บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

"สงครามระหว่างสี" ของ "รศ.ดร. เกษียร" - การเมืองบังคับให้เลือก"สี"แต่กูไม่เลือก(โว้ย)

ที่มา มติชน


รศ.ดร. เกษียร เตชะพีระ




รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์


ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์


รศ.ดร. ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์



เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต มีการเปิดตัวหนังสือ "สงครามระหว่างสี" เขียนโดย รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ พร้อมกับจัดเสวนาโดยมีวิทยากรเข้าร่วมได้แก่ ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ, รศ.ดร. ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และ รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์


งานที่ใช้โครงสร้างในการทำความเข้าใจทางการเมือง

รศ.ดร. ชลิดาภรณ์ กล่าวว่า เนื้อหาในหนังสือในแง่ของการวิเคราะห์แล้วเห็นการวิเคราะห์การเมืองโดยใช้ โครงสร้างซึ่งอ.เกษียรพูดถึงชนชั้นที่ซับซ้อนเกินกว่าที่คนทั่วไปจะเข้าใจ ซึ่งน่าสนใจมาก โดยปกติเมื่ออ่านงานรัฐศาสตร์เชิงโครงสร้างมักจะน่าเบื่อ แต่อ่านงานของอ.เกษียรแล้วเทียบเคียงได้กับงานวิชาการทางรัฐศาสตร์ที่อ่าน ได้ไม่น่าเบื่อ สร้างความเข้าใจในเรื่องต่างๆมากขึ้น


แท้ที่จริง แล้วทำให้เห็นว่าชนชั้นนั้นไปซ้อนทับกับสิ่งอื่นอย่างไร มีประเด็นที่น่าสนใจในเล่มที่สอง อย่างเช่น มีข้อมูลว่าประเทศไทยถูกจัดลำดับค่านิยมทางประชาธิปไตยอยู่ในลำดับสุดท้ายใน แถบเอเชียตะวันออกแพ้มองโกล ในหลายๆเรื่องอยากให้ลองตักน้ำใส่กะโหลก ส่วนประเด็นเรื่องความรุนแรงทางการเมืองสำหรับนักศึกษาอาจไม่ได้อ่านง่ายนัก แต่ก็อยากให้ทำการศึกษาดู

ในส่วนสุดท้ายคือ เมื่อเราอ่านงานของคนที่ใช้โครงสร้างในการทำความเข้าใจทางการเมือง ถ้างานนั้นทรงพลังมากมักมองไม่ค่อยเห็นทางออก แต่งาน ของอ.เกษียรพยายามจะชี้ทางออกว่ามันควรจะเป็นอย่างไร อาจารย์พยายามชี้เป็นระยะว่าทางออกการเมืองไทยในแต่ละช่วงเวลาเป็นอย่างไร งานของอ.เกษียรจึงใช้โครงสร้างมาพูดถึงทางออกนั้นอย่างมี "ความเป็นมนุษย์" มาก และบางคนอาจถูกใจหรือไม่ถูกใจ เมื่อพูดถึงปัญหาและราคาของความรุนแรงในปัญหาแบบนี้


"ที่ สุดแล้วโจทย์ใหญ่น่าจะเป็นเรื่อง การรักษาชุมชนทางการเมือง ตอนนี้วิธีที่เราพูดเรื่องปรากฎการณ์ทางการเมือง มักจะไม่ค่อยพูดเรื่องการที่เราจะรักษาและจะอยู่ด้วยกันอย่างไร สำหรับงานของอ.เกษียรมีแง่มุมการรักษาเหล่านี้อยู่"


นิติรัฐ กับ ประชาธิปไตย

รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กล่าวว่า อ่านหนังสือแล้วรู้สึกว่าเล่มเหลืองมันเหลืองจริง แต่แดงแล้วไม่ค่อยแดงอาจออกเป็นส้มๆ ไม่ได้แดงสะใจ ในแง่รูปแบบเป็นหนังสือรวมบทความที่พบว่าสองเล่มนี้บรรยายสภาพข้อเท็จจริง ได้อย่างดี และในอนาคตจะใช้เป็นคู่มือในการมองสังคมที่ผ่านมาได้อย่างดี


สิ่ง ที่ได้จากการอ่านเล่มนี้พบว่า อาจารย์ได้ใช้วิธีการทางรัฐศาสตร์มาอธิบายความได้อย่างน่าสนใจ มีความสามารถทางภาษาที่บาดอารมณ์ และถ่อมตัว ใน งาน ของอาจารย์เกษียร ได้พยายามแยกขั้วและเอาหลักการมาจัด โดยอธิบายการเคลื่อนไหวว่าแดงใช้หลักการความเป็น "ประชาธิปไตย" ขณะที่พันธมิตรใช้เรื่องยุทธศาสตร์ "นิติรัฐ" เป็นเครื่องมือในการต่อสู้ เคลื่อนไหวทางอุดมการณ์ ปัญหาที่จะวิจารณ์คือ ในฐานะที่ตนเป็นนักกฎหมายมหาชนเวลาที่มีคนใช้สองข้อนี้มาอธิบายก็จะพยายาม วิเคราะห์ว่าเหมาะสมหรือไม่

ปัญหาคือพันธมิตร เคลื่อนไหวโดยนิติรัฐ ได้มีการเอาองค์กรในทางกฎหมายเข้ามาใช้ในการต่อสู้ทางการเมืองอย่างไม่เคยมี มาก่อน แต่พบว่าเมื่อย้อนกลับไปดูการเอานิติรัฐมาอ้างในด้านหนึ่งมันไม่ได้เป็นนิติ รัฐจริงๆ ในทางหลักการ ด้วยเหตุนี้เวลาที่ผมพูดเรื่องนิติรัฐมันจึงเป็นคนละโทนเสียงกับที่พันธมิตร พูด หลายครั้งที่สังคมไทยอ้างนิติรัฐหรือการเคลื่อนไหวที่เป็นนิติรัฐ ซึ่งไม่ได้เป็นนิติรัฐจริงๆ ตามความคิดของตนคิดว่าตรงนี้เป็นปัญหา


เวลาที่เราพูดถึงก็ต้องพูดถึงหลักก่อน เวลาที่คนใช้มันใช้ตามโครงหลักหรือไม่ คือโลกสมัยใหม่ประชาธิปไตยกับนิติรัฐมันไปด้วยกัน การ อ้างอิงนิติรัฐเป็นการเอากฎหมายเข้าควบคุม หากอ้างไม่ถูกก็ไปตัดทอนประชาธิปไตยซึ่งตามความเข้าใจของตนแล้ว อ.เกษียรพยายามแสดงให้เห็นว่าสองสิ่งนี้ได้ปะทะกัน การอ้างประชาธิปไตยมันอ้างจากกฎไปตรงๆ แต่การอ้างนิติรัฐมันไม่ตรง อย่างเช่นเรื่องตุลาการภิวัฒน์ นิติรัฐมันต้องสนับสนุนคุณค่าบางประการในรัฐธรรมนูญ แต่การบังคับกฎหมายจริงๆ โดยการนำเอากฎหมายไปแก้ปัญหาทางการเมืองมันบิดเบี้ยวมาตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน ที่มีการดึงเอากลไกหรือองค์กรทางกฎหมายมาสนับสนุน


"สถิติ ค่านิยมทางประชาธิปไตยเรายังน้อยกว่าฟิลิปปินส์ และไต้หวัน คำถามคืออะไรที่เป็นเบื้องหลังที่มาของค่านิยมในประเทศไทย ใช่การกล่อมเกลาอย่างยาวนานหรือไม่ หรือเกี่ยวกับค่านิยมเรื่องกรรม ถ้ามันเป็นอย่างนั้นก็น่าจะเป็นเรื่องการชวนเชื่อการเมืองในระยะที่ยาวนาน งานเขียนของอ.เกษียรสนับสนุนความคิดของผมได้เป็นอย่างดี"


อัน หนึ่งที่ปรากฎในบทความคือสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่สงครามในแง่ โครงสร้างอย่างเดียว แต่มีเรื่องเพื่อน บุคคลที่แวดล้อมกับอ.เกษียรด้วย และเห็นว่าคนเหล่านี้มีความสัมพันธ์อย่างไร เมื่อเกิดความขัดแย่งคนเหล่านี้กระจัดกระจายไปอยู่ที่ไหน ข้อเขียนเหล่านี้พบว่ามีการปฎิเสธแนวคิดในแง่ความรุนแรงอย่างชัดเจน น้ำเสียงสะท้อนให้เห็นว่าไม่ต้องการให้เกิดการสูญเสีย เมื่ออ่านจบทำให้ตั้งคำถามว่า ที่สุดแล้วมันควรเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ในอีกมุมหนึ่งก็ยังคิดว่า ต้องมีหลักการบางอย่างยึดเอาไว้เพื่อให้สังคมชี้ว่าอะไรถูกหรือผิด


"โดย รวมคิดว่าคนที่เรียนทางสังคมศาสตร์น่าจะต้องอ่าน อ.เกษียรไม่ได้เข้าไปอยู่ในขั้วอำนาจใดขั้วหนึ่ง ในแง่ของการมีตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งทำให้มีน้ำหนักทางวิชาการสูงสำหรับคนที่สนใจเหตุการณ์บ้านเมือง"


ประชาสังคม

ดร.พิชญ์ กล่าวว่า งานของอ.เกษียรเป็นงานที่นักรัฐศาสตร์รู้จักกันดีในช่วงหลัง ทำให้ภาพรวมของรัฐศาสตร์โน้มเอียงไปในภาพที่ไม่ได้เป็นรัฐศาสตร์ ประเด็นที่นำเสนอก็เปลี่ยนจากงานรุ่นเก่าพอสมควร แต่ไม่ได้หมายความว่า"ตัวคน" เปลี่ยน ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีคนทำ แต่มันมีรอยต่อกันอยู่


คุณค่าประชาธิปไตยจะอยู่ตรงไหน เราจำเป็นต้องพูดเรื่องปรัชญาการเมือง หรือเราจะมีมุมมองอื่นๆที่จะพูดถึงมัน ซึ่งอ.เกษียรก็สรุปว่ามันต้องมีการวิเคราะห์ชนชั้นและทุนนิยม สุดท้ายแล้วเราจะวางประชาธิปไตยไว้ตรงไหน


เห็นได้ว่าอาจารย์ เขียน "เล่มเหลือง" สบายกว่า "เล่มแดง" สืบเนื่องมากจากงานศึกเษาเก่าของอ.เกษียร ที่วิเคราะห์เรื่อง"ชาตินิยมกับการเมือง" แต่เมื่อเข้ามาเล่มแดงจะเริ่มยากเพราะเป็นเรื่อง "ประชาธิปไตยและสงครามทางชนชั้น" ไม่มีตัวที่เรียกว่าการครอบงำที่เห็นได้ชัด มันปะทะกันมากขึ้น และขาดอะไรบางอย่างไป เมื่อความชอบธรรมของกลุ่มเสื้อแดงพังทลายลงเพราะการใช้ความรุนแรงก็เริ่มพูด ยาก การวิเคราะห์เสื้อแดงจึงยาก ด้านหนึ่งเป็นเรื่องประชาธิปไตย อีกด้านหนึ่งมีเรื่องความดิ้นรนและการต่อสู้กับรัฐ เลยตกลงว่า "เล่มแดง" ไม่แดงพอหรือเปล่า


ต่อมา คือปัญหาร่วมกันของทางรัฐศาสตร์คือ "การทำนาย" เมื่อต้องเขียนควบคู่กับปรากฎการณ์ แต่อำนาจในการทำนายนั้นมีมากน้อยได้เท่าไหร่ วางอยู่บนฐานอะไร, เรื่องที่ต้องขายคือ อาจารย์อาจไม่ได้วิจารณ์ประชาสังคมอย่างเป็นระบบ แต่เลือกยุทธวิธีที่ชนกับองค์ประธานคือหมอประเวศเลย แต่ถ้ามองทั้งระบบจะเห็นรายละเอียดอีกหลายอย่าง อาทิ สสส. สะท้อนจริตของคนเหล่านี้ว่า "มือถือสากปากถือศีล" เอาเงินเขามารณรงค์ไม่ให้กินเหล้า ลักษณะของประชาสังคมมันเหมือนเป็นแบบนี้ทั้งระบบ สอนให้คนหัดนุ่มนวลกับคนเหล่านี้


เกษียร: "การเมืองสีเหลือง-แดง แต่กูไม่เลือก"

อ.เกษียร กล่าวว่า ตนเขียนไปเรื่อยๆ ตามสถานการณ์ คนรุ่นตนพรรคคอมมิวนิสต์ สอนให้เราอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่เคยคิดว่างานของตนจะมีความสำคัญหรือมีคนให้ความสนใจ ซึ่งผมเชื่อพรรค มีความรู้สึกว่าช่วยให้สังคมคิดอะไรบางอย่างก็เป็นสิ่งดี


ผม พยายามทำความเข้าใจความขัดแย้งของเหลือง-แดง กับความหมายของประชาธิปไตยกับนิติรัฐ เรื่องนี้คุยกันได้ยาว คือเมื่อแรกมีการจำกัดอำนาจศูนย์กลางนั้น เป็นยุคสมัยที่ขุนนางจำกัดอำนาจกษัตริย์ ซึ่งการจำกัดอำนาจทำไปในนามเสรีนิยม คือ เริ่มจากผลประโยชน์ส่วนตัว ความหมายของประชาธิปไตยกับนิติรัฐจึงไม่ใช่เรื่องง่าย วิธีการทำความเข้าใจความหมายดังกล่าวจึงต้องมาจากการเคารพศัตรูที่สุดหรือ ยอมรับความคิดอีกฝ่าย

ผมไม่เห็นด้วยกับพันธมิตรหลายอย่าง อยากเข้าใจว่าเขาเข้าใจอย่างไร และนำไปสู่อะไร แต่ผมคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่มีนิติรัฐโดยไม่มีประชาธิปไตย เป็นไปไม่ได้ที่จะมีประชาธิปไตยโดยไม่มีนิติรัฐ


ผมตอบคำถามที่ว่า "ได้บทเรียนอะไรจากในป่า ?" คำตอบคือ ไม่ มีหลักนามธรรมอันใดสูงส่งจนกระทั่งคู่ควรกับการเอาชีวิตผู้อื่นไปสังเวย แต่เห็นด้วยว่ามีหลักนามธรรมบางอย่างที่คุณอาจยินดีสละชีวิตอยู่ เช่นเพื่อพ่อแม่ มนุษย์เรามีสิ่งเหล่านี้ ผมเปลี่ยนความคิดที่มีต่อเด็กช่างกล เพราะเมื่อช่วงเด็กผมขึ้นรถเมล์แล้วเกือบจะหล่นจากรถ เด็กอุเทนฯเอามือโอบผมไว้ ตรงนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องหลักการหรืออภิปรัชญาหรอกแต่เป็นเรื่องที่เจอมากับ ชีวิตตนเองและไม่สามารถเลิกเชื่อได้"


ผม ฉุกคิดว่าชีวิตคนเราซับซ้อนเกินกว่าจะมี เพียงสีเดียว ถ้าตีความสีว่า "เหลือง"เป็นการต่อสู้คอร์รัปชั่น ไม่ยอมรับอำนาจผูกขาดโดยการใช้อำนาจไม่เป็นธรรมซึ่งเราก็อาจมีตรงนั้นอยู่ใน ตัว ขณะเดียวกันเราก็มีสีแดง การเมืองประชาธิปไตย ยึดหลักเสียงส่วนมาก สิ่ง ที่น่าเศร้าคือความขัดแย้งทางการเมืองบังคับให้เราเป็นสีเดียว บางทีเราชอบส่วนหนึ่งของเหลืองและส่วนหนึ่งแดงด้วย ปัญหาของผมกับสภาพการเมืองคือ "บีบให้กูเลือก กูไม่เลือกโว้ย ขนาดพรรคคอมฯกูยังไม่แคร์ มึงเป็นใคร"


ความรุนแรงอย่างแรกที่กระทำคือกระทำกับตัวเอง เพราะในท่ามกลางความขัดแย้ง เรา ทำลายสีอื่นที่อยู่ในตัวเอง เราอยากเป็นเหลืองเราทำลายความเป็นแดง คุณอยากเป็นแดงคุณทำลายความเป็นเหลือง ก่อนที่คุณจะทำลายคนอื่นคุณทำร้ายตัวเอง คุณก็เป็นมนุษย์น้อยลง เหลือมิติเดียว ถ้าไม่รู้จักหยุดตรงนั้น คุณจะเกลียดส่วนนั้นของชีวิตและทำร้ายคนอื่น ใช้ความรุนแรงต่อคนอื่น สำหรับผมแล้วนี่คือความรับผิดชอบที่สำคัญมาก ผมเสียใจที่หลายปีที่ผ่านมา คนจำนวนมากทำสิ่งเหล่านี้ไม่ว่าจะจงใจหรือไร้เจตนาก็ตาม

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker