บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ลุ้นศาลไทย คว้าชัย โอลิมปิก !

ที่มา Voice TV

 ลุ้นศาลไทย คว้าชัย โอลิมปิก !



วีรพัฒน์ ปริยวงศ์  นำเสนอบทความ และมุมมองต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะการมุ่งแต่เอาชนะกัน

     ผมกลับจากการไปพักผ่อนที่เชียงใหม่เมื่อวาน ไม่พลาดโอกาสทานกาแฟกับอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ วันนี้กลับมาประชุมทำงานที่กรุงเทพ แล้วพรุ่งนี้จะไปหมู่เกาะอ่าวไทย เพื่อบรรยายวิชาการเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล

     การได้สูดอากาศบนดอยสีเขียว แล้วเตรียมไปรับลมทะเลสีคราม ชมความงานของบ้านเรา ได้คิดได้คุยในสิ่งที่เราสนใจ ฟังดูน่าจะมีความสุข

     แต่วันนี้ ผมกลับ 'มึนหัว'  ตึบ ตึบ ตึบ ทั้งที่ไม่ได้เมารถขึ้นเขา หรือเมารือลงทะเล

     แต่ผม 'มึน' กับ 'ความพิสดาร' ของ 'คำวินิจฉัยส่วนตน' ของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรื่องการทำประชามตินั้น ตุลาการ 8 ท่าน มีความเห็นแตกออกเป็น 4 ฝ่าย ซึ่งเมื่ออ่านรวมกันแล้ว ก็พบว่าขัดแย้งกับ 'คำวินิจฉัยกลาง' ที่เผยแพร่ไปก่อนหน้านี้ (ผมอธิบาย 'ความมึนเบื้องต้น' ไปแล้วที่ http://bit.ly/8Jesters)

     ยิ่งมานั่งอ่านทีละบรรทัด ยิ่งมึน ยกตัวอย่าง ท่านประธานศาล เขียนย่อหน้าหนึ่ง บอกว่า การที่สภาพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็น 'การใช้สิทธิเสรีภาพ' แต่พอมาอีกย่อหน้าในหน้าเดียวกัน กลับบอกว่าเป็น 'การใช้อำนาจ' ของรัฐสภา

     มึนแล้วไม่พอ ผมรู้สึก 'คลื่นไส้' เมื่อเห็น 'สำนักงานศาล' มาวิ่งไล่แจ้งความเอาผิดประชาชน แถมเขียนขู่อีกว่าจะไปแจ้งความดำเนินคดี เพิ่มอีก (ดูใบข่าวของศาลได้ที่ http://bit.ly/CCsuites )

กรณี เจ๋ง แจกเบอร์ 

     กรณี คุณเจ๋ง ดอกจิก ที่ไปแจกชื่อแจกเบอร์โทรศัพท์ของครอบครัวตุลาการ ผมว่าคุณเจ๋ง ทำแย่มากนะครับ

     หาก 'ครอบครัว' ตุลาการถูกคุกคามให้เดือดร้อนเสียหายจากการกระทำดังกล่าว ผมสนับสนุนให้ครอบครัวตุลาการใช้สิทธิดำเนินคดีและเรียกค่าเสียหายจากคุณ เจ๋งได้เต็มที่

     แต่หากมองจากมุมของ 'ศาล' ซึ่งมีทั้งอำนาจ ทั้งสื่อ และกองรักษาความปลอดภัยที่ประชาชนจัดให้แล้ว ข้อที่ไม่ควรลืมคือ คุณเจ๋งได้ขอโทษศาลไปแล้ว และสังคมรวมทั้งสื่อ ก็ร่วมกันลงโทษคุณเจ๋งไปแล้ว แม้แต่แกนนำเสื้อแดงก็ลงโทษคุณเจ๋งด้วย ไม่ว่าจะโดยคำต่อว่า คำด่า หรือคำขู่  ผู้เขียนเองเดาว่า เหตุที่คุณเจ๋งได้ขอโทษ ส่วนหนึ่ง ก็เพราะถูก "ผู้ใหญ่ต้นสังกัด" ตำหนิต่อว่าเช่นกัน

     แต่ก็ไม่เห็นคุณเจ๋งเขาจะไปไล่แจ้งความเอาผิดใครที่มาต่อว่าด่าทอ ทั้งที่ คุณเจ๋งเป็นประชาชนคนธรรมดาไม่มีอำนาจอะไร

     ยิ่งไปกว่านั้น ตัวตุลาการท่านเอง ก็ยังมิได้ติดใจไปแจ้งความ แล้วเหตุใดสำนักงานศาลจะต้องไปวิ่งไล่แจ้งความแทน ?

กรณีประชาชนชุมนุมขุ่มขู่ศาล
 
     ส่วนประชาชนที่ไปประท้วง ปราศรัย ชุมนุมข่มขู่ศาล ส่วนตัวผมเองก็ไม่ได้สนับสนุนเห็นชอบอะไร

     แต่ผมเชื่อว่า สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมแสดงความเห็น เพื่อต่อต้านหรือประท้วงการใช้อำนาจของรัฐ แม้มันจะดุเเดือด เผ็ดร้อน หยาบคาย หรือไม่เรียบร้อยเพียงใด แต่ก็เป็นความจำเป็นต่อประชาธิปไตย เพราะประชาชนคนธรรมดา อาจไม่มีอำนาจเพียงพอที่จะไปขอพื้นที่จากสื่อ หรือเรียกให้นักการเมืองมาเป็นตัวแทนของเขาในทุกเรื่อง

     การแสดงออกเหล่านี้เอง คือ 'ท่อหายใจ' ที่พื้นฐานที่สุด ของประชาชน ที่จะขอความสนใจจากผู้มีอำนาจ รวมทั้งสื่อ และเพื่อนประชาชนด้วยกัน เพื่อให้ตนเองได้มีส่วนร่วมทางการเมือง

     ยิ่งไปกว่านั้น หลักฐานปรากฏชัดว่า เรามีตุลาการที่เข้มแข็งอาจหาญ ตัดสินคดีไปตามที่ท่านเห็น แม้สังคม รัฐสภา หรือนักวิชาการ หรือแม้แต่สื่อต่างประเทศ จะท้วงท่านอย่างไร ท่านก็ไม่เอนเอียงตามแรงกดดัน แล้วเหตุใดสำนักงานศาลจะต้องไปวิ่งไล่แจ้งความแทน ?

กรณีแจ้งความว่า ประชาชนแจ้งความเท็จ

     สิ่งที่ผมมองว่าเลวร้ายที่สุด คือ การที่สำนักงานศาลไปแจ้งความกลับ เพื่อเอาผิดประชาชนที่ไปแจ้งความเอาผิดศาลว่าศาลใช้อำนาจโดยมิชอบ

     ก็ถ้าประชาชนแจ้งความท่าน สุดท้ายคนที่จะเอาผิดท่านได้ ก็คือ ลูกหลานตุลาการของท่านเอง มิใช่หรือ ?

     สำนักงานศาล รวมถึงตำรวจที่รับแจ้งความ โปรดไปศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกาให้ดี หากประชาชนแจ้งความตามที่เชื่อโดยสุจริตก็ดี หรือแจ้งตามสภาพที่พบเห็นโดยมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นความจริงก็ดี ศาลฎีกาได้ตีความเป็นบรรทัดฐานเสมอมาว่าไม่เป็นความผิด เช่น ฎีกาที่ 1050/2514, 3025/2526, 4669/2530 หรือ 1173/2539

ท่านกลัวว่าท่านจะทำผิดจริง ?

     ก็ท่านเป็นถึงศาลรัฐธรรมนูญ ท่านตีความกฎหมายผูกพันทุกองค์กร รวมถึงตำรวจ  ป.ป.ช. หรือแม้แต่ ศาลฎีกา ถ้าท่านสุจริตใจ ทำตามอำนาจกฎหมายที่ท่านมี ท่านจะไปกลัวอะไรครับ ?

     ต่างกันราวฟ้ากับดิน เมื่อเทียบกับประชาชนคนธรรมดา แม้เป็นเจ้าของอำนาจ แต่ก็มอบให้คนอื่นไปจนตนเองเหลือน้อยนิด ได้แต่มองดูนักการเมืองที่นอบน้อมต่อคำวินิจฉัยของศาล ขนาดสภายังชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่ศาลสั่ง แล้วหากประชาชนไม่พึ่งความเห็นและเสียงของตนเอง แล้วจะให้ไปพึ่งใคร ?
 
ท่านกลัวสังคมเข้าใจท่านผิด ?

     ไม่ต้องกลัวครับ เพราะท่านมี 'สื่อ' ที่คอยบริการ 24 ชั่วโมง รายงานทุกความเคลื่อนไหวของท่าน ตอนท่านอ่านคำวินิจฉัย ก็ถ่ายทอดสดรายงานทั่วประเทศ ทุกช่องอยากขอสัมภาษณ์ตุลาการ ท่านไม่มาก็มีนักวิชาการคอยมาฟังและอธิบายแทนท่าน แม้แต่ท่านประธานศาลพูดอะไรสั้นๆ 1 ประโยค ก็กลายเป็นคำพาดหัวหนังสือพิมพ์ได้ทุกฉบับ สิ่งที่ท่านเขียนไว้ในราชกิจจานุเบกษา ก็ถูกส่งไปพิมพ์ขึ้นมาโดยเงินภาษีประชาชน

     ต่างกันราวฟ้ากับดิน เมื่อเทียบกับประชาชน ที่ไม่มีอำนาจจะไปตีฆ้องร้องป่าวให้สื่อและสังคมหันมาสนใจมุมมองที่เขามอง ความไม่ยุติธรรมในสังคม

ท่านกลัวการถูกข่มขู่ ?

     ไม่ต้องกลัวครับ ประชาชนได้พร้อมใจจ่ายภาษีเพื่อให้ท่านมีความปลอดภัย มีเฮลิคอปเตอร์ และกองกำลังที่คุ้มครองท่าน และประชาชนอย่างผมและอีกหลายคน รวมถึงสื่อที่คอยติดตามเฝ้าระวังแทนท่าน ก็พร้อมจะออกมาต่อต้านผู้ใดก็ตามที่จะไปทำร้ายท่าน โดยที่ท่านเองไม่ต้องลำบากไปทำอะไร

     ต่างกันราวฟ้ากับดิน เมื่อเทียบกับประชาชนคนธรรมดา ที่พอวิจารณ์ศาลหรือผู้มีอำนาจมาก ก็ถูกดักรุมทำร้ายได้ตลอดเวลา แม้แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยชื่อดังมีลูกศิษย์มากมาย ยังถูกดักทำร้ายได้ง่ายๆหน้าตึกที่ตัวเองทำงาน

ท่านกลัวการเป็นคู่ความ ?
 
     หากมีอะไรที่จะพอเป็นเหตุเป็นผลให้ตุลาการกลัว ก็คือกลัวการเป็นคู่ความฟ้องคดีเอง เพราะกลายเป็นว่า หากวันใดมีคดีมาสู่ศาล ก็อาจถูกหาว่าตนมีส่วนได้เสีย จนทำให้ต้องถอนตัว และพลาดโอกาสใช้อำนาจเอาคืนประชาชนอย่างน่าเสียดาย

ตุลาการไทย ทำลายสถิติโอลิมปิก ?

     จากที่กล่าวมาทั้งหมด ผมจึงเห็นว่า มันไร้สาระมาก หากเราจะมานั่งเถียงกันว่า สำนักงานศาลก็มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อปกป้องตุลาการมิใช่หรือ

     เราลองดู 'ฝ่ายบริหาร' หรือ 'ฝ่ายนิติบัญญัติ' ที่ถูกประชาชนข่มขู่ เหยียดหยาม จ้องเอาผิด กันอยู่ทุกวัน  ผมก็ไม่เห็นสำนักนายกฯ หรือ สำนักงานเลขาธิการสภาฯ จะมาไล่ฟ้องประชาชน เพราะเขายอมรับว่า ประชาชนต้องตรวจสอบบุคคลสาธารณะผู้ใช้อำนาจได้

     หากกรณีใดที่ประชาชนทำแรงเกินไป หรือส่วนตัวเกินไป ก็ต้องเป็นตัว นายกฯ หรือ ประธานสภาฯ เอง ที่จะไปฟ้องคดีเอาผิด ไม่ใช่ให้สำนักงานราชการมาใช้เงินภาษีของประชาชนมาเอาผิดประชาชน

      สิ่งที่ร้ายที่สุดจะเกิดเมื่อ 'ประชาชน ด้วยกันเอง' ไปหลงผิดยอมรับว่า การที่ผู้ใช้อำนาจมาฟ้องประชาชนนั้น เป็นเรื่องปกติที่ทำได้ง่ายๆ เพราะหากหลงคิดเช่นนั้น ก็เท่ากับประชาชนยอมรับให้ผู้ใช้อำนาจสามารถคุกคามข่มขู่ให้ประชาชนกลัว จนไม่อยากตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ผู้ใช้อำนาจในที่สุด ซึ่งในประเทศที่เจริญแล้ว เขาไม่ทำกัน หมายถึง ประชาชนเองที่เจริญแล้ว ก็ต้องไม่ไปหลงผิดคิดกลัวตามไปด้วย

     ดังนั้น ในปีนี้ หากจะมีการประชุมตุลาการนานาชาติที่มีตุลาการจากแต่ละประเทศมาประชุมร่วมกัน (ซึ่งประชาชนจ่ายภาษีให้ตุลาการไทยได้บินไปประชุมอยู่ทุกปี) ท่านเลาธิการสำนักงานศาล น่าจะลองขอเบิกงบไปประชุมด้วย เพื่อไปถามตุลาการจากทั่วโลกว่า สำนักงานศาลบ้านเขา หรือแม้แต่ตัวตุลาการเขาเอง มาวิ่งไล่ฟ้องประชาชนของเขาในเรื่องไร้สาระแบบนี้ กันปีละกี่คดี ?

     เพราะไม่แน่ว่า อาจมีการทำลายสถิติโลก ในประเภทกีฬา 'ชกประชาชน' !

     แม้ว่าคุณภาพผู้ชก อาจเป็นเพียง 'มือสมัครเล่น' ก็ตาม.

บทความโดย
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ 
นักกฎหมายอิสระ 
http://www.facebook.com/verapat
31 กรกฎาคม 2555 เวลา 18:26 น.

ศาล รธน.ยกเลิกคำสั่งให้รัฐสภาชะลอโหวตแก้ รธน.วาระ 3

ที่มา Voice TV

 ศาล รธน.ยกเลิกคำสั่งให้รัฐสภาชะลอโหวตแก้ รธน.วาระ 3



โฆษกศาลรัฐธรรมนูญ เผย ศาลยื่นหนังสือ แจ้งสภา ยกเลิกคำสั่งชะลอลงมติร่างแก้รัฐธรรมนูญ วาระ 3 แล้ว ชี้ ลงมติได้ขึ้นกับดุลพินิจ
 
 
วันนี้ (31 ก.ค.55 ) นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา กล่าวว่า การเปิดประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไปในวันที่ 1 สิงหาคม สมาชิกรัฐสภามีข้อถกเถียงกันว่าจะสามารถดำเนินการลงมติร่างแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในวาระ 3 ได้หรือไม่ เพราะศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ชะลอการลงมติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในวาระที่ 3 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเพื่อให้ประธานรัฐสภาได้ดำเนิน การเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 วาระที่ 3 ได้ต่อไป
 
 
ด้านนายสมฤทธิ์ ไชยวงค์ โฆษกศาลรัฐธรรมนูญกล่าวว่า สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ยื่นหนังสือแจ้งยกเลิกคำสั่งให้รัฐสภาชะลอการลงมติ ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในวาระที่ 3 ไปถึงเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรไปเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม หากรัฐสภาต้องการที่จะลงมติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในวาระที่ 3 ก็สามารถกระทำได้ แต่ก็อยู่ที่ดุลพินิจของรัฐสภาว่าดำเนินการหรือไม่
 
 
Source :  มติชนออนไลน์  /  VoiceTv (Image)
31 กรกฎาคม 2555 เวลา 16:57 น.

โพล เผย ผู้หญิงชู “ยิ่งลักษณ์” เป็นนักการเมืองในดวงใจ เก่ง บุคลิกดี เรียบร้อย

ที่มา uddred

 มติชน 31 กรกฎาคม 2555 >>>




วันที่ 1 สิงหาคม เป็นวันสตรีไทย ที่มุ่งเน้นเชิดชูบทบาทหน้าที่ที่มีความสำคัญต่อสังคมไทยในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะมิติทางการเมืองที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของประเทศ เหตุการณ์ต่างๆที่วุ่นวาย สับสนทางการเมืองล้วนมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการสร้างความน่าเชื่อถือและการ พัฒนาประเทศ ผู้หญิงในปัจจุบันต่างมีบทบาททางการเมืองทั้งทางตรงที่เข้ามาเป็นนักการ เมืองและทางอ้อมในการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน  เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและความคาดหวังของสตรีที่มีต่อการเมืองไทย ณ วันนี้  “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นเฉพาะผู้หญิงจากทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,463 คน  ระหว่างวันที่ 27-31 กรกฎาคม 2555  สรุปผลดังนี้
            
1.  ความสนใจเรื่องการเมืองไทย ของ “ผู้หญิง” ณ วันนี้

อันดับ 1 ค่อนข้างสนใจ 43.06%เพราะ  สื่อต่างๆมีการติดตามและนำเสนอข่าวสารการเมืองตลอดเวลา ,ประชาชนมีส่วนร่วมและพูดคุยเรื่องการเมืองมากขึ้น  ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่ค่อยสนใจ 36.84%เพราะ   ไม่มีเวลา ต้องทำงาน , ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดไหนที่เข้ามาบริหารบ้านเมือง ประชาชนก็ยังต้องพึ่งตัวเองเหมือนเดิม ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่สนใจ 11.01%เพราะ   ไม่ชอบ ,เบื่อการเมืองไทย ,การเมืองไทยมีแต่การทะเลาะเบาะแว้ง มุ่งหวังแต่ผลประโยชน์ ไม่พัฒนา ฯลฯ
อันดับ 4 สนใจมาก   9.09%เพราะ  การเมืองเป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศและในทุกๆด้านโดยเฉพาะ เรื่องปากท้อง ความเป็นอยู่ของประชาชน ฯลฯ

2.  การเมืองไทย วันนี้มีอะไร ? “ดี”  ที่ “ผู้หญิง” พึงพอใจ
อันดับ 1 มีนโยบายที่ช่วยเหลือประชาชนมากขึ้น เช่น ขึ้นเงินเดือน ค่าจ้าง รถคันแรก เรียนฟรี รถเมล์ฟรี ฯลฯ 55.10%
อันดับ 2 ผู้หญิงมีบทบาททางการเมืองมากขึ้น /มีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทยเป็นการสร้างความสัมพันธ์ ที่ดีระหว่างประเทศ 26.53%
อันดับ 3 ประชาชนมีความสนใจและติดตามข่าวสารบ้านเมืองกันมากขึ้น/ทุกภาคส่วนมีการตรวจสอบมากขึ้น 18.37%

3.  การเมืองไทยวันนี้มี “ปัญหาเร่งด่วน”อะไรบ้างที่ต้องเร่งแก้ไข
อันดับ 1 ปัญหาเรื่องปากท้องความเป็นอยู่ของประชาชน /ค่าครองชีพสูง รายได้ไม่พอใช้ 38.37%
อันดับ 2 การสร้างความปรองดองในบ้านเมือง /ทั้งประชาชนและนักการเมืองมีความสมัครสมานสามัคคี 31.43%
อันดับ 3 เรื่องสำคัญๆ เช่น การทุจริต คอร์รัปชั่น ยาเสพติด การศึกษา และการแก้ปัญหาน้ำท่วม ฯลฯ 30.20%


4.  “นักการเมือง” ที่เป็นขวัญใจ ของ “ผู้หญิง” ณ วันนี้ คือ
อันดับ 1 นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร 60.53%เพราะ   เป็นผู้หญิงเก่ง มีบุคลิกดี กริยามารยาทเรียบร้อย ,มีความเสียสละต้องแบกรับภาระอย่างหนักในการดูแลประเทศชาติและประชาชน ,บทบาทของแม่และผู้นำประเทศ ฯลฯ

อันดับ 2 คุณปวีณา หงสกุล 19.74%เพราะ   เป็นคนดี จิตใจดี ช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก ,เป็นที่รู้จักและเป็นที่พึ่งของประชาชน ฯลฯ
อันดับ 3 คุณสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 17.11%เพราะ   มีความเชื่อมั่นในตัวเอง บุคลิกคล่องแคล่ว พูดจาชัดถ้อยชัดคำ ,เป็นผู้หญิงแกร่ง ทำงานได้เท่าเทียมกับผู้ชาย ฯลฯ
อื่นๆ เช่น รังสิมา รอดรัศมี ,จิตติมา ฉายแสง ,ลีลาวดี วัชโรบล ,คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ,
ศันสนีย์ นาคพงศ์  เป็นต้น   2.62%

   5.  “การเมืองไทย” ณ วันนี้ “ผู้หญิง” ควรมีส่วนร่วมอย่างไร? จึงจะทำให้การเมืองไทยดีขึ้น
อันดับ 1 การมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย เช่น การใช้สิทธิเลือกตั้ง การสมัครเป็นผู้แทนในระดับต่างๆ        การแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะหรือเวทีต่างๆ 55.45%
อันดับ 2 ให้ความสนใจการเมืองและติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด /มีความรู้ที่ถูกต้องและสามารถอธิบาย
ให้ผู้อื่นเข้าใจได้  30.49%
อันดับ 3 ให้การสนับสนุน ให้กำลังใจสตรีที่มีบทบาททางการเมืองด้วยกัน 14.06%

 6.  สิ่งที่ “คาดหวัง” อยากให้การเมืองไทยพัฒนาไปได้เทียบเท่าประเทศต่างๆที่เจริญแล้ว คือ
อันดับ 1 ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศชาติ เศรษฐกิจ สังคม ให้เจริญก้าวหน้าเป็นสากลเหมือนต่างชาติ 38.27%
อันดับ 2 นักการเมืองมีคุณธรรม จริยธรรม /การทำงานโปร่งใส ตรวจสอบได้ 32.14%
อันดับ 3 การเมืองมีเสถียรภาพ เป็นประชาธิปไตย ให้ความสำคัญและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 29.59%

 7.  “อนาคตการเมืองไทย” ควรฝากไว้กับใครบ้าง?
อันดับ 1 ประชาชนคนไทยทุกคน 53.49%
อันดับ 2 ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน /นักการเมือง /ส.ส. ส.ว.  21.71%
อันดับ 3 เด็กและเยาวชนไทย 13.18%
อันดับ 4 หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น ครู อาจารย์ ทหาร ตำรวจ  อัยการ ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นต้น 11.62%

'อาย'คำที่สื่อลิ้มสะกดไม่เป็น ให้นู๋ปางน้ำฟ้าช่วย

ที่มา Thai E-News



ปริศนาสาวน่ารัก ชักภาพคู่ “ทักษิณ”

ตก เป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์แห่งโลกไซเบอร์ไปแล้ว สำหรับภาพของหญิงสาวคนหนึ่งชักภาพคู่กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในวันครบรอบวันเกิดปีที่ 63 จนเป็นที่มาของการถามไถ่ว่าเธอเป็นใครมาจากไหน และสนิทสนมอย่างไรกับอดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้
 
       หญิงสาวนิรนามคน ดังกล่าว เรียกได้ว่าหน้าตาจิ้มลิ้ม น่ารัก แบบสเปกหนุ่มไทยหลายๆ คน ท่าทางยินดีปรีดา ชูสองนิ้ว ราวกับปลื้มปีติเป็นนักหนากับการได้ถ่ายภาพคู่กับทักษิณ ชินวัตร นั้น บอกได้อย่างเด่นชัดว่า เธอคือสาวกตัวยงของ “คนพเนจร” ผู้นี้
      
      
      
       อัน ที่จริง นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราจะได้เห็นสาวๆ เข้าเคลียคลอขอถ่ายรูปกับทักษิณ เพราะที่ผ่านมา แม้แต่ดาราสาวคนดังหลายคน ก็ยังมีข่าวไปปะปนกับทักษิณ ชินวัตร อยู่เนืองๆ
 
       ไล่มาตั้งแต่ “ใหม่ เจริญปุระ” ที่ นอกจากจะยอมรับว่าเคยไปทานข้าวกับทักษิณถึงดูไบ ยังมีภาพหลักฐานเป็นประจักษ์พยานกลับมาด้วย เช่นเดียวกับนักร้องสาวอาร์แอนด์บีอย่าง “ลีเดีย-ศรัณรัชต์” ก็บอกกล่าวอย่างแจ่มชัดว่าตัวเองมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอดีตนายกรัฐมนตรี
 
       อย่างไรก็ดี เมื่อเร็วๆ นี้ คงไม่มีสาวคนไหนจะดังเท่ากับ “แป้ง-อรจิรา แหลมวิไล” ไป ได้ หลังจากภาพถ่ายจากการไปร่วมแฮปปี้เบิร์ธเดย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ปีล่าสุด ปรากฏออกมาตามหน้าสื่อต่างๆ ด้วยข้อกล่าวอ้างที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ฉันเพื่อนกับลูกสาวของอดีตนายก รัฐมนตรี
 
       กระนั้นก็ตาม ทันทีที่ภาพของหญิงสาวนิรนามคนนี้ปรากฏขึ้นมา แป้ง-อรจิรา ก็แป้ง-อรจิรา เถอะ ดูเหมือนจะตกขอบไปเลย เพราะความน่ารักน่าชังของเจ้าของภาพจนเป็นที่มาของความอยากรู้อยากเห็นดัง กล่าวเกี่ยวกับที่มาที่ไปของเธอ
 
       แต่ไม่ว่า เธอจะเป็นใครมาจากไหน คงต้องยอมรับว่า อดีตนายกฯ ที่ใครต่อใครเรียกขานว่า “นักโทษชาย” ผู้นี้ ไม่เคยเว้นว่างจากข่าว “สาวๆ” จริงๆ พับผ่าสิ!
แป้ง-อรจิรา กับทักษิณ
      
ลีเดีย กับทักษิณ
      
ใหม่ เจริญปุระ กับทักษิณ

นายกฯ กดปุ่มโอนเงินกองทุนสตรี

ที่มา Voice TV



นายกรัฐมนตรี เปิดตัวกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี พร้อมโอนเงินจัดสรรให้กับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีทั่วประเทศก้อนแรก จังหวัดๆละ 20 ล้านบาท 

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน 'พลังสตรี พลังขับเคลื่อนประเทศไทย' และเปิดปุ่มโอนเงินเข้ากองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เบื้องต้นให้กับทุกจังหวัดๆละ 20 ล้านบาท ก่อนทยอยโอนสมทบจังหวัดละ 100 ล้านบาท  รวม 7 พัน 7 ร้อยล้านบาท เพื่อให้แต่ละจังหวัดนำเงินกองทุนไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงความสำคัญของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีว่าเป็นทุน สำคัญในการสร้างงานสร้างอาชีพและพัฒนาศักยภาพสตรีให้มีความรู้ความสามารถ เสมอภาคและเท่าเทียมกับผู้ชาย พร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

และเนื่องในวันสตรีไทย 1 สิงหาคมของทุกปี รัฐบาลมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาสตรีไทยและยกระดับสถานภาพสตรีไทยให้ได้อย่าง ยั่งยืนและอยู่บนเวทีโลกได้อย่างสมศักดิ์ศรี รวมทั้งใช้ความรู้ความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลจะเน้นเดินหน้านโยบายสตรี 5 ยุทธศาสตร์ คือ  1.การสร้างความเสมอภาค  2.การพัฒนาศักยภาพและเพิ่มโอกาส ให้สตรีสามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ 3.การพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรี 4.การเพิ่มโอกาสให้สตรีมีส่วนร่วมทั้งทางการเมืองและการบริหาร 5.การเสริมสร้างพัฒนากลไกขององค์กรสตรีในชุมชนต่างๆ

ทั้งนี้ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย อาทิ การเสวนาขับเคลื่อนการพัฒนาบทบาทสตรี และยังมีการนำเสนอวีดิทัศน์ 'บทบาทที่หลากหลายคือรากฐานการพัฒนา' ซึ่งจะถ่ายทอดเรื่องราวของบทบาทสตรีที่มีส่วนช่วยเติมเต็มและขับเคลื่อน สังคม และโอกาสที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาตนเอง

นอกจากนี้ ยังมีการแสดงนิทรรศการ ประกอบด้วย นิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 'เพราะแม่คือต้นแบบ' นิทรรศการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยแบ่งจัดงานเป็น 5 โซน เพื่อพูดถึง ที่มาและความสำคัญของกองทุนฯ รวมทั้งแนวทางการบริหารกองทุนฯ และนำเสนอบทบาทกองทุนที่จะแก้ไขปัญหาให้แก่สตรีที่ขาดโอกาส เช่น สตรีพิการ และผู้สูงอายุ
31 กรกฎาคม 2555 เวลา 11:15 น.

ชี้กว่า 2 ปี รอศาลสั่งรวมคดียิงช่างภาพญี่ปุ่น

ที่มา Voice TV


ศาลอาญา กรุงเทพใต้ นัดฟังคำสั่งการรวมคดีช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ชาวญี่ปุ่น กับนายวสันต์ ภู่ทอง และนายทศชัย เมฆงามฟ้า ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตบริเวณถนนดินสอ  เพื่อทำให้การไต่สวนคดีรวดเร็วขึ้น

ศาลอาญา กรุงเทพใต้ นัดฟังคำสั่งตามคำร้องชันสูตรพลิกศพ เพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต ของนายฮิโรยูกิ มูราโมโต ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ชาวญี่ปุ่น ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ ช่วงสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ที่บริเวณถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา

โดยในวันนี้ (31ก.ค.55) ศาลได้นัดทนายฝ่ายโจทก์ ทนายฝ่ายผู้ร้องเข้าฟังการพิจารณาที่จะให้มีการรวมคดีการเสียชีวิตของนายฮิ โรยูกิ มูราโมโต กับการไต่สวนคดีของนายวสันต์ ภู่ทอง อายุ 39 ปี และนายทศชัย เมฆงามฟ้า อายุ 44 ปี ที่ถูกยิงเสียชีวิตหน้าโรงเรียนสตรีวิทยาในวันเดียวกัน เนื่องจากเห็นว่าพยานและหลักฐานเป็นชุดเดียวกันและหากรวมคดีเข้าด้วยกันจะทำ ให้การไต่สวนคดีรวดเร็วขึ้น

ด้านนายเจษฎา จันทร์ดี ทนายความฝ่ายผู้ร้อง เปิดเผยก่อนเข้าฟังคำสั่งศาลว่า รู้สึกไม่พอใจที่การดำเนินคดีล่าช้าเนื่องจากเหตุการณ์ล่วงเลยมาแล้วกว่า 2 ปี แล้ว แต่ในเมื่อวันนี้ การดำเนินคดีได้เริ่มต้นขึ้นแล้วก็ถือเป็นเรื่องดี ซึ่งหลังจากนี้ต้องรอว่าศาลจะมีคำสั่งให้รวมคดีเข้าด้วยกันหรือไม่ ทางญาติผู้เสียชีวิตและทนายความจะได้ร่วมหารือเพื่อกำหนดตัวพยาน หลักฐานที่จะใช้ และกรอบของแนวทางการต่อสู้คดีต่อไป

นอกจากนี้นายเจษฎากล่าวเพิ่มเติมว่า จากพยานหลักฐานที่มีเชื่อว่าจะนำไปสู่การจับกุมผู้ที่เป็นคนยิง และ ผู้สั่งการได้ แต่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการอีกระยะ

สำหรับนาย ฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ถูกยิงเสียชีวิตพร้อมกับนายทศชัยและนายวสันต์ที่หน้าโรงเรียนสตรีวิทยาเมื่อ วันที่ 10 เมษายน 2553 ซึ่งเกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ทหาร โดยการสั่งการของ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ที่มีนายอสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นผู้อำนวยการในขณะนั้น
31 กรกฎาคม 2555 เวลา 11:10 น.

คุก 1 ปี 'พร้อมพงศ์-เกียรติอุดม' หมิ่น 'วสันต์' รออาญา 2 ปี

ที่มา Voice TV

 คุก 1 ปี 'พร้อมพงศ์-เกียรติอุดม' หมิ่น 'วสันต์' รออาญา 2 ปี


ศาลสั่งจำคุก 1 ปี ปรับ 5 หมื่น "พร้อมพงศ์"โฆษกพรรคเพื่อไทย-เกียรติ์อุดม ส.ส.อุดรธานี พท.หมิ่นประธานศาลรัฐธรรมนูญ แต่รอลงอาญา 2 ปี

ศาลอาญา นัดฟังคำพิพากษา ในคดีที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย และนายเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์ ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย ฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาจากกรณีเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2553 ที่นายพร้อมพงศ์ และนายเกียรติ์อุดม ร่วมกันแถลงข่าวกล่าวหา ความประธานศาลรัฐธรรมนูญ ว่าประพฤติตนไม่เหมาะสม ไม่น่าเชื่อถือ ขัดต่อจริยธรรมของตุลาการ ขาดความยุติธรรมและขาดความเป็นกลาง เป็นเหตุให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า นายพร้อมพงศ์ และนายเกียรติ์อุดม ไม่ตรวจสอบข้อมูลให้ครบก่อนการแถลงข่าว เห็นว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยไม่สุจริตหวังผลทางการเมือง ทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียจึงพิพากษา นายพร้อมพงศ์ และนายเกียรติ์อุดม คนละ 1 ปี ปรับ 50,000 บาท แต่จำเลยทั้งสองไม่เคยต้องโทษมาก่อน โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปีและลงโฆษณาโดยย่อในหนังสือพิมพ์จำนวน 3 เป็นเวลา 7 วัน

Source : news center/matichon/VoiceTV(image)
31 กรกฎาคม 2555 เวลา 10:27 น.

Queen Elizabeth จัดให้

ที่มา Voice TV


รายการ Wake up Thailand  ประจำวันจันทร์ที่ 30 ก.ค. 55

 
 
นำเสนอประเด็น
 
 
-  "มาร์ค"ขึ้นเวทีผ่าความจริง ชำแหละเบื้องหลังแก้ รธน.-ร่างปรองดอง   
-  เพื่อไทยเตรียมประชุมพรรคสรุปแนวทางแก้ รธน.
-  'ทักษิณ' แนะรัฐบาลอยู่ให้นานที่สุด
-  ดุสิตโพลชี้นักการเมืองเห็นแก่ตัวทำวุ่นวาย
-  โพลพบพฤติกรรมคนไทย ใช้กฎหมู่เหนือกฎหมาย
-  สารคดี 2475 ไทยพีบีเอส  
-  พิธีเปิดโอลิมปิค ตอนราชินีโดดลงมาพร้อมเจมส์บอนด์
 
 

30 กรกฎาคม 2555 เวลา 08:02 น.

นิวยอร์กไทมส์: ทำไมชาวอนุรักษ์นิยมถึงมีความสุขมากกว่าชาวเสรีนิยม

ที่มา ประชาไท

 

 ใครมีความสุขในชีวิตมากกว่ากัน ชาวเสรีนิยมหรือชาวอนุรักษ์นิยม? คำตอบอาจจะดูชัดเจนในตัวเอง เพราะที่ผ่านมา มีการศึกษาทางวิชาการทางสังคมศาสตร์มากมายที่ชี้ให้เห็นว่าชาวอนุรักษ์นิยม นั้นเป็นพวกอำนาจนิยมโดยธรรมชาติ หัวรั้น ไม่ชอบความคลุมเครือ กลัวการข่มขู่และการสูญเสีย ความมั่นใจต่ำ และไม่สะดวกใจกับแผนความคิดที่ซับซ้อน นอกจากนี้ ย้อนไปในปี 2551 ประธานาธิบดีโอบามาก็ได้แปะป้ายเหล่าคนงานคอปกน้ำเงินว่าเป็นคน "ขมขื่น" เพราะ "ยึดติดกับปืนและศาสนา" ฉะนั้น ก็ชัดว่า เหล่าเสรีนิยมก็น่าจะมีความสุขมากกว่า ใช่ไหมล่ะ?
ผิดแล้ว นักวิชาการจากทั้งฝั่งซ้ายและขวาได้ศึกษาคำถามนี้อย่างกว้างขวาง และเห็นพ้องต้องกันว่า กลุ่มอนุรักษ์นิยมต่างหากที่มีความสุขมากกว่า โดยมีข้อมูลหลายชุดที่แสดงให้เห็นข้อนี้ ตัวอย่างเช่น ศูนย์วิจัย Pew ในปี 2548 รายงานว่า ชาวรีพับลิกันที่เป็นอนุรักษ์นิยม มีแนวโน้มที่จะบอกว่าตัวเอง "มีความสุขมาก" สูงกว่าชาวเดโมแครตที่เป็นเสรีนิยมถึงร้อยละ 68 แบบแผนนี้ได้ธำรงอยู่มานานนับศตวรรษ แต่คำถาม ไม่ได้อยู่ที่ว่านี่จริงหรือไม่ แต่ทำไมมากกว่า
กลุ่มอนุรักษ์นิยมบางส่วน มักจะชอบคำอธิบายที่เน้นเรื่องความแตกต่างทางวิถีชีวิต เช่น การแต่งงานและความศรัทธา พวกเขาตั้งข้อสังเกตว่า ชาวอนุรักษ์นิยมส่วนใหญ่จะแต่งงาน ในขณะที่ชาวเสรีนิยมไม่แต่ง (คิดเป็นร้อยละ 53 ต่อร้อยละ 33 โดยใช้ข้อมูลจากผลสำรวจทางสังคมทั่วไปปี 2547 และตัดปัจจัยที่ว่าชาวเสรีนิยมมักจะอายุน้อยกว่าชาวอนุรักษ์นิยมออกไป) การแต่งงานและความสุขมักจะไปด้วยกัน หากคนสองคน มีปัจจัยอื่นๆ คล้ายกัน โดยคนหนึ่งแต่งงาน อีกคนไม่แต่ง คนที่แต่งงานแล้ว มักจะบอกว่าตนเองมีความสุขมากกว่าคนที่ไม่แต่งงาน ร้อยละ 18
เช่นเดียวกับเรื่องของศาสนา โดยข้อมูลจากการสำรวจของ Social Capital Community Benchmark เปิดเผยว่า ชาวอนุรักษ์นิยมที่นับถือศาสนา มีมากกว่าชาวเสรีนิยมที่นับถือศาสนามากกว่า 4 ต่อ 1 เท่า และลองเดาซิว่า มันเกี่ยวกับเรื่องของความสุขอย่างไร?
จะเห็นว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เคร่งศาสนา มีแนวโน้มบอกว่าพวกเขามีความสุขมากกว่าพวกที่ไม่นับถือศาสนามากกว่าเกือบ 2 เท่า ( ร้อยละ 43 ต่อ 23) ทั้งนี้ ความแตกต่างทางความสุข ไม่เกี่ยวกับปัจจัยการศึกษา เชื้อชาติ เพศ หรืออายุ และถึงแม้ว่าเราเอาเรื่องรายได้เข้ามาพิจารณาด้วย ความแตกต่างนี้ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ดี
เรื่องที่ว่า ศาสนาและการแต่งงาน ควรจะทำให้ผู้คนรู้สึกมีความสุขมากขึ้นหรือไม่ เป็นคำถามที่คุณต้องตอบเอง อย่างไรก็ตาม ลองคำนึงถึงสถิตินี้ดู ร้อยละ 52 ของกลุ่มคนอนุรักษ์นิยม เคร่งศาสนาที่แต่งงาน (และมีลูกแล้ว) บอกว่าตนเองมีความสุขมาก เมื่อเทียบกับเพียงร้อยละ 14 ของกลุ่มคนเสรีนิยม ไม่นับถือศาสนาที่โสดและไม่มีลูก ที่บอกแบบเดียวกัน
คำอธิบายเรื่องนี้ที่ฟังดูรื่นหูมากกว่าสำหรับพวกเสรีนิยมก็คือว่า ชาวอนุรักษ์นิยมมักจะไม่ใส่ใจในความทุกข์ยากของผู้อื่น และหากเขารับรู้ถึงความอยุติธรรมในโลกนี้ เขาก็คงไม่มานั่งมีความสุขอย่างที่เป็นอยู่ หรือในคำอธิบายของเจม นาเปียร์ และจอห์น จอสท์ นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ที่กล่าวว่า "ชาวเสรีนิยมอาจจะมีความสุขน้อยกว่าพวกอนุรักษ์นิยม เพราะในทางอุดมการณ์แล้ว พวกเขามักจะยินยอมให้ความชอบธรรมกับความอยุติธรรมในสังคมยากกว่า"
จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ที่จริงแล้ว พวกอนุรักษ์นิยมมองระบอบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมในแง่ดีมากกว่าพวกเสรีนิยม โดยเชื่อในความสามารถของอเมริกันชนในการดิ้นรนได้ด้วยตนเอง ในขณะที่ชาวเสรีนิยมมีแนวโน้มจะมองคนในฐานะที่เป็นเหยื่อของการกดขี่ในระบบ และตั้งคำถามกับการดิ้นรนของปัจเจกหากไม่มีความช่วยเหลือของรัฐบาล
ข้อมูลของผู้เขียนที่ได้ค้นคว้าไว้ ซึ่งใช้ข้อมูลปี 2548 ของมหาวิทยาลัยเซอราคิวส์ ชี้ว่า ราวร้อยละ 90 ของชาวอนุรักษ์นิยมเห็นด้วยว่า "ในขณะที่คนเราอาจเริ่มต้นด้วยโอกาสที่แตกต่างกัน แต่ความมุมานะและความอดทนจะทำให้เราก้าวอุปสรรคนั้นไปได้" ซึ่งชาวเสรีนิยม เห็นด้วยกับข้อความดังกล่าวเพียง 1 ใน 3 ของชาวอนุรักษ์นิยมที่มองแบบเดียวกัน
ฉะนั้น เราสามารถสรุปได้หรือไม่ว่าชาวอนุรักษ์นิยมนั้นเป็นคนเขลา เพราะความไม่รู้ก็คือความสุขอย่างหนึ่งนั่นเอง แต่ช้าก่อน เพราะงานวิจัยของนักจิตวิทยากลุ่มหนึ่งจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาและมหาวิทยาลัย โตรอนโต ชี้ให้เห็นว่า ในขณะที่ชาวเสรีนิยมนิยามความเป็นธรรมในสังคมผ่านความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ และประณามชาวอนุรักษ์นิยมว่าไม่สนใจต่อปัญหาดังกล่าว แต่ผลวิจัยชี้ว่า ชาวอนุรักษ์นิยมก็มองปัญหานี้ไม่ต่างกันเท่าใดนัก
โดยหากมองในทางตรงข้ามกัน ถ้าให้ชาวเสรีนิยมมีความสุข ชาวอนุรักษ์นิยมก็มีความทุกข์ เนื่องจากมองว่า ระบอบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมถูกแทรกแซงโดยรัฐสวัสดิการขนาดใหญ่ ซึ่งส่งผลเสียต่อเสรีภาพทางเศรษฐกิจ และแน่นอนว่า ชาวเสรีนิยมคงจะมองข้อโต้แย้งนี้ว่าช่างไร้สาระเสียไม่มี
ทั้งนี้ มีช่องว่างเรื่องความสุขทางการเมืองอีกมุมหนึ่ง ซึ่งไม่ค่อยได้รับความสนใจจากนักวิชาการมากนัก นั่นคือ การศึกษาระหว่างพวกทางสายกลาง กับพวกสุดโต่งทางการเมือง
ผู้เขียนมองว่า พวกนิยมทางสายกลาง น่าจะต้องมีความสุขมากกว่าพวกที่สุดโต่งทางการเมือง ดูง่ายๆ จากพวกสุดขั้วทางการเมืองที่ชอบโพนทนาความโกรธแค้นของพวกเขาต่อชาวโลก ผ่านทางสติ๊กเกอร์อย่างเช่น "ถ้าคุณไม่รู้สึกโมโห แสดงว่าคุณยังไม่ใส่ใจเพียงพอ!"
แต่ความเป็นจริงไม่ตรงตามนั้นสักเท่าไหร่ ปรากฎว่าพวกสุดโต่งทางการเมืองนั้นมีความสุขมากกว่าพวกนิยมสายกลาง โดยหากควบคุมปัจจัยทางรายได้ การศึกษา อายุ เชื้อชาติ ครอบครัวและศาสนาแล้วพบว่า ชาวอเมริกันที่มีความสุขที่สุดเป็นกลุ่มที่บอกว่าตนเองเป็น "อนุรักษ์นิยมสุดขั้ว" (ร้อยละ 48) และพวก "เสรีนิยมสุดขั้ว" (ร้อยละ 35) ส่วนคนอื่นๆ นั้น มีความสุขน้อยกว่า โดยเฉพาะพวกทางสายกลาง ซึ่งมีความสุขน้อยที่สุด
ความเป็นไปได้ของคำอธิบายแบบแผนแปลกๆ นี้คือว่า พวกสุดโต่งทางการเมืองมองโลกแบบขาวดำ ซึ่งแยกแยะสิ่งต่างๆ ไปตามแบบแผน พวกเขามีความมั่นใจในแง่ที่ว่า ใครเป็นคนผิด และต้องสู้กับใคร อาจจะกล่าวได้ว่าพวกเขาเป็นเหล่านักรบที่มีความสุขกลุ่มหนึ่ง
ไม่ว่าคำอธิบายจะชี้ว่าอย่างไร แต่นัยสำคัญของเรื่องนี้ก็น่าสนใจมาก โดยกลุ่มคนที่ประท้วงใน 'ออคคิวพาย วอลล์ สตรีท' อาจจะดูเหมือนผู้คนที่สิ้นไร้ไม้ตอก แต่ความเป็นจริง พวกเขาอาจจะมีความสุขมากกว่าพวกดำเนินสายกลางทางการเมืองซึ่งเยาะเย้ยพวกนี้ อยู่ในออฟฟิศก็เป็นได้ และจะเห็นว่า ไม่มีใครเลย ที่มีความสุขมากกว่าพวก 'ที ปาร์ตี้' ซึ่งยึดมั่นในอาวุธปืนและศาสนาด้วยความหนักแน่น และอาจจะทำให้ผู้อ่านนสพ. นิวยอร์กไทมส์หัวเสรีนิยมเกิดความหดหู่ขึ้นมาก็เป็นได้

เกี่ยวกับผู้เขียน: อาร์เธอร์ ซี บรุ๊ก เป็นประธานของสถาบันแห่งผู้ประกอบการอเมริกัน และผู้เขียนหนังสือ "The Road to Freedom" และ "Gross National Happiness"

ที่มา: แปลจาก
Why Conservatives Are Happier Than Liberals
http://www.nytimes.com/2012/07/08/opinion/sunday/conservatives-are-happier-and-extremists-are-happiest-of-all.html?_r=3&hp

กรรม การอภัยโทษและคุณค่าทางจริยธรรม

ที่มา ประชาไท

 
ชาญณรงค์ บุญหนุน
กลุ่มพุทธศาสน์ของราษฎร

ภาพประกอบจาก http://www.horajan.com/konhangkom.html

พุทธศาสนาสอน “กฎแห่งกรรม” ปัจจุบันชาวพุทธก็ถูกย้ำเตือนเสมอว่าให้ “ศรัทธา” (เชื่อ) ในกรรมและผลของกรรม ให้เชื่อว่ามนุษย์แต่ละคนมีกรรมเป็นของตน ตามนัยนี้พุทธศาสนาเชื่อว่า จักรวาลนี้ มีกฎแห่งความยุติธรรม (Law of justice) คอยกำกับควบคุมพฤติกรรมทางศีลธรรมของมนุษย์ ภายใต้กฎนี้ มนุษย์มีพันธะ (obligation) ที่จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนที่แสดงออกมาทางกาย วาจา ใจ หากว่าพฤติกรรมเหล่านั้นมาจากเจตจำนงอันเป็นอิสระ ชาวพุทธเชื่อว่ากฎที่ว่านี้เป็นกฎภววิสัย เป็นเหตุเป็นผล เที่ยงธรรมและเป็นสากล
เมื่อพูดถึงความเชื่อ (ศรัทธา) พึงเข้าใจว่า คำว่า “เชื่อ” ในที่นี้มีความหมายในเชิงอภิปรัชญาและภววิทยาคือเชื่อว่า “สิ่งนี้มีอยู่จริง” โดยพุทธศาสนาสอนว่า กฎแห่งกรรมนั้นเป็นทั้งกฎธรรมชาติและกฎศีลธรรม ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายหรือบทบัญญัติที่มนุษย์กำหนดขึ้นใช้ในชีวิตประจำวัน กฎแห่งกรรมเป็นอาณาเขตของธรรมชาติที่มนุษย์จะแทรกแซงมิได้ ส่วนกฎหมายหรือกฎระเบียบอยู่ในอาณาเขตของมนุษย์ เป็น“สังคมนิยมน์”  [1] ที่มนุษย์จะตกลงกันเองได้ว่าต้องการอย่างไร เมื่อพูดถึงการให้ผลของกรรม (กรรมวิบาก) การให้ผลของกรรมก็จะดำเนินไปเองอย่างสมเหตุสมผล เป็นกลไกและไม่มีข้อผิดพลาด เป็นอิสระจากความคิด ความรู้และความเข้าใจของมนุษย์ ในแง่หนึ่ง “กฎแห่งกรรม” ตามความเชื่อนี้จะทำงานอย่างเร้นลับ ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยวิสัยของคนธรรมดา [2]
ในโลกนี้มีข้อเท็จจริงที่ชวนให้เกิดข้อน่าสงสัยมากมายเกี่ยวกับความมี อยู่จริงของกฎแห่งกรรม เช่น คนบางคนทำความชั่ว แต่ไม่เคยเห็นว่าเขาได้รับการลงโทษจากกฎแห่งกรรม ขณะที่คนดี ๆ เป็นจำนวนมากถูกกระทำหยามหมิ่นและตายอย่างไร้เกียรติ จนมีคำพูดทำนองว่า “ทำดี ได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” แต่พุทธศาสนาก็มีคำอธิบายเรื่องนี้ คำอธิบายที่ง่ายที่สุดแต่ก็ยังมีปัญหาถกเถียงได้คือ ผลกรรมที่บุคคลทำนั้นถ้าไม่ให้ผลในชาตินี้ก็จะให้ผลในชาติหน้า ถ้าไม่ให้ผลในชาติหน้าก็จะให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป ตราบเท่าที่ยังมีเหตุปัจจัยที่เหมาะสมผู้กระทำกรรมจะได้รับผลของกรรมอย่าง แน่นอน ผู้ทำดีจะได้รับรางวัล ผู้ทำชั่วจะได้รับการลงโทษ ผู้ที่ไม่ได้รับโทษหรือพ้นโทษ (อโหสิกรรม) ก็เฉพาะเมื่อไม่มีเหตุปัจจัยที่เหมาะสม หรือกรรมที่ทำไว้ได้ให้ผลจนหมดสิ้นแล้วเท่านั้น [3]
ในที่นี้มีข้อควรสังเกตบางประการคือ
หนึ่ง ความยุติธรรมตามกฎแห่งกรรมจะดำเนินไปเองโดยที่มนุษย์ไม่ต้องเข้าไปจัดการ แทรกแซงหรือเรียกร้องเอาตามใจ เพราะเป็นกฎเกณฑ์และกลไกที่มีอานุภาพในตนเองเป็นอิสระจากมนุษย์  ดังนั้น ในแง่มุมหนึ่ง ผู้เชื่อในกฎแห่งกรรมจึงไว้วางใจ (ศรัทธา) ได้ว่า ตนจะได้รับความยุติธรรมอย่างแน่นอน แม้จะไม่ต้องออกแรงกระทำการใด ๆ เลยเพื่อให้ได้มาซึ่งผลอันยุติธรรมแห่งการกระทำที่ตนได้ทำไว้แล้วนั้น
สอง ความยุติธรรมตามกฎแห่งกรรมจะถูกรับรองหรือ รับประกันด้วยคำสอนเรื่อง “ชาติภพ” หรือให้ตรงกว่านั้นคือ “คำสอนเรื่องการเกิดใหม่” ความยุติธรรมที่จะได้รับจึง “อาจ” สืบเนื่องยาวไกลจากชีวิตหนึ่งไปสู่ชีวิตหนึ่งในชาติภพต่อไป สถานะที่และเวลาของกรรมและผลของกรรมจะทอดยาวไปจนเราไม่อาจคำนวนได้
สาม มีความเป็นไปได้ที่ผู้กระทำกรรมบางชนิดจะไม่ได้รับกรรม (กลายเป็นอโหสิกรรม) เช่น องคุลีมาล ซึ่งกรรมคือการฆ่าคนจำนวนมากไม่อาจส่งผลกระทบอย่างเต็มที่เนื่องจากได้บวช และต่อมาสำเร็จเป็นพระอรหันต์ กรรมบางชนิดโดยเฉพาะกรรมที่ทำด้วยเจตนาอ่อนมาก ๆ หากไม่มีปัจจัยสนับสนุนต่อเนื่องอย่างเพียงพอก็อาจไม่มีผลในชาติหน้า หรือกรรมที่มีผลในชาติหน้าแต่จะไม่มีผลในชาติต่อ ๆ ไป ข้อนี้มีนัยว่าการอโหสิกรรมเป็นอำนาจหน้าที่ที่เกิดขึ้นภายในระบบของกรรม นั่นเอง กรรมจะจัดสรรความเหมาะควรให้แก่การกระทำ และมีความเป็นไปได้ที่ว่าเหตุปัจจัยหรือเงื่อนไขบางประการได้เปลี่ยนแปลงไป ในทางที่จะไม่ทำให้กรรมบางชนิดบังเกิดผล
โดยสรุป ตามความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม เมื่อมนุษย์กระทำผิด การลงโทษ (วิบาก) และการอภัยโทษ (อโหสิกรรม) เป็นไปตามกฎแห่งกรรม ที่มนุษย์ไม่อาจแทรกแซงได้ คำถามคือกรณีที่คน ๆ หนึ่งทำผิดต่อคนอีกคนหนึ่ง คนที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำผิด (ผู้เสียหาย) จะสามารถอภัยโทษแก่ผู้กระทำผิดแก่ตนหรือไม่ กล่าวคือถ้าเราเป็นผู้เสียหาย เราจะอโหสิกรรมแก่ผู้กระทำผิดต่อเราได้หรือไม่ คำตอบนี้ง่าย ชาวพุทธจะถูกสอนให้เจริญเมตตาต่อผู้อื่นเสมอ ๆ  การเจริญเมตตาต่อผู้อื่นนั้นเป็นหนึ่งในการทำบุญ (ทาน ศีล ภาวนา) การเจริญเมตตาคือการสร้างความเป็นมิตรไมตรีต่อผู้อื่น พุทธศาสนาถือว่า มนุษย์ทุกคนต้องการสังคมที่ปลอดภัย ไม่ปรารถนาจะอยู่ในสังคมที่มีแต่การมุ่งร้ายเบียดเบียนกัน การอภัยต่อผู้กระทำผิดก็คือรูปธรรมของการแสดงความเมตตาที่เราจะพึงมีต่อผู้ อื่นและควรทำ ผลของการอภัยโทษก็คือเราสามารถจะรักษาจิตใจของเราให้สงบร่มเย็นไม่ตกอยู่ใน อำนาจของความโกรธ พยาบาทอาฆาต ซึ่งจะผูกพันชีวิตของเราไว้ในการแค้นและการล้างแค้นไม่สิ้นสุด การอภัยโทษจึงเป็นการปลดปล่อยตัวเองจากบ่วงของกรรม อย่างไรก็ตาม การอภัยโทษของเราไม่ได้ช่วยปลอดปล่อยผู้อื่นให้พ้นไปจากความรับผิดชอบที่เขา จะพึงได้รับอย่างเหมาะสมตามกฎแห่งกรรม
ความคิดแบบนี้มีอิทธิพลต่อชาวพุทธมาก เวลาชาวพุทธพูดถึงการอภัยโทษโดยส่วนใหญ่แล้วก็มีเหตุผลเช่นนี้อยู่เบื้อง หลัง แต่ตรรกะและการกระทำเช่นนี้ก็มีด้านลบที่ส่งผลต่อสังคมพุทธไม่น้อย คือส่งผลให้ชาวพุทธจำนวนมากเมินเฉยต่อการกระทำชั่วหรือความผิดที่เกิดขึ้นใน สังคม ในขณะที่บางประเทศที่ไม่ได้นับถือพุทธ มีวัฒนธรรมและกฎหมายที่กำหนดให้พลเมืองมีหน้าที่พิทักษ์ความยุติธรรมโดยไป เป็นพยานต่อศาล แต่ในสังคมไทย เมื่อความซับซ้อนในเชิงกฎหมายและความซับซ้อนของอำนาจในสังคมก่อภาระยุ่งยาก ต่อระบบความยุติธรรม ชาวพุทธมักจะมีท่าทีเพิกเฉยไม่ต้องการเข้าไปยุ่งเกี่ยวในความยุ่งยากดัง กล่าว นอกจากเพราะไม่ต้องการเปลืองตัวแล้ว (รักชีวิตของตนมากกว่าผู้อื่นหรือความยุติธรรมทางสังคม) ก็มีสาเหตุมาจากความเชื่อเรื่องการทำงานของกฎแห่งกรรมด้วย ด้านหนึ่งมาจากความเชื่อว่าผู้ถูกกระทำถูกกำหนดให้เป็นไปเช่นนี้เพราะกรรมใน อดีต อีกด้านหนึ่งเพราะเชื่อว่ากรรมนั่นแหละจะช่วยจัดการคนที่กระทำผิดโดยที่ มนุษย์ไม่ต้องลงมือเอง  ความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรมมีผลให้เกิดความยับยั้งที่จะไม่ทวงถามหาความ ยุติธรรมหรือต่อสู้เพื่อความยุติธรรมทางสังคมหรือแม้กระทั่งเพื่อตนเอง ความไม่ใยดีต่อผู้ได้รับผลกระทบต่อความชั่วร้ายที่เกิดขึ้นในสังคมเป็นผลตาม มาจากการเชื่อว่า ท้ายที่สุดแล้วคนชั่วก็จะได้รับผลชั่วอย่างเหมาะสมตามกรรมของเขาอย่างแน่นอน ปล่อยให้ฆาตกรลอยนวลไปรับผลกรรมเอาในชาติหน้าหรือชาติอื่น ๆ ก็แล้วกัน
ว่าไปแล้ว การอภัยโทษหรือการอโหสิกรรมที่ชาวพุทธให้ความสนใจนั้นอาจเป็นผลดีในระดับ ความสัมพันธ์แบบปัจเจกเท่านั้น คือระหว่างผู้กระทำผิดกับผู้รับผลกระทบจากการกระทำผิดในฐานะคู่ความสัมพันธ์ โดยตรง ผู้อภัยโทษจะได้ปลดปล่อยตนเองจากความอาฆาตมาดร้าย ซึ่งเป็นไปตามคำสอนในธรรมบทที่ว่า “เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร” [4] ซึ่งแน่นอนว่าหากผู้รับการอภัยโทษได้ตระหนักถึงความผิดของตนและมีความละอาย ก็ย่อมจะช่วยให้เกิดการกลับใจได้
ส่วนกรณีความชั่วร้ายซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นแก่เราโดยตรงหากแต่เกิดขึ้นและมี ผลกระทบต่อสังคมโดยรวม พุทธศาสนาจะยอมรับการอโหสิกรรมหรือการอภัยโทษหรือไม่ จะขอยกตัวอย่างจากองคุลิมาลสูตร [5] เมื่อพระเจ้าปัสเสนทิทรงรับสั่งให้กองทัพไปจับตายองคุลีมาลนั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จล่วงหน้าไปก่อนแล้ว ทรงทำให้องคุลีมาลกลับใจและบวชในร่มเงาของพุทธศาสนา ดูเหมือนว่ากรณีนี้พระพุทธเจ้าไม่ทรงใส่ใจต่อชีวิตและความเจ็บปวดของผู้สูญ เสีย เพราะกรณีนี้พระองคุลีมาลไม่ได้ถูกลงโทษจากรัฐในฐานะที่เป็นฆาตกร กลับได้รับอภัยโทษจากพระเจ้าปัสเสนทิโดยการแนะนำของพระพุทธเจ้า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างสิ้นเชิงเป็นเงื่อนไขสำคัญนำไปสู่การอภัยโทษของ รัฐ แต่คนที่สูญเสียเองไม่ได้ยอมอภัยองคุลีมาลแก่องคุลีมาลเสียทีเดียว ซึ่งเมื่อท่านออกบิณฑบาตจึงต้องเผชิญกับการทำร้ายแสนสาหัสจากผู้ที่รังเกียจ เคียดแค้น ในตอนนี้พระพุทธเจ้ากลับตรัสให้พระองคุลีมาลอดทนต่อความทุกข์ที่ได้รับเพราะ นั่นเป็นผลของกรรมในอดีต
อีกกรณีหนึ่งอยู่ในพระวินัยคือเรื่องพระฉันนะ (มหาดเล็กของเจ้าชายสิทธัตถะตอนหลังได้ออกบวช) เนื่องจากพระฉันนะเป็นคนหัวดื้อไม่ยอมรับการตักเตือนจากพระสงฆ์ ทั้งมองไม่เห็นความผิดที่ว่านี้  เมื่อภิกษุทั้งหลายเห็นว่าพระฉันนะไม่ใส่ใจต่อความผิดของตนจึงทูลปรึกษาพระ พุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงแนะนำให้สงฆ์ลงโทษพระฉันนะโดยการประกาศ อย่างเป็นทางการว่า หากสงฆ์ทั้งปวงเห็นพ้องต้องกันก็จะไม่สมคบกับพระฉันนะเนื่องจากเป็นคนหัว ดื้อ เมื่อพระฉันนะเดินทางไปยังอารามต่าง ๆ ก็ถูกเมินเฉยไม่มีใครคบค้าสมาคม จึงมีสำนึกผิด ยอมพิจารณาตรวจสอบความผิดของตน แล้วพระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้สงฆ์ประกาศรับพระฉันนะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ สงฆ์อีกครั้ง สงฆ์ได้ให้อภัยต่อพระฉันนะเมื่อท่านได้ตระหนักถึงความผิดพลาดของตนและยอมปลง อาบัติ [6]
สองเรื่องที่นำมาเล่านี้มีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการอภัยโทษ พุทธศาสนายอมรับว่าการอภัยโทษนั้นเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ การอภัยนั้นอาจไปถึงระดับที่ว่าไม่ต้องรับโทษใด ๆ อันเนื่องจากการกระทำผิดนั้นเช่นกรณีขององคุลีมาล ทั้งนี้เนื่องจากพุทธศาสนาเห็นว่าการลงโทษเพื่อเป็นการแก้แค้นกรณีนี้นั้น ไม่ได้มีผลดีแต่ประการใด อนึ่ง การให้อภัยโทษแก่ผู้กระทำผิดนั้นสืบเนื่องมาจากมุมมองของพุทธศาสนาที่ว่า มนุษย์ทุกคนอาจถูกกิเลสตัณหาทำให้อ่อนแอและกระทำผิด พูดง่าย ๆ ว่าทุกคนมีโอกาสทำความผิดพลาดได้ทั้งนั้น กรณีนี้การอภัยโทษสืบเนื่องมาจากการยอมรับความอ่อนแอทางด้านจิตใจของมนุษย์ ว่าเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไป เช่นเดียวกันในแง่มุมของมหายาน การอภัยโทษนั้นเป็นผลมาจากการตระหนักว่าทุกคนล้วนมีพุทธภาวะแต่อาจทำผิดได้ เพราะกิเลสตัณหาต่าง ๆ ครอบงำ [7] นอกจากนี้ การอภัยโทษแก่ผู้กระทำผิดนั้นยังมาจากการที่พุทธศาสนามองว่าทุกคนเป็นผู้ ร่วมทุกข์ในวัฎสงสาร   ในฉากเรื่องเล่าที่มีการขอโทษและอภัยโทษแก่กัน ผู้ที่ยอมอภัยโทษมักจะกล่าวทำนองว่า “เรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดของเราหรือของท่าน หากแต่เป็นโทษของวัฏสงสาร” [8] เบื้องหลังการให้อภัยในพุทธศาสนาจึงเป็นเรื่อง “ความเมตตากรุณา” ต่อผู้อื่นในฐานะเพื่อนร่วมทุกข์ในวัฎสงสารหาใช่เป็นเรื่องการปลดเปลื้องตัว เองจากพันธนาการของกรรมเพียงประการเดียวไม่
แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่ากรณีองคุลีมาลนั้น พระพุทธเจ้ายังทรงเห็นว่าองคุลีมาลจะต้องยอมรับโทษอันเนื่องจากกฎแห่งกรรม (การประชาทัณฑ์ของชาวบ้านที่เกิดขึ้นเพราะความโกรธแค้นในที่นี้ถูกถือว่า เป็นเรื่องกฎแห่งกรรม) ข้อนี้สะท้อนให้เห็นว่าการอภัยโทษของรัฐหรือของบุคคลเป็นอีกเรื่องหนึ่งการ รับผลตามกฎแห่งกรรมก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนกรณีของพระฉันนะนั้น ไม่มีเรื่องเล่าตอนไหนแสดงให้เห็นว่าควรจะปล่อยให้เป็นเรื่องของกรรม หากแต่พระพุทธเจ้าทรงยกให้เป็นเรื่องของสังคม (สงฆ์) ที่จะต้องดำเนินการทั้งในแง่การกล่าวโทษ การลงโทษและการอภัยโทษ ดูเหมือนว่าพอเป็นเรื่องของสังคม พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้พระสงฆ์ต้องเอาธุระในการจัดการให้เรียบร้อยทั้งในแง่ การลงโทษและการอภัยโทษทั้งนี้เพื่อพระสงฆ์จะสามารถดำเนินไปได้ด้วยความผาสุก
การอภัยโทษตามแนวพุทธศาสนาอาจมีรายละเอียดลึกซึ้งกว่านี้ ในที่นี้มีข้อสังเกตเบื้องต้นว่า เมื่อความผิดเกิดขึ้นในระดับปัจเจกบุคคลนั้น “ดูเหมือนว่า” ชาวพุทธอาจอภัยโทษโดยที่ยังไม่สามารถระบุตัวผู้กระทำความผิดนั้น ๆ ได้อย่างแน่ชัด เนื่องจากผู้ได้รับผลกระทบไม่ปรารถนาจะผูกพันเป็นเวรต่อผู้กระทำผิด ทั้งเชื่อมั่นว่ากฎแห่งกรรมจะทำหน้าที่อย่างเที่ยงตรงและเชื่อว่าผู้กระทำ ผิดก็จะได้รับผลกรรมนั้นอย่างแน่นอน การอภัยโทษเช่นนี้มีตัวอย่างในคัมภีร์หรือตำนานทางพุทธศาสนารองรับหรือไม่ก็ ยังเป็นที่สงสัยอยู่ (ฝากท่านผู้รู้และผู้สนใจช่วยพิจารณาด้วย) แต่จากเรื่องเล่าบางเรื่องในธรรมบท การอภัยโทษระหว่างปัจเจกบุคคลมักจะดำเนินไปเมื่อความผิดและผู้การกระทำผิด ปรากฏอย่างชัดแจ้งแล้ว ฝ่ายหนึ่งรู้จักตัวของผู้กระทำผิด อีกฝ่ายหนึ่งรับรู้ความเสียหายและความเดือดร้อนของผู้ถูกละเมิด เกิดความสำนึกผิดและขอภัยโทษ (บางครั้งในคำว่าขอขมาโทษ-ขอให้อดโทษ) กรณีนี้ผู้เสียหายจะให้อภัย และมักจะปรากฏว่าพุทธศาสนาเรียกร้องให้ผู้กระทำผิดต้องชดเชยความผิดของตน ด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น กรณีการผู้เวรระหว่างกุลธิดาคนหนึ่งกับนางยักษ์ในอรรถกถาธรรมบท
การอภัยโทษที่พบจากพระวินัยนั้นก็เช่นเดียวกัน คือการอภัยโทษไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยที่ยังไม่สามารถระบุความผิด ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้กระทำผิดและโทษทัณฑ์ที่พึงได้รับคืออะไร ที่สำคัญคือ การอภัยโทษเกิดขึ้นหลังจากผู้กระทำผิดได้สำนึกในความผิดของตนและตระหนักว่า ตนมีภาระหน้าที่ที่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้น เช่น กรณีองคุลีมาลคือได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นไปอย่างสิ้นเชิงแล้วด้วยเหตุว่า มีความสำนึกผิดอย่างแท้จริงในการกระทำของตน หรือถ้าเป็นโทษหนัก ก็มีภาระที่ต้องรับการลงโทษบางอย่างเพื่อเป็นการฟื้นฟูความบริสุทธิ์ของผู้ กระทำความผิดนั้นเอง ก่อนจะได้รับการอภัยจากหมู่คณะ แต่ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม อย่างน้อยที่สุด การอภัยโทษ (การรับเข้าหมู่สงฆ์) ไม่อาจเกิดขึ้นได้หากไม่อาจระบุได้ว่าใครทำความผิดและมีการยอมรับความผิด [9]
อาจกล่าวได้ว่าการอภัยโทษภายใต้ความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมนั้น เกิดขึ้นได้ด้วยเหตุผลที่ยอมรับความยุติธรรมตามกฎสากลโดยที่ยังไม่มีการระบุ ตัวผู้กระทำผิดและมีการยอมรับความผิดของผู้กระทำผิด แต่การอภัยโทษในลักษณะที่ “ไม่รู้” แม้กระทั่งว่าคนผิดเป็นใครนั้น อาจจะไม่ก่อให้เกิดผลดีแต่ประการใดทั้งแก่ปัจเจกบุคคลและแก่สังคม เพราะไม่ได้ทำให้เกิดการกล่อมเกลาทางศีลธรรม (Moral education) กล่าวคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม น่าจะกล่าวได้ว่า การลงโทษและการตระหนักในความผิดโดยแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมเท่านั้น ที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้และเกิดการตระหนักรู้ในความรับผิดชอบทางศีลธรรม แก่ผู้กระทำความผิดอย่างแท้จริง ทั้งมีผลต่อความสงบร่มเย็นของสังคมโดยรวม การทำให้ความผิดและผู้กระทำความผิดเป็นที่ปรากฏต่อผู้อื่นหรืออย่างน้อยต่อ ปัจเจกบุคคลผู้ถูกละเมิด หรือในกรณีของสังคมก็ต้องได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะ น่าจะก่อให้เกิดการตระหนักและเรียนรู้ที่จะไม่ทำความผิดซ้ำอีกได้มากกว่าการ อภัยแบบเหมารวมซึ่งเราไม่รู้เลยว่าใครทำอะไรผิด
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะชวนผู้อ่านได้พินิจพิเคราะห์การอภัยโทษแบบไทย ๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์สังคมการเมืองของเรา รวมทั้งที่กำลังมีความพยายามที่จะทำกันอยู่ในขณะนี้ในนาม “ความปรองดอง” กล่าวให้ชัดคือในระบบการอภัยโทษแบบเหมารวม ซึ่งมีลักษณะคล้ายการโยนภาระการลงโทษให้กฎแห่งกรรม โดยที่ยังไม่สามารถระบุตัวได้ชัดเจนเลยว่าใครเป็นผู้กระทำผิดอย่างแท้จริง ทั้งที่เราหรือสังคมยังไม่ได้มีโอกาสรับรู้เลยว่า “ใครคือผู้กระทำผิด” และ “ควรจะได้รับโทษมากน้อยเพียงใด” แต่รัฐหรือสังคมก็ให้อภัยพวกเขาแล้ว นอกจากต้องถามว่าการอภัยโทษแบบนี้ละเมิดหลักการของการลงโทษหรือหลักของความ ยุติธรรมหรือไม่แล้ว อาจจะต้องถามด้วยว่า การอภัยโทษทำนองนี้แม้เราจะเชื่อว่ากฎแห่งกรรมจะอำนวยผลให้เราในขั้นสุดท้าย (ซึ่งก็เป็นความเชื่อที่อาจไม่เป็นจริงก็ได้) แต่มันจะมีความหมายอะไรในเชิงจริยธรรม การไม่สามารถระบุตัวผู้กระทำผิดได้อย่างชัดเจนแล้วอภัยโทษเสียนั้นโดยแท้ จริงแล้วอาจไม่ได้ก่อให้เกิดการกล่อมเกลาจริยธรรมทั้งแก่ผู้กระทำความผิด หรือสังคมแต่ประการใดเลยก็เป็นได้
หรือแม้ในกรณีการอภัยโทษที่มักจะเกิดตามมาจากการถูกกล่าวหาว่าละเมิด กฎหมายอาญา มาตรา 112  ก็น่าจะต้องวิเคราะห์ให้กระจ่างว่า การอภัยโทษเหล่านี้มันมีความหมายในเชิงจริยธรรมแก่ปัจเจกบุคคลหรือแก่ สังคมอย่างแท้จริงหรือไม่ กรณีมาตรา 112 มีความพิเศษในประเด็นที่ว่า “ความผิด” ที่ถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมายมาตรานี้ จริง ๆ แล้ว  “ในบางกรณี” อาจ “ไม่ได้เป็น” ความผิด เพราะการกระทำที่ถูกกำหนดให้ “เป็นความผิด” นั้นไม่ได้ละเมิดกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมใด ๆ ซึ่งระบบจริยศาสตร์ในสากลโลกถือว่าเป็นความผิด (เช่น การพูดความจริง) แต่มันเกิดเป็นความผิดเนื่องมาจากสังคมกำหนดให้เป็นความผิด ซึ่งเป็นข้อยึดถือที่แปลกประหลาดอย่างยิ่ง
ถ้าหากมีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นจริง (กรณีความผิดที่กฎหมายระบุหรือผู้พิพากษาระบุ แต่ไม่ได้เป็นความผิดในทางเชิงศีลธรรมและจริยธรรม) และมีการอภัยโทษแก่ผู้กระทำผิดหลังจากที่ศาลตัดสินแล้วว่าผู้ไม่มีความผิดใน เชิงจริยธรรมเป็นผู้มีความผิดในเชิงกฎหมายและต้องรับโทษ การอภัยโทษดังกล่าวนี้มีความหมายอย่างไรในเชิงจริยธรรม และจะสามารถก่อให้เกิดผลในการกล่อมเกลาทางจริยธรรม นำไปสู่ความสงบของสังคมนี้ได้จริงหรือไม่
รายการอ้างอิง
[1] พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธธรรม. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2538 หน้า 177-179.
[2] ชาวพุทธเชื่อว่า “กรรมเป็นพุทธวิสัย” ดู มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, พระสูตรและอรรถกถา แปล เล่มที่ 69. (กรุงเทพฯ : มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2543) หน้า 422 และสมภาร พรมทา, พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์. (กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2534) หน้า 93-94.
[3] มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, พระสูตรและอรรถกถา แปล เล่มที่ 69. หน้า 418-422.
[4] พระธรรมบทมีพุทธพจน์ดังนี้ “ในกาลไหน ๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับด้วยเวรเลย ก็แต่ย่อมระงับด้วยความไม่มีเวร ธรรมนี้เป็นธรรมเก่า” ดู มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, พระสูตรและอรรถกถา แปล เล่มที่ 40. (กรุงเทพฯ : มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2543) หน้า 2
[5] “องคุลิมาลสูตร” [มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์] พระไตรปิฎก เล่มที่ 13 ข้อ 521-525.
[6] มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, พระวินัยเล่ม เล่มที่ 6: จุลวรรค ปฐมภาคและอรรถกถา. (กรุงเทพฯ : มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2543) หน้า 105-122.
[7] Loy, David R., “Healing Justice : A Buddhist Perspective”. Http://www.zen-occidental.net/articles1/loy2.html. [online  23/07/2012]
[8] ดูตัวอย่างเรื่อง “พระติสสะผู้เข้าถึงสกุลของนายช่างแก้ว” ธัมมปทัฎฐกถา อรรถกถาขุททกนิกาย ใน มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, พระสูตรและอรรถกถา แปล เล่มที่ 42. (กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2543) หน้า 51-52
[9] ดู วินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม 7 [กัมมักขันธกะ]

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์: ลุ้นศาลไทย คว้าชัย โอลิมปิก!

ที่มา ประชาไท


วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นักกฎหมายอิสระ
http://www.facebook.com/verapat




ผมกลับจากการไปพักผ่อนที่เชียงใหม่เมื่อวาน ไม่พลาดโอกาสทานกาแฟกับอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ วันนี้กลับมาประชุมทำงานที่กรุงเทพ แล้วพรุ่งนี้จะไปหมู่เกาะอ่าวไทย เพื่อบรรยายวิชาการเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล
การได้สูดอากาศบนดอยสีเขียว แล้วเตรียมไปรับลมทะเลสีคราม ชมความงานของบ้านเรา ได้คิดได้คุยในสิ่งที่เราสนใจ ฟังดูน่าจะมีความสุข
แต่วันนี้ ผมกลับ 'มึนหัว'  ตึบ ตึบ ตึบ ทั้งที่ไม่ได้เมารถขึ้นเขา หรือเมารือลงทะเล
แต่ผม 'มึน' กับ 'ความพิสดาร' ของ 'คำวินิจฉัยส่วนตน' ของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรื่องการทำประชามตินั้น ตุลาการ 8 ท่าน มีความเห็นแตกออกเป็น 4 ฝ่าย ซึ่งเมื่ออ่านรวมกันแล้ว ก็พบว่าขัดแย้งกับ ‘คำวินิจฉัยกลาง’ ที่เผยแพร่ไปก่อนหน้านี้ (ผมอธิบาย ‘ความมึนเบื้องต้น’ ไปแล้วที่ http://bit.ly/8Jesters )
ยิ่งมานั่งอ่านทีละบรรทัด ยิ่งมึน ยกตัวอย่าง ท่านประธานศาล เขียนย่อหน้าหนึ่ง บอกว่า การที่สภาพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็น ‘การใช้สิทธิเสรีภาพ’ แต่พอมาอีกย่อหน้าในหน้าเดียวกัน กลับบอกว่าเป็น ‘การใช้อำนาจ’ ของรัฐสภา
มึนแล้วไม่พอ ผมรู้สึก 'คลื่นไส้' เมื่อเห็น ‘สำนักงานศาล’ มาวิ่งไล่แจ้งความเอาผิดประชาชน แถมเขียนขู่อีกว่าจะไปแจ้งความดำเนินคดี เพิ่มอีก (ดูใบข่าวของศาลได้ที่ http://bit.ly/CCsuites)

 

กรณี เจ๋ง แจกเบอร์
กรณี คุณเจ๋ง ดอกจิก ที่ไปแจกชื่อแจกเบอร์โทรศัพท์ของครอบครัวตุลาการ ผมว่าคุณเจ๋ง ทำแย่มากนะครับ
หาก ‘ครอบครัว’ ตุลาการถูกคุกคามให้เดือดร้อนเสียหายจากการกระทำดังกล่าว ผมสนับสนุนให้ครอบครัวตุลาการใช้สิทธิดำเนินคดีและเรียกค่าเสียหายจากคุณ เจ๋งได้เต็มที่
แต่หากมองจากมุมของ ‘ศาล’ ซึ่งมีทั้งอำนาจ ทั้งสื่อ และกองรักษาความปลอดภัยที่ประชาชนจัดให้แล้ว ข้อที่ไม่ควรลืมคือ คุณเจ๋งได้ขอโทษศาลไปแล้ว และสังคมรวมทั้งสื่อ ก็ร่วมกันลงโทษคุณเจ๋งไปแล้ว แม้แต่แกนนำเสื้อแดงก็ลงโทษคุณเจ๋งด้วย ไม่ว่าจะโดยคำต่อว่า คำด่า หรือคำขู่  ผู้เขียนเองเดาว่า เหตุที่คุณเจ๋งได้ขอโทษ ส่วนหนึ่ง ก็เพราะถูก ‘ผู้ใหญ่ต้นสังกัด’ ตำหนิต่อว่าเช่นกัน
แต่ก็ไม่เห็นคุณเจ๋งเขาจะไปไล่แจ้งความเอาผิดใครที่มาต่อว่าด่าทอ ทั้งที่ คุณเจ๋งเป็นประชาชนคนธรรมดาไม่มีอำนาจอะไร
ยิ่งไปกว่านั้น ตัวตุลาการท่านเอง ก็ยังมิได้ติดใจไปแจ้งความ แล้วเหตุใดสำนักงานศาลจะต้องไปวิ่งไล่แจ้งความแทน ?
ประชาชนชุมนุมขุ่มขู่ศาล?
ส่วนประชาชนที่ไปประท้วง ปราศรัย ชุมนุมข่มขู่ศาล ส่วนตัวผมเองก็ไม่ได้สนับสนุนเห็นชอบอะไร
แต่ผมเชื่อว่า สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมแสดงความเห็น เพื่อต่อต้านหรือประท้วงการใช้อำนาจของรัฐ แม้มันจะดุเเดือด เผ็ดร้อน หยาบคาย หรือไม่เรียบร้อยเพียงใด แต่ก็เป็นความจำเป็นต่อประชาธิปไตย เพราะประชาชนคนธรรมดา อาจไม่มีอำนาจเพียงพอที่จะไปขอพื้นที่จากสื่อ หรือเรียกให้นักการเมืองมาเป็นตัวแทนของเขาในทุกเรื่อง
การแสดงออกเหล่านี้เอง คือ 'ท่อหายใจ' ที่พื้นฐานที่สุด ของประชาชน ที่จะขอความสนใจจากผู้มีอำนาจ รวมทั้งสื่อ และเพื่อนประชาชนด้วยกัน เพื่อให้ตนเองได้มีส่วนร่วมทางการเมือง
ยิ่งไปกว่านั้น หลักฐานปรากฏชัดว่า เรามีตุลาการที่เข้มแข็งอาจหาญ ตัดสินคดีไปตามที่ท่านเห็น แม้สังคม รัฐสภา หรือนักวิชาการ หรือแม้แต่สื่อต่างประเทศ จะท้วงท่านอย่างไร ท่านก็ไม่เอนเอียงตามแรงกดดัน แล้วเหตุใดสำนักงานศาลจะต้องไปวิ่งไล่แจ้งความแทน ?
ประชาชนแจ้งความเท็จ?
สิ่งที่ผมมองว่าเลวร้ายที่สุด คือ การที่สำนักงานศาลไปแจ้งความกลับ เพื่อเอาผิดประชาชนที่ไปแจ้งความเอาผิดศาลว่าศาลใช้อำนาจโดยมิชอบ
ก็ถ้าประชาชนแจ้งความท่าน สุดท้ายคนที่จะเอาผิดท่านได้ ก็คือ ลูกหลานตุลาการของท่านเอง มิใช่หรือ ?
สำนักงานศาล รวมถึงตำรวจที่รับแจ้งความ โปรดไปศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกาให้ดี หากประชาชนแจ้งความตามที่เชื่อโดยสุจริตก็ดี หรือแจ้งตามสภาพที่พบเห็นโดยมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นความจริงก็ดี ศาลฎีกาได้ตีความเป็นบรรทัดฐานเสมอมาว่าไม่เป็นความผิด เช่น ฎีกาที่ 1050/2514, 3025/2526, 4669/2530 หรือ 1173/2539
ท่านกลัวว่าท่านจะทำผิดจริง?
ก็ท่านเป็นถึงศาลรัฐธรรมนูญ ท่านตีความกฎหมายผูกพันทุกองค์กร รวมถึงตำรวจ  ป.ป.ช. หรือแม้แต่ ศาลฎีกา ถ้าท่านสุจริตใจ ทำตามอำนาจกฎหมายที่ท่านมี ท่านจะไปกลัวอะไรครับ ?
ต่างกันราวฟ้ากับดิน เมื่อเทียบกับประชาชนคนธรรมดา แม้เป็นเจ้าของอำนาจ แต่ก็มอบให้คนอื่นไปจนตนเองเหลือน้อยนิด ได้แต่มองดูนักการเมืองที่นอบน้อมต่อคำวินิจฉัยของศาล ขนาดสภายังชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่ศาลสั่ง แล้วหากประชาชนไม่พึ่งความเห็นและเสียงของตนเอง แล้วจะให้ไปพึ่งใคร ?
ท่านกลัวสังคมเข้าใจท่านผิด?
ไม่ต้องกลัวครับ เพราะท่านมี 'สื่อ' ที่คอยบริการ 24 ชั่วโมง รายงานทุกความเคลื่อนไหวของท่าน ตอนท่านอ่านคำวินิจฉัย ก็ถ่ายทอดสดรายงานทั่วประเทศ ทุกช่องอยากขอสัมภาษณ์ตุลาการ ท่านไม่มาก็มีนักวิชาการคอยมาฟังและอธิบายแทนท่าน แม้แต่ท่านประธานศาลพูดอะไรสั้นๆ 1 ประโยค ก็กลายเป็นคำพาดหัวหนังสือพิมพ์ได้ทุกฉบับ สิ่งที่ท่านเขียนไว้ในราชกิจจานุเบกษา ก็ถูกส่งไปพิมพ์ขึ้นมาโดยเงินภาษีประชาชน
ต่างกันราวฟ้ากับดิน เมื่อเทียบกับประชาชน ที่ไม่มีอำนาจจะไปตีฆ้องร้องป่าวให้สื่อและสังคมหันมาสนใจมุมมองที่เขามอง ความไม่ยุติธรรมในสังคม
ท่านกลัวการถูกข่มขู่?
ไม่ต้องกลัวครับ ประชาชนได้พร้อมใจจ่ายภาษีเพื่อให้ท่านมีความปลอดภัย มีเฮลิคอปเตอร์ และกองกำลังที่คุ้มครองท่าน และประชาชนอย่างผมและอีกหลายคน รวมถึงสื่อที่คอยติดตามเฝ้าระวังแทนท่าน ก็พร้อมจะออกมาต่อวต้านใครผู้ใดก็ตามที่จะไปทำร้ายท่าน โดยที่ท่านเองไม่ต้องลำบากไปทำอะไร
ต่างกันราวฟ้ากับดิน เมื่อเทียบกับประชาชนคนธรรมดา ที่พอวิจารณ์ศาลหรือผู้มีอำนาจมาก ก็ถูกดักรุมทำร้ายได้ตลอดเวลา แม้แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยชื่อดังมีลูกศิษย์มากมาย ยังถูกดักทำร้ายได้ง่ายๆหน้าตึกที่ตัวเองทำงาน
ท่านกลัวการเป็นคู่ความ?
หากมีอะไรที่จะพอเป็นเหตุเป็นผลให้ตุลาการกลัว ก็คือกลัวการเป็นคู่ความฟ้องคดีเอง เพราะกลายเป็นว่า หากวันใดมีคดีมาสู่ศาล ก็อาจถูกหาว่าตนมีส่วนได้เสีย จนทำให้ต้องถอนตัว และพลาดโอกาสใช้อำนาจเอาคืนประชาชนอย่างน่าเสียดาย
ตุลาการไทย ทำลายสถิติโอลิมปิก?
จากที่กล่าวมาทั้งหมด ผมจึงเห็นว่า มันไร้สาระมาก หากเราจะมานั่งเถียงกันว่า สำนักงานศาลก็มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อปกป้องตุลาการมิใช่หรือ
เราลองดู ‘ฝ่ายบริหาร’ หรือ ‘ฝ่ายนิติบัญญัติ’ ที่ถูกประชาชนข่มขู่ เหยียดหยาม จ้องเอาผิด กันอยู่ทุกวัน  ผมก็ไม่เห็นสำนักนายกฯ หรือ สำนักงานเลขาธิการสภาฯ จะมาไล่ฟ้องประชาชน เพราะเขายอมรับว่า ประชาชนต้องตรวจสอบบุคคลสาธารณะผู้ใช้อำนาจได้
หากกรณีใดที่ประชาชนทำแรงเกินไป หรือส่วนตัวเกินไป ก็ต้องเป็นตัว นายกฯ หรือ ประธานสภาฯ เอง ที่จะไปฟ้องคดีเอาผิด ไม่ใช่ให้สำนักงานราชการมาใช้เงินภาษีของประชาชนมาเอาผิดประชาชน
สิ่งที่ร้ายที่สุดจะเกิดเมื่อ ‘ประชาชนด้วยกันเอง’ ไปหลงผิดยอมรับว่า การที่ผู้ใช้อำนาจมาฟ้องประชาชนนั้น เป็นเรื่องปกติที่ทำได้ง่ายๆ เพราะหากหลงคิดเช่นนั้น ก็เท่ากับประชาชนยอมรับให้ผู้ใช้อำนาจสามารถคุกคามข่มขู่ให้ประชาชนกลัว จนไม่อยากตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ผู้ใช้อำนาจในที่สุด ซึ่งในประเทศที่เจริญแล้ว เขาไม่ทำกัน หมายถึง ประชาชนเองที่เจริญแล้ว ก็ต้องไม่ไปหลงผิดคิดกลัวตามไปด้วย
ดังนั้น ในปีนี้ หากจะมีการประชุมตุลาการนานาชาติที่มีตุลาการจากแต่ละประเทศมาประชุมร่วมกัน (ซึ่งประชาชนจ่ายภาษีให้ตุลาการไทยได้บินไปประชุมอยู่ทุกปี) ท่านเลาธิการสำนักงานศาล น่าจะลองขอเบิกงบไปประชุมด้วย เพื่อไปถามตุลาการจากทั่วโลกว่า สำนักงานศาลบ้านเขา หรือแม้แต่ตัวตุลาการเขาเอง มาวิ่งไล่ฟ้องประชาชนของเขาในเรื่องไร้สาระแบบนี้ กันปีละกี่คดี ?
เพราะไม่แน่ว่า อาจมีการทำลายสถิติโลก ในประเภทกีฬา ‘ชกประชาชน’ !
แม้ว่าคุณภาพผู้ชก อาจเป็นเพียง 'มือสมัครเล่น' ก็ตาม.

ความหน้าด้านของอภิสิทธิ์

ที่มา thaifreenews





วันนนี้ อภิสิทธิ์ จะใส่เสื้อสีแดง 
หรือสีเหลือง หรือสีฟ้า หรือสีอะไร
สีเสื้อมันก็ไม่สามารถปกปิดจิตใจ ที่ชั่วร้าย 
โหดเหี้ยม อำมหิต ของตนได้
และมือที่เปื้อนเลือดของคุณ 
มันก็ไม่มีทางที่จะล้างออกไปได้

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 31/07/55 ชาติลงทุนให้มันมากเกินไปหรือเปล่า?

ที่มา blablabla

โดย 

 ภาพถ่ายของฉัน




ฟังเสียงร้อง โหยหวน ชวนสมเพช
แสนทุเรศ กากมนุษย์ สุดเหลวไหล
แก๊งค์อุ้มสม คนชั่ว ตัวจัญไร
ผู้จุดไฟ เผาประเทศ ทุกเขตแดน....


กระเตงมัน เพื่อสั่งฆ่า ประชาราษฎร์
ทำอุบาทว์ แล้วเลี่ยงหลบ บัดซบแสน
สมถูกสาป จริงหนอ ตอแหลแลนด์
จึงอัดแน่น ด้วยคนพาล สามานย์ชน....


มีแต่เรื่อง โคตรเอือม และเสื่อมถอย
เดินตามรอย ที่ขีดไว้ ให้สับสน
สร้างวิกฤติ การเมือง เรื่องสัปดน
เป็นเงื่อนไข ให้วกวน จนเข้าทาง....


เพราะยังมี แก๊งค์ชั่ว มัวอุ้มสม
ทาสอารมณ์ เพื่อพวกมัน หัวยันหาง
บทสุดท้าย ชาติย่อยยับ จนอับปาง
ไอ้พวกบ่าง ย้งเฉไฉ ไร้สำนึก....


ชาิติลงทุน มากเกินไป ใยไม่คิด
อุ้มอภิสิทธิ์ชน คนจัญไร ไม่รู้สึก
จากรอยแผล เล็กน้อย ค่อยฝังลึก
หรือรอตกผลึก ยามฉิบหาย ตายพร้อมมัน....


๓ บลา / ๓๑ ก.ค.๕๕

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ศาลรัฐธรรมนูญ เอาจริง กล่าวโทษแกนนำเสื้อแดง-เพื่อไทย และพวก กราวรูด คุกคาม ข่มขู่ศาล

ที่มา uddred

 มติชนออนไลน์ 30 กรกฎาคม 2555 >>>




ศาลรัฐธรรมนูญ เอาจริง กล่าวโทษแกนนำเสื้อแดง-เพื่อไทย และพวก กราวรูด คุกคาม ข่มขู่ศาล
วันนี้ (30 ก.ค.) เวลา 14.30 น. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้มอบหมายให้คณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญแถลงข่าวจากที่กรณี ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้อง ขอให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เรื่องพิจาณาที่ 18-22/2555 ได้มีกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มผลักดันทางการเมือง ได้โจมตี ผลักดัน ข่มขู่ คุกคาม การปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะด้วยการแถลงข่าวโจมตี หรือการกล่าวปราศรัยตลอดจนวิธีการต่าง ๆ เพื่อบีบบังคับข่มขืนใจ ให้วินิจฉัยคดีให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของกลุ่มตน โดยมีการกระทำเป็นกระบวนการร่วมกัน

สำนักงานศาลรัฐธรรมจึงมีความจำเป็นต้องกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนกอง บังคับการปราบปราม เพื่อดำเนินคดีมิให้เป็นเยี่ยงอย่างอันเป็นภัยร้ายแรงต่อความสงบเรียบร้อย ของบ้านเมือง ดังต่อไปนี้ 

1.นายยศวริศ ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก ข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 และมาตรา 198 และข้อหาที่ทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวและความตกใจโดยการขู่เข็ญ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392 จากการกล่าวปราศรัยที่บริเวณหน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2555

2.นายก่อแก้ว พิกุลทอง ข้อหาข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่า จะใช้กำลังประทุษร้าย ดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี หรือกระทำการขัดขวางการพิจารณาหรือพิพากษาของศาลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 139 มาตรา 140 และ มาตรา 198 และข้อหาทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัว และความตกใจโดยการขู่เข็ญตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392 จากการกล่าวปราศรัยต่อกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองเวทีมีนบุรี เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2555 และจากการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2555

3. จ่าสิบตำรวจประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และดูหมิ่นศาลศาลในการพิจารณาหรือพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 และ มาตรา 198 จากการแถลงข่าวผ่านทางทีวีเอเชียอัพเดต เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2555

 4.นายอนุรักษ์ เจนตวนิชย์ ข้อหาแจ้งความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่เจ้าพนักงานสอบสวนและโดย รู้อยู่ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แต่ได้แจ้งข้อความต่อพนักงานสอบสวนว่ามีการกระทำความผิดเพื่อให้คณะตุลาการ รับโทษทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 มาตรา 173 และ มาตรา 174 จากการที่ นายอนุรักษ์ แจ้งความร้องทุกข์ กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน บก.ปปป. เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2555

5. กลุ่มบุคคลประกอบด้วย
1.นายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือโกตี๋
2.นายมาลัยรักษ์ ทองชัย
3.นางสาวเพ็ญสุดา สินธุญา
4.นางสาวนวพร ประเสริฐอำนวย
5.นายวิสันต์ บุญประกอบ
6.นางสาวสุวรรณา แสงรัตน์
7.นายวันชัย สหกิจ
8.นางสาวสุพร แซ่จึง
9.นายไพโรจน์ ทิพวารี
10.นางสาวปราณี ปรางทอง
11.นายอิทธิวัฒน์ อนุวัตรวิมล
12.นายถนอม สุทธินันท์
13.นายปาน พลหาญ
14.นายแดง บำเพ็ญสิน
15.นายมะลิ หอระดาน
16.นายสุรเดช บัณดิต
17.นางสาวนันทกา อินทรนนท์
18.นายนคิรินทร์ ทุมพันธ์
19.นายไพร๊อท ภูกาน
20.นายธีรชัย อุตรวิเชียร
21.ว่า ร.ต.ณราสิน ศรีสันต์
22.นางสาวสำเนียง นาคพิทักษ์
23.นางเวียง ศรีคร้าม
24.นายสมศักดิ์ นาคา
25.นายศุภชัย ตระกูลธนกร และ
26.นายสุริน เพ็ชรรัตน์

ข้อหาร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่เจ้าพนักงาน สอบสวน และโดยรู้อยู่ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แต่ได้แจ้งข้อความต่อพนักงานสอบสวนว่ามีการกระทำความผิดเพื่อให้คณะตุลาการ รับโทษทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 มาตรา 173 และมาตรา 174 เหตุเกิดที่สถานีตำรวจภูธรคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2555

6. นายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือโกตี๋ และพวกไม่ทราบชื่อประมาณ 50 คน ข้อหาร่วมกันดูหมิ่นเจ้าพนักงานที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และดูหมิ่นศาลในการพิจารณาหรือพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 มาตรา 136 และ มาตรา 198 เหตุเกิดบริเวณหน้าอาคารศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2555

เต่านา ว่า อภิสิทธิ์

ที่มา thaifreenews




วันนี้ คุณเต่านา มล. มิ่งมงคล โสณกุล ได้ออกมาเขียนถึง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ผ่านทาง Facebook ของคุณเต่านา https://www.facebook.com/taona.sonakul 
ต่อกรณีที่นายอภิสิทธิ์ ใส่เสื้อแดงขึ้นเวทีปราศรัย ดังนี้
เรียน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 

หากท่านเชื่ออย่างจริงใจว่า ประชาชนไทยเป็นผู้มีจิตใจเป็นเสรีชน 
สามารถมีความให้เกียรติในความเห็นที่แตกต่างของเพื่อนร่วมชาติด้วยกันอย่างแท้จริงแล้ว 
ถ้าหากพวกเขาอยากจะใส่เสื้อสีอะไรก็ให้เขาใส่ไปเหอะ จะสีเหลือง สีแดง สีฟ้า สีม่วง สีดำ ฯลฯ 
ไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่จะต้องไปบอกให้เขาไปเปลี่ยนเสื้อเป็นสีโน้นสีนี้ 
พวกเขาอยากจะใส่เสื้อสีห่าอะไรก็ให้เขาใส่ไป
อย่าไปขออะไรกับคนอื่นที่เขามีที่มาที่ไปกันคนละแบบกับท่านเลย 
คนที่เขาเลือกใส่ สีแดง สีเหลือง ก็เพราะเขาใส่แล้วเขามีความสุขของเขา
ความแตกแยกไม่ได้มาจากสีเสื้อ 
ความแตกแยกมาจากความเจ็บช้ำน้ำใจ 
และความรู้สึกว่าไม่มีความยุติธรรม 
และตราบใดที่ท่านยังไม่สามารถแสดงน้ำใจขอโทษประชาชนไทย 
และวิญญาณของคนที่ต้องตายไปกว่าร้อยศพ
โดยการบริหารงานที่ผิดพลาดของท่านในฐานะนายกรัฐมนตรี 

ท่านอย่าได้มาเสียเวลาเปลืองน้ำลายฝันบ้าๆบอๆไปว่า
จะมีใครลุกขึ้นบ้าใส่เสื้อแดงเพื่อเป็นแนวร่วมกับท่านเพื่อทวงคืนความยุติธรรม
ให้คนที่ท่านเองนั่นแหละเป็นคนทำพวกเขาตาย
ท่านเป็นคนที่จิตป่วยมากๆแล้ว ท่านต้องพบจิตแพทย์ 
และหลบไปอยู่ในที่สงบๆสักพัก

รมว.กลาโหมท้า'อภิสิทธิ์'ฟ้องกรณีแถลงใช้เอกสารเท็จ

ที่มา Voice TV



รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  ระบุสถานการณ์เขาพระวิหารยังปกติหลังให้ตำรวจตระเวนชายแดนเข้าไปปฏิบัติหน้าที่แทนทหาร  

พร้อมไม่หวั่น กรณีที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์จะฟ้องร้องจากการแถลงข่าวใช้เอกสารเท็จเข้า รับราชการเป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อย จปร.รายละเอียดเรื่องนี้จากคุณ ศิริเกษ   หมายสุข วีรีพอร์ตจังหวัดศรีสะเกษ

 พลอากาศเอกสุกำพล  สุวรรณทัต  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  และนายวิรุฬ  เตชะไพบูลย์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และคณะได้เดินทางไปตรวจราชการที่  จ.ศรีสะเกษ ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่  โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถึงสถานการณ์บริเวณเขาพระวิหารหลังจากที่ส่งตำรวจตะเวนชายแดน หรือ  ตชด.ไปปฏิบัติหน้าที่แทนทหารไทยตามคำสั่งของศาลโลกว่า ขณะนี้เหตุการณ์ต่าง ๆ ยังคงปกติไม่มีรายงานในทางที่ลบและไม่มีปัญหาไม่มีการร้องเรียนจากประชาชน แต่อย่างใด   ซึ่ง ตชด.ได้ปฏิบัติหน้าที่แทนทหารได้เป็นอย่างดี เพราะว่าเป็น ตชด.ที่มีการคัดเลือกมา  เพื่อให้มีความเข้มแข็งในการปฏิบัติหน้าที่บริเวณเขาพระวิหาร ซึ่งคงจะทดแทนกันไปเรื่อย ๆ    และขณะนี้ได้เปิดผามออีแดงให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปเที่ยวชมได้แล้ว  โดยทหารกำลังเร่งดำเนินการเก็บกู้กับระเบิดรอบบริเวณเขาพระวิหาร

ส่วนกรณีที่มีข่าวว่า  นายอภิสิทธิ์   เวชชาชีวะ  หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เตรียมฟ้องร้องที่ได้แถลงข่าวว่า   นายอภิสิทธิ์  ใช้เอกสารเท็จในการสมัครเข้ารับราชการเป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อย จปร.นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  กล่าวว่า คงห้ามไม่ได้ หากจะมีการฟ้องร้อง  หากคิดว่าแน่จริงก็ให้ฟ้องมา

29 กรกฎาคม 2555 เวลา 21:38 น.

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: พิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ

ที่มา ประชาไท

 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา กลุ่มนิติราษฎร์ ซึ่งอธิบายว่าเป็นกลุ่มนิติศาสตร์เพื่อราษฎร ได้ออกแถลงการณ์ในหัวข้อเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญแล้วให้มีการจัดตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐ ธรรมนูญขึ้นแทน โดยมีหลักการสำคัญที่จะให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญชุดใหม่นี้มีการยึดโยงกับ อำนาจของประชาชนมากยิ่งขึ้น และเปลี่ยนหลักการจากการมุ่งพิทักษ์เฉพาะรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 มาเป็นการพิทักษ์หลักการของระบอบรัฐธรรมนูญแทน
คงจะต้องขออธิบายว่า ข้อเสนอและหลักการของคณะนิติราษฎร์เช่นนี้ มีความน่าสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะการเสนอในเรื่องข้อถกเถียงที่จะให้ศาลยึดโยงกับอำนาจของประชาชน ซึ่งหลักการเช่นนี้เป็นเรื่องที่สมควรที่จะปรับใช้ในการปฏิรูปกระบวนการศาล ยุติธรรมต่อไป แต่ปัญหาหลักเฉพาะหน้านี้คือ การใช้อำนาจเกินขอบเขตของศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน การแก้ปัญหาตามข้อเสนอของนิติราษฎร์ คือ ให้มีการยุบศาลรัฐธรรมนูญจึงกลายเป็นความจำเป็นเฉพาะหน้า
ศาลรัฐธรรมนูญมีขึ้นครั้งแรกตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 โดยระบุให้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอรรถคดีทั่วไป ที่มาของศาลนั้น รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา ต่อมา ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 ก็ได้ระบุให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาเช่นเดียวกัน เพียงแต่วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 เป็นวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งและเป็นประชาธิปไตย ส่วนวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เป็นพวกลากตั้งเสียครึ่งสภา และไม่มีความเป็นประชาธิปไตย จึงทำให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน ประกอบด้วยพวกผู้พิพากษาชราภาพ มีแนวคิดอนุรักษ์นิยม และยังเป็นกลุ่มที่เคยทำงานรับใช้คณะรัฐประหารมาแล้ว จึงมีปัญหาความชอบธรรมในการปฏิบัติงานมาแต่แรก
ต่อมา ในการปฏิบัติงานยังปรากฏว่า ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ ใช้อำนาจมากเกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญได้ให้ไว้อยู่เสมอ การวินิจฉัยอรรถคดีทั้งหลายก็ตั้งอยู่บนฐานของอคติ และได้ใช้อำนาจเหนืออำนาจบริหารมาแล้ว โดยใช้คำวินิจฉัยของศาลล้มรัฐบาลของประเทศไทย ปลดนายกรัฐมนตรี ยุบพรรคการเมือง ตัดสิทธิ์หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้งหลายที่มาจากเสียง ส่วนใหญ่ของประเทศ โดยที่คนเหล่านั้นไม่ได้กระทำความผิด และยังใช้อำนาจลงไปในรายละเอียดถึงขนาดเข้าแทรกแซงในเรื่องการดำเนินนโยบาย ต่างประเทศ ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากมาแล้ว
และตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญคณะปัจจุบัน ยังทำเรื่องร้ายแรงที่สุดอย่างไม่น่าเชื่อ นั่นคือการดำเนินการละเมิดอำนาจนิติบัญญัติ ด้วยการตีความข้อกฏหมายจนเกินขอบเขต รับคำร้องคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญตาม มาตรา 68 และใช้คำสั่งให้รัฐสภาหยุดกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งผ่านวาระสองมาแล้ว และผลของการตีความก็ให้ประโยชน์ตามข้อเสนอของฝ่ายพันธมิตรและพรรคประชาธิปัต ย์ ทำให้เกิดข้อกังขาในการเอียงข้าง จนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก จนประธานศาลรัฐธรรมนูญเองก็ต้องออกมาแถลงชนิดเอาสีข้างเข้าถู ประเภทที่ว่า ศาลตีความรัฐธรรมนูญตามฉบับแปลภาษาอังกฤษ เป็นต้น ดังนั้น แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะพยายามแก้เกี้ยว โดยการวินิจฉัยในวันที่ 13 กรกฎาคม ที่ไม่รับคำร้อง ก็ไม่ได้ช่วยให้ศาลรัฐธรรมนูญมีความชอบธรรมในสายตาของประชาชนมากขึ้นแต่ อย่างใด
อันที่จริงการดำเนินการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเองถือว่ามีปัญหา และอาจจะถูกตีความให้โมฆะได้ตลอดมา เพราะในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญมาตรา 300 วรรคที่ห้า ได้ระบุไว้ว่า “ในระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธี พิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย ได้ แต่ทั้งนี้ต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน หนึ่งปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้”
จากข้อความนี้ หมายถึงว่า ต้องมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีการพิจารณาความและการทำคำ วินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ภายในปี พ.ศ.2551 แต่ปรากฏว่า มาถึงขณะนี้ ปี พ.ศ.2555 ก็ยังไม่มีพระราชบัญญัติในลักษณะนี้ ซึ่งทำให้ตีความได้ว่า การพิจารณาความและการทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ พ.ศ.2552 เป็นต้นมา เป็นโมฆะทั้งหมด ใช่หรือไม่
ไม่ว่าจะเป็นมิติไหน เมื่อมาถึงขณะนี้ รัฐสภาไทยก็สามารถที่จะเดินหน้าผ่างเป็นวาระสาม และแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยตามเป้าหมาย โดยไม่ต้องสนใจคำวินิจฉัยนั้นเลย ยิ่งข้อแนะนำของศาลธรรมนูญให้มีการลงประชามติก่อนแก้ไข ยิ่งเป็นเรื่องเหลวไหล เพราะเป็นข้อเสนอที่ไม่ผูกมัด และไม่ได้วางอยู่บนหลักเหตุผลอันสมควร
การดำเนินการอันน่าตลกขบขันของศาลรัฐธรรมนูญและกลุ่มฝ่ายขวาทั้งหลาย รวมทั้งฝ่ายพันธมิตรและพรรคประชาธิปัตย์ ก็คือ การแสดงถึงเจตจำนงที่จะปกป้องเฉพาะรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 โดยไม่ให้ฝ่ายพรรคเพื่อไทยแก้ไข เช่น ล่าสุด รายการ”ผ่าประเด็นร้อน” ของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ในวันที่ 16 กรกฎาคมนี้ ก็อ้างว่า การแก้รัฐธรรมนูญทั้งประเภทรายมาตรา หรือร่างใหม่ทั้งฉบับไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ควรไปแก้ปัญหาปากท้องเสียก่อน เพราะแก้รัฐธรรมนูญไปชาวบ้านก็ไม่ได้รับประโยชน์ มีแต่ทำให้บ้านเมืองเกิดความขัดแย้ง
ข้ออ้างเช่นนี้ทำราวกับว่าในปีที่ผ่านมา รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่ทำงานเรื่องอื่น ทำแต่เรื่องแก้รัฐธรรมนูญอย่างเดียว ความจริงเป็นไปในทางตรงข้าม รัฐบาลชุดนี้ทำงานบริหารเรื่องอื่นมากเกินไป ดำเนินการเรื่องแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยช้าเกินไป และมีลักษณะลังเลมากเกินไปตลอดมา ถึงได้ผ่อนปรนให้ศาลรัฐธรรมนูญได้แผลงฤทธิ์มากอย่างนี้
การพิทักษ์รัฐธรรมนูญเฉพาะฉบับ พ.ศ.2550 ดำเนินไปโดยกลบเกลื่อนความจริงที่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับอัปลักษณ์ มีที่มาอันไม่ชอบธรรม เพราะมาจากการรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 และเป็นมรดกของรัฐธรรมนูญฉบับชั่ว พ.ศ.2549 ความพยายามเหนี่ยวรั้งการแก้ไขได้เห็นมาแล้วตั้งแต่บทบาทของพรรคประชา ธิปัตย์ในรัฐสภา ที่เตะถ่วงการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระที่สอง และการกำหนดให้ไม่มีการแก้ไขในหมวดที่หนึ่งและหมวดที่สองก็เป็นการไม่ถูก ต้อง กระบวนการทั้งหมดนี้ ก็ความพยายามในการรักษาอำนาจของกลุ่มอิทธิพลตามรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะ องคมนตรี และศาล การดำเนินการปกป้องรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 เช่นนี้ กลับสวนทางกับการปกป้องหลักการของระบอบรัฐธรรมนูญ นั่นคือ การมีรัฐธรรมนูญที่รักษาอำนาจอธิปไตยของประชาชน และปกป้องสิทธิมนุษยชน
จึงเป็นการถูกต้อง ที่พรรคเพื่อไทยจะออกคำแถลงปฏิเสธอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ และยืนยันในนโยบายที่จะแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย โดยยึดมั่นในนิติรัฐ และ นิติธรรม และเมื่อพรรคเพื่อไทยได้ตัดสินใจ ผลักดันกระบวนแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ควรจะเดินหน้าต่อไปในเรื่องนี้ แต่ก็ไม่น่าจะเสียเวลามากนัก ถ้าจะเสนอการแก้ไขรัฐธรรมนูญเฉพาะหมวดศาล ให้มีการยุบศาลรัฐธรรมนูญเสียเป็นขั้นต้น

รายงานสื่อถกสื่อ: สื่อเลือกสีเลือกข้างผิดจรรยาบรรณหรือ?

ที่มา ประชาไท

 

(28 ก.ค.55) ในการเสวนา หัวข้อ "สื่อเลือกสีเลือกข้างผิดจรรยาบรรณหรือ" จัดโดยศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) ที่โรงแรมเดอะสุโกศล ถ.ศรีอยุธยา โสรัจจ์ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เปิด ประเด็นด้วยการนำเสนอว่า การที่สื่อเลือกข้างประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการ ความพยายามผูกขาดอำนาจไว้กับคนกลุ่มเดียว ไม่ให้มีการเลือกตั้งหรือเอาทหารมาคุม น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องและต้องทำ ขณะที่สื่อที่เป็นปากเสียงของฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตยก็ควรจะถูกต่อต้าน และมีกฎหมายมาควบคุมด้วย
เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า การไม่มีกฎหมายควบคุมการกระทำเช่นนั้นเท่ากับว่ารัฐกำลังส่งสัญญาณว่า ประชาธิปไตยไม่มีความสำคัญเพียงพอ คนจะเลือกอะไรก็ได้ ซึ่งในกรณีนี้หากคนเลือกอย่างอื่นที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยก็จะเท่ากับมอบอำนาจ สูงสุดให้คนกลุ่มเดียว อย่างไรก็ตาม ในระดับรอง เช่นเรื่องนโยบายเศรษฐกิจ มองว่า สื่อสามารถทำได้ทั้งสองบทบาท คือทั้งสร้างเวที และมุ่งเสนอแนวคิดบางแนวคิดด้านเศรษฐกิจ เช่น สังคมนิยม แต่ยังยึดถือการปกครองแบบประชาธิปไตยอยู่
สำหรับปัญหาของประเทศไทย โสรัจจ์เสนอว่า ในช่วงที่ความขัดแย้งที่สะสมยาวนานกำลังปะทุออกมาทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม สื่อควรจะรักษาเป้าหมายสูงสุดของการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยรักษาอุดมคติของประชาธิปไตยเอาไว้ แยกข่าวออกจากความเห็น และเป็นเวทีให้ความเห็นต่างมาเถียงกันได้อย่างเป็นธรรม

แลกเปลี่ยน "สื่อเลือกข้างผิดจรรยาบรรณหรือ"
เมื่อเลือกข้างแล้วควรมีจรรยาบรรณ

อธึกกิจ แสวงสุข บรรณาธิการอาวุโสวอยซ์ทีวี และเจ้าของนามปากกา "ใบตองแห้ง"
กล่าว ว่า ความเป็นกลางของสื่อเป็นเรื่องเลื่อนลอยและเป็นไปไม่ได้ โดยในการต่อสู้ทางการเมืองครั้งนี้ซึ่งนับเป็นครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่ 2475 เป็นต้นมา ยากที่คนที่ยืนหยัดด้านใดด้านหนึ่งแล้ว จะไม่เลือกข้าง หรือถูกผลักไปด้านใดด้านหนึ่ง ทั้งนี้ เขาไม่ได้สนใจสื่อที่ประกาศตัวชัดเจน เพราะรู้อยู่แล้วว่าอยู่ข้างไหน แต่สื่อที่บอกว่าไม่ได้เลือกข้าง แต่กลับนำเสนอชี้นำนั้นอันตรายกว่า
ที่ผ่านมา การเลือกข้างทางความคิด แบ่งเป็น หนึ่ง เลือกระหว่างความดี-ความชั่ว โดยมองว่า ทักษิณและระบอบทักษิณเลว จึงพยายามไล่ทักษิณ สอง เลือกด้วยความเชื่อเรื่องประชาธิปไตยว่าจะต้องคลี่คลายไปตามระบอบ ระบบอำนาจต้องตรวจสอบได้ ทุกระบบต้องโปร่งใส ส่วนตัวเลือกอย่างที่สอง จึงกลายเป็นแนวร่วมทักษิณโดยปริยาย เพราะเขาเชื่อว่าสื่อเกิดมาพร้อมประชาธิปไตย ประชาธิปไตยทำให้ทุกอย่างตรวจสอบได้ มีหลักถ่วงดุลอำนาจที่ชัดเจน สื่อมีหน้าที่ปกป้องเสรีภาพในการแสดงความเห็น ตรวจสอบทุกฝ่าย
การที่สื่อหันไปเลือกข้างว่า การล้มคนเลวเป็นสิ่งที่ดี เชื่อว่าสถาบันตุลาการเข้ามาปกป้องประชาธิปไตยแทรกแซงอำนาจประชาธิปไตยได้ ทั้งที่สถาบันตุลาการไม่เคยผ่านการตรวจสอบ ไม่ยึดโยงกับประชาชนนั้น เขามองว่าขัดกับเจตนารมณ์ของการมีสื่อในระบอบประชาธิปไตยเอง และเมื่อเลือกอย่างนี้ จะนำไปสู่ปัญหาในเชิงจรรยาบรรณ เพราะเมื่อคิดว่าตัวเองอยู่ข้างความดีแล้วจำกัดความชั่ว ก่อให้เกิดความคิดที่ไม่ยอมรับความเห็นต่าง
อธึกกิจ กล่าวว่า เมื่อเลือกข้างแล้วก็ควรจะมีจรรยาบรรณ โดยไม่ใช้วิชาชีพเข้าไปในการต่อสู้ทางการเมือง เอาชนะโดยใช้ความเท็จ-บิดเบือน ข่าวต้องเป็นข่าว การพาดหัวข่าวในเชิงประชดเปรียบเปรย เน้นประเด็น หรือประนามนั้นเขามองว่าทำได้ แต่ต้องไม่ใช่การปลุกระดม ก่อให้เกิดความเกลียดชัง ที่ผ่านมา พาดหัวและโปรยข่าวกลายเป็นที่ระบายอารมณ์ สื่อที่เลือกข้างชัดเจนใช้โปรยข่าวปลุกระดม มี hate speech ทั้งสองข้าง ตัวอย่างที่ร้ายกาจ เช่น กรณีตัดต่อรูปหน้าวรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติราษฎร์กับรูปลิง การเรียก "แฝดนรก" การพาดหัวข่าว "อีเพ็ญ" "ไอ้ตู่" "ไอ้มาร์ค" สื่อปลุกแบบนี้ไม่ได้
อธึกกิจ กล่าวว่า การเลือกข้างมีปัญหาต่อการนำเสนอข้อเท็จจริง เช่น กรณีนาซ่า สื่อที่เลือกข้าง ไม่ทำหน้าที่ ส่วนหนึ่งกระพือตามพันธมิตรฯ และฝ่ายค้าน ทั้งที่เป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ ถ้าคิดว่าเอาชนะโดยทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามจะมีปัญหา ไม่ว่าในเชิงสื่อหรือเชิงการต่อสู้ประชาธิปไตย เพราะสังคมไทยต้องต่อสู้ภายใต้ประชาธิปไตยที่ยอมรับการตรวจสอบ นี่คือจุดที่ควรไป ไม่ใช่จะล้มอำมาตย์หรือทุนสามานย์ สื่อต้องตั้งเป้าอย่าคิดเรื่องเอาชนะ แสวงข้อเท็จจริงมากขึ้น บางทีต้องยับยั้งกัน เช่น ตนเองเชียร์การเรียกร้องประชาธิปไตยของคนเสื้อแดง ปี 53 แต่ถึงวันหนึ่งก็ต้องเสนอให้ถอย หรือแสดงความไม่เห็นด้วยกับการไปบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ และที่สำคัญคือ ธำรงรักษาสิทธิมนุษยชน หากสื่อให้ความสำคัญกับกรณีกรือเซะ ก็ควรให้ความสำคัญกับกรณีราชประสงค์ด้วย
ต่อข้อเสนอเรื่องการมีผู้ตรวจการสื่อ เขายอมรับว่า เป็นเรื่องลำบากและทำได้ยาก เพราะต่างคนต่างไป ถามว่าใครจะกำกับใคร อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอต่อประเด็น hate speech หรือถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง เช่น หากมีการใช้คำไม่เหมาะสม เรียกร้องรัฐประหาร ยุยงให้ใช้กำลัง ไม่ว่าจากฝ่ายไหน ควรต้องมีการตักเตือนกันบ้างเมื่อเกินเลย

สื่อไม่ควรเลือกข้าง

เฉลิมชัย ยอดมาลัย อาจารย์ภาควิชาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และบรรณาธิการรายงานพิเศษหนังสือพิมพ์แนวหน้า
ยืนยันว่า สื่อไม่ควรเลือกข้าง แต่ก็เชื่อว่าไม่มีสิ่งที่เรียกว่า objectivity (ภววิสัย) เพราะเชื่อว่าสื่อมีความรู้สึกของตัวเองอยู่ แต่ต่อให้เกลียดใครก็ต้องสัมภาษณ์ ต้องเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายและถูกตรวจสอบได้ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ที่ผ่านมา สื่อยังไม่เคยตรวจสอบสื่อกันเองได้ เช่น การใช้งบต่างๆ
ทั้งนี้ เรื่องเนื้อหานั้น เฉลิมชัย กล่าวว่า ในสื่อกระแสหลัก เวลาทำงานมีการตรวจสอบอยู่ระดับหนึ่ง ต่อให้เอียงอย่างไร ในกองบรรณาธิการก็มีการถกเถียงกันได้ แต่ที่กลัวมากคือ โซเชียลมีเดีย ที่ไม่รู้ว่าใครเขียน ใครตรวจสอบ แต่หลุดมาเผยแพร่ได้ และคนก็เลือกจะเชื่อและสนใจ เพราะเนื้อหาดูดุดันดี ซึ่งประเด็นนี้น่ากลัว เพราะมองว่า แม้จะเป็นผู้รับสารที่มีสติปัญญามีวุฒิภาวะก็อาจคล้อยตามได้
เฉลิมชัย กล่าวว่า สื่อต้องรู้ว่าตัวเองรายงานอะไร และต้องทำหน้าที่ gate keeper ถ้าเสนอแล้วไม่ได้ประโยชน์ก็ไม่ควรเสนอ เช่น หากรู้ว่ามีธนาคารที่ประสบปัญหาธุรกิจแล้วกระหน่ำเสนอ ลงข่าว คนอาจจะแห่ไปถอนเงิน ธนาคารก็เจ๊งเร็วขึ้น สื่อต้องมีดุลพินิจ เขียนข่าวให้คนไม่แตกตื่น
เขากล่าวว่า ในการรายงานข่าวจะต้องรายงานตามสิ่งที่เกิดขึ้นจริง พร้อมวิจารณ์ว่า สื่อไทยไม่ลงไปอยู่กับข้อเท็จจริง รวมถึงวิจารณ์นักวิชาการที่แสดงความเห็นออกสื่อ กรณีการชุมนุม พ.ค.53 ทั้งที่ไม่ได้ไปดูข้อเท็จจริงด้วยตัวเอง โดยเคยโต้กับ อ.โคทม อารียา ให้ไปดูเวทีว่ามีอาวุธไหม สงบสันติไหม พอ อ.โคทมไปก็ยังถูกไล่ โดยส่วนตัว ลงพื้นที่ และเคยเจอผู้ชุมนุมที่จำตนเองได้ ขับไล่ด้วย


สื่อ "เล่นกีฬาสี" แล้วใครจะรายงานเรื่องคนดู สนาม กรรมการ

สุระชัย ชูผกา อาจารย์ภาควิชาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
กล่าว ว่า สื่อเลือกข้างผิดจรรยาบรรณและจริยธรรมด้วย โดยหัวใจสำคัญของจริยธรรมสื่อ มีสองประการ คือการนำเสนอความจริงทั้งหมดและดูแลผลประโยชน์สาธารณะ ส่วน code of conduct หรือ จรรยาบรรณ คือ ต้องนำเสนอให้ตรงกับความจริง (accuracy) โดย objectivity สื่อไม่มีหน้าที่ให้ความเป็นธรรม เพราะไม่ใช่ผู้พิพากษา แต่เป็นผู้ค้นหา ต้องนำเสนออย่างรอบด้าน และมี accountability คือ ความรับผิดชอบต่อเนื้องาน รับผิดชอบต่อสังคมและต่อตัวเองว่าตรวจสอบได้ แต่ปัจจุบัน กลายเป็นว่า สื่อรับผิดชอบกับผู้ถือหุ้นหรือผู้ลงโฆษณา
สุระชัย กล่าวว่า ไม่ว่าสื่ออาจเลือกข้างด้วยความจงใจหรือเห็นว่าดีงาม แต่นั่นจะทำให้สื่อเข้าใจตัวเองผิด คิดว่าแยกดีชั่วได้ จนลืมหลักการ และเมื่อเลือกข้าง ละเมิดจรรยาบรรณไปแล้ว จะเกิดผลกระทบต่อการรวบรวมข่าวสาร ทำให้เปลี่ยนจาก active listening เป็น bias listening ได้ยินอย่างที่อยากได้ยิน รวมถึงส่งผลต่อการพาดหัวข่าว (news presenting)
ทั้งนี้ เขามองว่า การเลือกข้างของสื่อเพิ่มมากขึ้น หลังจากทักษิณบอกว่าจังหวัดไหนเลือกตัวเองจะให้ความสำคัญกับจังหวัดนั้นก่อน ทำให้การเลือกตั้งเป็นการเข้าคิวขออาหาร ส่งผลให้เกิดความแตกแยกของสังคมและระบบสื่อ แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการเลือกข้าง เช่น คนใต้เลือกพรรคประชาธิปัตย์ คนอีสานเลือกพวกตัวเอง แต่ยังไม่มากเท่านี้
เขาตั้งคำถามว่า ถ้าสื่อเลือกไปซ้ายทาง ขวาทาง แล้วที่เหลือซึ่งเป็นเสียงเงียบ หรือ silent majority จะทำอย่างไร สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจะได้รับปกป้องอย่างไร มีคนจำนวนมาก ที่เบื่อหน่ายทั้งคู่ แต่ไม่มีใครรู้ว่าพวกเขาต้องการอะไรอย่างไร เพราะสื่อถูกผลักหรือรู้สึกเองว่าต้องเลือกข้างไปแล้ว
เขาย้ำเรื่องการ "เลือกสี" โดยเปรียบเทียบว่า ถ้าสื่อลงเล่นกีฬาสี แล้วใครจะรายงานเรื่องของคนดู สนาม กรรมการ เรื่องเหล่านี้ต้องพึ่งสื่อ สื่อจึงไม่สามารถเข้าข้างสีใดสีหนึ่งได้
ทั้งนี้ การที่ปัจจุบัน คนหันไปพึ่งข้อมูลจากโซเชียลมีเดียมากขึ้น ก็เป็นผลจากการละเมิดจรรยาบรรณของสื่อเอง เพราะการเลือกข้าง 4-5 ปีที่ผ่านมาทำให้สังคมที่เคยวางใจว่าสื่อจะเสนอสิ่งที่เป็นจริง รู้สึกไม่ไว้วางใจ และเลือกสื่ออื่นที่เขาวางใจอย่างโซเชียลมีเดียแทน
สุระชัยตั้งคำถามทิ้งไว้ว่า สังคมไทยปัจจุบันต้องการสื่อสารมวลชนแบบไหนกันแน่ หากเป็นสื่อแบบเสรี (Libertarian) ที่มีทั้งขายยา ขายหนัง เปิดทุกอย่าง สังคมไทยพร้อมแล้วหรือยัง จะยังมีคนตกหล่นไหม หรือจะแบ่งข้างแบบ Authoritarian มีหนังสือพิมพ์ของทักษิณ ของแต่ละคนประกาศตัวให้ชัด แบบนี้ก็ดีเหมือนกัน หรือจะเป็นแบบ Participation ที่เปิดพื้นที่สำหรับคนทุกคนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
เขาเสนอด้วยว่า ระบบจรรยาบรรณของสื่อต้องเปลี่ยนสู่ความโปร่งใสที่ตรวจสอบได้ ถึงเวลาที่ต้องมีผู้ตรวจการสื่อมวลชน ไม่ใช่ใช้หลักการปกครองตนเองแบบสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ที่เมื่อจับได้ ก็ลาออก นอกจากนี้ สื่อควรจะเลิกทำข่าวปิงปองได้แล้ว การทำหน้าที่เล่าเรื่องอย่างสมบูรณ์น่าจะเป็นอุดมคติที่สื่อควรไปให้ถึง เพราะสังคมไทยยังมีปัญหาอีกมากที่ควรสนใจ

สื่อมีความเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจได้ แต่ต้องเสนอโดยไม่ลำเอียง
จักร์กฤษ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
มอง ว่า การที่สื่อมีแนวคิดหรืออุดมการณ์โดยบริสุทธิ์ใจเป็นแนวคิดอิสระ ไม่เกี่ยวกับจรรยาบรรณ อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ขณะนี้ อาจจะด้วยบริบททางสังคมและผู้บริโภคที่ต้องการให้ชัดเจนว่าสื่อนี้สีอะไร แม้สื่อจะไม่อยากเป็น ก็ต้องยัดเยียดให้ ขณะที่มิติทางธุรกิจ ปฏิเสธไม่ได้ว่า สื่อกระแสหลักทั้งหลายคือธุรกิจ ย่อมมีเป้าหมายในการแสวงหากำไร หากสามารถมีภาพที่ชัดเจนได้ ก็จะมีตลาดของตัวเอง
ทั้งนี้ เขากล่าวว่า การตัดสินเรื่องความเป็นกลางของสื่อนั้นไม่ควรคิดแบบคณิตศาสตร์ ที่ต้องวัดตารางนิ้ว ว่ามีรูปฝ่ายใดจำนวนขนาดเท่าไหร่ ขณะที่การเสนอเรื่องใดเรื่องหนึ่งในสื่อ ต้องไม่ลำเอียง แม้จะปฏิเสธไม่ได้ที่สื่อย่อมมีความรู้สึกผูกพันกับฝ่ายใดเป็นพิเศษก็ตาม
จักร์กฤษ เสนอด้วยว่า โมเดลสื่อต่อไป ควรต้องหลากหลายและใจกว้าง เปิดให้ทุกฝ่ายมีบทบาท มีส่วนร่วมเสนอความคิดความเห็น โดยยกตัวอย่างหนังสือพิมพ์ไทยรัฐว่าไม่อาจบอกได้ว่าเป็นสีไหน มีการ์ตูนทั้งของเซียและชัย ราชวัตร หรือ คมชัดลึกที่มีบทความเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งจากของตนเองและ "ใบตองแห้ง" ซึ่งเป็นคนละมิติกัน
มองต่างปัญหาสำคัญสื่อไทย "ไม่พร้อมรับผิด"
ด้าน สุภาพ พัสอ๋อง เจ้าหน้าที่โครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย (SAPAN) แสดงความเห็นว่า การเลือกข้างไม่ใช่ปัญหาของสื่อมวลชนไทย แต่ปัญหาแท้ที่จริงของสื่อไทย คือความพร้อมรับผิด หรือ accountability ต่อสาธารณะ ต่อผลของการนำเสนอและการไม่นำเสนอของตนเองมากกว่า โดยยกตัวอย่างกรณีหนังสือพิมพ์ News of the World ที่มีการดักฟังโทรศัพท์ ซึ่งเมื่อผลออกมาก็พร้อมรับผิด ส่งผลต่อคนจำนวนมาก แต่ในไทย ยังไม่เคยได้ยินว่าสื่อต้องพร้อมรับผิดอย่างไร

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker