คลิปภาพยนตร์เรื่อง 1911 เล่าถึงเหตุการณ์ "การปฏิวัติชินไฮ่" ในปีค.ศ.1911 ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจสำคัญของคณะก่อการรศ.130
ที่มา ประชาไท
(22 มิ.ย.55)
ณัฐพล ใจจริง อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา บรรยายเรื่องแนวคิดและอุดมการณ์ของขบวนการ
ร.ศ.130 ในการสัมมนาเรื่อง จาก 100 ปี ร.ศ.130 ถึง 80 ปีประชาธิปไตย
จัดโดยภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
ร่วมกับนิตยสารศิลปวัฒนธรรมและสถาบันนโยบายศึกษา ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
มีเนื้อหาดังนี้
000000
บริบทของความคิดทางการเมืองไทย
หลัง การปฏิวัติซิ่นไฮ่ โค่นล้มราชวงศ์จีนได้สำเร็จ ช่วงเดียวกัน ในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นยุคที่อำนาจยังรวมอยู่ที่กษัตริย์ ในขณะทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ไปศึกษาต่อต่างประเทศเป็นเวลายาวนาน ทำให้ห่างเหินราชวงศ์ชั้นสูงที่เคยช่วยเหลือพระราชบิดา พระองค์กลับมาพร้อมกับความระหองระแหงในราชวงศ์ และความไม่ไว้วางใจในกองทัพ ทำให้พระองค์สร้างกองทัพทหารเสือป่าขึ้น ขณะเดียวกันพระองค์ก็มีมหาดเล็กที่ใกล้ชิดคือ เจ้าพระยารามราฆพ และพระยาอนิรุทเทวา ทรงวางใจทั้งสองมากและมีการเลื่อนยศอย่างรวดเร็ว ด้านหนึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจในระบบราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่นายทหาร
หลัง การปฏิวัติซิ่นไฮ่ โค่นล้มราชวงศ์จีนได้สำเร็จ ช่วงเดียวกัน ในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นยุคที่อำนาจยังรวมอยู่ที่กษัตริย์ ในขณะทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ไปศึกษาต่อต่างประเทศเป็นเวลายาวนาน ทำให้ห่างเหินราชวงศ์ชั้นสูงที่เคยช่วยเหลือพระราชบิดา พระองค์กลับมาพร้อมกับความระหองระแหงในราชวงศ์ และความไม่ไว้วางใจในกองทัพ ทำให้พระองค์สร้างกองทัพทหารเสือป่าขึ้น ขณะเดียวกันพระองค์ก็มีมหาดเล็กที่ใกล้ชิดคือ เจ้าพระยารามราฆพ และพระยาอนิรุทเทวา ทรงวางใจทั้งสองมากและมีการเลื่อนยศอย่างรวดเร็ว ด้านหนึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจในระบบราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่นายทหาร
หลังเกิดการปฏิ
วัติซิ่นไฮ่ หนังสือพิมพ์ในสยามมีการรายงานข่าวเรื่องการล้มราชวงศ์ชิง
ทำให้คนเริ่มรับรู้การเปลี่ยนแปลงของโลกและเห็นตัวอย่างการเปลี่ยนไปของมหา
อำนาจที่สำคัญ หนึ่งเดือนหลังการรายงานข่าว
มีคณะนายทหารหัวก้าวหน้ากลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเพื่อการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่าง
จีนบ้าง นั่นคือ ขบวนการเก็กเหม็ง (คณะ ร.ศ.130)
ความคิดทางการเมืองสมัยใหม่เมื่อ
พูดเรื่องความคิดทางการเมืองไทย มักเริ่มต้นที่เทียนวรรณ กุหลาบ
สายประดิษฐ์และข้ามไปที่คณะราษฎร จึงคิดอยากศึกษาความคิดทางการเมืองของ คณะ
ร.ศ.130 ผ่านหลักฐานที่ปรากฏในบันทึกไม่กี่เล่มของพวกเขา
โดยเฉพาะบันทึกของหมอเหล็ง "ว่าด้วยความเสื่อมซามแลความเจริญของประเทศ"
คติสำคัญที่คิด
ว่าเป็นหัวใจสำคัญของ ร.ศ.130 เมื่อพูดเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครองคือ
"เสียชีพ อย่าเสียชาติ" คือเริ่มเห็นว่าชาติสำคัญกว่ากษัตริย์
ซึ่งนี่เป็นแนวคิดทางการเมืองสมัยใหม่
เมื่อพูดเรื่อง
ความคิดทางการเมืองไทย มักเริ่มต้นที่เทียนวรรณ กุหลาบ แต่เขาคิดตรงกันข้าม
โดยมองว่าความคิดทางการเมืองสมัยใหม่น่าจะเริ่มที่คณะ ร.ศ.130
ซึ่งแตกต่างกับความคิดของเทียนวรรณ เพราะเทียนวรรณ เสนอการปฏิรูป
ผสมผสานแนวคิดพุทธศาสนาในแนวคิดทางการเมือง และความร่วมมือระหว่างกษัตริย์
ขุนนางและราษฎร ขณะที่คณะ ร.ศ.130 เสนอการปฏิวัติ
เน้นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไม่ได้ประนีประนอม
แต่เป็นการเปลี่ยนไปสู่สิ่งใหม่ เน้นการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความคิดทางโลกย์
(Secular) ซึ่งเป็นแนวความคิดสมัยใหม่แท้ๆ
ไม่ใช่กึ่งเก่ากึ่งใหม่อย่างที่เทียนวรรณเป็น
ในเอกสารชื่อ
"ว่าด้วยความเสื่อมซามแลความเจริญของประเทศ" ที่เขียนด้วยลายมือของ
ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง) กล่าวถึงรูปแบบการปกครองในโลก 3 แบบคือ
1.แอ็บโซลุ๊ดมอนากี 2.ลิมิตเต็ด มอนากี้ และ 3.รีปัปลิ๊ก
โดยส่วนต้นของเอกสารกล่าวถึงข้อดีของการใช้กฎหมายเป็นแนวทางจำกัดอำนาจของ
รัฐ และสิทธิเสรีภาพ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ไม่อยู่ในแนวคิดของเทียนวรรณ
นอกจากนี้
หมอเหล็งได้ใช้กระดาษสิบกว่าหน้าจาก 21 หน้า
เพื่อวิจารณ์ระบอบแอ็บโซลุ๊ดมอนากีอย่างรุนแรง
โดยชี้ว่าหากปกครองเช่นนี้ต่อไปประเทศจะทรุดโทรม จากนั้น เสนอการปกครอง 2
แบบ คือ ลิมิตเต็ด มอนากี้ ที่กษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย กับรีปัปลิ๊ก
คือยกเลิกไม่ให้กษัตริย์ปกครองอีกต่อไป
แต่มีการประชุมสำหรับปกครองบ้านเมือง โดยเชื่อว่าระบอบแบบนี้ราษฎรชื่นชอบ
และพูดเรื่องความเสมอภาคของคน
คณะ ร.ศ.130
พูดเรื่องสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคอย่างมาก มากกว่าที่เทียนวรรณเสนอ
โดยพวกเขาบอกว่า แอ็บโซลุ๊ดมอนากี มีการแบ่งคนเป็นกลุ่มสูงต่ำ
ถ้าเลือกในสองแบบหลังจะเป็นยุคที่คนเสมอภาคกัน ดังนั้น
จากเอกสารจะเห็นว่าพวกเขามีความคิดสมัยใหม่ ความคิดทางโลกย์
และความศิวิไลซ์ ก้าวไปข้างหน้า
การประชุมเวลา
นั้นมีการถกเถียงกันว่าจะไปทางไหน ระหว่างลิมิตเต็ด มอนากี้ กับรีปัปลิ๊ก
โดยในการประชุมครั้งหนึ่ง พบว่า ความคิดแรกในกลุ่มแกนนำค่อนข้าง radical
โดยหมอเหล็งบอกว่า ถ้าเลือกลิมิตเต็ด มอนากี้
กษัตริย์อาจกลับมาอยู่เหนือกฎหมายได้อีก ขณะที่ หมออัทย์ หะสิตะเวช
ซึ่งเป็นราชแพทย์หมายเลข 1
บอกว่าต้องการให้เปลี่ยนเป็นแบบจีนแม้แต่พลเรือนในหมู่นี้อย่าง อุทัย
เทพหัสดิน ก็บอกว่าให้เปลี่ยนให้หมด ร.ท.ชนินทร์ ณ บางช้าง
พูดไว้ในการประชุมครั้งหนึ่งว่า ทหารควรรักชาติและกตัญญูต่อชาติสูงสุด
เราควรเดินตามแบบอเมริกา ฝรั่งเศสหรือจีน ดังนั้นจะเห็นว่า ความพยายามของ
คณะ ร.ศ.130 ได้นี้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงในจีนและประเทศอื่นๆ
แต่จีนใกล้กว่าจึงเห็นชัดกว่า
มีสายกลางที่
เสนอว่าอย่าเปลี่ยนแปลงเลย
เพราะไม่ต้องการให้ฝ่ายถูกชิงอำนาจเคียดแค้นและทำตัวเป็นศัตรูตลอดกาล แต่
ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ ก็วิจารณ์ว่า ไม่ได้ความเลย อย่างไรก็ตาม
เมื่อองค์กรขยายตัวมากขึ้น ก็มีคนสายกลางเข้ามามากขึ้น
ทำให้เลือกไปที่การเปลี่ยนแปลงระดับกลางคือ ลิมิตเต็ดมอนากี้ ท้ายที่สุด
มีการทรยศในองค์กร ประมาณปลายเดือน ก.พ.-ต้นเดือน มี.ค. สมาชิกถูกจับ
และมีบางคนยิงตัวตาย
นอกจากนี้
การปฏิวัติในจีนยังกระทบต่อความคิดของแกนนำสำคัญของคณะราษฎรด้วย โดยปรีดี
พนมยงค์ เล่าในบันทึกว่าในปี 2455 ขณะอายุ 11
ปีได้เห็นการเปลี่ยนแปลงฉับพลันในจีน
ที่มีการตัดผมเปียที่เป็นเหมือนมรดกตกทอดออก ขณะที่คณะงิ้วในอยุธยา
เปลี่ยนบทเป็นการเล่าเรื่องทหารเก็กเหม็งกับกองทัพกษัตริย์
แทนเรื่องเล่าเก่าๆ และมีการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ในชั้นเรียน
โดยครูที่สอนบอกว่าไม่รู้ว่ารัสเซียหรือสยามใครจะเปลี่ยนก่อน
การต่อสู้ความคิดทางการเมืองผ่านสิ่งพิมพ์ หลังคณะ ร.ศ.130 ถูกจับแม้ ว่า คณะ ร.ศ.130 ถูกจับกุมหมดแล้ว ฝ่ายสนับสนุนซุนยัดเซนได้ตีพิมพ์สุนทรพจน์ของซุนยัดเซน มีการตีพิมพ์หนังสือที่นำเสนอความคิดของซุนยัดเซน ชื่อ ลัทธิตรัยราษฎร์ซามิ่นจูหงีซึ่งพูดเรื่องการเปลี่ยนแปลงในอเมริกา ฝรั่งเศส การปฏิวัติการตัดหัวพระเจ้าหลุยส์ ซึ่งถูกรัฐบาลสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์สั่งเก็บอย่างรวดเร็ว
เวลาเดียวกัน
รัชกาลที่ 6 ได้มีพระราชนิพนธ์ "ฉวยอำนาจ" เพื่อตอบโต้ความคิดคณะ ร.ศ.130
ว่านายทหารฉวยอำนาจไปจากพระองค์ มีงานเขียนของ รัชกาลที่ 6
ที่พูดถึงความวุ่นวายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน
ซึ่งที่สุดต้องกลับมาใช้ราชาธิไตยแบบเดิม พูดถึงบทบาทของยวนซีไข
ผู้นำในจีนที่พยายามกลับไปสู่ระบอบเดิม นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์ไทย
ซึ่งได้รับการอุดหนุนจากพระคลังข้างที่
ได้แปลสิ่งพิมพ์ที่พูดถึงการเปลี่ยนแปลงในช่วงยวนซีไขที่จะกลับระบอบเดิม
ด้วย
ด้านเรื่องราว
เกี่ยวกับ คณะ ร.ศ.130 จนเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
แล้วจึงมีความกล้าพิมพ์เรื่องของพวกเขาว่าพวกเขาคิดอย่างไร อาทิ
ในหนังสืองานศพของ อุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา ในปี 2480 หมอเหล็งรำลึก ในปี
2503 ร.ศ.130 พิมพ์โดยศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา ในปี 2517
ซึ่งถูกรัฐบาลสั่งเก็บในปี 2519
เมื่อพ้นโทษใน
ปี 2467 ความคิดต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองของพวกเขายังไม่เปลี่ยน
สมาชิกคณะ ร.ศ.130 หลายคนเข้าทำงานในหนังสือพิมพ์
เผยแพร่แนวคิดทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง
บางคนคลุกคลีกับการสั่งสอนความคิดแก่นายทหารรุ่นใหม่
ปฏิกิริยาต่อต้านการเปลี่ยนแปลงอย่าง
ไรก็ตาม พบเอกสารว่ามีการตั้งองค์กรลับของราชสำนึกขึ้น คือ จิตรลดาสโมสร
จัดตั้งหลังเกิด ร.ศ.130 เจ้าพระยามหิธร ราชเลขาธิการในสมัยพระปกเกล้าฯ
และมีบทบาทสำคัญในรัชกาลที่ 6 บันทึกว่าได้จัดตั้งจิตรลดาสโมสรขึ้น
โดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมาชิกคัดเลือกโดยพระองค์เอง รับเฉพาะคนที่พระองค์วางใจจริงๆ
โดยองค์กรนี้ด้านหนึ่ง แสดงกับคนทั่วไปว่าชอบเล่นละคร
แต่แท้จริงเพื่อปกป้องพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
และมีการประชุมบ่อยครั้ง บางครั้งประชุมที่สวนสราญรมย์
บางครั้งประชุมที่บางพลี
อีกองค์กรคือ
สมาคมลับแนบดำ จากบันทึกของ เผ่า ศรียานนท์
ระบุว่าในสมัยที่เขาเป็นนายทหารในกรมทหารมหาดเล็ก
มีการตั้งสมาคมลับแนบดำขึ้น โดยมีหัวหน้าองค์กรคือ พันเอกพระยาสุรเดชรณชิต
(ชิต ยุวนะเตมีย์)
มีหน้าที่คอยดูว่านายทหารมหาดเล็กมีความคิดไม่ภักดีหรือไม่
ซึ่งเผ่ามองว่าเป็นองค์กรซ้อนองค์กร
หรือการที่ราชสำนักไม่ไว้วางใจระบบราชการ
บทบาทและความสัมพันธ์ระหว่าง คณะ ร.ศ.130 และคณะราษฎรหลัง
พ้นโทษ ร.ต.เนตร เขียนในบันทึกว่า ได้ทำงานในหนังสือพิมพ์
และได้เจอกับสมาชิกสำคัญของคณะราษฎร
โดยตกลงร่วมมือกันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อไป นั่นคือ มานิต วสุวัต
เจ้าของหนังสือพิมพ์ที่สนับสนุนการปฏิวัติ
ซึ่งต่อมาเป็นหนึ่งในสมาชิกนอกคณะราษฎร
ที่เข้ามาเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรสัดส่วนแต่งตั้ง
ท้ายที่สุด
เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีการรายงานข่าวการปฏิวัติ
นสพ.หัวก้าวหน้าเริ่มวิจารณ์กษัตริย์อย่างกว้างขวาง ความสัมพันธ์ระหว่าง
คณะ ร.ศ.130 และคณะราษฎร
ปรากฏความเชื่อมโยงระหว่างแกนนำสองกลุ่มผ่านหนังสือพิมพ์
หลังการเปลี่ยนแปลง 2475 ในช่วงเช้า ตอนบ่าย พระยาพหลฯ ได้เชิญแกนนำ คณะ
ร.ศ.130 ที่ตามตัวได้ พระยาพหลฯ บอกว่าไม่มีคณะคุณก็ไม่มีคณะผม
และหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง แกนนำ ร.ศ.130
หลายคนลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
นั่นคือพวกเขาเห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองและลงเลือกตั้ง
จากที่ได้กล่าว
ถึงความคิดทางการเมืองของคณะ ร.ศ.130
ระหว่างการเสนอลิมิตเต็ดมอนากี้และรีปัปลิ๊ก ลิมิตเต็ดมอนากี้ หลัง 2475
ก็ได้เห็นแล้วว่า ความคิดด้านหนึ่งจะสอดคล้องกับความคิดของคณะ ร.ศ.130
ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่คณะราษฎรทำ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยังเป็นข้อกังขา
ที่ยังเรียกร้องการตีความจากนักประวัติศาสตร์ นักกฎหมายและนักรัฐศาสตร์คือ
ภาวะหนึ่งที่เป็นข้อฉงนอย่างมากหลัง 2475 คือ การรัฐประหาร 29 พ.ย.2494
โดยรัฐบาลจอมพล ป. ซึ่งเป็นการรัฐประหารตัวเอง ล้มรัฐธรรมนูญ 2492
ในเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับยังเสด็จอยู่ต่างประเทศ
ในหลวงมาถึงพระนครวันที่ 2 ธ.ค.
ในช่วงสาม
วันนี้คือภาวะอะไร รัฐธรรมนูญไม่มี ในหลวงไม่อยู่ ซึ่งภาวะนี้แตกต่างจาก
2475 ที่คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัชกาลที่ 7 ประทับอยู่ในประเทศ
แต่ช่วงสามวันนี้ไม่มีรัฐธรรมนูญ พระเจ้าอยู่หัวยังไม่กลับ เป็นภาวะว่างๆ
ที่ไม่มีอะไรเลย ดังนั้น จึงเรียกร้องว่า ภาวะเช่นนี้เราจะเรียกว่าภาวะอะไร
รัฐธรรมนูญไม่มี พระเจ้าอยู่หัวไม่อยู่
0000000
สำหรับรายการ
สัมมนาเรื่อง “จาก 100 ปี ร.ศ.130 ถึง 80 ปี ประชาธิปไตย” จัดโดย
ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันนโยบายศึกษา โดยการสนับสนุนของมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์
และนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ในวันที่ 21-22 มิ.ย. ณ ห้อง 304
อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ โดยในวันที่ 22 มิ.ย.
จะมีการบรรยายโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์
“คณะราษฎรกับการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมาย” อาจารย์ศรัณยู เทพสงเคราะห์
“คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หลังการปฏิวัติ 2475” นายกันย์ ชโลธรรังสี
“การเผยแพร่ประชาธิปไตยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังปฏิวัติ 2475”
อาจารย์ชาติชาย มุกสง “การปฏิวัติด้านอาหารการกินกับการปฏิวัติ 2475”
รองศาสตราจารย์ ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ “คณะราษฎรกับเศรษฐกิจไทย”
และการอภิปรายเรื่อง “อดีต และอนาคต จาก 80 ปีประชาธิปไตย” โดยนายจาตุรนต์
ฉายแสง, รองศาสตราจารย์ ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์, ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก