บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สมศักดิ์ เจียมฯ ประเมินสถานการณ์เฉพาะหน้า: จะมีรัฐประหารตุลาการ ล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หรือไม่?

ที่มา Thai E-News

 โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
2 กรกฎาคม 2555

เมื่อ สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนนักวิชาการ/แอ๊คติวิสต์ รวมแล้วประมาณ 9 คน - 10 คน (ผมระบุเวลาและจำนวนคนที่คุย เพื่อผู้อ่านจะได้ชั่งน้ำหนักได้ว่า เรื่องที่เล่ามีคนเห็นเช่นนี้กี่คนที่ผมคุยด้วย และเมื่อไร)

ข้างล่างนี้เป็นการสรุปให้ฟังว่า เพื่อนๆเหล่านั้นประเมินสถานการณ์เฉพาะหน้าอย่างไร และผมเองประเมินอย่างไร ซึ่งการประเมินของผม จะแตกต่างออกไปอยู่บ้าง กับความเห็นของเพื่อนส่วนใหญ๋ที่ผมได้คุยมา

พูดแบบสรุปรวบยอดแต่แรกได้คือ เกือบทุกคนที่ผมคุยด้วย มองสถานการณ์ในลักษณะหนักหน่วงอยู่ คือ มองในลักษณะจะมีการรัฐประหารตุลาการ ล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ขณะที่ผมเอง มองในลักษณะที่ไม่ถึงขั้นนั้น อาจจะกล่าวได้ว่า คนที่ผมคุยด้วยมองในลักษณะ worst case scenario (ฉากที่จะเป็นไปได้ที่แย่ที่สุด) ขณะที่ผมประเมินต่ำกว่านั้น

(1) แทบทุกคนที่ผมคุยด้วย มองว่า การออกมาของ ศาล รธน. เรื่อง ม.68 (ซึ่งเป็นอะไรที่ขัดกับกฎหมายอย่างชัดแจ้งมากๆ) การออกมาของ ปปช ของ ผู้ตรวจการแผ่นดิน รวมไปถึงเรื่องอย่างการจะถอนประกันจตุพร ฯลฯ เป็นอะไรที่ไม่ใช่บังเอิญ หรือเกิดขึ้นแบบไม่เป็นระบบ

แต่เป็นการ "สั่งการ" และทำอย่างมีระบบ โดยมีเป้าหมายแน่ชัดทีต้องการล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์

เพื่อนหลายคนเสนอว่า บทบาทของคนระดับ วสันต์ จรัญ ศรีราชา หรือบรรดาคนที่ไม่มีตำแหน่ง แต่ใกล้ชิดพวกนี้ อย่างสุรพล หรือ สมคิด

คงเป็นเรื่องที่ไม่ใช่ บังเอิญ ทำกันไปเอง แต่ต้องมีคนระดับเปรม เป็นอย่างน้อย สั่งการ หรือประสานให้เป็น

หลายคนที่ผมคุย ให้ความสำคัญกับเรื่องอย่าง "การแต่งตัวแปลกๆ" ของ "บางคน" (เฉพาะเรื่องนี้ ผมยอมรับว่า น่าสนใจเหมือนกัน แต่ผมหาคำอธิบายไม่ได้ และอาจจะไม่ถึงกับ "อ่าน" ว่า เป็นอะไรที่ซีเรียส แบบหลายๆคน)

ในส่วนผมเอง ออกจะมองในทางที่ว่า ที่มีการออกๆมา (ของ ศาล, ปปช. ฯลฯ) เป็นไปได้ที่จะเป็นเรื่อง "คนเหล่านี้ทำเอง" โดยไม่ได้รับ "ใบสั่ง" หรือการประสานงานจากระดับสูงกว่านั้น (เช่น เปรม ฯลฯ)

(2) เฉพาะหน้า เพื่อนเกือบทุกคนมองว่า ศาล รธน. คงมีคำวินิจฉัยว่า การแก้ รธน.ทั้งฉบับ เป็นการผิดมาตรา 68 ดังนั้น จึงทำไม่ได้

แต่การตัดสินเช่นนี้ คงไม่ใช่ตัดสินทีเดียวในวันเดียว พร้อมกันไปด้วยว่า ต้องยุบพรรค หรือตัดสิทธิ์การเมือง สส. พรรคเพื่อไทย

แต่จะเป็นจุดทีนำไปสู่ การเดินเรื่องยุบพรรค และตัดสิทธิ์ทางการเมืองต่อไปทันที พูดง่ายๆ คือ หลังจากวินิจฉัยเช่นนี้แล้ว "ฝ่ายนั้น" ก็จะ "เดินหน้า" ต่อทันที เพื่อนำไปสู่การล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์

ตัวยิ่งลักษณ์ จะไม่ได้ผลกระทบจากการยุบพรรค แต่ยิ่งลักษณ์ มีกรณีค้างอยู่กับ ปปช เรือ่งซุกหุ้น ที่เพือนบางคนเสนอว่า อาจจะเป็นช่องทางนี้ ที่ใช้ในการเอายิ่งลักษณ์ออก

หรือไม่ก็อาจจะในฐานะยิ่งลักษณ์ เป็น สส. และรวมทั้ง สส.เพื่อไทย คนอื่น ที่เสนอเรื่อง แก้ รธน. จะโดนเล่นงานให้หมดสิทธิ์ หมดสถานภาพไป

แต่ไม่วาวิธีไหน เพื่อนแทบทุกคนมองว่า นี่เป็นการ "เอาจริง" ของ "อีกฝ่าย" ที่มีเป้าต้องการ รัฐประหารล้มยิ่งลักษณ์ เหมือนกับกรณี รบ.สมัคร-สมชาย

(3) ผมเองประเมินในลักษณะต่ำกว่าที่เพื่อนส่วนใหญ๋ที่คุยด้วย ประเมินในข้อ (2)

คือผมเห็นด้วยว่า มีความเป็นไปได้สูง ที่คำตัดสินศาล รธน. จะออกมาว่า รัฐบาลทำผิดมาตรา 68 และดังนั้น การแก้ รธน.ทั้งฉบับทำไม่ได้

แต่ผมก็ยังเผื่อถึงระดับว่า อาจจะออกมาว่า ไม่ผิด ม.68 ก็ได้ และการแก้ รธน. ก็ "เดินหน้า" ไปได้ (แต่ความเป็นไปได้นี้ อาจจะน้อย)

แต่ทีสำคัญ ผมไม่มองถึงขั้นว่า กระบวนการ "เบรค" การร่าง รธน.ใหม่ของ ศาล รธน. นี้ เป็นส่วนหนึงของแผนการที่จะนำไปสู่การล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้ได้ เหมือนกรณี สมัคร-สมชาย

เหตุที่ผมประเมินต่ำกว่าเพื่อนส่วนใหญ่ เพราะผมมองว่า มี 2 ปัจจัย ที่ทำให้การทำถึงระดับนั้น (รัฐประหารตุลาการ ล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์) เป็นทีเรื่องที่ "ฝ่ายนั้น" ไม่น่าจะเสี่ยงทำได้ คือ

(ก) การล้มรัฐบาลของฝ่ายทักษิณ ที่ชนะการเลือกตั้ง ด้วยวิธีเดียวกัน ถึง 2 ครั้ง เป็นเรื่องทีจะเสี่ยหายทางสากล มาก แม้การรัฐประหารตุลาการ จะมี "ภาพลักษณ์" ที่ดีกว่า การใช้รถถัง แต่การทำแบบนี้ 2 ครั้ง คือ ทุกครั้ง ที่ ฝ่ายทักษิณชนะเลือกตั้ง เป็นอะไรที่ออกจะมากเกินไป การชนะเลือกตั้งครั้งนี้ของฝ่ายทักษิณ ก็เป็นการชนะ ที่มากกว่าครั้ง สมัคร คือได้เสี่ยงกว่าครึ่งสภา พูดง่ายๆคือ ประชาชนส่วนใหญ่เลือกพรรคฝ่ายนี้ การจะล้ม แม้ด้วยวิธีตุลาการ ก็ยังจะเป็นเรือ่งที่เสียหายมากในสากล

(ข) แต่เหตุผลสำคัญที่สุด ที่ผมยังประเมินว่า "ฝ่ายนั้น" จะไม่กล้า ทำถึงขั้น รัฐประหารตุลาการ ล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็คือ ปัญหา "เสื้อแดง"

คือถ้ามีการรัฐประหารล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เหมือนกับที่ทำกับ สมัคร-สมชาย ผมว่า การระดมเสื้อแดงคราวนี้ จะนำไปสู่การปะทะใหญ่โต ยิ่งกว่าปี 2552-2553 มาก ชนิดที่ ฝ่ายเสื้อแดง จะไม่ยอมมากยิ่งกว่าครั้งที่แล้ว (เพราะทำซ้ำกันถึง 2 หน คือ ชนิดทีเรียกว่า ไม่ยอมรับการเลือกตั้งชนะของฝ่ายนี้เลย)

ถ้ามีการรัฐประหารตุลาการ ล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โอกาสจะเกิดการปะทะชนิด เสียงต่อการ ทำให้ "ทั้งระบบ พัง" สูงมากๆ

"สถานะ" ของ "บางคน" ถ้ามีการรัฐประหารตุลาการล้มรัฐบาลเลือกตั้งอีก จะเสียงมากๆ ทีจะ "ไมเหลือ" อะไร

แต่เพื่อนบางคนกลับแย้งผมว่า อันที่จริง เขามองว่า "ฝ่ายนั้น" ต้องการให้มีการ "ปะทะ" หรือต้องการให้เสื้อแดง "ออกมา" ด้วยซ้ำ จากการรัฐประหารตุลาการ ทีจะเกิดขึ้น เพื่อทีจะได้ "จัดการทีเดียว" พูดง่ายๆ คือ การรัฐประหารตุลาการล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ จะไม่ใช่เกิดขึ้นลอย แต่เป็น่สวนหนึงของการ "กวาดล้าง" เสื้อแดง ไปในคราวเดียวกันเลย

(3) มีประเด็นรายละเอียด ที่ผมประเมินต่างออกไป และเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่คิดว่า การรัฐประหารตุลาการ อีกครั้ง (เหมือนปี 2551) ไม่น่าจะทำได้ คือ

ถ้ามีการรัฐประหารตุลาการอีก แล้วเอาอภิสิทธิ์ ขึ้นมาเป็นนายกฯ อีก จะ "เสียหมา" มากๆ คือ มันจะโจ่งแจ้งมากๆ ต่อสายตาชาวโลก ว่า "ฝ่ายนั้น" (และ "คนบงการ" ของ "ฝ่ายนั้น") หัวเด็ดตีนขาด ก็ไม่ยอมแม้แตจะให้ ฝ่ายทักษิณชนะเลือกตั้ง ตั้งรัฐบาล คือ ทุกครั้ง ทีชนะเล่ือกตั้ง ตั้งรัฐบาล ก็จะต้องเอาลงด้วยวิธีนี้ และเอาอภิสิทธิ์มาเป็นแทนซ้ำอีก

แต่เพื่อนส่วนใหญ๋ที่คุย กลับมองว่า การรัฐประหารตุลาการล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่จะเกิดขึ้น (และการกวาดล้างเสื้อแดงที่ประกอบกัน) จะไม่นำไปสู่การตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์อีก แต่จะนำไปสู่การตั้ง "รัฐบาลแห่งชาติ" ขึ้นมา

(ในแง่เทคนิคกฎหมาย เพื่อนที่มองแบบนี้ เห็นว่า "ฝ่ายนั้น" สามารถทำได้ โดยการให้มีการ "งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา" เรื่อง การเลือกนายกฯ)

(4) ทำไมเพื่อนส่วนใหญ๋ที่ผมคุยด้วย จึงประเมินสถานการณ์เฉพาะหน้าหรือวิกฤติทีกำลังก่อรูปขึ้น ในลักษณะรุนแรงระดับนี้?

เพื่อนๆมองว่า เพราะ "อีกฝ่าย" ต้องการจะ "ควบคุม" (sucure) สถานการณ์ เพื่อรับเรื่อง "การเปลียนผ่าน"

ผมเองก็มองว่า ถ้ามีการ "เปลี่ยนผ่าน" สถานการณ์จะมีลักษณะตึงเครียด วิกฤติพอสมควร และอาจถึงขั้น มีรัฐประหารในรูปแบบใดรูปแบบหนึง (อาจจะถึงขั้นรัฐประหารด้วยรถถัง) เพื่อ secure สถานการณ์ไว้ ในระหว่างการ "เปลี่ยนผ่าน"

แต่โดยรวม ผมยังมองว่า "ยังไม่ถึงเวลา" หรือ ยังไม่ถึงสถานการณ์แบบนั้น ในขณะนี้

โดยรวม ผมมองในลักษณะที่ว่า สิ่งที่ "ฝ่ายนั้น" ต้องการ หรือจะทำในปัจจุบัน คือ การรักษา status quo (สถานภาพเดิม) ที่มีอยู่ ใต้รัฐธรรมนูญ 50 นี้ไว้

คือ ฝ่ายทักษิณ เลือกตั้งชนะได้ ตั้งรัฐบาลได้ ก็ปล่อยไป ให้บริหารประเทศ ในเรื่องปากท้อง และเรื่องอื่นๆ ไป แต่ห้าม "แตะ" โครงสร้างการเมือง ที่สร้างขึ้นโดย รธน.50 นี้ (ดังนั้น จึงต้อง "บล็อก" การร่าง รธน.ใหม่)

แต่ผมยังมองในลักษณะทีว่า พวกนั้น ไม่กล้าจะทำมากกว่านี้ คือ ไม่กล้าจะถึงขั้นทำรัฐประหารตุลาการซ้ำอีก ด้วยเหตุผลสำคัญ ที่กล่าวในข้อ (ข) ข้างต้น คือ ถ้าทำอีก จะเสี่ยงต่อการ "พังทั้งระบบ" สูงมากๆ

ผมอาจจะ (และเพื่อนหลายคนทีคุยด้วย คงมองว่า ผม) "ประเมินความฉลาดของอีกฝ่ายสูงเกินไป" คือ คิดว่า พวกนั้น ควรจะมีสติพอจะรู้ว่า ถ้าทำถึงขั้นรัฐประหารตุลาการล้มยิ่งลักษณ์ (เหมือนที่ทำในปี 2551) จะมีสิทธิ์นำมาซึงผลร้ายอันไม่คาดคิด ต่อสถานภาพของฝ่ายนั้นเองได้

(เพื่อนบางคนมองว่า ฝ่ายนั้น คิดอะไรอย่างไม่มีสติ ไม่มีเหตุผลสูงมาก อย่างกรณี ศาล รธน. มาตรา 68 ก็ทำทั้งๆที่ ไม่มีเหตุผลทางกฎหมายให้ทำได้เลย)



........................

ท่านผู้อ่านก็ลองประเมินดูด้วยตัวเอง และชังน้ำหนัก ความเห็นต่างๆ ที่ผมสรุปมาข้างต้นตามสะดวก

ดูข้อมูลประกอบเพิ่มเติมเรื่องศาล รธน.



ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker