Sat, 2012-06-23 17:44
หาก
มองอย่างตรงตามข้อเท็จจริง การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475
คือจุดเริ่มต้นของการต่อสู้เพื่อสถาปนาความหมายและอุดมการณ์ประชาธิปไตย
เป็นการต่อสู้ระหว่างความหมายและอุดมการณ์ประชาธิปไตยแบบคณะราษฎร
กับความหมายและอุดมการณ์ประชาธิปไตยแบบฝ่ายกษัตริย์นิยม
หรือพูดอย่างเจาะจงคือ “ประชาธิปไตยที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ” กับ “ประชาธิปไตยที่กษัตริย์เป็นประมุข”
ความหมายของ ประชาธิปไตยที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ เห็นได้จากใจความสำคัญในประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ว่า
“...จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา
จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลาย ๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว
ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่มีประสงค์ทำการชิงราชสมบัติ
ฉะนั้น จึงขอเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป
แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองของแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้
นอกจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร
คณะราษฎรได้แจ้งความเห็นนี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ
ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจ
ลงมาก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ
และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ
ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งขึ้น
อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา...”
หมาย
ความว่า เจตนารมณ์ของคณะราษฎร คือ ต้องการสถาปนาประชาธิปไตยระบบรัฐสภา
ซึ่งมีอยู่ 2 ทางเลือกคือ เป็นประชาธิปไตยระบบรัฐสภาที่ยังมีสถาบันกษัตริย์
แต่กษัตริย์องค์จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองของแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร และเป็นประชาธิปไตยที่ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขว่า รัชกาลที่ 7 จะยอมรับเป็นกษัตริย์อยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินตามข้อเสนอของคณะราษฎรหรือไม่
และเมื่อรัชกาลที่ 7 ยอมรับ ก็เท่ากับว่าสยามประเทศได้เปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็น “ระบอบประชาธิปไตยที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ” นับแต่บัดนั้น
ความเป็นประชาธิปไตยที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญนั้นมีความหมายสำคัญว่า จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎร เช่นที่เป็นอยู่) และจะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ ตามที่ปรากฏในหลัก 6 ประการ
1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง การศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
2. จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3.ต้อง
บำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ
โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ
ไม่ปล่อยให้ราษฎร
อดอยาก
อดอยาก
4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎร เช่นที่เป็นอยู่)
5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น
6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
และมีการเน้นย้ำในสรุปท้ายประกาศฉบับนี้ว่า “...ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาสพวกเจ้า...” ฉะนั้น ประชาธิปไตยระบบรัฐสภาที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ จึงหมายถึงประชาธิปไตยที่ “ทุกคน” มีสิทธิเสมอภาคกันไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิมากกว่า หรือมีอภิสิทธิ์เหนือราษฎร เท่ากับเปลี่ยนสถานะของราษฎรจาก “ไพร่” เป็น “พลเมือง”ที่สิทธิ เสรีภาพเป็นของตนเองอย่างเท่าเทียมกัน
จะ
เห็นได้ว่า ความหมายของประชาธิปไตยแบบคณะราษฎร
มีลักษณะคล้อยไปทางประชาธิปไตยแบบโลกสมัยใหม่ที่เรียกกันว่า
“เสรีนิยมประชาธิปไตย” หมายถึงเจ้าของอำนาจคือประชาชน
ซึ่งการใช้อำนาจนั้นเป็นไปตามกติกาเสียงข้างมาก แต่ “ขอบเขต” ของการใช้อำนาจต้องเคารพสิทธิ เสรีภาพของปัจเจกบุคคล เช่น จะอ้างเสียงข้างมากบังคับให้ทุกคนนับถือศาสนาเดียวกันไม่ได้ เป็นต้น
อย่าง
ไรก็ตาม แม้การยึดอำนาจจากษัตริย์จะเป็นไปอย่างไม่เกิดการนองเลือด
แต่การสถาปนาความหมายของประชาธิปไตยที่ “ทุกคน” มีสิทธิเสมอภาคกัน
ก็หาเป็นไปอย่างราบรื่นไม่
เนื่องจากมีการช่วงชิงสถานะของผู้สถาปนาประชาธิปไตย
ช่วงชิงการสถาปนาความหมายและอุดมการณ์ประชาธิปไตยจากอีกฝ่ายมาตลอด
ดัง
เช่น
ฝ่ายกษัตริย์นิยมพยายามโปรโมทสถานะผู้สถาปนาระบอบประชาธิปไตยผ่านข้อความใน
พระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 7 ในคราวสละราชสมบัติที่ว่า
“ข้าพเจ้า
มีความเต็มใจที่สละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป
แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด
โดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด
และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร”
ข้อ
ความนี้ถูกตีแผ่ไปอย่างแพร่หลายพร้อมๆ
กับการโจมตีคณะราษฎรว่ายึดอำนาจจากกษัตริย์มาเพื่อแย่งชิงกันเอง
ไม่ได้มีกระบวนการทำให้อำนาจเป็นของราษฎรอย่างแท้จริง
เช่นหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ไม่ให้มีการตั้งพรรคการเมือง
ต้องใช้เวลาถึง 20 ปี จึงให้มีการก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้น เป็นต้น
แต่ข้อเท็จจริงคือ
มีการต่อสู้ระหว่างฝ่ายกษัตริย์นิยมกับคณะราษฎรอยู่ตลอดเวลา
จึงทำให้เกิดการหวาดระแวงกันหากจะให้มีการตั้งพรรคการเมืองขึ้นในเวลานั้น
ลักษณะ
สำคัญอย่างหนึ่งของการต่อสู้คือ
มีความพยายามสถาปนาความหมายของประชาธิปไตยที่ต่างไปจากความหมายที่คณะราษฎร
สถาปนา และชัยนะของการต่อสู้ดังกล่าวก็ปรากฏให้เป็นเป็นรูปธรรมในทศวรรษ
2490 เมื่อฝ่ายกษัตริย์นิยมสามารถขจัด ปรีดี พนมยงค์
มันสมองของคณะราษฎรออกไปจากเวทีการเมืองในรัฐสภาได้
ด้วยข้อกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8
จากนั้นฝ่ายคณะราษฎรก็อ่อนแอลงโดยลำดับ
อำนาจรัฐตกไปอยู่ในมือของฝ่ายกษัตริย์นิยมอย่างเต็มที่ในยุคเผด็จการสฤษดิ์
ธนะรัชต์ การโปรเจ้าจึงเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ยุคนั้นเป็นต้นมา
ทำให้ความหมายของ “ประชาธิปไตยที่กษัตริย์เป็นประมุข” ที่ก่อตัวขึ้นในทศวรรษ 2490 เด่นชัดขึ้น
ประชาธิปไตยที่กษัตริย์เป็นประมุขมีการอ้างอิงสิทธิธรรมจากคติ “อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ”
ที่คิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 หมายถึงว่า
สถานะกษัตริย์ถูกสมมติขึ้นโดยหมู่ชนที่มาประชุมตกลงกันเลือกระบบการปกครอง
ที่ให้ทุกคนมีสิทธิเสมอภาคกัน
ยกเว้นกษัตริย์เพียงผู้เดียวที่มีอภิสิทธิเหนือบุคคลทั้งปวง
ฉะนั้น
ประชาธิปไตยที่กษัตริย์เป็นประมุขจึงหมายถึงทุกคนอยู่ภายใต้หลักสิทธิ
เสรีภาพ อย่างเสมอภาคกัน ยกเว้นกษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขของรัฐ รูปธรรมคือ
ประชาชนสามารถใช้หลักสิทธิ
เสรีภาพเป็นฐานในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบบุคคลสาธารณะต่างๆ ได้
แต่จะใช้หลักการเดียวกันนี้กับกษัตริย์ไม่ได้
คตินี้สร้างความเชื่อในหมูราษฎรว่า “กษัตริย์อยู่เหนือการเมือง”
ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่เป็นการเมืองในความหมายอย่างแคบ
คือการลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อเข้ามามีอำนาจรัฐในการบริหารประเทศ
และการเมืองในความหมายของการแสดงออกอย่างเปิดเผยว่าเข้าข้างหรือสนับสนุน
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ไม่ใช่การเมืองในความหมายอย่างกว้างที่รวมไปถึงการใช้อำนาจและเงินภาษี
ประชาชนในเรื่องประโยชน์สาธารณะต่างๆ
ดังที่กษัตริย์ยังมีโครงการพระราชดำริต่างๆ จำนวนมาก ที่ใช้เงินภาษีประชาชน
มีอำนาจในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของแผ่นดินจำนวนมหาศาลในนามสำนักงาน
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นจอมทัพไทย เลือกคณะองคมนตรีได้เอง
และอำนาจอื่นๆ
รวมทั้งอำนาจบารมีที่ถูกปลูกฝังด้วยรูปแบบการประชาสัมพันธ์ด้านเดียวผ่าน
สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา และสื่อกระแสหลักในฐานะ “ผู้นำจิตวิญญาณ” หรือเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ เป็นต้น แต่ทั้งหมดนั้นไม่ถือว่าเป็น “เรื่องการเมือง”
อาจกล่าวได้ว่าตั้งแต่ 19 กันยา 49 ถึงปัจจุบันเป็นยุคเข้มแข็งสุดขีดของ “ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”
เพราะมีทั้งนักวิชาการ สถาบันวิชาการ องคมนตรี กองทัพ ตุลาการ
สื่อมวลชนสนับสนุนอย่างเข้มแข็ง
แต่ในขณะเดียวกันก็มีความพยายามต่อสู้เพื่อฟื้นความหมายของประชาธิปไตยที่
กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญตามเจตนารมณ์คณะราษฎรจนนำมาสู่เหตุการณ์ 14 ตุลา
16 เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 พฤษภา 35 และ พฤษภา 53
แม้ว่ารายละเอียดของแต่ละเหตุการณ์อาจมีความซับซ้อนต่างกัน
แต่อุดมการณ์ที่ฝ่ายประชาชนยืนยันคือ “ประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชน” ทว่าพวกเขาก็ถูกปราบปรามด้วยข้ออ้างเรื่องการปกป้องสถาบัน “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” มาตลอด
และปีนี้อาจถือได้ว่าเป็นปีแห่งการตอกย้ำ ยืนยันความหมายของ “ประชาธิปไตยที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ”
ตามอุดมการณ์ของคณะราษฎรมากที่สุด มีการจัดกิจกรรมรำลึกทั้งในกรุงเทพฯ
และในบางจังหวัด ขณะเดียวกันข้อความแห่งพระราชหัตเลขาของรัชกาลที่ 7
ก็ถูกนำมาตอกย้ำกันอีก
“ข้าพเจ้า
มีความเต็มใจที่สละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป
แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด
โดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด
และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร”