ที่มา ประชาไท
Thu, 2012-06-28 18:34
Thu, 2012-06-28 18:34
สนนท. จัดเสวนาและเวทีวัฒนธรรมรำลึก 80 ปีการปฏิวัติประชาธิปไตย
ย้ำอำนาจยังไม่เป็นของราษฎร เพราะอำนาจเก่าขัดขวาง
หนุนแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้ย้อนกลับไปดูรัฐธรรมนูญฉบับแรกในวันที่ 27
มิ.ย.2475 ที่เป็นประชาธิปไตยสุด
09.30 น. วานนี้(27 มิ.ย.)
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.)และเครือข่ายองค์กรนักศึกษา
จัดกิจกรรมรำลึก 80
ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครองและมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยในชื่องาน “8 ทศวรรษ
ประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดยังไม่เป็นของราษฎรทั้งหลาย” ที่ อนุสรณ์สถาน 14
ตุลา สี่แยกคอกวัว ราชดำเนิน โดยเริ่มด้วยการเสวนาโดยนิสิตนักศึกษาในหัวข้อ
“ขบวนการนิสิตนักศึกษากับ เจตนารมณ์คณะราษฎร”
และหลังจากนั้นบ่ายโมงได้มีการบรรยาย พิเศษคณะราษฎรในความทรงจำ โดย
พันตรีพุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา ทายาท พระยาพหลพลพยุหเสนา ต่อด้วย
เสวนาวิชาการ หัวข้อ “80 ปี ประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดยังไม่เป็นของ
ราษฎรทั้งหลาย”โดยมี รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์
จุฬาฯ และ ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล จากคณะนิติราษฎร์ เป็นวิทยากร
สุดท้ายในช่วงค่ำมีเวทีวัฒนธรรม ดนตรี กวี ละคร เครือข่ายองค์กรนักศึกษา
โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 80 คน
นายพรชัย ยวนยี เลขาธิการ สนนท. ได้เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมกับผู้สื่อข่าวว่า “เหตุผลแรกคือเราต้องการรำลึกถึงคุณงามความดีในการนำพาประเทศไทยไปสู่ความ เจริญก้าวหน้าของคณะราษฎรโดยการอภิวัฒน์จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดอยู่ที่ประชาชนทั้งหลาย สิ่งเหล่านี้มันบ่งบอกออกมาผ่านตัวรัฐธรรมนูญ ส่วนเหตุผลที่ 2 ต้องการเปิดพื้นที่ให้กับนักศึกษานักกิจกรรมได้มาพูดคุยกันเกี่ยวกับ เหตุการณ์ทางการเมืองว่า 80 ปีผ่านมาแล้วในการปฏิวัติประเทศไทยนี่ เรามีอำนาจสูงสุดหรือยัง ประชาชนมีอำนาจสูงสุด ในมุมมองของนักศึกษาเห็นอย่างไรกับเจตนารมณ์คณะราษฎรเห็นอย่างไรกับ การอภิวัฒน์สยามเมื่อปี 2475”
ความสำคัญของวันที่ 24 และ 27 มิถุนายน 2475 ในมุมมองของนักศึกษา นั้น นายพรชัย ยวนยี ได้สะท้อนออกมาว่า “เป็นการนำพาประเทศไทยไปสู่ความศิวิไลซ์เป็นประชาธิปไตยเหมือนอารยะประเทศ มันได้ทำให้บ้านเมืองได้เจริญรุ่งเรื่องขึ้น แต่จากวงเสวนาของนักศึกษาสรุปสรุปว่า ล้วนมีขบวนการขวางกั้นจากกลุ่มอำนาจเดิม เกิดขึ้นมาโต้การอภิวัฒน์ จนนำมาสู่เหตุการณ์ 2490 เป็นการรวบอำนาจของคณะราษฎรโดยเบ็ดเสร็จ มันทำให้ประชาธิปไตยในบ้านเรายังอ่อนแอเพราะยังมีกลุ่มเหล่านี้อยู่จนถึง ปัจจุบัน ในมุมมองของนักศึกษาที่เห็นส่วนนี้ร่วมกัน”
“และได้โยงถึงการโต้กลับที่ว่าคณะราษฎรชิงสุกก่อนห่ามที่ฝ่ายอำนาจเก่า ล้วนพูดถึงกัน นักศึกษาก็ได้พูดว่าสิ่งเหล่านี้มันไม่จริงเลยเพราะว่าสาเหตุของการปฏิวัติ สยามของคณะราษฎรสาเหตุวัตถุประสงค์แรกคือการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจาก สมบูรณาญาสิทธิ์มาเป็นประชาธิปไตย ส่วนวัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อพัฒนาชาติไทยตามหลัก 6 ประการที่คณะราษฎรกล่าวไว้ ไม่ว่าจะเป็นหลักเอกราช หลักความปลอดภัย เศรษฐกิจ สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและการศึกษา ซึ่งในมุมมองนักศึกษาได้มองเห็นร่วมกันว่า หลักที่เรามองเห็นก็คือหลักที่ 6 คือหลักการศึกษาเราจะพบว่าการศึกษาที่คณะราษฎรได้มอบให้คณะราษฎรก็ได้ทำจริง ไม่ว่าจะเป็นการตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ในต่าง จังหวัด สิ่งเหล่านี้ในปัจจุบันการศึกษากลับถูกครอบงำโดยกลุ่มอำนาจเก่าหมด เพราะการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญมากเขาต้องการควบคุมทางความคิด สิ่งเหล่านี้มันแสดงออกผ่านมาปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นหนังสือเรียก แนวคิดในการศึกษาที่อำนาจอยู่ที่ผู้บริหาร โดยที่อำนาจการตัดสินใจไม่ได้อยู่ที่นักศึกษาเลย
ตัวอย่างที่เห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุดคือการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบเพื่อ ให้อำนาจสูงสุดอยู่ที่ฝ่ายบริหารโดย แม้กระทั้งมหาวิทยาลัยก็ไม่มีประชาธิปไตย และที่พูดกันมากในวงนักศึกษาก็คือสื่อมวลชนว่า สื่อเกิดจากการมีเสรีภาพมีประชาธิปไตย แต่เราจะพบว่าสื่อกลับเป็นตัวขัดขวางประชาธิปไตยเองเสียด้วยซ้ำเพราะว่าใน ส่วนหนึ่งมีการประโคมข่าวด้านเดียวการไม่พูดความจริง แม้กระทั้งเดือนนี้เป็นมิถุนาสื่อก็แทบไม่พูดถึง สิ่งเหล่านี้เป็นการบั่นทอนประชาธิปไตย” นายพรชัย ยวนยี กล่าว
เหตุผลที่จัดงานรำลึกในวันที่ 27 มิถุนายน นั้น เลขาธิการ สนนท. ได้ให้เหตุผลว่า “เรามองเรื่องรัฐธรรมนูญเป็นหลัก และส่วนหนึ่งวันที่ 24 มีหลายกลุ่มจัด ซึ่งวันที่ 27 ประเด็นที่ร้อนแรงในปัจจุบันคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล ของรัฐสภาเอง เราอยากให้คนในสังคมย้อนกลับไปดูว่าการปฏิวัติประเทศ 2475 ได้รัฐธรรมนูญมา ผมคิดว่ารัฐธรรมนูญที่น่าจะเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่งก็คือรัฐ ธรรมนูญวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ของคณะราษฎร แม้จะเป็นการไม่สมยอมของกลุ่มอำนาจเดิมที่ให้คำว่าชั่วคราวเพื่อกลับไปแก้ไข กันใหม่ แต่ผมคิดว่าเป็นฉบับหนึ่งที่เป็นประชาธิปไตยตามอารยะประเทศมากที่สุดก็เลย จัดงานวันนี้ขึ้น
นายพรชัย ยวนยี กล่าวอีกว่า “ตอนนี้ สนนท. ก็ได้จับตาดูการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ว่ากระบวนการแก้ไขของจะเป็นอย่างไร เราจะเห็นบ่อยครั้งว่าต้องการตั้ง สสร. ขึ้นมา มี 99 คน มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นฉบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยขึ้น แต่ส่วนมันคลายๆกับว่าคุณมีเป้าหมายในตัวเองแล้ว การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีเป้าหมายในตัวเองแล้ว โดยที่ยืนอิงกับผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็น ส.ส. ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ ซึ่งการแก้ไขแบบนี้เรามองว่ามันมีข้อเสียคือมันไม่ได้แก้ทั้งฉบับมันไม่ได้ แก้ตัวที่เป็นปัญหาจริงๆ หมวดทั่วไปหมวดพระมหากษัตริย์ก็ไม่แก้ ทุกอย่างมันเป็นปัญหาแต่ไม่ได้แก้กลับแก้กับตัวที่เป็นปัญหากับพวกตัวเอง เท่านั้น เราต้องการให้กลับไปดูรัฐธรรมนูญ 2475 ฉบับชั่วคราวว่ามันสำคัญ มันเป็นพื้นฐานของประชาธิปไตยด้วยซ้ำ การแก้ต้องมาจากทุกคนต้องมาจากการเห็นพ้องของทุกคนมีกระบวนการที่เป็น ประชาธิปไตยและทำให้ทุกคนยอมรับได้ เพราะการยอมรับมันเป็นสิ่งที่สำคัญ”
นอกจากวันที่ 27 มิ.ย.จะเป็นวันครบรอบ 80 ปีการมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกแล้ว ยังเป็นวันครบรอบ 78 ปีของการสถาปนามหาวิยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง นายรักษ์ชาติ วงศ์อธิชาติ รองเลขาธิการ สนนท. และอดีตอุปนายกองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะนักศึกษาธรรมศาสตร์ด้วยมองว่า “เรื่องแรกเลยคือว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่รู้เลยว่าวันนี้เป็นวันสถาปนา มหาวิทยาลัยน้อยคนมากเลย ดูจากใน facebook นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อผมครึ่งหนึ่งก็ไม่มีใครรู้หรือพูดถึงวัน สถาปนามหาวิทยาลัย วันปรีดียังพอรู้บ้าง แต่ว่าวันสถาปนานี่แทบไม่มีใครรู้เลย แล้วก็ไม่มีใครรู้ว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เกิดมาจากอะไร เกิดจากคณะราษฎรที่ตั้งขึ้นมาส่งเสริมประชาธิปไตย ให้ราษฎรได้มีโอกาสได้เรียนรู้ ตอนนั้นก็มีจุฬาฯแล้วก็มีธรรมศาสตร์ขึ้นมา พอนักศึกษามีรู้แล้วอย่าหวังเลยว่าวันที่ 24 มิถุนา จะมีคนรู้ เพราะ 27 มิถุนา ก็คือผลผลิตจากวันที่ 24 มิถุนา”
นอกจากนี้ นายรักษ์ชาติ วงศ์อธิชาติ กล่าวถึง 78 ปีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองว่า “การเปลี่ยนแปลงคนจะไปมุ่งที่การเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยซึ่งผมคิดว่าการ เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้สำคัญเท่าไหร่ เปลี่ยนชื่อไปแต่คุณยังเน้นสิทธิเสรีภาพเท่าเดิมผมก็ยังโอเค 14 ตุลา 6 ตุลา นักศึกษาก็ยังอยู่ ดังนั้นการเปลี่ยนชื่อไม่ได้ลดพลังลงไป ผมว่าสิ่งที่มันลดลงไปคือการศึกษาในปัจจุบันมากกว่าที่มันด้อยลง คุณภาพของการศึกษาเองที่มันด้อยลง จากมหาวิทยาลัยรัฐที่เป็นตลาดวิชาที่เป็นมหาลัยเปิดเหมือนรามคำแหงก็เป็นมหา ลัยปิดค่อยๆคัดคนออกไปเรื่อยๆ มีพิเศษขึ้นมาจ่ายค่าเทอมแพงกว่าได้เรียนดีกว่าอย่างนี้ก็มีเพิ่มขึ้นมา แล้วก็เกือบออกนอกระบบอย่างเต็มตัวแล้ว ตรงส่วนนี้ต่างหากที่มีมันทำให้คุณภาพมหาวิทยาลัยที่อาจจะด้อยลงไปบ้าง แล้วก็หลายๆเรื่องเอง เช่น บุคลากรเอง เรื่อความคิดทางการเมืองหลายๆอย่างเองของในปัจจุบันนี่ มันส่งผลทำให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยหรือตัวมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้ทำตาม เจตนารมณ์ของดั้งเดิม”
“ตอนนี้ผมว่าราษฎรต่างหากที่ดับกระหายมหาวิทยาลัย นักศึกษาที่จ่ายค่าเทอมให้มหาวิทยาลัยคงอยู่ได้โดยที่มหาวิทยาลัยตอบโจทย์ นักศึกษาแค่ไหนนี่ก็ยังน้อยอยู่ และในท่าพระจันทร์เอง นักศึกษาก็พูดกันว่ากลายเป็นพลเมืองชั้น 2 ของมหาวิทยาลัย เพราะที่จอดรถยังไม่มีเลย สิ่งอำนวยความสะดวกของปริญญาตรีก็น้อยมาก ทั้งๆที่ปริญญาตรีในท่าพระจันทร์จ่ายค่าเทอมแพงกว่าด้วยซ้ำ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่พูดกัน หรือว่าหลายๆอย่างเช่นเมื่อปีที่แล้วอธิการออกมติว่าห้ามใช้สถานที่(กรณีคณะ นิติราษฎร์ทำกิจกรรมเสวนาเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือ ม.112) หรือว่าหลายๆอย่างที่ท่านอธิการหรือฝ่ายบริหารทำนี่ก็ไม่ได้ตรงตามเจตนารมณ์ คณะราษฎรตั้งไว้เลย ทั้งนี้ทั้งนั้นผมไม่คิดว่าเรื่องนั้นจะสามารเอามาอ้างได้เท่าไหร่ คือเท่ากับสิ่งที่เป็นหลักสากลที่คนยึดถือมหาวิทยาลัยทุกมหาวิทยาลัยควรจะ เป็นที่ๆให้นักศึกษามีสิทธิเสรีภาพ คือเป็นที่ๆเราสามารถมีเสรีภาพในการแสดงออกในสิ่งที่เราต้องการ สิ่งที่เราจะพูด เราควรจะต้องมีสิทธิเสรีภาพในมหาวิทยาลัยอย่างเต็มที” นายรักษ์ชาติ วงศ์อธิชาติ กล่าวทิ้งทาย
ภาพกิจกรรม :
นายพรชัย ยวนยี เลขาธิการ สนนท. ได้เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมกับผู้สื่อข่าวว่า “เหตุผลแรกคือเราต้องการรำลึกถึงคุณงามความดีในการนำพาประเทศไทยไปสู่ความ เจริญก้าวหน้าของคณะราษฎรโดยการอภิวัฒน์จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดอยู่ที่ประชาชนทั้งหลาย สิ่งเหล่านี้มันบ่งบอกออกมาผ่านตัวรัฐธรรมนูญ ส่วนเหตุผลที่ 2 ต้องการเปิดพื้นที่ให้กับนักศึกษานักกิจกรรมได้มาพูดคุยกันเกี่ยวกับ เหตุการณ์ทางการเมืองว่า 80 ปีผ่านมาแล้วในการปฏิวัติประเทศไทยนี่ เรามีอำนาจสูงสุดหรือยัง ประชาชนมีอำนาจสูงสุด ในมุมมองของนักศึกษาเห็นอย่างไรกับเจตนารมณ์คณะราษฎรเห็นอย่างไรกับ การอภิวัฒน์สยามเมื่อปี 2475”
ความสำคัญของวันที่ 24 และ 27 มิถุนายน 2475 ในมุมมองของนักศึกษา นั้น นายพรชัย ยวนยี ได้สะท้อนออกมาว่า “เป็นการนำพาประเทศไทยไปสู่ความศิวิไลซ์เป็นประชาธิปไตยเหมือนอารยะประเทศ มันได้ทำให้บ้านเมืองได้เจริญรุ่งเรื่องขึ้น แต่จากวงเสวนาของนักศึกษาสรุปสรุปว่า ล้วนมีขบวนการขวางกั้นจากกลุ่มอำนาจเดิม เกิดขึ้นมาโต้การอภิวัฒน์ จนนำมาสู่เหตุการณ์ 2490 เป็นการรวบอำนาจของคณะราษฎรโดยเบ็ดเสร็จ มันทำให้ประชาธิปไตยในบ้านเรายังอ่อนแอเพราะยังมีกลุ่มเหล่านี้อยู่จนถึง ปัจจุบัน ในมุมมองของนักศึกษาที่เห็นส่วนนี้ร่วมกัน”
“และได้โยงถึงการโต้กลับที่ว่าคณะราษฎรชิงสุกก่อนห่ามที่ฝ่ายอำนาจเก่า ล้วนพูดถึงกัน นักศึกษาก็ได้พูดว่าสิ่งเหล่านี้มันไม่จริงเลยเพราะว่าสาเหตุของการปฏิวัติ สยามของคณะราษฎรสาเหตุวัตถุประสงค์แรกคือการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจาก สมบูรณาญาสิทธิ์มาเป็นประชาธิปไตย ส่วนวัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อพัฒนาชาติไทยตามหลัก 6 ประการที่คณะราษฎรกล่าวไว้ ไม่ว่าจะเป็นหลักเอกราช หลักความปลอดภัย เศรษฐกิจ สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและการศึกษา ซึ่งในมุมมองนักศึกษาได้มองเห็นร่วมกันว่า หลักที่เรามองเห็นก็คือหลักที่ 6 คือหลักการศึกษาเราจะพบว่าการศึกษาที่คณะราษฎรได้มอบให้คณะราษฎรก็ได้ทำจริง ไม่ว่าจะเป็นการตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ในต่าง จังหวัด สิ่งเหล่านี้ในปัจจุบันการศึกษากลับถูกครอบงำโดยกลุ่มอำนาจเก่าหมด เพราะการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญมากเขาต้องการควบคุมทางความคิด สิ่งเหล่านี้มันแสดงออกผ่านมาปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นหนังสือเรียก แนวคิดในการศึกษาที่อำนาจอยู่ที่ผู้บริหาร โดยที่อำนาจการตัดสินใจไม่ได้อยู่ที่นักศึกษาเลย
ตัวอย่างที่เห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุดคือการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบเพื่อ ให้อำนาจสูงสุดอยู่ที่ฝ่ายบริหารโดย แม้กระทั้งมหาวิทยาลัยก็ไม่มีประชาธิปไตย และที่พูดกันมากในวงนักศึกษาก็คือสื่อมวลชนว่า สื่อเกิดจากการมีเสรีภาพมีประชาธิปไตย แต่เราจะพบว่าสื่อกลับเป็นตัวขัดขวางประชาธิปไตยเองเสียด้วยซ้ำเพราะว่าใน ส่วนหนึ่งมีการประโคมข่าวด้านเดียวการไม่พูดความจริง แม้กระทั้งเดือนนี้เป็นมิถุนาสื่อก็แทบไม่พูดถึง สิ่งเหล่านี้เป็นการบั่นทอนประชาธิปไตย” นายพรชัย ยวนยี กล่าว
เหตุผลที่จัดงานรำลึกในวันที่ 27 มิถุนายน นั้น เลขาธิการ สนนท. ได้ให้เหตุผลว่า “เรามองเรื่องรัฐธรรมนูญเป็นหลัก และส่วนหนึ่งวันที่ 24 มีหลายกลุ่มจัด ซึ่งวันที่ 27 ประเด็นที่ร้อนแรงในปัจจุบันคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล ของรัฐสภาเอง เราอยากให้คนในสังคมย้อนกลับไปดูว่าการปฏิวัติประเทศ 2475 ได้รัฐธรรมนูญมา ผมคิดว่ารัฐธรรมนูญที่น่าจะเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่งก็คือรัฐ ธรรมนูญวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ของคณะราษฎร แม้จะเป็นการไม่สมยอมของกลุ่มอำนาจเดิมที่ให้คำว่าชั่วคราวเพื่อกลับไปแก้ไข กันใหม่ แต่ผมคิดว่าเป็นฉบับหนึ่งที่เป็นประชาธิปไตยตามอารยะประเทศมากที่สุดก็เลย จัดงานวันนี้ขึ้น
นายพรชัย ยวนยี กล่าวอีกว่า “ตอนนี้ สนนท. ก็ได้จับตาดูการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ว่ากระบวนการแก้ไขของจะเป็นอย่างไร เราจะเห็นบ่อยครั้งว่าต้องการตั้ง สสร. ขึ้นมา มี 99 คน มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นฉบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยขึ้น แต่ส่วนมันคลายๆกับว่าคุณมีเป้าหมายในตัวเองแล้ว การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีเป้าหมายในตัวเองแล้ว โดยที่ยืนอิงกับผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็น ส.ส. ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ ซึ่งการแก้ไขแบบนี้เรามองว่ามันมีข้อเสียคือมันไม่ได้แก้ทั้งฉบับมันไม่ได้ แก้ตัวที่เป็นปัญหาจริงๆ หมวดทั่วไปหมวดพระมหากษัตริย์ก็ไม่แก้ ทุกอย่างมันเป็นปัญหาแต่ไม่ได้แก้กลับแก้กับตัวที่เป็นปัญหากับพวกตัวเอง เท่านั้น เราต้องการให้กลับไปดูรัฐธรรมนูญ 2475 ฉบับชั่วคราวว่ามันสำคัญ มันเป็นพื้นฐานของประชาธิปไตยด้วยซ้ำ การแก้ต้องมาจากทุกคนต้องมาจากการเห็นพ้องของทุกคนมีกระบวนการที่เป็น ประชาธิปไตยและทำให้ทุกคนยอมรับได้ เพราะการยอมรับมันเป็นสิ่งที่สำคัญ”
นอกจากวันที่ 27 มิ.ย.จะเป็นวันครบรอบ 80 ปีการมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกแล้ว ยังเป็นวันครบรอบ 78 ปีของการสถาปนามหาวิยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง นายรักษ์ชาติ วงศ์อธิชาติ รองเลขาธิการ สนนท. และอดีตอุปนายกองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะนักศึกษาธรรมศาสตร์ด้วยมองว่า “เรื่องแรกเลยคือว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่รู้เลยว่าวันนี้เป็นวันสถาปนา มหาวิทยาลัยน้อยคนมากเลย ดูจากใน facebook นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อผมครึ่งหนึ่งก็ไม่มีใครรู้หรือพูดถึงวัน สถาปนามหาวิทยาลัย วันปรีดียังพอรู้บ้าง แต่ว่าวันสถาปนานี่แทบไม่มีใครรู้เลย แล้วก็ไม่มีใครรู้ว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เกิดมาจากอะไร เกิดจากคณะราษฎรที่ตั้งขึ้นมาส่งเสริมประชาธิปไตย ให้ราษฎรได้มีโอกาสได้เรียนรู้ ตอนนั้นก็มีจุฬาฯแล้วก็มีธรรมศาสตร์ขึ้นมา พอนักศึกษามีรู้แล้วอย่าหวังเลยว่าวันที่ 24 มิถุนา จะมีคนรู้ เพราะ 27 มิถุนา ก็คือผลผลิตจากวันที่ 24 มิถุนา”
นอกจากนี้ นายรักษ์ชาติ วงศ์อธิชาติ กล่าวถึง 78 ปีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองว่า “การเปลี่ยนแปลงคนจะไปมุ่งที่การเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยซึ่งผมคิดว่าการ เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้สำคัญเท่าไหร่ เปลี่ยนชื่อไปแต่คุณยังเน้นสิทธิเสรีภาพเท่าเดิมผมก็ยังโอเค 14 ตุลา 6 ตุลา นักศึกษาก็ยังอยู่ ดังนั้นการเปลี่ยนชื่อไม่ได้ลดพลังลงไป ผมว่าสิ่งที่มันลดลงไปคือการศึกษาในปัจจุบันมากกว่าที่มันด้อยลง คุณภาพของการศึกษาเองที่มันด้อยลง จากมหาวิทยาลัยรัฐที่เป็นตลาดวิชาที่เป็นมหาลัยเปิดเหมือนรามคำแหงก็เป็นมหา ลัยปิดค่อยๆคัดคนออกไปเรื่อยๆ มีพิเศษขึ้นมาจ่ายค่าเทอมแพงกว่าได้เรียนดีกว่าอย่างนี้ก็มีเพิ่มขึ้นมา แล้วก็เกือบออกนอกระบบอย่างเต็มตัวแล้ว ตรงส่วนนี้ต่างหากที่มีมันทำให้คุณภาพมหาวิทยาลัยที่อาจจะด้อยลงไปบ้าง แล้วก็หลายๆเรื่องเอง เช่น บุคลากรเอง เรื่อความคิดทางการเมืองหลายๆอย่างเองของในปัจจุบันนี่ มันส่งผลทำให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยหรือตัวมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้ทำตาม เจตนารมณ์ของดั้งเดิม”
“ตอนนี้ผมว่าราษฎรต่างหากที่ดับกระหายมหาวิทยาลัย นักศึกษาที่จ่ายค่าเทอมให้มหาวิทยาลัยคงอยู่ได้โดยที่มหาวิทยาลัยตอบโจทย์ นักศึกษาแค่ไหนนี่ก็ยังน้อยอยู่ และในท่าพระจันทร์เอง นักศึกษาก็พูดกันว่ากลายเป็นพลเมืองชั้น 2 ของมหาวิทยาลัย เพราะที่จอดรถยังไม่มีเลย สิ่งอำนวยความสะดวกของปริญญาตรีก็น้อยมาก ทั้งๆที่ปริญญาตรีในท่าพระจันทร์จ่ายค่าเทอมแพงกว่าด้วยซ้ำ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่พูดกัน หรือว่าหลายๆอย่างเช่นเมื่อปีที่แล้วอธิการออกมติว่าห้ามใช้สถานที่(กรณีคณะ นิติราษฎร์ทำกิจกรรมเสวนาเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือ ม.112) หรือว่าหลายๆอย่างที่ท่านอธิการหรือฝ่ายบริหารทำนี่ก็ไม่ได้ตรงตามเจตนารมณ์ คณะราษฎรตั้งไว้เลย ทั้งนี้ทั้งนั้นผมไม่คิดว่าเรื่องนั้นจะสามารเอามาอ้างได้เท่าไหร่ คือเท่ากับสิ่งที่เป็นหลักสากลที่คนยึดถือมหาวิทยาลัยทุกมหาวิทยาลัยควรจะ เป็นที่ๆให้นักศึกษามีสิทธิเสรีภาพ คือเป็นที่ๆเราสามารถมีเสรีภาพในการแสดงออกในสิ่งที่เราต้องการ สิ่งที่เราจะพูด เราควรจะต้องมีสิทธิเสรีภาพในมหาวิทยาลัยอย่างเต็มที” นายรักษ์ชาติ วงศ์อธิชาติ กล่าวทิ้งทาย
ภาพกิจกรรม :