การที่ “พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ” ลาออกจากกองทัพก่อนเกษียณอายุราชการ ตั้งพรรคความหวังใหม่ลงสู่การเลือกตั้ง...ต่อสู้ทางการเมืองเพื่อสร้างประชาธิปไตยโดยมุ่งหวังเพื่อจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ หรือ “รัฐบาลเฉพาะกาล”เพราะรัฐบาลประจำการธรรมดาไม่เข้มแข็งเพียงพอ ต้องมีรัฐบาลของการปกครองชนิดพิเศษคือ การปกครองเฉพาะกาล (Provisional Government)เพื่อปฏิบัติภารกิจระยะเปลี่ยนผ่านประเทศไทย จากระบอบเผด็จการทุกรูปแบบไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงตามหลักวิชาโดยกองทัพเป็นกำลังหลัก...ช่วยเป็นฐานของอำนาจที่ใช้สร้างประชาธิปไตย ถ้าปราศจากการเป็นกำลังสนับสนุนของกองทัพให้แก่รัฐบาลสร้างประชาธิปไตยแล้วย่อมไม่ประสบความสำเร็จอย่างสิ้นเชิงกองทัพจะสามารถทำหน้าที่เป็นกำลังสนับสนุนอำนาจรัฐบาลให้สร้างประชาธิปไตยได้สำเร็จ ต้องมีความรู้ประชาธิปไตยเป็นอย่างดีดังนั้น จะต้องยกระดับจาก “ทหารประชาธิปไตย” ขึ้นสู่“กองทัพประชาธิปไตย” กล่าวคือ ทหารประชาธิปไตยปฏิบัตินโยบาย 66/23ขั้นตอนที่ 1 กองทัพประชาธิปไตยปฏิบัตินโยบาย 66/23ขั้นตอนที่ 2 เพราะทหารประชาธิปไตยยังเป็นเพียงบุคคลไม่กี่คน แต่กองทัพประชาธิปไตยหมายถึง สถาบันกองทัพทั้งหมด เป็นไปตามกฎเกณฑ์สร้างประชาธิปไตยสากลทั่วโลก ที่ว่า ผู้สร้างประชาธิปไตยได้ มี 3 สถาบัน คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันกองทัพ สถาบันพรรคการเมืองนั่นคือ จะต้องเป็นสถาบัน (Institute) ไม่ใช่บุคคล (person)ในอดีต “พล.อ.ชวลิต” ทำศึกถึง 3 ด้านในประเทศ คือผลักดันรัฐบาลให้ยกระดับ จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ หรือ รัฐบาลเฉพาะกาล ผลักดันกองทัพให้ยกระดับสู่กองทัพประชาธิปไตยผลักดันให้ประชาชนยกระดับเป็นมวลชนประชาธิปไตยเพื่อบรรลุ “3 ประสานสร้างประชาธิปไตย” ด้วยการแก้ปัญหาทางความคิดอย่างหนัก และแหลมคม คือเปลี่ยนจากลัทธิรัฐธรรมนูญมาเป็นลัทธิประชาธิปไตย และเปลี่ยนจากลัทธิคอมมิวนิสต์มาเป็นลัทธิประชาธิปไตยด้วยการติดอาวุธทางปัญญาโดยการอธิบายประสานกับการปฏิบัติ ทั้งในระดับรัฐบาลในระดับกองทัพ และในระดับประชาชนอย่างทั่วด้านตลอดมา
ในปัจจุบัน “บิ๊กจิ๋ว” ทำหน้าที่ในด้านการนำเสนอแนวทางความคิด...ไม่เป็นผู้นำทางการจัดตั้ง คือ เป็นหัวหน้าพรรคหรือหัวหน้ารัฐบาล ไม่เป็นผู้นำทางการเมืองคือ ออกไปเคลื่อนไหวต่อสู้กลางสาธารณะเพราะต้องการแก้ปัญหาความคิดให้ตกไปก่อน จึงจะนำไปสู่การนำทางเมืองและการจัดตั้งได้สำเร็จกองทัพแห่งชาติ มีหน้าที่และภารกิจอันศักดิ์สิทธิ์ในการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ อันประกอบด้วย สถาบันชาติสถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ตามความหมายของชาติ (Nation) คือ มีดินแดนร่วมกัน มีการเมืองร่วมกัน มีเศรษฐกิจร่วมกัน มีภาษาและวัฒนธรรมร่วมกันและในความมั่นคงแห่งชาติ มีความมั่นคงแห่งรัฐ (State)ประกอบอยู่ด้วย คือ ดินแดน อธิปไตย กองทัพ รัฐบาลและประชานดังที่กล่าวแล้วว่า ยุทธศาสตร์ทางการทหารขึ้นต่อยุทธศาสตร์ทางการเมือง นั่นคือ การรักษาความมั่นคงของชาติจะต้องรักษาด้วยการเมืองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งตรงข้ามกับระบอบเผด็จการทุกรูปแบบ ที่ล้วนทำลายความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งสิ้นดังนั้น...กองทัพจะต้องนำการเมืองระบอบประชาธิปไตยหรือลัทธิประชาธิปไตยโดยที่ประยุกต์เป็นรูปธรรมแล้วนำนโยบายไปรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ด้วยการสร้างประชาธิปไตยเริ่มต้นด้วยการยกเลิกระบอบเผด็จการ สร้างระบอบประชาธิปไตยรูปธรรม คือ ยกเลิกอำนาจอธิปไตยของคนส่วนน้อยสร้างอำนาจอธิปไตยของปวงชน โดยทำให้รัฐบาลมีนโยบายสะท้อนผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริงและทำให้รัฐสภามีผู้แทนที่มีลักษณะเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง อันเป็น มรรควิธีการปกครอง (Methodof Government) ของการปกครองแบบประชาธิปไตยที่แท้จริง ซึ่งมีอยู่ในนโยบาย 66/23 ทั้งสิ้นแต่ทหารบางส่วนยังไม่เข้าใจ!ทำให้กองทัพไม่มีบทบาทด้านประชาธิปไตย...กลับถูกโจมตีว่าเป็นเผด็จการรัฐประหาร เสื่อมเสียสถาบันฯเพราะที่ผ่านมา...ทำแต่รัฐประหารแบบเผด็จการไม่ได้ทำรัฐประหารแบบประชาธิปไตยกล่าวคือ ทำรัฐประหารเพื่อสร้างรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การทำรัฐประหารเพื่อสร้างประชาธิปไตยโดยนโยบาย
(ติดตามตอนต่อไป)
นิรนาม นิรกาย