บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ติงใบตองแห้ง ติง ThaiPBS

ที่มา ประชาไท

 


คำแถลงเครือข่ายนักสื่อสารแรงงาน 

กรณีใบตองแห้งกับ ThaiPBS และชาวบ้านคนชายขอบ
22 กรกฎาคม 2555

ตามที่เว็บไซต์ mediainsideout ได้เผยแพร่บทความเรื่อง “ศึกสายเลือดเขย่า TPBS”ของผู้ใช้นามว่า “ใบตองแห้ง” ลงวันที่ 13 ก.ค.55 นั้น  แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของ ThaiPBS แบบคนที่คลุกอยู่วงในเท่านั้นจึงจะรู้  แต่เครือข่ายนักสื่อสารแรงงานเห็นว่า มีบางข้อความที่กระทบต่อความรู้สึกในเชิงดูแคลนปากเสียงของชาวบ้านคนชายขอบ ดังเช่น
เผลอแป๊บเดียว TPBS หรือองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ก็ก่อตั้งมาได้ 5 ปีแล้วนะครับ ซึ่งแปลว่าเราได้ใช้เงิน “ภาษีบาป” สร้างทีวีของคนชายขอบ ริมขอบ ตกขอบ ไปมากกว่า 10,000 ล้านบาท (ย่อหน้าที่ 1)
แต่แหม แค่ได้ดู ณาตยา แวววีรคุปต์ เอา NGO กับชาวบ้านมาออกเวทีสาธารณะวันละโหล ก็คุ้มแล้วครับ รายการอย่างนี้จะไปหาสปอนเซอร์ได้ที่ไหน เพราะจัดช่องไหนก็ไม่มีคนดู (อ้าว) (ย่อหน้าที่ 2)
พอคิดกันได้แค่นี้ ก็เลยมีแต่รายการของณาตยา แวววีรคุปต์ (แซวกันว่า ณาตยาเป็น “บิ๊ก” ใน TPBS ใครๆ ก็เกรงใจ เพราะเธอทำรายการให้ผู้มีบารมีเหนือ TPBS ดู ไม่ได้ทำให้ชาวบ้านดูนะเออ) (ย่อหน้าที่45)
ต่อข้อความใน 3 ย่อหน้าข้างต้นนั้น  เครือข่ายนักสื่อสารแรงงาน  ยืนยันว่า  ผู้ใช้แรงงานกลุ่มต่างๆทั้งแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติ ซึ่งรวมกันแล้ว ถือเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยที่มีส่วนอย่างสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจของ ประเทศนี้ให้เจริญเติบโต และเป็นกลุ่มที่รัฐเก็บภาษีได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยโดยไม่ตกหล่น  แต่กลุ่มแรงงานก็ถือว่ายังเป็น “คนชายขอบ” ในนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลทุกยุคสมัยไม่ว่าจะเป็นเผด็จการหรือ ประชาธิปไตย ที่ให้ความสำคัญกับ “ผู้ลงทุน” มากกว่า “ผู้ลงแรง”  เสียงของแรงงานเหล่านั้นจึงไม่มีโอกาส ไม่มีช่องทางสื่อสารออกไปให้คนได้รับรู้รับฟังปัญหาของพวกเขา  ต่างจากกลุ่มนายทุน ราชการและนักการเมือง ที่ต่างก็เข้าไปยึดครองพื้นที่สื่อของประเทศนี้จนแทบไม่เหลือให้กับ “คนชายขอบ” กลุ่มต่างๆที่เดือดร้อนจากนโยบายการพัฒนาประเทศ ดังข่าวที่ปรากฎตามสื่อต่างๆไม่เคยขาด
กล่าวสำหรับพื้นที่ข่าวของแรงงานแล้ว  ฟรีทีวีต่างๆมีการนำเสนอข่าวแรงงานบ้างแต่ก็น้อยมากจนแทบไม่ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงอะไรในทางที่ดีขึ้นต่อแรงงานมากนัก  เพราะส่วนใหญ่นำเสนอแค่เพียงปรากฎการณ์การชุมนุมเรียกร้อง  ไม่ได้เจาะลึกถึงปัญหา ทำให้การต่อสู้เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของแรงงานกลายเป็นภาพลบที่ สร้างความเดือดร้อนให้สังคม
ดังนั้น เมื่อเกิดมีทีวีสาธารณะ ThaiPBS ขึ้นมา  พบว่า เฉพาะช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พื้นที่สื่อสาธารณะได้เปิดกว้างให้แรงงานเรามีโอกาสมากขึ้นในการส่งเสียง  ThaiPBS นำเสนอข่าวประเด็นแรงงานเท่าที่รวบรวมบันทึกเก็บไว้ได้มีถึง 155 ชิ้น  และมีการนำเสนอในแบบเจาะลึกที่ทำให้สังคมเกิดความเข้าใจปัญหาของแรง งานกลุ่มต่างๆอย่างแท้จริง  ทั้งเรื่องปัญหาการเข้าถึงประกันสังคม เรื่องค่าจ้างที่เป็นธรรม  การคุ้มครองแรงงานนอกระบบและแรงงานข้ามชาติ  ผ่านรายการกลุ่มข่าวต่างๆ  โดยเฉพาะ “เวทีสาธารณะ” ที่ทำให้ผู้ใช้แรงงานได้มีโอกาสสื่อสาร สามารถเปิดปากพูดเรื่องราวของตัวเองกับผู้มีอำนาจเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา ได้โดยตรง
แต่การใช้ช่องทาง “เวทีสาธารณะ” ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทำได้บ่อยๆ  เพราะนอกจากจะต้องนำเสนอและเพียรสร้างความเข้าใจต่อประเด็นให้กับผู้จัดทำ รายการแล้ว  ยังต้องเปิดโอกาสให้ “คนชายขอบ” ผู้เดือดร้อนประเด็นปัญหากลุ่มอื่นๆซึ่งมีจำนวนมากมายในประเทศนี้ได้ใช้ บริการรายการนี้ด้วย
แน่นอนว่า  รายการแบบนี้เร็ตติ้งคงไม่พุ่งกระฉูดเทียบเท่ารายการยอดนิยมที่วัดๆกันแบบ ที่ทำอยู่ทุกวันนี้  แต่ในแง่ของคนดู  เครือข่ายแรงงานซึ่งร่วมเป็นเครือข่ายกับภาคประชาสังคมอื่นๆ ทราบว่ามีชาวบ้านและผู้เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาติดตามดูมากแน่นอน  และเร็ตติ้งของรายการแบบนี้เราก็วัดกันที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรได้ บ้าง  มากกว่าจะวัดกันที่คนดูมากแต่ไม่เกิดผลเปลี่ยนแปลงอะไร
ซึ่งในส่วนของแรงงานนั้น  “เวทีสาธารณะ ตอน ถอดบทเรียนน้ำท่วม” กระตุ้นให้หน่วยงานรัฐทุกระดับเข้ามาใส่ใจดูแลแรงงานในพื้นที่ประสบภัยน้ำ ท่วมในการทำให้ได้รับสิทธิต่างๆ   “เวทีสาธารณะ ตอน ปฏิรูปกฎหมายประกันสังคม กฎหมายประชาชน ความจริงใจของผู้แทน” ทำให้นักการเมืองทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลต่างรับรู้และรับปากจะช่วยกันเร่ง ผลักดันร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมของแรงงานเข้าสภาฯ  แม้ว่าจะอยู่ในช่วงชุลมุนของการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายปรองดองที่ลัดคิว ขึ้นมาตัดหน้ากฎหมายอื่นที่เสนอโดยภาคประชาชนหลายฉบับที่ค้างเติ่งอยู่ใน วาระ  และ“เวทีสาธารณะ ตอน กลับถิ่น กระจกสะท้อนแรงงานไทย” ได้ทำให้องค์กรปกครองท้องถิ่นตระหนักและเตรียมเสนอเรื่องในการพัฒนาทรัยากร ต่างๆเช่น แหล่งน้ำ และภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งมีอยู่มากมายหล่อเลี้ยงสังคมไทยมายาวนานตั้งแต่ อดีต ให้สามารถรองรับการทำงานในถิ่นฐานของผู้คนได้อย่างยั่งยืน
ในบทความของ “ใบตองแห้ง” ยังกล่าวถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาของสื่อสาธารณะอย่างTPBS ด้วย ดังเช่น
แล้วถ้าจะให้ดีนะครับ TPBS ก็ควรจะถือโอกาสนี้ สรุปปัญหา ทิศทาง แนวทาง นโยบาย การบริหาร ฯลฯ โดยให้พนักงานระดับล่างมีส่วนร่วม ให้โอกาสพวกเขาเสนอปัญหาระบายความอึดอัดใจอย่างเต็มที่ พูดถูกบ้าง พูดผิดบ้าง ก็ต้องฟัง เพราะที่ผ่านมามีแต่ปิดกั้น พนักงาน TPBS ไม่สามารถก่อตั้งสหภาพแรงงานได้ เพราะมีระเบียบบังคับไว้ ก่อตั้งได้แต่สมาพันธ์พนักงาน TPBS ซึ่งพูดอะไรมากก็ไม่ได้อีก เพราะมีระเบียบกำหนดว่า ห้ามพนักงานเคลื่อนไหวให้ร้ายองค์กร (ย่อหน้าก่อนสุดท้าย)
ซึ่งข้อเสนอเรื่องการมีส่วนร่วมในองค์กร ตรงกับที่ขบวนการแรงงานกำลังรณรงค์อยู่ในขณะนี้ ในเรื่องของการปฏิรูปกฎหมายแรงงานสัมพันธ์จากกรอบคิดเดิมแบบ “นายกับบ่าว” ที่คนทำงานไม่ต้องมีปากมีเสียง  ไปเป็น “หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจหรือสังคม” ที่ยอมรับการมีส่วนร่วมของลูกจ้างพนักงาน  ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ  ILO ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเรื่องเสรีภาพในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยเรื่องสิทธิในการเจรจาต่อรอง  รวมทั้งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญของไทย (ทั้ง 2540 และ 2550) ที่ว่า  "บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน หรือหมู่คณะอื่น"  แต่รัฐบาลทุกยุคสมัย รวมทั้งหลายหน่วยงานต่างๆ ก็ยังไม่รับรอง ไม่ยึดถือปฏิบัติให้เป็นจริงตามสิทธิเสรีภาพดังว่านี้
เครือข่ายนักสื่อสารแรงงานจึงเห็นว่า   สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS ที่สร้างมาจากภาษีของประชาชน  และประกาศว่าเป็นสื่ออิสระที่ไว้ใจได้นั้น  จะต้องเปิดกว้างต่อการตรวจสอบซึ่งรวมถึงการตรวจสอบตัวเองด้วย  จะต้องเปิดให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการองค์กรอย่างแท้จริงของ พนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียม  จะต้องมีระบบที่ดูแลในเรื่องสิทธิต่างๆของพนักงานทั้งในเรื่องรายได้ที่ เป็นธรรม สวัสดิการที่ครอบคลุม  และมีความมั่นคงในการทำงาน
และที่สำคัญ จะต้องดูแลให้เกิดรายการดีๆ ในความหมายที่ไม่ใช่เพียงแค่มีคนดูมากแต่กลับส่งผลร้ายต่อสังคมด้านต่างๆ   ThaiPBS ต้องกล้าที่จะรักษาและสนับสนุนให้รายการดีๆที่ประจักษ์ชัดว่าเกิดประโยชน์ ต่อสังคมโดยเฉพาะในภาคส่วนที่สื่อหลักมักไม่สนใจ  ให้สามารถยืนหยัดอยู่ในผังรายการได้ต่อไป

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker