บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2552

ไอเอ็มเอฟ อีกแล้ว

ที่มา thaifreenews
ice angel ชวนอ่านบทวิพากษ์ของเจ้าของโนเบลเศรษฐศาสตร์ปี 2544


โจเซฟ สติกลิตซ์" เจ้าของโนเบลเศรษฐศาสตร์ปี 2544 วิพากษ์นโยบายการเงินไอเอ็มเอฟช่วยไอซ์แลนด์-ปากีสถาน-ยูเครน จะยิ่งฉุดเศรษฐกิจ 3 ชาติหดตัวจนไม่สามารถหาเงินใช้หนี้คืนได้ ซ้ำรอยแผนช่วยเหลือเอเชียรวมไทยผิดพลาดเมื่อ 12 ปีก่อน สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (ไอไอเอฟ) ซึ่งเป็นสมาคมรวมกลุ่มสถาบันการเงินชั้นนำของโลกให้ข้อมูลผ่านสำนักข่าวเอเอฟพีว่า

ความวุ่นวายจากวิกฤติการเงินโลกปัจจุบัน อาจส่งผลกระทบต่อเอเชียรุนแรงและหนักกว่าผลกระทบที่ได้รับช่วงวิกฤติการเงินปี 2540-2541
ไอไอเอฟย้ำว่าผลจากวิกฤติปัจจุบัน ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาค ได้รับผลกระทบรุนแรงจากความต้องการสินค้าทั่วโลกมลายหายไป และผลจากความตกต่ำของผลผลิตทางอุตสาหกรรมนั้นมีมากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าที่เคยเกิดในช่วงปี 2540-2541
โดยความตกต่ำอย่างรุนแรงเกิดจากองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับอุปสงค์ย่ำแย่ลงและลุกลามเป็นวงกว้าง อุปสงค์ในประเทศและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างประเทศดิ่งลงช่วงนี้ และความตกต่ำที่ขยายวงกว้างเชิงภูมิศาสตร์ทำให้การเติบโตแย่ลง และจีนซึ่งทั่วโลกให้ความสนใจมากที่สุด ยังได้รับผลกระทบจากวิกฤติปัจจุบัน มากกว่าวิกฤติปี 2540-2541
"ผู้ผลิตในเอเชียได้รับผลกระทบหนักกว่า และมากกว่าช่วงที่อุปสงค์ทั่วโลกลดลงในเวลาที่เอเชียจมอยู่กับวิกฤติการเงินปี 2540-2541 แต่ระบบการเงินของแต่ละประเทศในเอเชียช่วงที่ผ่านมา เข้ารูปเข้ารอยดีกว่าที่เคยเป็นมาในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เป็นความแตกต่างจากปี 2540 อย่างมาก หากดูจากสถานะการเงินในต่างประเทศของเอเชียยังค่อนข้างแข็งแกร่ง ทุนสำรองสกุลเงินต่างประเทศมีมากมาย และสถาบันการเงินในประเทศยืดหยุ่นมากขึ้น" ไอไอเอฟระบุในแถลงการณ์ที่กรุงวอชิงตัน
ทั้งนี้ไอไอเอฟ เพิ่มเติมว่า มีเพียงเกาหลีใต้ประเทศเดียวในเอเชีย ที่เผชิญปัญหาตึงเครียดทางการเงินในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่เกาหลีใต้มีทุนสำรองของทางการอยู่มากมายมหาศาล และมีภาระหนี้ระยะสั้นของธนาคารในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น นั่นหมายถึงปัญหาท้าทายบางอย่างรอเกาหลีใต้ให้แก้ไข
ในช่วงท้ายไอไอเอฟยังให้ข้อมูล เป็นการคาดการณ์ว่าความวุ่นวายในตลาดเงินทั่วโลก จะทำให้กระแสเงินทุนหมุนเวียนของเอกชนไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ หายไปมากกว่า 60% ปีนี้ จากระดับสูงสุด 9.29 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2550 และจากเดิม 4.66 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2551 เหลือเพียง 1.65 แสนล้านดอลลาร์ต้นปีนี้
สำหรับตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย กระแสเงินทุนไหลเข้าจะลดลงเหลือ 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีนี้ จากเดิมที่เคยไหลเข้า 9.6 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2551 และ 3.15 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2550 และการปล่อยกู้ของธนาคารในตลาดเกิดใหม่ คาดว่าจะเข้มงวดได้ผลกระทบหนัก จากภาวะกระแสเงินทุนหมุนเวียนเหือดหายไป
"ผลจากคาดการณ์กระแสเงินทุนไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ลดลง ยังส่งผลต่อเนื่องให้คาดการณ์การเติบโตของจีดีพีกลุ่มตลาดเกิดใหม่ลดลง จากระดับสูงสุด 6.9% ในปี 2550 เหลือเพียง 1.1% ปีนี้" ไอไอเอฟสรุปช่วงท้าย ขณะเดียวกันนายโจเซฟ สติกลิตซ์ นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2544 กล่าววิจารณ์กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ผ่านเอเอฟพี ว่า
โปรแกรมการช่วยเหลือของไอเอ็มเอฟ แลกกับเงินกู้ให้ 3 ประเทศที่ได้รับผลกระทบขาดสภาพคล่องเพราะวิกฤติการเงินโลก ประกอบด้วยไอซ์แลนด์ ปากีสถาน และยูเครน จะเป็นการซ้ำรอยความผิดพลาดที่เคยทำไว้ในการช่วยเหลือกลุ่มประเทศเอเชียรวมไทยในช่วงวิกฤติการเงินปี 2540
"ไอเอ็มเอฟกำลังทำผิดพลาดเหมือนอย่างที่เคยทำไว้ช่วงปี 2540 ดอกเบี้ยคิดจากเงินกู้ที่ไอเอ็มเอฟปล่อยให้ 3 ประเทศ ที่ประสบปัญหาวิกฤติการเงินโลกตอนนี้สูงเกินไป และนโยบายการเงินนำไปใช้ช่วยเหลือบรรดาประเทศที่ได้ผลกระทบจากวิกฤติ จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นหดตัว ซึ่งตรงข้ามกับการนำนโยบายการเงินหนุนเศรษฐกิจขยายตัวมาใช้ในอังกฤษหรือฝรั่งเศส"
นายสติกลิตซ์ให้ความเห็น อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลก ยังกล่าวถึงนโยบายการเงินที่ไอเอ็มเอฟวางไว้ให้ไอซ์แลนด์ ปากีสถาน และยูเครนนั้น ภายใต้ภาวะแวดล้อมทำให้เศรษฐกิจหดตัว อาจจะทำให้ฐานะของประเทศแย่ลงอีก และท้ายที่สุดทั้ง 3 ประเทศประสบความยากลำบาก ในการชำระคืนหนี้หรือเงินกู้ที่ยืมมาจากไอเอ็มเอฟ
นายสติกลิตซ์ซึ่งเดินทางไปที่กรุงปารีสของฝรั่งเศส เพื่อประชาสัมพันธ์สารคดีใหม่ของเขาเรื่อง "เดินทางรอบโลกกับโจเซฟ สติกลิตซ์" ยังเน้นเตือนนโยบายของไอเอ็มเอฟที่ใช้กับปากีสถาน อาจเป็นการสนับสนุนนักรบตาลีบันมากขึ้น และชี้ว่าสถาบันการต่างชาติได้ทำร้ายเป็นภัยคุกคามประชาธิปไตย จากการจำกัดบทบาทรัฐบาลด้วยเม็ดเงินที่ปล่อยกู้ให้
เอเอฟพีให้ข้อมูลว่าช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไอเอ็มเอฟจัดสรรเงินกู้ช่วยยูเครนไปแล้ว 1.64 หมื่นล้านดอลลาร์ ปากีสถานได้ 7.6 พันล้านดอลลาร์ และไอซ์แลนด์ได้ 2.1 พันล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยทั้ง 3 ประเทศรับมือผลกระทบ อันเนื่องมาจากวิกฤติเศรษฐกิจลุกลามขยายวงไปทั่วโลก

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker