บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

จดหมายร้องทุกข์: ถามหาความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา กรณีคำสั่งปลดออกจากราชการไม่ชอบ

ที่มา ประชาไท

 

ชื่อบทความเดิม: ถามหาความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาเมื่อมีกรณีการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
 
สืบเนื่องมาจากศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดง ที่ อ 245-246/2552 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2552 ให้เพิกถอนคำสั่งปลดออกจากราชการ และ พิพากษาเพิกถอนโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งมีผลบังคับ ย่อมต้องถือเสมือนว่าไม่เคยมีคำสั่งดังกล่าวมาก่อน เนื่องจากเป็นมติและคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้ดำเนินการทาง วินัยตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่หน่วยงานเป็นผู้กำหนดและกฎหมายวิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 กับผู้ฟ้องคดี และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 สังกัดอยู่จะต้องรับผิดต่อผู้ฟ้องคดีในผลแห่งละเมิดที่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยการออกคำสั่งดังกล่าว ทั้งนี้ตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประกอบมาตรา 5 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 โดยให้หน่วยงานต้นสังกัดจ่ายค่าเสียหายเป็นเงินเดือนย้อนหลังให้กับผู้ฟ้อง คดี 
 
จึงมีข้อเท็จจริงว่า การมีมติและคำสั่งปลดออกจากราชการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้ราชการได้รับความเสียหาย เพราะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ฟ้องคดีเป็นเงินเดือนย้อนหลังให้โดยไม่ได้ทำงาน
 
มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 บัญญัติว่า ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้ หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง 
 
ข้อ 20 ของคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย (ก.จ.จ.เชียงราย) เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวนฯ ลงวันที่ 24 มกราคม 2545 ระบุ “เมื่อปรากฏว่ามีมูลที่ควรกล่าวหา ข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยมีพยานหลักฐานเบื้องต้นอยู่แล้วให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยทันที... ผู้บังคับบัญชาผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติตามข้อนี้ และตามส่วนที่ 1 ของหมวด 2 หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวโดยไม่สุจริตให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิด
 
และมติคณะรัฐมนตรีตามหนังสือ ที่ นร 0206/ว 218 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2541  “ถ้าปรากฏว่า มีความจริงอันเป็นกรณีความผิดกฎหมายบ้านเมืองให้ดำเนินคดีอาญา ถ้ามีมูลความจริงเป็นกรณีความผิดวินัยให้ดำเนินการสอบสวน หรือตั้งกรรมการสอบสวน” ในกรณีนี้มีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้วตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ซึ่งถือเป็นที่สุดและไม่มีผู้ใดสามารถยกเลิกเพิกถอนคำพิพากษาดังกล่าวได้
 
ทั้งนี้ เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสถานะเป็นนิติบุคคลไม่มีตัวตนและไม่ สามารถดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ได้ด้วยตนเอง การดำเนินการทางวินัยจึงต้องกระทำโดยผ่านเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งก็คือ เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานและบุคคลที่ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
 
ดังนั้น การที่หน่วยงานไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติกับผู้ที่ กระทำผิดกฎหมายอันเป็นเหตุให้ราชการและผู้อื่นได้รับความเสียหายตามคำ พิพากษาของศาลปกครองสูงสุด โดยอ้างเอาเองว่า “ไม่อาจฟังได้ว่าข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแต่ประการใด”  ก็เท่ากับเห็นว่าศาลปกครองสูง สุดตัดสินคดีผิดพลาด ต้องไม่รับผู้ฟ้องคดีกลับเข้ารับราชการและต้องไม่ชดใช้ค่าเสียหายในการกระทำ ละเมิดกับผู้ฟ้องคดีตามคำพิพากษา รวมทั้งต้องฟ้องขอให้ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาคดีใหม่เพื่อยกเลิกเพิกถอนคำ พิพากษาดังกล่าว แต่เมื่อไม่ได้กระทำก็ต้องถือว่าคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดถือเป็นที่สุด
 
โดยมีข้อเท็จจริงว่า หน่วยงานได้รับผู้ฟ้องคดีกลับเข้ารับราชการและจ่ายเงินชดใช้ค่าเสียหายให้ กับผู้ฟ้องคดีบางส่วน และได้คืนขั้นเงินเดือนย้อนหลังให้แต่ไม่ได้เลื่อนระดับให้กับผู้ฟ้องคดีตาม สิทธิที่มีอยู่โดยชอบด้วยกฎหมายก่อนคำสั่งปลดอออกจากราชการมีผลบังคับใช้
 
และไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติในการดำเนิน การหาตัวผู้กระทำผิดและลงโทษตามระเบียบของราชการ เนื่องจากมาตรา 420 แห่งกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ให้เขาเสียหายแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”  
 
โดยมีข้อเท็จจริงว่า แม้ผู้ฟ้องคดีผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องถูก ปลดออกจากราชการโดยไม่มีความผิดถึง 6 ปี จะได้ทำหนังสือร้องเรียนหน่วยงาน กรณีไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติต่อผู้ว่าราชการ จังหวัดในฐานะผู้มีหน้าที่กำกับดูแลตามมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 และในฐานะผู้บังคับบัญชาผู้รับหนังสือร้องเรียนตามมติคณะรัฐมนตรี ถึง 12 ฉบับ แต่ก็ไม่ได้มีการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แต่อย่างใด  
 
รวมทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดของผู้ว่า ราชการจังหวัด ได้มีหนังสือแจ้งว่าได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเป็นผู้รับ มอบหมายให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ แต่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกลับมีหนังสือแจ้งว่าได้ส่งเรื่องร้องเรียนให้จังหวัดพิจารณาดำเนินการรวมกับเรื่องเดิม แล้ว รายงานผลการดำเนินการพร้อมทั้งความเห็นของจังหวัดและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยว ข้องให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทราบ ผลเป็นประการใดจังหวัดจะแจ้งให้ผู้ร้องเรียนทราบต่อไป แม้จะมีข้อเท็จ จริงว่าผู้ฟ้องคดีได้ร้องเรียนกล่าวโทษการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของจังหวัด ด้วย อันเท่ากับกรมฯ ได้ส่งเรื่องร้องเรียนให้ผู้ที่ถูกร้องเรียนโดยตรงดำเนินการ ซึ่งขัดกับ มติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาผู้รับเรื่องร้องเรียนต้องให้ความ คุ้มครองกับผู้ร้องเรียน และระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของราชการ
 
จนบัดนี้ที่เวลาได้ล่วงเลยมานับแต่มีคำพิพากษาในวันที่ 6 ตุลาคม 2552 มาแล้วเกือบ 3 ปีแล้ว ผู้บังคับบัญชาที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติใน การดำเนินการสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดเพื่อลงโทษตามระเบียบของราชการ และเรียกเงินคืนให้กับราชการกรณีที่ได้ชดใช้ค่าเสียหายในการกระทำละเมิดกับ ผู้ฟ้องคดีไปก่อนยังไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด ซึ่งก็ขอฝากถึงกระทรวงมหาดไทยด้วยว่า เมื่อไม่สามารถลบล้างคำพิพากษาศาลของศาลปกครองสูงสุดได้ ท่านจึงมีหน้าที่ตามกฎหมาย ต้องหาตัวผู้กระทำผิดเพื่อลงโทษและเรียกเงินคืนให้รับราชการ เพราะกฎหมายและระเบียบของราชการมีไว้ใช้กับข้าราชการทุกคนเท่าเทียมกัน 
 
 
เอกสารอ้างอิง
1. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีหมายเลขแดง ที่ อ 245-246/2552
2. หนังสือฯ ที่ ชร 51001/3338 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2552
3. หนังสือฯ ที่ ชร 51001/2101 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2554
4. หนังสือฯ ที่ ชร 51001/4576 ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2554
5. ประกาศ ก.จ.จ.เชียงราย เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการสอบสวนฯ ลงวันที่ 24
    มกราคม 2545
6. หนังสือฯ ที่ นร 0206/ว 218 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2541 เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทาง
     ปฏิบัติเกี่ยวกับการร้องเรียนกล่าวโทษข้าราชการฯ
7. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 49
8. หนังสือร้องเรียนถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อขอให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้อง
    ปฏิบัติ  จำนวน 12 ฉบับ
 
 
AttachmentSize
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีหมายเลขแดง ที่ อ 245-246/2552298 KB

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker