คอป.เผยแพร่โครงการศึกษารากเหง้าของความขัดแย้งสู่ทางออกเพื่อความ
ปรองดองเพื่อนำไปเป็นส่วนหนึ่งเสนอต่อรัฐบาลในการหาแนวทางสร้างความปรองดอง
ให้เกิดขึ้นในสังคม
คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติหรือ คอป.จัดเสวนาเพื่อเผยแพร่ความรู้ ในรูปแบบของการนำเสนองานวิจัยภายใต้หัวข้อปัญหารากเหง้าของความขัดแย้งและ แนวทางสู่ความปรองดอง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปกป้อง ศรีสนิท อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่ารากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งนั่นคือกระบวนการยุติธรรมกับสถานการณ์ ทางการเมืองซึ่งก่อตัวไปสู่ความรุนแรงที่ผ่านมาในสังคมไทย ดังนั้นกระบวนการยุติธรรมต้องมีหลักความเที่ยงธรรม แต่สิ่งที่ปรากฎในสังคมปัจจุบันมีการใช้กฎหมายอาญาผิดวัตถุประสงค์ มีการใช้อำนาจตุลาการในการชี้ถูกผิดในคดีต่างๆ ซึ่งแท้จริงแล้วตุลาการไม่มีอำนาจในการชี้ถูกชี้ผิดคดีต่างๆได้ ส่วนอีกหนึ่งปัญหาของกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยคือการลุกล้ำสิทธิส่วน บุคคลของประชาชน เช่นกรณีการตั้งข้อหาเกินความจริงและหากบุคคลนั้นไม่มีหลักทรัพย์ในการขอ ประกันตัวก็จะต้องถูกจับกุมคุมขังอยู่ที่เรือนจำ ทั้งที่คดีดังกล่าวยังไม่มีการพิสูจน์ความจริงอีกทั้งบุคคลดังกล่าวถูกตั้ง ข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์
การเผยแพร่ผลการศึกษาเกี่ยวกับปัญหารากเหง้าความขัดแย้งและแนวทางสู่ความ ปรองดองนี้ทางคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่ง ชาติจะนำเอาไปเป็นส่วนหนึ่งของการสรุปรายงานการค้นหาความจริงฉบับที่ 3 ให้แก่รัฐบาลในช่วงกลางเดือนกรฎาคมโดยหวังว่ารายงานสรุปฉบับที่3จะเป็นส่วน หนึ่งในการสร้างความปรองดองได้
คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติหรือ คอป.จัดเสวนาเพื่อเผยแพร่ความรู้ ในรูปแบบของการนำเสนองานวิจัยภายใต้หัวข้อปัญหารากเหง้าของความขัดแย้งและ แนวทางสู่ความปรองดอง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปกป้อง ศรีสนิท อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่ารากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งนั่นคือกระบวนการยุติธรรมกับสถานการณ์ ทางการเมืองซึ่งก่อตัวไปสู่ความรุนแรงที่ผ่านมาในสังคมไทย ดังนั้นกระบวนการยุติธรรมต้องมีหลักความเที่ยงธรรม แต่สิ่งที่ปรากฎในสังคมปัจจุบันมีการใช้กฎหมายอาญาผิดวัตถุประสงค์ มีการใช้อำนาจตุลาการในการชี้ถูกผิดในคดีต่างๆ ซึ่งแท้จริงแล้วตุลาการไม่มีอำนาจในการชี้ถูกชี้ผิดคดีต่างๆได้ ส่วนอีกหนึ่งปัญหาของกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยคือการลุกล้ำสิทธิส่วน บุคคลของประชาชน เช่นกรณีการตั้งข้อหาเกินความจริงและหากบุคคลนั้นไม่มีหลักทรัพย์ในการขอ ประกันตัวก็จะต้องถูกจับกุมคุมขังอยู่ที่เรือนจำ ทั้งที่คดีดังกล่าวยังไม่มีการพิสูจน์ความจริงอีกทั้งบุคคลดังกล่าวถูกตั้ง ข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์
การเผยแพร่ผลการศึกษาเกี่ยวกับปัญหารากเหง้าความขัดแย้งและแนวทางสู่ความ ปรองดองนี้ทางคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่ง ชาติจะนำเอาไปเป็นส่วนหนึ่งของการสรุปรายงานการค้นหาความจริงฉบับที่ 3 ให้แก่รัฐบาลในช่วงกลางเดือนกรฎาคมโดยหวังว่ารายงานสรุปฉบับที่3จะเป็นส่วน หนึ่งในการสร้างความปรองดองได้
by
Banchar
21 มิถุนายน 2555 เวลา 15:02 น.