บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

อย่่่่่่่าบีบผู้้้้้้้ผลิต

บางครั้งการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า...ระยะสั้นๆ เพื่อหวังผลทางการเมืองกับคนส่วนใหญ่ในประเทศก็อาจไม่ได้ผลมากนักกับปัญหาที่ดูเค้าลางว่าจะยังมีต่อเนื่องยาวนานเป็นลูกโซ่โดยเฉพาะปัญหาที่มีพื้นฐานจากต้นทุนราคาน้ำมันและแก๊สหุงต้ม ซึ่งคงไม่มีทีท่าว่าราคาในตลาดโลกจะปรับลดลงอีกแล้ววิธีคิดของ รัฐบาล “สมัคร สุนทรเวช” ผ่าน รองนายกฯด้านเศรษฐกิจจุลภาค ควบ รมว.พาณิชย์ “มิ่งขวัญแสงสุวรรณ” ต่อความพยายามที่จะร้องขอผ่านไปยังตัวแทนกลุ่มผู้ผลิตจากภาคเอกชน ระหว่างการหารือร่วมกัน เมื่อวันที่22 ก.พ.ที่ผ่านมาหัวข้อ “นโยบายการดูแลราคาสินค้า”เพื่อหวังให้ผู้ผลิตรวมกัน 250 ราย...คง ลด หรือเลิกแผนการปรับขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภคหลังจากกระทรวงพาณิชย์ได้รับร้องเรียนจากผู้บริโภค ถึงราคาสินค้าที่ผู้ผลิตปรับขึ้นอย่างไม่เป็นธรรม เพื่อขอดูต้นทุนการผลิตที่แท้จริงแต่เชื่อว่า...คงทำได้ไม่ง่ายนัก!!!ผู้ผลิตหลายรายบอกก่อนการประชุมฯ ที่กระทรวงพาณิชย์ทำนองเดียวกันว่า...ต้นทุนผลิตที่เพิ่มขึ้นจริง จำเป็นที่ผู้ผลิตจะต้องปรับขึ้นราคาสินค้าตามมาหากภาครัฐ “บีบ” ให้ต้องคงหรือลดราคาสินค้าลงมา ก็เท่ากับ

“บีบ” ให้ผู้ผลิตต้องเลิกกิจการไม่งั้น...พวกเขาก็ต้องลดสเปก หรือไม่ก็ต้องปริมาณของสินค้า เพื่อให้ราคาขายเท่าเดิมเป็นไปไม่ได้ที่จะให้พวกเขา...คงหรือลด แม้กระทั่งยกเลิกแผนการปรับขึ้นราคาสินค้า ในยุคที่ต้นทุนผลิต ต้นทุนขนส่งและราคาวัตถุดิบ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นนี้ข้อเสนอของตัวแทนผู้ผลิต อย่าง...นายสมชาย พรรัตนเจริญนายกสมาคมค้าส่งปลีกไทย น่าสนใจไม่น้อยเขาเสนอให้กระทรวงพาณิชย์เข้ามาดูแล “ต้นทุนแอบแฝง”เช่น การเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้า การวางสินค้าและอื่นๆ ที่ทางห้างสรรพสินค้ามีการเรียกเก็บจากผู้ผลิตสินค้าสิ่งนี้ได้ทำให้ต้นทุนขายสินค้าสูงขึ้น!!!น่าที่ภาครัฐควรจะแก้ไขและจัดระบบสิ่งเหล่านี้ เพื่อให้“ต้นทุนแอบแฝง” มีราคาน้อยลง และราคาสินค้าก็จะถูกลงมาอย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มีการร้องเรียนมานานแล้ว แต่ดูเหมือนภาครัฐจะยังไม่สามารถแก้ไขได้มากนักสถานการณ์เช่นนี้ เหมาะสมที่สุดที่ภาครัฐจะเข้ามาแก้ไขปัญหา

“ต้นทุนแอบแฝง” ที่ถูกผลักให้เป็นภาระแก่ผู้บริโภคขณะที่ นายสันติ ตันติเวชวุฒิกุล นายกสมาคมน้ำปลาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ขอร้องให้ผู้ผลิตตรึงราคาอย่างน้อย 3 ปี ซึ่งกลุ่มฯ ก็ให้ความร่วมมืออย่างดีแต่ปลายปีที่ผ่านมา ราคาวัตถุดิบ ไม่ว่า...ปลา หรือวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาผลิตเป็นน้ำปลาสูงขึ้นต่อเนื่อง แม้ว่า...จะได้ทำเรื่องขอปรับราคาน้ำปลาขึ้น และกรมการค้าภายในได้อนุมัติให้ปรับขึ้นราคาอย่างน้อย 14%แต่ก็ยังไม่สามารถลดผลกระทบผู้ผลิต ซึ่งต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงได้ข้อเท็จจริงธุรกิจก็คือ น้ำปลามีหลายชนิด ทั้งราคาถูกและแพงเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค ดังนั้น จึงไม่สามารถปรับลดราคาน้ำปลาลงได้อีกพร้อมกันนี้ ได้ขอความเป็นธรรมจากภาครัฐด้วยส่วน นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รอง กก.ผจก.ใหญ่ บมจ.ซีพีออลล์ระบุว่า พร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการตรึงราคาสินค้า แต่

หากต้นทุนมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง และผู้ผลิตรายอื่นปรับราคาสินค้าขึ้นก็จำเป็นที่พวกเขาจะต้องปรับราคาสินค้าขึ้นเช่นกันแต่จะขอปรับเป็นรายสุดท้ายนายมิ่งขวัญ กล่าวหลังการประชุมฯ ว่า...ได้ขอให้ผู้ผลิตแจงต้นทุนการผลิตที่แท้จริง หากมีส่วนไหนที่จะปรับลดราคาสินค้าหรือคงราคาเดิมได้ ก็อยากให้ช่วยๆ กันไปก่อนอย่างไรก็ตาม รายละเอียดคงต้องหารือกันอีกครั้งหนึ่งนอกเหนือจากการขอความร่วมมือจากผู้ผลิตแล้ว ในส่วนของภาครัฐเอง ก็ได้พยายามที่จะหาทางช่วยลดต้นทุนสินค้า เห็นได้จากการที่ “หมอเลี้ยบ” น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯ ด้านเศรษฐกิจมหภาค และ รมว.คลัง ที่ได้เสนอแนวคิด เพื่อลดต้นทุนค่าขนส่งสินค้าในวันเดียวกัน

โดยระบุว่า...ปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจะเน้นพัฒนาระบบโลจิสติสก์ เพื่อลดต้นทุนด้านการขนส่ง ทั้งนี้ หากพัฒนาระบบขนส่งโลจิสติกส์ให้มีความพร้อม จะลดจำนวนเที่ยวการขนส่ง ก็จะไม่กระทบต่อราคาสินค้า“เห็นได้จากญี่ปุ่นที่ลงทุนพัฒนาระบบขนส่ง เมื่อราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลง จึงไม่กระทบต่อการขนส่งสินค้า หรือกระทบน้อยมาก” น.พ.สุรพงษ์ ย้ำและว่า...รัฐบาลยังจะเน้นพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง ด้วยการใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้มีการติดต่อสะดวกในการติดต่อค้าขายอย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์เศรษฐกิจของไทยในปีนี้ โดยระบุว่า...จากปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่มีแนวโน้มชะลอตัวอย่างรุนแรงในช่วงครึ่งปีแรก และอาจสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงสั้นๆ

เชื่อว่า...จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ตามภาวะเศรษฐกิจหลักของโลกดังนั้น จึงคาดหวังให้รัฐบาลใหม่ดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและฟื้นฟูความเชื่อมั่นของภาคเอกชน นำไปสู่การฟื้นตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศโดยรวมสำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 51 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประมาณการว่า อาจขยายตัวในระดับใกล้เคียงกับปี 50 ที่ 4.0-5.2% หรือเฉลี่ย 4.6% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจโลกนอกจากนี้ ปัญหาราคาน้ำมันจะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ระหว่าง 2.7-4.0% เฉลี่ย 3.3% จากระดับ 2.3% ในปี 50อย่างไรก็ตาม จำเป็นที่รัฐบาลไทยจะต้องพึ่งพิงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ด้วยการเร่งรัดลงทุนและกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศเป็นหลัก

ถึงตรงนี้ แม้บทสรุประหว่างภาครัฐกับตัวแทนผู้ผลิตสินค้า250 รายที่ได้พบปะแลกเปลี่ยนข้อมูล...ความเห็นกันและกันเป็นครั้งแรก และยังจะต้องมีครั้งต่อๆ ไปจะยังไม่ได้บทสรุปที่ชัดเจน กับการจะปรับลดราคาใหม่ ที่ภาคเอกชนจ้องจะปรับขึ้นราคา ก็ตามภาครัฐ ไม่ว่าจะในระดับรัฐบาล กระทรวงพาณิชย์ และกรมการค้าภายใน จะต้องไม่เอาใจผู้บริโภค คือ ภาคประชาชนจนไม่รับรู้ความเป็นไปที่เกิดขึ้นจริงของภาคเอกชน ในฐานะผู้ผลิตเพราะหากปล่อยให้ความรู้สึกเช่นนี้ ก่อตัวรุนแรงและมากขึ้นทุกระดับเมื่อใด???เมื่อผู้ผลิตต่างพากันเลิกสายพานการผลิต สุดท้าย...ก็เป็นผู้บริโภคเอง ที่จะต้องแบกรับภาระราคาสินค้าที่แพงขึ้นเพราะเหลือผู้ผลิตน้อยรายจงอย่า “บีบ” ผู้ผลิตสินค้ามากนัก!!!.


ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker