นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีคิวขึ้นเบิกความวันจันทร์นี้ ในการไต่ สวนพยานนัดสุดท้าย
จากนั้นศาลรัฐธรรมนูญต้องใช้เวลาพิจารณาและเขียนคำวินิจฉัยประมาณ 1 เดือน กว่าจะรู้ผลคงเป็นช่วงกลางเดือนถึงปลายเดือน พ.ย.
เป็นที่จับตาของทุกฝ่ายเนื่องจากผลของคดีนี้จะมีผลต่อโฉมหน้าการ เมืองไทยอย่างใหญ่หลวง
ถ้า ศาลตัดสินให้ยุบพรรคและตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค เบาะๆ ก็ต้องเปลี่ยนตัวนายกฯจากนายอภิสิทธิ์ ไปเป็นคนอื่นในพรรคประชาธิปัตย์ แต่เป็นใครระหว่าง 'ชวน-กรณ์-สุเทพ' ต้องไปว่ากันเมื่อถึงเวลา
หรือถ้ากระทบรุนแรงขึ้นมาอีกหน่อยคือเกิดการ'เปลี่ยนขั้ว'การ เมืองกันอีกตลบ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าสุดท้ายอำนาจจะตกอยู่ในมือใคร
และทางเลือกที่สาม คือนายกฯ ชิงตัดตอนปัญหาด้วยการยุบสภาเลือกตั้งใหม่
ทั้งสามทางเลือกอยู่บนเงื่อนไขว่า พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบและกรรม การบริหารถูกตัดสิทธิ์เท่านั้น
เพราะ หากคดี'พลิกล็อก'อย่างที่ฝ่ายค้านระบุว่ามีคนจำนวนหนึ่งกำลังคิดหาทางช่วย เหลือประชาธิปัตย์ให้พ้นผิด ความวุ่นวายที่ตามมาก็จะเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง
อย่างไรก็ตามไม่เพียงคดียุบพรรคที่ยังไม่รู้ลูกผีลูกคน
สถานการณ์อื่นโดยรอบรัฐบาลทั้งเรื่องทุจริตภายในพรรคร่วม ปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่องจนอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพใหญ่
ยังเป็นปัจจัยหนุนเสริมความเชื่อที่ว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์ อาจอยู่ไม่ครบเทอมปลายปีหน้าอย่างที่ตั้งใจ
ตรงนี้เองทำให้บรรยากาศพรรคเพื่อไทยที่ซบเซามานาน กระปรี้กระเปร่าขึ้นมาทันตา โดยเฉพาะหลังการวิดีโอลิงก์ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เจ้าของพรรคตัวจริงเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
นอกจากประกาศให้การเลือกตั้งครั้งหน้าเป็นสงครามครั้งสุดท้าย
พ.ต.ท.ทักษิณยังจะนำทัพเพื่อไทยเข้าสู่สมรภูมิด้วยตัวเอง เป้าหมายคือต้องชนะเลือกตั้งให้ได้ด้วยเสียงเกินครึ่ง
จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวเพื่อออกกฎหมายนิรโทษกรรม และอภัยโทษให้กับทุกฝ่าย เดินหน้าสู่การ ปรองดองทั้งประเทศ
ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการเดินทางกลับบ้านเกิด
พ.ต.ท.ทักษิณ ยังทำหน้าที่คิดค้นนโยบายหาเสียงด้วยตัวเอง อย่างที่ปล่อยออกมาเรียกน้ำย่อยแล้ว 3 เรื่อง
1.ค่า แรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท 2.คนที่จบปริญ ญาตรีมีเงินเดือนเริ่มต้นที่ 15,000 บาท 3.รับจำนำราคาข้าวที่ 15,000 บาทต่อเกวียน โดยจะนำราคาข้าวไปผูกติดกับราคาน้ำมัน
ยังเป็นแค่นโยบายลอยๆ ที่ขาดรายละเอียดให้เห็นว่าสามารถทำได้จริง
แต่ อย่าลืมว่าพ.ต.ท.ทักษิณ นั้นได้ชื่อเป็นต้นตำรับ'เจ้าพ่อประชานิยม'ตัวจริงเสียงจริง ทั้งยังมีผลงานสมัยเป็นรัฐบาลเมื่อปี 2544 ถึง 2549 เป็นเครื่องรับประกัน
ส่วนเรื่องท่อน้ำเลี้ยงที่มีปัญหาไหลๆ หยุดๆ
จน กลายเป็นช่องโหว่ให้แกนนำบางคนในพรรคฉวยโอกาสเปิดท่อใหม่ สร้างกลุ่มก้อนของตนเองขึ้นมา กลายเป็นเรื่องหวาดระแวงกันเองในหมู่แกนนำอยู่พักใหญ่
พ.ต.ท.ทักษิณได้พูดชัดเจนให้ลูกพรรคอุ่นใจว่า ใกล้เลือกตั้งพรรคจะทำหน้าที่ดูแลใกล้ชิดเป็นพิเศษ
ใคร กังวลเรื่องที่ตนเองโดนยึดทรัพย์ไปเป็นหมื่นๆ ล้าน ก็ไม่ต้องกังวล เพราะเทียบกับเงินที่นำไปหมุนลงทุนทำธุรกิจในเมืองนอกแล้ว ที่โดนยึดไปแค่เศษสตางค์
สรุปคือไม่ว่านโยบายประชานิยม 3 เรื่องที่ปล่อยออกมา พร้อมกับคำยืนยันเรื่องการเปิดวาล์วท่อน้ำเลี้ยงแบบสุดเกลียว ไม่เพียงลูกพรรคเพื่อไทยที่หูผึ่ง
พรรคฝ่ายตรงข้ามอย่างประชาธิปัตย์หรือแม้แต่ภูมิใจไทยก็ยังหูผึ่งตาม
แต่ด้วยอารมณ์ที่แตกต่างกัน
มีการอ่านเกมว่าการที่พ.ต.ท. ทักษิณ เปลี่ยนแนวเคลื่อนไหวแสดงความพร้อมกลับสู่เกมเลือกตั้ง
ก็เพราะการเคลื่อนไหวผ่านการชุมนุมคนเสื้อแดง ไม่ประสบผลตามต้องการ
เหตุการณ์เดือนพฤษภาฯ คนเสื้อแดงพ่ายแพ้ยับเยิน ทั้งนำมาสู่ความสูญเสียครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ การเมืองไทย
ซึ่งสังคมของคนที่เป็นกลางมองว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีส่วนต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นเช่นกัน
กระนั้น ก็ตามสิ่งที่เห็นได้ขณะนี้ก็คือการกลับสู่กติกาของพ.ต.ท. ทักษิณ สร้างบรรยากาศความ หวาด หวั่นให้กลุ่มอำนาจฝ่ายตรงข้ามไม่น้อย
พ.ต.ท. ทักษิณ นั้นเปิดตัวชัดผ่านการกำหนดนโยบายหาเสียง ทุน รอนในการเลือกตั้ง หรือแม้แต่อาคารสถานที่ทำการพรรค ว่าตน เองคือเจ้าของพรรคตัวจริง
แต่จุดอ่อนของพ.ต.ท.ทักษิณ คือยังมีความหวาดระแวงต่อคนในพรรค ทำให้ไม่กล้าประกาศชัดว่าจะให้ใครเป็น 'นอมินี' ถือธงนำพรรคกลับสู่อำนาจ
ท่าม กลางกระแสความแตกแยกของสมาชิกพรรคซึ่งพยายามผลักดันหัวหน้ากลุ่มตนเองเข้า ประกวด เช่น นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นต้น
เพราะทักษิณ พรรคเพื่อไทยเลยยังติดอยู่กับปัญหาเดิมๆ คือหา'หัว'ไม่ได้
พ.ต.ท. ทักษิณประกาศนำทัพเองก็จริง แต่ในทางปฏิบัติเมื่อถึงเวลาตะลุมบอนกันในสนามเลือกตั้ง แค่การหาเสียงผ่านวิดีโอลิงก์อาจยังไม่พอต่อเป้าหมายในการกวาดส.ส.ให้ได้ เกินครึ่ง
แต่นั่นไม่ใช่เรื่องที่รัฐบาลและกลุ่มอำนาจที่อยู่เบื้องหลังจะวางใจได้
สิ่ง ที่ต้องจำเป็นบทเรียนคือการเลือกตั้งเดือน ธ.ค.2550 ที่พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ในต่างประเทศ แต่ก็แสดงศักยภาพผ่านนอมินีอย่างนายสมัคร สุนทรเวช
จนพรรคพลังประชาชนชนะเลือกตั้ง ได้เป็นแกน นำจัดตั้งรัฐบาล
ผล ที่ตามมาคือ'กลุ่มอำนาจพิเศษ'ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น ต้องลงทุนลงแรงไปไม่น้อยกว่าจะช่วยให้นายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์มีวันนี้ได้
การกลับมาของพ.ต.ท.ทักษิณครั้งนี้
จึงต้องดูว่าจะทำให้ฝ่ายที่คอยอุ้มชูรัฐบาล ต้องออกแรงหนักกว่าเดิมหรือไม่