บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

The Straits Times: การประชวรของกษัตริย์ไทยยิ่งทำให้ความไม่แน่นอนเพิ่มมากขึ้น - Thai King's illness deepens uncertainty

ที่มา Thai E-News

โดย Pavin Chachavalpongpun
ที่มา The Straits Times:ใน Malaysianinsider: http://www.themalaysianinsider.com/index.php/opinion/breaking-views/39086-thai-kings-illness-deepens-uncertainty--pavin-chachavalpongpun
แปลโดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
2 ตุลาคม 2552

การประชวรของกษัตริย์ไทยยิ่งทำให้ความไม่แน่นอนเพิ่มมากขึ้น

คนไทยที่รักสถาบันฯได้ตั้งค่ายอยู่นอกรพ.ศิริราชมากว่าหนึ่งอาทิตย์แล้วเพื่ออวยพรให้กษัตริย์ภูมิพลอดุลยเดชที่เป็นที่เคารพรักทรงหายจากการประชวรไวๆ พระองค์ได้เข้ารับการรักษาที่รพ.ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน หลังจากที่มีพระปรอทและอาการเหนื่อย พระองค์ซึ่งมีพระชนมายุ 81 พรรษาอาจจะมีพระอาการดีขึ้น แต่การเมืองไทยยังอยู่ในภาวะไข้สูงอยู่

กษัตริย์ภูมิพลซึ่งครองสิริราชสมบัตินานที่สุดในโลกได้กระทำพิธีราชาภิเษกขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2493 ในช่วงที่สถาบันกษัตริย์อ่อนแอและอ่อนไหว ในปี 2475 ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิวัติโดยทหารครั้งแรกของไทยได้โค่นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชที่มีอายุนานกว่า 150 ปีในช่วงของราชวงศ์จักรี และได้เปลี่ยนโฉมของการเมืองไทยตั้งแต่นั้นมา

หลังจากนั้น 20 ปี ชาวไทยได้อยู่ในความกลัวที่ว่าสถาบันกษัตริย์ของพวกเขาอาจจะสูญสิ้นไปในที่สุด การดำรงอยู่อันยาวนานได้แปรสภาพสถาบันฯไปสู่การเป็นเสาหลักที่สำคัญของรัฐไทย ดังนั้นสำหรับคนไทยการดำรงอยู่โดยปราศจากกษัตริย์นั้นมันสุดที่จะคนึงคิด

แต่ความกลัวนั้นมันค่อยๆจางหายไปเมื่อกษัตริย์ภูมิพลได้ขับเคลื่อนแผนการที่ใช้เวลาชั่วชืวิตในการพลิกสถาบันกษัตริย์ที่ไม่สำคัญมาเป็นส่วนประกอบที่อธิบายโดยนักข่าวชาวอเมริกันนายพอล แฮนด์ลี่ว่า มีอิทธิพลที่สุดในรัฐไทยในยุคสากลเลยทีเดียว

กษัตริย์ภูมิพลถูกมองโดยคนไทยว่าเป็นกึ่งเทพเจ้า และได้มาเป็นหลักประกันของความมีเสถียรภาพ โดยเข้าไปแทรกแซงทางการเมืองโดยตรงในช่วงวิกฤตเป็นบางครั้งบางคราว และในบางโอกาสการแทรกแซงของพระองค์ได้ยุติข้อพิพาทระหว่างคู่อริทางการเมือง ภาพข่าวของพล.อ.สุจินดา คราประยูร ผู้ซึ่งมาจากนายพลเป็นนายกฯและเป็นหนึ่งในผู้นำในรัฐประหารปี 2534 และคู่อริของเขา จำลอง ศรีเมือง ผู้นำของผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านทหาร ที่หมอบลงกับพื้นต่อหน้ากษัตริย์เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2535 เป็นภาพที่ถูกจดจำที่สุดในประวัติศาสตร์สากลของไทย

เมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านั้น พล.อ.สุจินดา ได้สั่งให้มีการปราบปรามผู้ประท้วงที่เรียกร้องให้รัฐบาลที่สนับสุนโดยทหารของเขาลาออก การแทรกแซงของกษัตริย์ได้ดึงประเทศกลับขึ้นมาจากสภาวะล่อแหลมที่เกือบจะเข้าสู่ความหายนะ

คนไทยหลายคนกลับได้มีความหวังว่ากษัตริย์จะเข้ามาช่วยให้ความสมดุลย์ทางการเมืองมีอยู่ตลอดไป ถึงแม้ว่าพระองค์ยังคงความเป็นกลางทางการเมือง

แต่ระยะหลัง ความสมดุลย์ทางการเมืองนี้ได้ถูกรบกวน ฝ่ายรอยัลลิสต์ได้กล่าวหาอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ว่ามีแผนที่จะล้มสถาบันกษัตริย์ ข้อกล่าวหาถึงความไม่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ของเขาเป็นข้ออ้างอย่างหนึ่งในการก่อรัฐประหารเมื่อปี 2549 ที่โค่นล้มเขาไปในที่สุด

สามปีหลังจากรัฐประหาร กษัตริย์ได้มีพระดำรัสถึงความสำคัญที่ประชาชนไทยควรจะรักษาความสามัคคี แต่พระองค์ยังมีท่าทีเงียบเฉยต่อวิธีการแก้ปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อดยู่ในปัจจุบัน

การเงียบเฉยของพระองค์ได้ทำให้คนไทยต้องคาดเดาว่าพระองค์มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับสถานการณ์การเมือง พระองค์ได้ละเว้นจากการให้พระราชดำรัสในวันเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อปีที่แล้วซึ่งเป็นโอกาสที่คนไทยตั้งอกตั้งใจรอฟัง หลายคนเป็นห่วงถึงการเงียบเฉยของพระองค์ พวกเขาได้รอการตัดสินพิพากษาของพระองค์เพื่อจะยุติวงจรเกมส์การเมืองที่เลวร้าย

แต่ถึงกระนั้นในประเทศไทยเองก็ยังไม่สามารถที่จะสนทนากันเรื่องจุดยืนของสถาบันกษัตริย์เพราะมันเป็นเรื่องที่ต้องห้าม เพราะฉะนั้นมันไม่มีความพยายามที่แท้จริงในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ ความปราศจากความเข้าใจนี้อาจนำไปสู่การเข้าใจผิดของอิทธิพลของสถาบันกษัตริย์ในเวทีการเมืองและอาจทำให้ความพยายามที่จะทำให้สถาบันฯเข้มแข็งไปพร้อมกับระบอบประชาธิปไตยนั้นยากและซับซ้อนยิ่งขึ้น

ด้วยสถานการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอนปัจจุบันประกอบกับการประชวรของกษัตริย์ ผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองไม่ถูกสนับสนุนให้มีการคาดการณ์อนาคตของประเทศไทยและรวมถึงสถบันกษัตริย์ด้วย สำหรับพวกที่รออยู่หน้ารพ.ศิริราชอาจจะไม่ต้องการที่จะจินตนาการว่าบ้านเมืองจะเป็นอย่างไรถ้าปราศจากกษัตริย์ภูมิพลที่เคารพรักอย่างยิ่ง

แต่การที่ไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ อาจจะทำให้เกิดความสับสน และยุ่งเหยิง หรือแม้แต่ความรุนแรงเมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


Thai King's illness deepens uncertainty - Pavin Chachavalpongpun

OCT 1 — Thai royalists have been camping for over a week outside Siriraj Hospital in Bangkok to wish the much beloved King Bhumibol Adulyadej well. Hospitalised since Sept 21 after suffering from fever and fatigue, the 81-year-old King may be recovering, but Thai politics remains at fever pitch.

King Bhumibol, the world's longest-serving monarch, was crowned on May 5, 1950, at a time when the monarchy was weak and vulnerable. In 1932, what is believed to be Thailand's first military coup ended 150 years of absolute monarchy under the current Chakri dynasty and changed the face of Thai politics.

For the next 20 years, Thais lived in fear that their monarchy might actually become extinct. Its long existence had transformed the institution into one of the main pillars of the Thai state. Therefore, for Thais, living without a king was, and is, almost unimaginable.

But the fear gradually subsided as King Bhumibol embarked on a lifelong project to turn the marginalised monarchy into what American journalist Paul Handley has described as the single most powerful component of the modern Thai state.

Regarded by the Thais as semi-divine, King Bhumibol has emerged as a guarantor of stability, occasionally intervening directly in times of political crisis. On occasion, his interventions have stopped the bloodletting between political opponents. The footage of General Suchinda Kraprayoon, a general-turned-prime minister who was one of the leaders of the February 1991 coup, and his opponent Chamlong Srimuang, leader of anti-military demonstrators, prostrating themselves before the King in May 1992 is one of the most memorable images in modern Thai history.

A few days earlier, Suchinda had ordered a brutal crackdown on street protesters demanding that his military-backed government step down. The King's intervention pulled Thailand back from the verge of catastrophe.

Many Thais have come to expect that the King will ensure the political equilibrium is always maintained, though he has remained firmly apolitical.

Lately, that political equilibrium has been disturbed. Thai royalists have accused former Prime Minister Thaksin Shinawatra of scheming to belittle the monarchy. His alleged disloyalty towards the King was one of the justifications for the 2006 military coup that ousted him.

In the three years since the coup, the King has spoken about the need for Thais to uphold unity but has remained silent on the solution to the current political stalemate.

His silence has kept Thais guessing about how he views the political situation. He skipped his birthday speech last year, a much-anticipated event. Some have voiced their concern over the King's silence. They have been waiting for the nation's referee to end the vicious political game.

In Thailand, however, it is almost impossible to discuss the position of the monarchy as it is a taboo subject. Hence, no real attempt to understand the role of the monarchy has ever been undertaken. This lack of understanding may lead to misinterpretations of the influence of the monarchy on Thai politics, and may complicate efforts to strengthen it alongside democracy.

With the current political uncertainty and the King's hospitalisation, political observers have been discouraged from predicting the future of Thailand, and indeed that of the monarchy. Those waiting near Siriraj Hospital may not even want to imagine what Thailand would be like without the much-revered King Bhumibol.

But not knowing what to expect in the future, especially with regard to the monarchy, could create confusion, chaos or even violence when change inevitably comes. — The Straits Times

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker