บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เผยผลวิจัย'มาร์ค'ยังตาม'แม้ว'

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ รายงานพิเศษ




สถาบัน พระปกเกล้าร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ แถลงรายงานผลการวิจัยหัวข้อ "มองอดีต แลอนาคต วัดระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสถาบันต่างๆ และความพึงพอใจกับบริการของรัฐ พ.ศ. 2546-2553"

โดย น.ส.ถวิลวดี บุรีกุล ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า เป็นผู้นำเสนอ

งานวิจัยเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่ปีཪ-53 แต่ละปีจะเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันไป ใช้กลุ่มตัวอย่างปีละประมาณ 3 หมื่นคน

แบ่ง ช่วงรัฐบาลเป็นปีཪ-49 รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, ปี཮ รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์, ปี཯ รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และปี཰-53 รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

จากการสำรวจ ความพึงพอใจต่อนโยบาย สำคัญเกี่ยวกับการปฏิรูประบบราชการและการเมือง ในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ พบว่า ร้อยละ 91.4 พอใจการปฏิรูประบบราชการ

โดย เฉพาะการปราบปรามการ ทุจริตคอร์รัปชั่นในช่วงดังกล่าว ประชาชนพอใจมากที่สุดในปีཫ ถึงร้อยละ 82.6 แต่หลังจากนั้นเริ่มลดต่ำลงเรื่อยๆ จนช่วงปี཭ เหลือเพียงร้อยละ 67.1

นโยบาย ทางเศรษฐกิจ ประชาชนพึงพอใจค่อนข้างมาก โดยเฉพาะโครงการกองทุนหมู่บ้าน แม้ปี཭ พึงพอใจต่ำสุด แต่ก็มากถึงร้อยละ 84.8 ขณะที่นโยบายแก้จนกลับได้รับความพอใจน้อยลงเป็นลำดับ จนปี཭ เหลือเพียงร้อยละ 57.6

นโยบายสุขภาพของรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ นโยบายเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้รับความนิยมมาก เกือบร้อยละ 90 ของทุกปี

นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ได้รับความนิยมในปีཫ ถึงร้อยละ 87.7 แต่ในปีཬ หลังกลุ่มพันธมิตรเคลื่อนไหว ความพึงพอใจเหลือร้อยละ 43.9 กระทั่งปี཭ ระดับความพอใจเพิ่มมาอยู่ที่ร้อยละ 87.3

ขณะที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ประชาชนพอใจนโยบายหลักประกันรายได้ผู้สูงอายุถึงร้อยละ 89.7 ตามมาด้วยโครงการเรียนฟรี 15 ปี ร้อยละ 87.2

นโยบายสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีในชาติ พึงพอใจร้อยละ 60.5 แต่น้อยที่สุดคือนโยบายการปฏิรูปการเมือง ร้อยละ 55.2

สำหรับ ความเชื่อมั่นต่อตัวนายกฯ รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณในช่วงปีཫ ได้รับความเชื่อมั่นมากที่สุดถึงร้อยละ 92.9 ขณะที่รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ ได้ร้อยละ 45.2

ปี཯ ช่วงรัฐบาลนายสมัครและนายสมชาย ได้ต่ำสุดคือร้อยละ 37.6 ขณะที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ในปีཱ ได้ร้อยละ 61.6

ความ เชื่อมั่นต่อสถาบันพรรคการเมือง ช่วงปี཮ ประชาชนให้ความเชื่อมั่นน้อยที่สุดเพียงร้อยละ 26.1 ปัจจุบันความเชื่อมั่นอยู่ที่ร้อยละ 36.9

ความเชื่อมั่นต่อสมาชิก รัฐสภา ช่วงปีཬ ส.ส.ได้รับความเชื่อมั่นมากกว่าส.ว. แต่ตั้งแต่ปี཮ ความเชื่อมั่นต่อส.ว.เริ่มกลับมามากกว่าส.ส. ปัจจุบันความเชื่อมั่นส.ว.อยู่ที่ร้อยละ 46.4 ขณะที่ส.ส.ร้อยละ 43.9

ความ เชื่อมั่นต่อผู้ว่าฯ ช่วงรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ เชื่อมั่นมากที่สุดร้อยละ 79.5 แต่หลังจากนั้นเริ่มลดต่ำลงเรื่อยๆ จนต่ำสุดในช่วงปี཯ ร้อยละ 55.8 ก่อนจะเพิ่มขึ้นในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ จนปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 64.5

ความ เชื่อมั่นในตัวข้าราชการขึ้นลงตามตัวนายกฯ และปัจจุบันมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ร้อยละ 44.9 แต่ความเชื่อในตัวเจ้าหน้าที่ศุลกากรอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

ความ เชื่อมั่นต่อทหาร ปีཫ-48 รัฐบาลพ.ต.ท. ทักษิณ ทหารได้รับความเชื่อมั่นสูงสุดถึงร้อยละ 84.8 ปี཮ หลังรัฐประหาร ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 61.8 แต่หลังจากนั้นเพิ่มขึ้น จนปี཰ ได้ร้อยละ 76.3 ก่อนลดลงอีกครั้งในปีཱ เหลือร้อยละ 67.8

ขณะที่ตำรวจได้รับความเชื่อมั่นมากที่สุดในปีཬ ร้อยละ 69.2 จากนั้นลดลงเรื่อยๆ กระทั่งปัจจุบันได้ร้อยละ 54.9

ความเชื่อมั่นต่อเอ็นจีโอ ปีཫ เชื่อมั่นสูงสุดถึงร้อยละ 68.4 แต่หลังจากนั้นลดลงตามลำดับ ปัจจุบันเหลือเพียงร้อยละ 25.1

สำหรับความเชื่อมั่นต่อศาล ไม่ว่าศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง ความเชื่อมั่นของทั้ง 3 ศาลก็ค่อยๆ ลดลงเช่นกัน

ปีཫ เป็นช่วงที่ทุกศาลได้รับความเชื่อมั่นสูงสุด โดยศาลยุติธรรมได้ร้อยละ 86.7 ศาลรัฐธรรมนูญได้ร้อยละ 84.9 และศาลปกครองได้ร้อยละ 83.1

แต่ หลัง จากนั้นความน่าเชื่อมั่นลดลงเรื่อยๆ ปัจจุบันศาลรัฐธรรมนูญได้รับความเชื่อมั่นน้อยที่สุดใน 3 ศาล คือร้อยละ 65.1 ขณะที่ศาลยุติธรรมได้รับความเชื่อมั่นอยู่ที่ร้อยละ 71.3 และศาลปกครองอยู่ที่ร้อยละ 67.3

ความเชื่อมั่นต่อการทำงานของสื่อ เป็นไปในแนวทางเดียวกันคือ เริ่มลดลงเรื่อยๆ โดยสื่อที่ได้รับความเชื่อมั่นมากที่สุด คือโทรทัศน์ ร้อยละ 66.4 ส่วนสื่อที่ได้รับความเชื่อมั่นน้อยที่สุดคือ วิทยุชุมชน ร้อยละ 40.3

ความเชื่อมั่นต่อการทำงานขององค์กรด้านการตรวจสอบ กกต.ได้รับสูงสุดในปีཬ ร้อยละ 69.9 จากนั้นลดต่ำลงเรื่อยๆ ก่อนขยับขึ้นมาในปี཯ และปัจจุบันได้รับความเชื่อมั่นอยู่ที่ร้อยละ 56

ขณะที่ป.ป.ช.ได้รับความเชื่อมั่นมากสุดในปีཫ ร้อยละ 77.2 ก่อนลดระดับความน่าเชื่อถือลงเรื่อยๆ และปัจจุบันความน่าเชื่อถืออยู่ที่ร้อยละ 52.1

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ความเชื่อมั่นสูงสุดอยู่ที่ปีཫ ร้อยละ 77.5 จากนั้นเริ่มลดลงจนปัจจุบันเหลือร้อยละ 46.8

ขณะที่ความเชื่อมั่นในองค์กรด้านการตรวจสอบและในคำปรึกษา มีเพียงผู้ตรวจการแผ่นดินเท่านั้นที่ปัจจุบันมีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับ เกินกึ่งหนึ่งคือ ร้อยละ 51.7

ส่วนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้รับความเชื่อถือเพียงร้อยละ 41.8 และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้รับความเชื่อถือน้อยที่สุด คือ ร้อยละ 38.8

ความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน คือ ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ และถนน ล้วนอยู่ในระดับที่เกินร้อยละ 70 ทั้งสิ้น

สำหรับเรื่องคอร์รัปชั่นในรัฐบาล ทุกปีจะมี ประชาชนไม่เห็นด้วยกับการคอร์รัปชั่นเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดคือ ร้อยละ 46-52 ส่วนที่เห็นด้วยกับการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลมีสัดส่วนที่ไม่มากนัก

โดยมีผู้ที่เห็นด้วยมากที่สุดในปีཬ ร้อยละ 3.9 และน้อยที่สุดในปีཱ ร้อยละ 1.8

นอกจากนี้ประชาชนยังเห็นว่า เรื่องการคอร์รัปชั่นและรับสินบนในการปกครองระดับประเทศมีมากกว่าการปกครอง ในระดับปกครองท้องถิ่น โดยปัจจุบันเห็นว่ามีการคอร์รัปชั่นระดับประเทศร้อยละ 27.9 และระดับท้องถิ่นร้อยละ 16.6

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในปี཮ ช่วงรัฐบาลพล.อ. สุรยุทธ์ ประชาชนเห็นว่ามีการคอร์รัปชั่นมากที่สุด โดยเป็นการคอร์รัปชั่นรับสินบนระดับประเทศร้อยละ 32.1 ระดับท้องถิ่นร้อยละ 22.5

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker