คอลัมน์ รายงานพิเศษ
กำหนดไต่สวนพยานฝ่ายผู้ถูกร้องนัดสุดท้ายในวันที่ 18 ต.ค.นี้
พยานปากสำคัญคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ซึ่งจัดเตรียมถ้อยคำและเอกสารยื่นต่อศาลรัฐธรรม นูญ มีเนื้อหาโดยสรุป ดังนี้
ใน ช่วงการเลือกตั้งส.ส. เมื่อวันที่ 6 ก.พ.2548 ในฐานะเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับมอบหมายจากพรรคให้ช่วยรณรงค์หาเสียง โดยยืนยันได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยได้รับเงินบริจาค จากบริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)
และข้อกล่าวหาที่ว่าพรรคไม่ได้นำเงินสนับสนุน พรรคการเมืองจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จำนวน 29 ล้านบาท ไปใช้ตามโครงการที่แจ้งไว้ต่อ กกต.ก็ไม่เป็นความจริง
ในรายละเอียด ข้าพเจ้ามาเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงปี 2547 ถึงเดือน ก.พ. 2548 ได้ทราบว่าเมื่อเดือน ส.ค.2547 พรรคได้เสนอแผนงานและโครง การต่อกกต.(นายทะเบียนพรรคการเมือง) เพื่อขอ รับการจัดสรรเงินสนับ สนุนพรรคการเมือง ประ จำปี 2548 จากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการ เมือง
และ เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2547 คณะกรรมการกอง ทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง มีมติในการประชุมครั้งที่ 11/2547 อนุมัติโครงการและแผนงานของพรรคประชาธิปัตย์ ประจำปี 2548 จำนวน 21 โครงการ
งบประมาณจำนวน 68,798,400 บาท
โดย มีโครงการในแผนงานการใช้จ่ายที่จะใช้ในการเลือกตั้ง ประกอบด้วย โครงการแผ่นป้ายโฆษณาประ ชาสัมพันธ์ริมทางหลวงแบบบิลบอร์ด จำนวน 10 ล้านบาท และโครงการจัดทำแผ่นป้ายโฆษณาประชาสัม พันธ์แบบฟิวเจอร์บอร์ด จำนวน 19 ล้านบาท
ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ม.ค.2548 คณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ในสมัยที่นายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นหัวหน้าพรรค ได้พิจารณาแก้ไขโครงการค่าใช้จ่ายบางประการในการเลือกตั้ง
โดย ปรับเปลี่ยนรายละเอียดของโครงการค่าใช้จ่ายในการจัดทำป้ายโฆษณาประชา สัมพันธ์แบบบิลบอร์ด จากเดิมวงเงิน 10 ล้านบาท ปรับลดลงเหลือ 2 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายโครงการในการจัดทำป้ายโฆษณาประชา สัมพันธ์ แบบฟิวเจอร์บอร์ด จากเดิม 19 ล้านบาท ปรับเพิ่มเป็น 27 ล้านบาท
โดยคณะกรรมการกองทุน เพื่อการพัฒนาพรรคการ เมือง มีมติเห็นชอบในการปรับเปลี่ยนโครงการแล้ว โดยพรรคได้ใช้เงินดังกล่าวเพื่อใช้จ่ายตามโครงการที่แจ้งไว้ต่อ กกต.
มี การว่าจ้างบริษัทต่างๆ หลายบริษัท เป็นผู้จัดทำป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ ทั้งแบบบิลบอร์ด และแบบฟิวเจอร์บอร์ด โดยมีการส่งมอบงานและชำระค่าจ้างทั้งหมดแล้ว
และพรรคได้ยื่นบัญชี ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งดังกล่าว กกต.ได้ตรวจสอบโดยตั้งศูนย์ปฏิบัติงานการตรวจสอบค่าใช้จ่ายของพรรคอย่าง ละเอียดถี่ถ้วนแล้ว
ดังนั้น ข้อกล่าวหาจึงไม่เป็นความจริง มีเจตนาบิด เบือนข้อเท็จจริง มุ่งกล่าวหาใส่ร้ายพรรคประชาธิปัตย์ให้ได้รับความเสียหาย
ทั้งนี้ ในปี 2548 พรรคประชาธิปัตย์ มีรายรับทั้งสิ้น 158,183,477.79 บาท มาจาก 4 ส่วน
1.เงินบริจาค จำนวน 38,013,707.50 บาท 2.ได้รับเงินสนับสนุนจากกกต. จำนวน 68,558,340.05 บาท
3.ได้รับจากการจัดกิจกรรมระดมทุน จำนวน 43,478,347.50 บาท
และ 4.ได้รับจากอื่นๆ อีกจำนวน 8,133,082.74 บาท ส่วนรายจ่ายในปีเดียวกัน มีจำนวนทั้งสิ้น 156,809,169.63 บาท
แบ่ง เป็น 1.รายจ่ายโครงการของกกต. จำนวน 29,684,731.44 บาท 2.รายจ่ายในการเลือกตั้ง จำนวน 63,943,881.15 บาท 3.รายจ่ายค่าบริหารสำนักงานใหญ่ จำนวน 49,733,022.35 บาท และ 4.รายจ่ายค่าบริการสาขาพรรค จำนวน 13,447,534.69 บาท
รายจ่ายในช่วง ปี 2548 ระหว่างวันที่ 6 ม.ค.-14 ก.พ. นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ในฐานะหัวหน้าพรรค เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบร่วมกับสมุห์บัญชีเลือกตั้ง และได้ให้ผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบแล้ว เมื่อพรรคทำบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งเสร็จ นายบัญญัติจึงลาออกจากหัวหน้าพรรค
ต่อมาที่ประชุมใหญ่ของพรรคเลือกข้าพเจ้าขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และกกต. เห็นชอบในวันที่ 15 มี.ค.2548 ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงต้องลงนามในเอกสารค่าใช้จ่ายจากการเลือกตั้งทั้งหมด ตามที่หัวหน้าพรรคคนก่อนได้ดำเนินการมา
และก่อนที่จะส่งมอบบัญชีค่า ใช้จ่ายในการเลือกตั้งให้กกต. ผู้ตรวจสอบบัญชีเลือกตั้งได้ตรวจสอบเอกสารดังกล่าวถูกต้องเรียบร้อยแล้ว และได้สรุปค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ในบัญชีงบการเงินประจำปี 2548 ของพรรค ในตอนสิ้นปีปฏิทินอีกด้วย
จากนั้น ที่ประชุมใหญ่ของพรรคได้อนุมัติเห็นชอบกับงบการเงินดังกล่าว โดยข้าพเจ้าในฐานะหัวหน้าพรรคได้ลงนามรับรองความถูกต้องของงบการเงินดัง กล่าว เนื่องจากนายบัญญัติ ได้ลาออกจากหัวหน้าพรรคไปแล้วตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรค การเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 40 เพื่อใช้ยื่นต่อกกต. (นายทะเบียนพรรคการเมือง)
ซึ่ง ต่อมา กกต.ในขณะนั้น ได้ตรวจสอบความถูกต้องและรับรองความถูกต้อง โดยไม่มีข้อโต้แย้งแต่อย่างใด ดังนั้น จึงยืนยันได้ว่าการทำบัญชีรายรับรายจ่ายประจำปี 2548 ของพรรคประชาธิปัตย์เป็นไปอย่างถูกต้อง ตรงกับความจริงทุกประการ และที่ข้าพเจ้าลงลายมือชื่อรับรองรายงานงบการเงินของพรรคประชาธิปัตย์จึงชอบ ด้วย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว
ส่วนข้อเท็จจริงที่พยานผู้ ร้อง ซึ่งได้แก่ นายคณาปติ หรือประจวบ สังข์ขาว ส.ต.อ.ทชภณ พรหมจันทร์ และ พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ร่วมกันกล่าวหาว่า
ในช่วงก่อนการเลือก ตั้งวันที่ 6 ก.พ.2548 นายประจวบ ได้นำเงินไปให้พรรคประชาธิปัตย์หลายครั้ง และเกือบทุกครั้งที่นำเงินไปให้ ได้เจอผู้ใหญ่ในพรรคหลายคน ได้แก่ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายนิพนธ์ บุญญามณี นายวิทยา แก้วภรา ดัย นายเทพไท เสนพงศ์ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ นั่งอยู่ด้วย
และ คำให้การของนายประจวบ ที่ให้การยืนยันต่อพนักงานสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ และคำให้การของ พ.ต.อ.สุชาติ ที่ให้การต่อศาลว่า เมื่อนายประจวบ ถูกเจ้าพนักงานตำรวจสอบสวนเกี่ยวกับเรื่องใบกำกับภาษีปลอม นายประจวบได้ร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ในพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้แก่ นายบัญญัติ และข้าพเจ้า โดยได้โทรศัพท์ไปหาตำรวจให้ช่วยเหลือนายประจวบนั้น
ล้วนเป็นความเท็จโดยสิ้นเชิง
ข้าพเจ้า ไม่เคยเห็นและไม่เคยรับทราบมาก่อนเลยว่านายประจวบ นำเงินไปให้พรรคประชาธิปัตย์ หรือกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ณ ที่ทำการพรรค หรือที่ใดๆ ทั้งสิ้น และพรรคประชาธิปัตย์ หรือกรรมการบริหารพรรครวมทั้งข้าพเจ้า ก็ไม่เคยช่วยเหลือนายประจวบ ดังที่นายประจวบกล่าวอ้าง
ข้าพเจ้าเชื่อว่านายประจวบ ให้การภายใต้การชี้นำของพนักงานสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้สมคบร่วมมือกับแกนนำพรรคฝ่ายค้านบางคน โดยวางแผนเป็นกระบวนการเพื่อทำลายล้างพรรคประชาธิปัตย์ในทางการเมือง
ด้วย การเสี้ยมสอน ยุยง ให้นายประจวบ กล่าวเท็จให้ร้ายพรรคประชาธิปัตย์ และให้ผลประโยชน์แก่นายประจวบ เป็นเงินจำนวนมหาศาลเป็นข้อแลกเปลี่ยน
ซึ่ง ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็ปรากฏต่อศาลในชั้นไต่สวนพยานผู้ร้อง ซึ่งจากการไต่สวนพยานที่ผ่านมา นายประจวบ ยอมรับต่อศาลว่าไม่เคยนำเงินมาให้พรรคประชาธิปัตย์ หรือกรรมการบริหารพรรคคนใด
ดังนั้น จึงถือว่าคำให้การของพยานฝ่ายผู้ร้องไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ และยังเป็นความเท็จ ที่ร่วมกันปั้นแต่งเรื่องขึ้นมาเพื่อทำลายพรรคประชาธิ ปัตย์อย่างเห็นได้ชัด