บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ปัญหา ′น้ำท่วม′ ปัญหา ′ยิ่งลักษณ์′ เร่งบูรณาการ ′ยั่งยืน′

ที่มา มติชน



(ที่มา มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 11 ตุลาคม 2554)


การที่นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ที่มี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม เป็นประธาน ที่สนามบินดอนเมือง ไม่รู้ว่า "ช้าไป" หรือไม่

เพราะตลอดระยะเวลา 1 เดือนเต็มๆ คงต้องบอกว่ารัฐบาลของนายกฯยิ่งลักษณ์ วิ่งตามปัญหาไม่ทัน

กล่าวคือ ยังเกิดอาการลนๆ ในการแก้ไขปัญหา ปล่อยมือให้ข้าราชการประจำทำ ซึ่งก็สามารถแก้ได้เฉพาะบางจุดที่เป็น "ขอบเขตอำนาจ" เท่านั้น

ฉะนั้น การตั้ง ศปภ.ขึ้นมา นอกจากจะมีเป้าหมายในการระดมแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระยะสั้นแล้ว การแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน เป็นรูปธรรม ก็เป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ ประกาศเป็น "วาระแห่งชาติ" เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว

เพราะหากวิเคราะห์ปัญหาที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในเมืองไทยที่กำลังประสบกันอยู่ก็จะพบว่า มาจากสาเหตุต่างๆ หลายประการ

ทั้ง ปริมาณฝนที่ตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันในช่วงฤดูฝน เนื่องจากไทยตั้งอยู่ในเขตมรสุม มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือสลับกันพัดผ่านเกือบ ตลอดปี

อิทธิพลของลมมรสุมทั้งสองได้ก่อให้เกิดผลต่างกัน

นอก จากฝนที่เกิดจากลมมรสุมทั้งสองแล้ว ยังมีอิทธิพลอื่นๆ ที่เข้ามาข้องแวะในแต่ละปีอีก เช่น อิทธิพลร่องความกดอากาศ (Through) อิทธิพลพายุหมุน หรือหย่อมความกดอากาศต่ำ (Depression) ซึ่งมักเกิดขึ้นช่วงฤดูฝน

เมื่อผสมรวมกันจึงทำให้ฝนตกต่อเนื่องโดย เฉลี่ยประมาณ 1,500 มิลลิเมตรต่อปี และเป็นสาเหตุหรือที่มาของการเกิดน้ำหลาก น้ำท่วมอย่างรุนแรง

นอกจาก นั้น ยังพบการขยายตัวของชุมชนเมือง โดยขาดการวางแผนวางผังเมืองที่เป็นระบบ การถมที่สร้างบ้านจัดสรรหรือขยายเมืองไปในทิศทางที่ต่ำหรือที่ลุ่ม

นี่คือ "ปัญหา" ที่นอกเหนือจากการตัดไม้ทำลายป่า

ปัญหาทั้งหมด หากปล่อยให้ดำรงอยู่และดำเนินเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ แน่นอนว่าความรุนแรงและความเสียหายก็จะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

หรือหากจะปล่อยให้แต่ละฝ่ายแต่ละหน่วยงาน เช่น จังหวัด อบต. หรือเทศบาลที่ประสบปัญหาต่างไปดำเนินการกันเองก็คงไม่สำเร็จ

เพราะอาจทำให้เกิดการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินอย่างไม่คุ้มค่า ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่อื่นๆ อย่างคาดไม่ถึง

เนื่อง จากปัญหาน้ำแตกต่างจากปัญหาอื่น ตรงที่ไม่สามารถแก้ไขแบบเฉพาะจุดได้ เพราะลำน้ำมีความยาวและไหลผ่านพื้นที่หรือชุมชนต่างๆ ต่อเนื่องกันไป

แน่นอนว่า ครั้งนี้คงไม่สามารถทำอะไรได้มากกว่าการเยียวยาผู้ประสบภัย

อนาคต นายกฯยิ่งลักษณ์ ต้องมองให้ออกว่าจะ "แก้เกม" น้ำท่วมในปีต่อๆ ไปอย่างไร

ในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เคยมีการประสานกับประเทศต่างๆ ที่เป็นพันธมิตร ไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย เยอรมนี นำเทคโนโลยีและความรอบรู้ในการบริหารจัดการนำเข้ามาแก้ไขปัญหา แลกกับสินค้าเกษตร ในรูปแบบ จีทูจี

แต่ก็ไม่ถึงฝั่ง เพราะเกิดการปฏิวัติเสียก่อน

การ ป้องกันปัญหาใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นไปได้หรือไม่ที่จะยกร่างกฎหมายออกประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา เพื่อกันเขตแม่น้ำสายสำคัญๆ ซึ่งในประเทศไทยมีอยู่ 25 ลุ่มน้ำ เหมือนการเวนคืนที่เพื่อสร้างถนน

โดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มสองฝั่ง แม่น้ำหรือย่านชุมชนที่คาดว่าจะมีการขยายตัวในอนาคต และมีโอกาสเกิดน้ำหลากล้นตลิ่งเข้าไปท่วมได้ ส่วนความกว้างวัดจากแม่น้ำออกไปสุดแนวเขตเป็นระยะเท่าใดขึ้นอยู่กับความ เหมาะสมของแต่ละพื้นที่ไป

โดยกำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตที่ยอมให้น้ำหลากท่วมได้

หรือจะเรียกว่าพื้นที่ควบคุมน้ำท่วม

นอก จากนั้น ควรก่อสร้างแนวคันดินกั้นน้ำที่มีความสูงเหนือระดับน้ำหลากสูงสุดตามแนวเขต พื้นที่ควบคุมที่ประกาศเพื่อป้องกันน้ำมิให้น้ำหลากท่วมพื้นที่ภายนอก

ให้ มีการบังคับใช้กฎหมายควบคุมสิ่งปลูกสร้างที่จะเกิดขึ้นใหม่ในพื้นที่ควบคุม อาทิ หากใครจะปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนในพื้นที่ริมน้ำ จะต้องยกพื้น มีใต้ถุนสูงพ้นระดับน้ำหลากสูงสุดที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ห้ามถมดินเพื่อก่อสร้างโดยเด็ดขาด เพื่อไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม

นอก จากนั้น อาจต้องมีมาตรการอื่นเข้ามาช่วยเสริม ได้แก่ การเร่งก่อสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำที่มีน้ำท่วมซ้ำซาก การก่อสร้างฝายแบบขั้นบันไดเพื่อเป็นแก้มลิงชะลอการหลากในพื้นที่เสี่ยงภัย ฯลฯ

จริงอยู่ การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่จะให้ได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ คงยาก เพราะต้องยอมรับสภาพความจริงก่อนว่าการขยายตัวอย่างกระจัดกระจายและขาดการ วางแผนของชุมชนเมืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้การตามแก้ปัญหายุ่งยาก ไม่แตกต่างจากการแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ

แต่กระนั้นคงจะดีกว่าที่เราจะไม่ยอมลุกขึ้นมาหาทางป้องกันหรือทำอะไรเลย

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker