มติชนสุดสัปดาห์
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับส่งท้ายปีเก่า ประจำวันที่ 24-30 ธันวาคม 2553 นำภาพ 2 ผู้ยิ่งใหญ่แห่งโลกออนไลน์และออฟไลน์ร่วมสมัย คือ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก กับ จูเลียน แอสแซนจ์ มาขึ้นปก พร้อมคำโปรยชวนคิด "กระซิบ" ทีเดียว สะเยียวทั้งโลก!
รายงาน ข่าวในประเทศประจำฉบับนี้ ประกอบไปด้วย รายงานชื่อเดียวกับคำโปรยบนหน้าปก ที่สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลต่อสังคมโลกและสังคมไทยของซัคเคอร์เบิร์กและแอ สแซนจ์, เมื่อ "มาร์ค" พบ "ธิดา" "เสื้อแดง" ก็แตกเละ ? รัฐบาล-ปชป.เสี้ยม กระชับ "นปช." รอบ 2, เมื่อต้นทุน "ทักษิณ" เริ่มหด เพื่อไทย สู่ยุค "ไร้เงาหัว" "อาการ" จึงน่าเป็นห่วง, และ โหร "คำ ผกา" ฟันธง! การเมืองไทย "หลังอภิสิทธิ์" จะยังคงเป็น "แบบอภิสิทธิ์" และเจริญรุ่งเรืองขึ้นทุกด้าน
สำหรับบทความพิเศษและรายงานพิเศษน่าสนใจ มีอาทิ วัฒนธรรม "กระซิบ" จาก หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ถึง ทักษิณ ชินวัตร, หัวใจ "ประยุทธ์" สมอง "ดาว์พงษ์" ใต้เงา กอ.รมน.-ศตส.-"ธ-ถ-อ" และศึก "ไอ้ตู่-บิ๊กตู่" และ "ประชาวิวัฒน์" ผัดซีอิ๊ว เมนูใหม่ ซานต้า "มาร์ค" ว่าแต่เขา "อิเหนา" แจกเอง โดย ศัลยา ประชาชาติ
บทความเด่นประจำฉบับได้แก่ เพลงเพื่อชีวิตในตลาด ที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ จะทำการเปรียบเทียบ "เพลงแนวชาตินิยมมันสำปะหลัง" ของอินโดนีเซีย กับ "เพลงเพื่อชีวิต" ของไทย, เมื่อผู้กุมอำนาจรัฐรุกทางการเมือง ฝ่ายต้านอำนาจรัฐจะปรับขบวนอย่างไร? โดย มุกดา สุวรรณชาติ, จุมพิตนางแมงมุม โดย วิษณุ โชลิตกุล, วัดกำปั้น 2554! เกาหลีใต้ vs เกาหลีเหนือ โดย สุรชาติ บำรุงสุข, นิธิ เอียวศรีวงศ์ : โซฟิสต์แห่งยุคโพสต์โมเดิร์น โดย แพทย์ พิจิตร
ทำไม "25 ธันวาคม" ทำไมเป็น "คริสต์มาส" โดย สถาพร มังกร, เมื่อฉันไม่มีขน ฉันจึงเป็นศิลปะ (9) โดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา, เจ้าชายน้อยยืน "ชี้ฟ้า-ชี้ดิน" ขอกำเนิดเป็นพระชาติสุดท้าย โดย เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์, พินิจ ความเป็นศาสตร์และสหศาสตร์ "ศิลป์" (3) โดย อารยา ราษฎร์จำเริญสุข และ เปลี่ยน โดย คำ ผกา ซึ่งมาพร้อมกับบทสนทนาแสบๆ คันๆ เช่นเคย ยกตัวอย่างเช่น
"บาง ทีทัดดาวนึกถึงความจริงที่ว่า ชาวนาไทยยังใช้รถอีแต๋น นึกถึงรถเมล์บ้านเราที่ควันยังดำปี๋ ทั้งเก่าทั้งเหม็น นึกถึงรถไฟไทยซึ่งเป็นขนส่งมวลชนที่คนส่วนใหญ่ของประเทศต้องใช้ในการเดินทาง ไกล ไม่ต้องพูดถึงความเก่า ความไร้ประสิทธิภาพ ไม่ต้องพูดถึงเรื่องที่รถไฟของเรายังต้องปล่อยขี้ เยี่ยว ลงบนดิน ไม่ต้องพูดถึงรถไฟชั้นสามที่เหมือนเป็นยานพาหนะขนทาส หรือแรงงานกรรมการในสมัยค้าทาส มากกว่าจะเป็นยานพาหนะของมวลชนในศตวรรษที่ 21 แต่ทันทีทันใด เราก็มีรถซีอิ๊วขาวสูตรหนึ่งที่วิ่งได้เร็วที่สุดในโลกมาให้กรี๊ดกร๊าดชื่น ชม แม้ทัดดาวจะเห็นว่ามันเป็นกิจกรรมที่โอเค แต่ก็อดรู้สึกถึงความขัดแย้งลักลั่นในสังคมอย่างบอกไม่ถูก"
"ต๊าย...ทัด ดาว เธอไปกินยาอะไรผิดมาหรือเปล่า หรือไปแอบดูโทรทัศน์ของพวกเสื้อแดง เลยถูกล้างสมองซะแล้ว รถฟอร์มูล่าวันกับคุณภาพรถไฟไทยมันเกี่ยวกันตรงไหนนะ เชื่อมโยงกันไปได้เรื่อยเปื่อย ถ้าไม่เอารถฟอร์มูล่าวันมาโชว์ แล้วรถไฟไทยมันก็ไม่มีวันดีกว่านี้หรือไง หรือเธอคิดว่ากระทิงแดงควรบริจาคเงินให้การรถไฟไทยเอาไปปรับปรุงรถไฟให้คนจน นั่ง เฮ้อ....เธอนี่ ตรรกะวิบัติ"
"ทัด ดาวไม่ได้หมายความอย่างนั้นสัก หน่อย แค่รู้สึกว่าทิศทางการพัฒนาประเทศชาติมันบิดเบี้ยวอย่างไรชอบกล เราเหมือนคนอยู่กระต๊อบจะพังแหล่มิพังแหล่ แต่ดันมีรถเบนซ์ แล้วเราก็ภูมิใจว่า ดูสิ ฉันมีปัญญาซื้อรถเบนซ์มาขับนะ แต่ลืมคิดไปว่า สมาชิกในครอบครัวของเราต้องนอนในบ้านหลังคารั่ว ปลวกกินเสา ส้วมเหม็นฉึ่ง แต่พ่อแม่ของเราดันบอกลูกๆ ว่าส้วมเหม็นก็ช่างมันเถอะ มานั่งดูรถเบนซ์ของเราด้วยความภาคภูมิใจดีกว่า"
ส่วนคอบทกวีหรือวรรณกรรมควรอ่าน ยืนหยัด โดย เฉินซัน, Julian Assange โดย เวิ้งหมาบ้า, ไม่ใช่สีขาวอีกแล้ว โดย รางชางฯ, เทศกาลกวีไร้ชีพ โดย ประกาย ปรัชญา และเรื่องสั้น เราต่าง (แต่เรา) รักกัน (จบ) โดย สร้อยแก้ว คำมาลา
ขอปิดท้ายด้วยเนื้อหาบางส่วนจากบทกวีชื่อ เชื้อโรค โดย อนันต์ เกษตรสินสมบัติ
ฆ่าตามหลักสุขอนามัยก็แล้ว
ชั่วประเดี๋ยวเดียวแห่กลับมาเต็มเพียบ
พวกมันคือเชื้อโรคจากดวงดาวไหนหนอ
จึงยังเป็น อยู่ คือ
ให้สมองของข้าหมกมุ่นกับการเกลียดชัง
ขวนขวายวิธีชำระล้างทำความสะอาด
ขยับขยายพื้นที่ที่ปราศจากพวกมัน
...
วิภาษา
วิภาษา ฉบับประจำวันที่ 16 ธันวาคม 2553 - 31 มกราคม 2554 ยังคงมีบทความวิชาการเนื้อหาหนักแน่นมานำเสนอเช่นเคย เช่น "การลอบสังหาร" ในประวัติศาสตร์การเมืองโลก โดย ณัฐกร วิทิตานนท์, ชาวนากับการท่องเที่ยวแบบโหยหาอดีต : เศรษฐกิจผลิตภาพลักษณ์ โดย ภัสสร ภัทรเภตรา และ แม่เลี้ยงเดี่ยวโดดเดี่ยว โดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล
รวมทั้ง รัฐศาสตร์แนวหลังโครงสร้างนิยม (จบ) ที่ ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร จะพาไปทำความรู้จักเกี่ยวกับการอ่านภาพยนตร์ของนักรัฐศาสตร์แนวหลังโครง สร้างนิยมอย่างไมเคิล เจ. ชาพิโร ผ่านหนังสือ Cinematic Geopolitics ของเขา
และ 111 ปี สยามกับล้านนา (พ.ศ.2442-2553) โดย ธเนศวร์ เจริญเมือง ที่มีตัวอย่างเนื้อหาน่าสนใจ ดังนี้
"...การ ทำลายรัฐในอดีตเช่น รัฐปาตานีและรัฐล้านนา รวมทั้งการเข้าครอบครองแผ่นดินอีสานในยุครวมศูนย์อำนาจด้วยการยกเลิกระบบการ ปกครอง คณะผู้ปกครอง ภาษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น ทำให้ท้องถิ่นนั้น (ซึ่งเป็นชาติอีกชาติหนึ่ง) ไม่มีรัฐเหลืออยู่ (Stateless nations) ต่อไป ทำให้เหลือท้องถิ่นที่ไม่มีชาติ (Nationless localities) และกระทั่งทำให้เหลือเพียงท้องถิ่นที่สูญเสียแม้แต่อัตลักษณ์ (Localities without identities) ก็คือกระบวนการของรัฐรวมศูนย์อำนาจมากเกินไปที่ได้ดำเนินนโยบายและมาตรการ ที่มีทั้งจงใจและไม่จงใจ ที่ในที่สุดรัฐและท้องถิ่นดังกล่าวเหลือเพียง หนึ่ง ระบบอำนาจรวมศูนย์ที่ส่วนกลาง และสอง ท้องถิ่นทั่วประเทศที่สูญเสียทุกอย่างนับตั้งแต่ความเป็นรัฐ ความเป็นชาติ ความเป็นอิสระในการปกครองและการจัดการบริหารตนเอง (Local self-government) และสุดท้าย อัตลักษณ์ท้องถิ่น (Local identities) ก็แทบไม่หลงเหลือ
แต่ คิดหรือว่าโลกที่กว้างใหญ่ใบนี้จะ สามารถทำให้รัฐจากส่วนกลางครอบงำและควบคุมท้องถิ่นรอบ ๆ ได้หมดและตลอดไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งท้องถิ่นที่ทุกอย่างเป็นไปตามกฎธรรมชาติ นั่นคือ ท้องถิ่นย่อมมีลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ เพียงแต่ว่าจะมีมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพ นามธรรม และจิตวิญญาณ ซึ่งรวมทั้งการอบรมเลี้ยงดู ระบบการศึกษา ศาสนา และระบบสื่อมวลชนในสังคมนั้น..."