอีกประเทศหนึ่ง แต่ด้วยตนเองเป็นคนในบังคับอังกฤษจึงอยู่ในเขตอำนาจศาลได้
ปัญหาคือประเทศไทยเองโดยรัฐบาลนี้ ไม่ยอมดำเนินการเผยแพร่ธรรมนูญกรุงโรมและแถลงรับเขตอำนาจศาลเพื่อให้เกิดการ เชื่อมโยงกลับไปในกรณีเกิดการกระทำอาชญากรรมได้ เมื่อประเทศไทยไม่ทำอะไรการขับเคลื่อนก็ไม่เกิดขึ้น
นี่คือคำถามตัวโตๆ ที่ต้องถามรัฐบาลนี้มากกว่า
การแถลงให้มีเขตอำนาจศาลเมื่อไม่เป็นการยากอะไรดังกล่าวแล้ว และไม่ต้องนำเข้าสภาด้วยจะเกิดผลดีอย่างไร
ประการแรก แน่นอนคือการนำคนสั่งการมาลงโทษและจะเชื่อมโยงไปยังบุคคลอื่นที่ลงมือได้ด้วย
แต่นั่นยังไม่สำคัญเท่ากับมีบุคคลภายนอกเข้ามากำกับและตรวจสอบระบบศาลไทย ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่าไม่ได้มีที่มาจากประชาชน อันนี้เป็นความจริงตามรัฐธรรมนูญ ขัดต่อระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่ง
ในต่างประเทศนั้นประชาชนจะเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนผู้พิพากษาเสมอ ไม่มากก็น้อย เช่นกรณีญี่ปุ่นรัฐบาลซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาระดับ สูง และประชาชนเป็นผู้ลงคะแนนไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ มีผลให้ปลดจากการทำหน้าที่ได้
ในยุโรปใช้การจัดสัดส่วนจากรัฐสภาเข้ามามีส่วนร่วมในการแต่งตั้งมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ประเทศไป
แต่สรุปได้ว่า ระบบตุลาการที่เป็นอำนาจอธิปไตยที่สามของทุกประเทศที่เป็นประชาธิปไตยต้องขึ้นอยู่กับประชาชน
ต่างจากประเทศไทยซึ่งก็รู้ๆกันอยู่ว่าไม่เหมือนชาวบ้านเขา ดังนั้นความเห็นอก เห็นใจ ความเข้าใจประชาชนจึงน้อยอย่างยิ่ง ทั้งมีวิธีการตัดสินคดีที่แปลกประหลาด ขัดต่อความเห็นของนักวิชาการด้านกฎหมายในต่างประเทศมากมาย
ตั้งแต่การเปิดพจนานุกรม การตัดสินเรื่องคุณจตุพรฯโดยไม่ตรงกับข้อกฎหมายในรัฐธรรมนูญ อย่างแปลกประหลาด มหัศจรรย์
แต่ก็พอรู้ได้ว่าเกิดจากการไม่เป็นประชาธิปไตยนั่นเอง
หากรัฐบาลตั้งใจที่จะให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์เป็นประมุขอย่างแท้จริงตรงตามมาตรฐานสากลแล้ว การแถลงให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรมเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนอันดับแรกๆของ รัฐบาลนี้
ไม่ใช่การออกทีวีหรือการโชว์ตัวแต่ประการใด
***********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:
-ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช:ประเทศไทยกับศาลอาญาระหว่างประเทศ
-เอาจริงซะที!เพื่อไทยยื่นฟ้องICCฟันฆาตกร91ศพ
-"สุนัย"กลับลำไม่ส่ง91ศพร้องศาลระหว่างประเทศ
-Big Questions for this government (2): When will you bring those responsible for ordering the killing to justice? What is the difficulty in acceding to International Criminal Court (ICC)?