บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์: ยุบพรรคเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย?

ที่มา ประชาไท

 

กลาง พ.ศ.2550 หรือในทันทีที่มีการตัดสินคดียุบพรรคไทยรักไทย ผู้เขียนได้เขียนบทความชื่อ “การยุบพรรคคือการรัฐประหารเงียบที่ทำลายประชาธิปไตยรัฐสภายิ่งกว่ารัฐประหาร 19 กันยายน” สาระสำคัญของบทความนั้นมีสามข้อ ข้อแรกคือไม่พึงมองคดียุบพรรคผ่านแง่มุมทางกฎหมาย แต่ต้องมองผ่านแง่มุมของความเป็นการเมืองในกฎหมายและการใช้กฎหมายทางการ เมือง ข้อสองคือต้องพิจารณาคดียุบพรรคเชื่อมโยงกับระบบพรรคการเมืองทั้งหมด และข้อสามคือข้อสังเกตว่าคำตัดสินในคดีนี้ไม่มีอะไรยึดโยงกับบรรทัดฐาน เรื่องหลักประชาธิปไตยรัฐสภา
นอกจากพรรคไทยรักไทย ก็ยังมีพรรคการเมืองที่ประสบการณ์ถูกยุบพรรคทำนองเดียวกันอยู่อีกมาก ยิ่งกว่านั้นคือปริมาณของพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองที่ใช้วิธีให้ศาลรัฐ ธรรมนูญบังคับยุติสภาพความเป็นพรรคการเมืองของฝ่ายตรงข้ามกลับมีมาจน ปัจจุบัน แม้กระทั่งในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา
ข้อถกเถียงเรื่องการยุบพรรคมักรวมศูนย์ว่าการยุบพรรคเป็นมาตรการที่เป็น ประชาธิปไตยหรือไม่ คำถามนี้คล้ายตอบง่ายเพราะประสบการณ์ในการเมืองไทยระยะใกล้ชวนให้ตอบได้ ทันทีว่าไม่เป็น แต่ที่จริงการยุบพรรคเป็นมาตรการที่พบได้ในหลายสังคม ในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยก็มี ในสังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตยก็มาก การอภิปรายแบบกว้างๆ ว่าการยุบพรรคเป็นหรือไม่เป็นประชาธิปไตยจึงลดทอนความซับซ้อนของประเด็นนี้ อย่างมีนัยยะสำคัญ
ลองดูตัวอย่างของการยุบพรรคในสังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตยก่อนก็ได้ พม่ามีการยุบพรรค NLD ของอองซานซูจีในปี 2553 ด้วยเหตุผลเรื่องการคว่ำบาตรการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนที่พรรคเห็นว่ามี การใช้กฎหมายเพื่อสกัดไม่ให้ซูจีลงสมัครเลือกตั้ง การสู้คดีผ่านศาลฎีกาไม่ประสบความสำเร็จ ผลก็คือพรรคแตก สมาชิกพรรคบางส่วนแยกตัวไปจัดตั้งพรรคNDF ซึ่งสมาชิกพรรคได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาเพียง 16 ราย ส่วนพรรคที่เป็นตัวแทนของผู้นำทหารในพม่าชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย ขณะที่ NLD เพิ่งฟื้นชีพเมื่อตัดสินใจจดทะเบียนจัดตั้งพรรคอีกครั้งในช่วงปลายปีที่ผ่าน มา
ควรระบุด้วยว่าข้อกฎหมายที่ฝ่าย NLD เห็นว่าเกิดขึ้นเพื่อกีดกันนางซูจีคือบทบัญญัติที่ระบุว่าผู้ที่มีความผิดใน คดีอาญาจะไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา รวมทั้งไม่มีสิทธิในการลงคะแนน ซึ่งมองในแง่กฎหมายก็เป็นหลักกว้างๆ ที่คล้ายไม่ได้มุ่งผลทางการเมืองต่อผู้หนึ่งผู้ใดเป็นการเฉพาะเจาะจง
ถ้านิยามประชาธิปไตยในความหมายกว้างและไม่ซับซ้อนที่สุดว่าประชาธิปไตย หมายถึงการเลือกตั้ง แซมเบียก็เข้าข่ายเป็นประเทศประชาธิปไตยเพราะมีการปกครองแบบประธานาธิบดีและ รัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งต่อเนื่องมาเกือบสามทศวรรษ แม้ข้อเท็จจริงอีกด้านคือแซมเบียเป็นประเทศที่อนุญาติให้มีพรรคการเมืองได้ เพียงพรรคเดียวมาตั้งแต่ปี 2515 นั่นก็คือพรรค UNIP (United National Independence Party) เท่านั้นที่ถือว่าเป็นพรรคที่ถูกกฎหมาย ส่วนพรรคการเมืองอื่นคือพรรคเถื่อนซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องมีสิทธิถูกดำเนินคดี อาญา
สภาพแบบนี้เปลี่ยนไปในปี 2534 เมื่อประธานาธิบดีจากพรรค UPP ถูกต่อต้านจนยอมแก้รัฐธรรมนูญให้การจัดตั้งพรรคการเมืองอื่นเป็นไปได้โดย อิสระ ผลก็คือพวกสหภาพแรงงาน พวกหัวก้าวหน้า และปีกประชาธิปไตยใน UNIP ออกมาจัดตั้งพรรคใหม่ชื่อ MMD (Movement for Multi-Party Democracy) ซึ่งชนะการเลือกตั้งระดับประธานาธิบดีและรัฐสภาอย่างกว้างขวางจนมีอำนาจรัฐ อย่างต่อเนื่องในช่วง 2533-2543 แต่เริ่มชนะด้วยคะแนนน้อยลงเรื่อยๆ ในระยะต่อมา
ในปี 2554 พรรค Patriotic Front ซึ่งแยกตัวจาก MMD ชนะการเลือกตั้งทั้งในระดับประธานาธิบดีและรัฐสภา ส่วน MMD กลายเป็นพรรคฝ่ายค้านอันดับหนึ่ง จากนั้นในเดือนมีนาคม 2555 สำนักทะเบียนพรรคการเมืองของแซมเบียก็มีคำสั่งยุบพรรค MMD ด้วยข้อหาว่าไม่จ่ายค่าธรรมเนียมมาตั้งแต่ปี 2536 สมาชิกรัฐสภาสังกัดพรรค MMD ทั้งหมด 53 คน จึงถูกเพิกถอนความเป็นสมาชิกรัฐสภาไปโดยปริยาย
สถานการณ์ในปัจจุบันนี้คือพรรครัฐบาลปัจจุบันและคณะกรรมการการเลือกตั้ง แซมเบียยื่นคำร้องให้ศาลฎีกาเพิกถอนสิทธิอดีตสมาชิกพรรค MMD ในการเลือกตั้งและกิจกรรมการเมืองอื่นๆ ถึงขั้นไม่มีสิทธิให้ความสนับสนุนผู้สมัครรายใด ในแง่นี้การยุบพรรคในแซมเบียมีผลต่อสมาชิกพรรคหนักหน่วงกว่าพม่าที่อนุญาต ให้ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิสามารถแสดงออกทางการเมืองได้ในบางระดับ ส่วนศาลแซมเบียไม่ให้สิทธินี้เลย
ถ้าการยุบพรรคในกรณีพม่าและแซมเบียเป็นตัวอย่างของการยุบพรรคในสังคมที่ ไม่เป็นประชาธิปไตยและกึ่งประชาธิปไตย การยุบพรรคในสเปนก็เป็นตัวอย่างของการยุบพรรคในสังคมที่เป็นประชาธิปไตย อย่างต่อเนื่อง โดยพื้นฐานแล้วสเปนมีการปกครองแบบรัฐสภาที่กษัตริย์เป็นประมุขภายใต้การ เมืองแบบหลายพรรคจนทศวรรษ 1990 ที่เริ่มเกิดระบบสองพรรคใหญ่ ส่วนพรรคเล็กที่มีบทบาทก็คือพรรคชาตินิยมและพรรคฝ่ายซ้ายในแคว้นต่างๆ ซึ่งมีจำนวนสมาชิกรัฐสภามากน้อยไปมาตามแต่สถานการณ์
การยุบพรรคครั้งสำคัญของสเปนเกิดขึ้นในปี 2546 เมื่อรัฐสภาสเปนเสนอในปี 2545 ให้ศาลสูงสุดของสเปนมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง Batasuna (Unity of the People) ซึ่งเป็นปีกราดิกาลของกลุ่มเรียกร้องเอกราชในแคว้นบาสก์ ศาลมีมติยุบพรรคโดยไม่เป็นเอกฉันท์ ฝ่ายที่ถูกยุบต่อสู้คดีด้วยการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งแม้จะมีมติไม่เป็นเอกฉันท์ แต่ก็ยืนยันคำวินิจฉัยของศาลสูงสุด ผลก็คือพรรค Batasuna สู้ต่อโดยยื่นคำร้องต่อศาลสิทธิมนุษยชนแห่งสหภาพยุโรป (ECHR) ว่าการยุบพรรคเป็นการละเมิดสิทธิการรวมตัวและจัดตั้งองค์กรซึ่งเป็นสิทธิ มนุษยชนขั้นพื้นฐานของทุกคน
การยุบพรรคในกรณีนี้น่าสนใจเพราะเชื่อมโยงกับประเด็นสำคัญสองเรื่อง เรื่องแรกคือการก่อการร้าย เรื่องที่สองคือการวางบรรทัดฐานของสหภาพยุโรปว่าอะไรคือขอบเขตของสิทธิในการ รวมตัว
การยุบพรรค Batasuna เชื่อมโยงกับประเด็นก่อการร้ายเพราะประธานาธิบดีสเปนช่วงหลังเหตุการณ์ 9/11 ผลักดันให้รัฐสภาแก้กฎหมายพรรคการเมืองมาตรา 9 เพื่อต่อต้านการก่อการร้ายโดยระบุว่าศาลสูงสุดสามารถประกาศให้พรรคการเมือง ใดเป็นพรรคผิดกฎหมายได้ หากพรรคหรือสมาชิกพรรคดำเนินกิจกรรมซึ่งเป็นภัยต่อหลักประชาธิปไตยอย่างร้าย แรงและต่อเนื่องโดยไม่หยุดยั้ง จากนั้นรัฐสภาก็วินิจฉัยว่า Batasuna เข้าข่ายนี้โดยตรง
สำหรับประเด็นของเขตของสิทธิในการรวมตัวนั้น ต้องเข้าใจก่อนว่าการต่อสู้ของ Batasuna ในศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเป็นไปได้เพราะสเปนให้สัตยาบันรับรองเขตอำนาจของศาล นี้ บุคคลจึงมีสิทธิที่จะร้องทุกข์ในกรณีข้อพิพาทที่ผ่านการพิจารณาของศาลใน ประเทศครบถ้วนแล้ว เงื่อนไขของสเปนข้อนี้เปิดโอกาสให้ Batasuna ต่อสู้ในระดับสากลว่าการยุบพรรคเป็นการละเมิดเสรีภาพในการรวมกลุ่มในมาตรา 11 ของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐาน นั่นก็คือการต่อสู้โดยอิงหลักการว่าสิทธิเสรีภาพในการรวมกลุ่มเป็นสิทธิที่ ละเมิดไม่ได้ในทุกกรณี
อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่าย่อหน้า 2 ของอนุสัญญานี้ระบุว่าเสรีภาพนี้ถูกระงับได้ตามที่กฎหมายกำหนดและตามความได้ สัดส่วนระหว่างความเป็นสังคมประชาธิปไตยและความมั่นคงแห่งชาติ ประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งป้องกันการละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปพิจารณาคดีโดยคำนึงถึงข้อความย่อหน้านี้จนมีคำตัดสินใน ปี 2552 ให้ศาลสเปนสั่งยุบพรรคได้เพราะเป็นไปเพื่อปกป้องสังคมจากการก่อการร้ายซึ่ง เกิดต่อเนื่องจนเป็นภัยต่อประชาธิปไตย
การยุบพรรคในตุรกีเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่น่าสนใจสามข้อ ข้อแรกคือการยุบพรรคเกิดโดยศาลรัฐธรรมนูญตุรกีซึ่งเป็นศาลรัฐธรรมนูญที่มี อำนาจที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป ข้อสองคือสาเหตุในการยุบพรรคนั้นครอบจักรวาลจากการสนับสนุนความรุนแรงไปจน ถึงการดำเนินกิจกรรมที่เป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ หลักนิติธรรม สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และความเป็นสาธารณรัฐแบบฆราวาสที่ไม่ฝักใฝ่ศาสนาใดศาสนาหนึ่ง และข้อสาม พฤติกรรมที่เป็นเหตุให้ยุบพรรคไม่ได้มีเพียงแค่กิจกรรม แต่ยังรวมถึงการใช้สัญลักษณ์ การเผยแพร่เอกสาร หรือการมีระเบียบพรรคที่เอื้อต่อกิจกรรมในข้อที่แล้ว
ในแง่บริบทนั้น นับตั้งแต่ทหารแทรกแซงการเมืองตุรกีในทศวรรษ 1980 ก็พรรคการเมืองถูกยุบไปไม่ต่ำกว่า 24 พรรคจนการยุบพรรคเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง พรรคที่ถูกยุบหลายพรรคเป็นพรรคที่อิงศาสนาหรือคนเชื้อชาติใดเชื้อชาติหนึ่ง เป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่นพรรค Refah ซึ่งประกาศตัวเองเป็นปากเสียงของคนอิสลามจนเป็นแกนตั้งรัฐบาลในปี 2539 แต่กองทัพซึ่งมองตัวเองเป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญกลับเห็นว่าพรรค Refah เป็นภัยต่อสาธารณรัฐฆราวาสจนเคลื่อนไหวล้มรัฐบาลและผลักดันให้ศาลรัฐธรรมนูญ ยุบพรรคนี้ในปี 2540 ส่วนหัวหน้าพรรคและสมาชิกรัฐสภาของพรรคก็ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง 5 ปี จากความผิดที่เล็กน้อยกระทั่งการใช้ทำเนียบประธานาธิบดีเลี้ยงอาหารผู้นำ ศาสนาในวันรอมฎอน
สมาชิกพรรค Refah ตั้งพรรคใหม่ชื่อ Fazilet ในปีเดียวกันโดยประกาศนโยบายที่เป็นกลางมากขึ้น แต่ก็ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคอีกในปี 2544 ด้วยข้อหาเดียวกับการยุบพรรคครั้งที่แล้ว ข้อแตกต่างคือการยุบพรรคนี้อ้างหลักฐานจากคำปราศรัยของสมาชิกรัฐสภาที่ระบุ ว่าจะอนุญาติให้สตรีมุสลิมสวมผ้าคลุมเข้ารัฐสภาได้ ,พฤติกรรมของสมาชิกรัฐสภาอีกรายที่กล่าวปฏิญญาตนในรัฐสภาโดยสวมผ้าคลุมแบบ อิสลามเข้าไปจริงๆ และการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของนักศึกษาสตรีที่ไม่ต้องการถอดผ้าคลุมขณะอยู่ ในชั้นเรียน ผลคือสมาชิกรัฐสภาจากพรรคนี้ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองไปอีกห้าปี
อดีตสมาชิกพรรค Fazilet ตั้งพรรคใหม่ชื่อพรรค AKP ในปี 2544 โดยวางยุทธศาสตร์พรรคให้อิงศาสนาอิสลามน้อยลงและเดินหน้าสู่ความเป็นพรรคมวล ชนมากขึ้นโดยนโยบายการเมืองแบบกลางค่อนไปทางอนุรักษ์นิยม พรรคได้รับคะแนนนิยมจนชนะการเลือกตั้งปี 2545 และ 2550 แต่ในปี 2551 อัยการก็เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคและเพิกถอนสมาชิกรัฐสภาอีกห้าปี ข้อกล่าวหาที่นำไปสู่การยุบพรรคคราวนี้คือพรรคดำเนินกิจกรรมขัดหลัก สาธารณรัฐฆราวาสเพราะเสนอแก้รัฐธรรมนูญที่นำไปสู่การอนุญาติให้สวมผ้าคลุมใน มหาวิทยาลัย
คดียุบพรรค AKP ถูกวิจารณ์โดยคณะกรรมาธิการยุโรปว่าแม้พรรคจะขัดแย้งกับหลักพื้นฐานของรัฐ ตุรกีเรื่องสาธารณรัฐฆราวาส แต่ก็ไม่ได้เป็นภัยต่อต่อประชาธิปไตย ความคิดที่แยกรัฐกับประชาธิปไตยจนถึงจุดที่ยอมรับสิทธิเสรีภาพของพรรคที่จะ ท้าทายรัฐแต่ไม่ล้มล้างประชาธิปไตยแบบนี้แตกต่างจากฝั่งตุรกีที่ถือว่ารัฐ กับประชาธิปไตยเป็นเรื่องเดียวกันจนยุบพรรคที่ท้าทายรัฐโดยอ้างว่าเพื่อปก ป้องประชาธิปไตยได้ทั้งหมด
นอกจากศาลรัฐธรรมนูญตุรกีจะมุ่งยุบพรรคที่อิงศาสนาแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญยังมุ่งยุบพรรคที่อิงเชื้อชาติอีกด้วย การยุบพรรคในสภาพแวดล้อมนี้สะท้อนถึงความหวาดกลัวของชนชั้นนำว่าศาสนาและการ แบ่งแยกดินแดนของบางเชื้อชาติจะทำลายสาธารณรัฐลงไป ข้อที่น่าสนใจคือการยุบพรรคในตุรกีเป็นกระบวนการที่ยาวนานและมีกรอบที่ใหญ่ โตกว้างขวาง นั่นหมายความว่าไม่ง่ายที่ฝ่ายที่ถูกยุบจะโจมตีว่านี่เป็นการกระทำเพื่อ ประโยชน์ทางการเมืองของผู้มีอำนาจฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
การยุบพรรคที่มีแง่มุมน่าสนใจคือการยุบพรรคแบบที่เกิดขึ้นในอียิปต์ใน เดือนเมษายนซึ่งฝ่ายที่ถูกยุบคือพรรค National Democratic Party ของอดีตประธานาธิบดีมูบารัค กล่าวโดยสรุปคือศาลปกครองสูงสุดของอียิตป์มีคำสั่งยุบพรรคพร้อมกับยึด ทรัพย์สินทั้งหมดของ NDP เป็นของรัฐ ซ้ำยังอาจตัดสิทธิของพรรคในการส่งผู้สมัครในการเลือกตั้งทั่วไปในเดือน กันยายน ข้ออ้างของศาลคือพรรคมีพฤติกรรมทุจริต โกงการเลือกตั้ง และผูกขาดอำนาจมาตั้งแต่ครั้งมูบารัคเป็นผู้นำ
การถกเถียงเรื่องการยุบพรรคในอียิปต์ยอมรับว่าการยุบพรรคเป็นเรื่องการ เมือง ผู้สนับสนุนการยุบพรรคจำนวนมากเห็นว่าเห็นว่าการยุบพรรคเป็นขั้นตอนสำคัญใน การนำอียิปต์ไปสู่การมีระบบหลายพรรค ผู้นิยมมูบารัคจึงต่อสู้ว่ากฎหมายไม่ได้ให้ศาลปกครองมีอำนาจกระทำการนี้ แต่การยุบพรรคก็ดำเนินไปท่ามกลางการผลักดันของสาธารณะที่เห็นแค่การยุบพรรค อาจไม่พอเมื่อคำนึงถึงความโหดเหี้ยมที่ระบอบมูบารัคกระทำต่อพลเมืองอียิปต์ เป็นเวลาหลายสิบปี
การใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมืองในอียิปต์น่าสนใจมากขึ้นเมื่อ คำนึงว่ารัฐสภาอียิปต์เคยผ่านกฎหมายการเลือกตั้งที่เพิกถอนสิทธิในการลง สมัครเลือกตั้งของบุคคลที่เคยมีตำแหน่งในรัฐบาลมูบารัคในช่วงสิบปี จากนั้นก็การออกกฎหมายว่าด้วยชีวิตทางการเมืองที่ฉ้อฉล (The Corruption of Political Life) ที่ขยายความไปอีกว่าแม้กระทั่งผู้นำพรรคของมูบารัคในรอบสิบปีก็ถือเป็นบุคคล ต้องห้ามไม่ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งหรือมีตำแหน่งสาธารณะอะไรต่อไปอีกหนึ่ง ทศวรรษ นี่จึงเป็นตัวอย่างสำคัญของการยุบพรรคและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในฐานะ เครื่องมือทางการเมืองโดยแท้จริง
เมื่อพิจารณาประสบการณ์การยุบพรรคในประเทศต่างๆ แล้ว ผู้เขียนมีข้อสังเกตดังนี้
หนึ่ง การยุบพรรคไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่เป็นกระบวนการซึ่งพบได้ในทุกสังคมตั้งแต่สังคมเผด็จการ (พม่า) สังคมกึ่งเผด็จการ (ไทย) สังคมประชาธิปไตย (สเปน) สังคมกึ่งประชาธิปไตย (แซมเบียและตุรกี) และสังคมในระยะเปลี่ยนผ่าน (อียิปต์) การยุบพรรคโดนตัวเองจึงไม่ใช่เครื่องชี้วัดว่าสังคมใดเป็นเผด็จการหรือ ประชาธิปไตย
สอง ลักษณะทางการเมืองของสังคมแสดงออกผ่านคำอธิบายที่ สังคมใช้ในการยุบพรรค สังคมเผด็จการหรือกึ่งเผด็จการมักอ้างเหตุในการยุบพรรคด้วยเรื่องเล็กน้อย อย่างการมีสมาชิกบางคนถูกดำเนินคดีอาญา (พม่า) ไม่จ่ายค่าธรรมเนียม (แซมเบีย) สมาชิกบางคนทำผิดกฎหมาย (ไทย) ส่วนสังคมประชาธิปไตยหรือสังคมกึ่งประชาธิปไตยอ้างเหตุในการยุบพรรคจากสิ่ง ที่เรียกว่า “ประโยชน์สาธารณะ” อย่างการปกป้องประชาธิปไตยจากการก่อการร้าย (สเปน) ความเป็นรัฐฆราวาส (ตุรกี) หรือการสร้างระบบการเมืองแบบหลายพรรค (อียิปต์)
สาม การยุบพรรคในสังคมเผด็จการหรือกึ่งเผด็จการมักดำเนินไปแบบไม่ซับซ้อน ขณะที่การยุบพรรคในสังคมประชาธิปไตยหรือกึ่งประชาธิปไตยมีการให้เหตุผลทาง กฎหมายที่ซับซ้อนเพราะถือว่าพรรคการเมืองสัมพันธ์กับสิทธิพลเมืองขั้นพื้น ฐานเรื่องเสรีภาพของเอกบุคคลในการรวมกลุ่ม (freedom of association) และสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเรื่องการแสดงออกทางการเมือง (freedom of expression) การยุบพรรคในสังคมประชาธิปไตยเป็นมาตรการเพิกถอนสิทธิที่ใช้ได้เฉพาะในกรณี ที่จำเป็นและในขอบเขตที่เหมาะสม หาไม่แล้วรัฐก็ย่อมก้าวล่วงเข้ามาในอาณาบริเวณส่วนบุคคล
สี่ สังคมเผด็จการหรือสังคมกึ่งเผด็จการมักอ้างว่าการ ยุบพรรคเป็นเรื่องทางกฎหมาย ขณะที่สังคมประชาธิปไตยหรือสังคมกึ่งประชาธิปไตยยอมรับว่าการยุบพรรคเป็น เครื่องมือทางกฎหมายที่มีความเป็นการเมือง การยุบพรรคในกรณีนี้แสดงให้เห็นระบบคุณค่าบางอย่างที่รัฐเลือกจะปกป้องหรือ จรรโลงเอาไว้ เช่น หลักรัฐฆราวาสในตุรกี การกวาดล้างเครือข่ายอำนาจเก่าในอียิปต์ การต่อต้านการแบ่งแยกดินแดนด้วยวิธีก่อการร้ายในสเปน ประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุขในไทย
เมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาที่พรรคการเมืองแทบทุก พรรคล้วนเคยยื่นคำร้องให้รัฐยุบพรรคการเมืองอื่น ก็ต้องยอมรับว่าการยุบพรรคกลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมืองในสังคม ไทยไปแล้ว ข้อความคิดสำคัญที่ควรเกิดขึ้นในบริบทนี้คือทำอย่างไรที่การยุบพรรคในสังคม ไทยจะมีอารยะเหมือนสังคมประชาธิปไตยอื่น นั่นคือการยุบพรรคต้องเริ่มต้นจากการตระหนักว่าพรรคเป็นเสรีภาพในการรวม กลุ่มและการแสดงออกทางการเมือง การใช้อำนาจในการยุบพรรคจึงต้องเป็นไปอย่างจำกัด ภายใต้เงื่อนไขที่เคร่งครัด ควรแก่เหตุ และด้วยหลักฐานที่ประจักษ์ชัดเท่านั้น
มองไปข้างหน้าต่อไป ประเด็นที่ควรได้รับการพิจารณาก็คือทำอย่างไรที่การยุบพรรคจะสัมพันธ์กับการ สร้างความเป็นปึกแผ่นของประชาธิปไตยในสังคมไทย
โจทย์ที่ควรคิดคือ ข้อแรก เป็นไปได้หรือไม่ที่การยุบ พรรคจะคำนึงถึงความเป็นหรือไม่เป็นประชาธิปไตยภายในพรรคการเมือง เช่นสมาชิกพรรคมีส่วนร่วมในการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งและนโยบายพรรค หรือไม่ สมาชิกถอดถอนผู้บริหารพรรคได้หรือเปล่า พรรคมีหรือไม่กลไกภายในที่จะจัดการกับสมาชิกซึ่งนำพรรคไปสู่การทำลาย ประชาธิปไตย
ข้อสอง เมื่อคำนึงปัญหาเฉพาะหน้าของสังคมไทยที่การรัฐประหาร การละเมิดรัฐธรรมนูญ หรือแนวปฏิบัติที่ไม่เป็นประชาธิปไตยต่างๆ เกิดขึ้นอย่างไม่ขาดสาย เป็นไปได้หรือไม่ที่การยุบพรรคจะคำนึงบทบาทของพรรคการเมืองในการสนับสนุน หรือเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ทำลายรัฐธรรมนูญหรือประชาธิปไตยรัฐสภา
อย่างไรก็ดี การยุบพรรคด้วยเหตุทั้งสองข้อนี้ต้องมีเงื่อนไขที่เคร่งครัด ควรแก่เหตุ และด้วยหลักฐานที่ประจักษ์ชัด เพื่อป้องกันไม่ให้ละเมิดหลักเสรีภาพในการรวมกลุ่มและเสรีภาพในการแสดงออก ทางการเมือง

/////////////////////
หมายเหตุ:
ผู้เขียนปรับปรุงจากคำบรรยายเรื่อง "ยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิทางการเมือง: ทำลายหรือพัฒนาระบอบประชาธิปไตย" โดยสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย วันที่ 27 พฤษภาคม 2555

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker