หลังอาวุธวิเศษหลุดมือ!!
ไร้ พ.ร.ก.รัฐบาลต้องคิดอีกแบบ
เริ่ม จากวันนี้.... ท้องฟ้าในกรุงเทพฯที่หมายถึงเมืองไทยทั้งประเทศ ดูจะหายมืดครึ้มอึมครึม เพราะรัฐบาลผสมเทียมของ นายกรัฐมนตรีมาร์ค ได้ตัดสินใจ”ยกเลิก พ.ร.ก.”ในที่ประชุมคณะรัฐบาล เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 22 ธันวาคม 2553 คือวันนี้.......
เบื้อง หลังเบื้องหน้าเรื่องนี้ไม่มีอะไรมาก เพราะรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีจำเป็นต้อิงยอมจำนนด้วยเหตุผลว่า เมื่อไม่มีอะที่”ฉุกเฉิน” แล้วจะมาดื้ออึง กอก พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีกต่อไปทำไม??
คน ไทยส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า...ที่รัฐบาลยอมยกเลิก พ.ร.ก.เพราะคนไทยทั้งประเทศ และโลกทั้งโลกรุมล้อม ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลไทยใช้”กฏหมายเผด็จการ” บริหารประเทศมานานถึง 8 เดือน!!
ก่อนหน้านี้ ได้มีการเลื่อนการบรรจุเป็นวาระให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พิจารณายกเลิก พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินมาแล้ว เมื่อวันอังคารที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมา
ทำให้หลายฝ่ายจับตามองดูว่า สุดท้ายแล้ว บรรดานายทหารสาย ศอฉ. ทั้งหลายจะทำตามความต้องการของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ได้ออกมาเปรยก่อนหน้านี้หรือไม่???
แต่สุดท้ายแล้วที่ประชุม ครม. ก็มีมติออกมาจนได้ในที่สุด ให้ยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ใน พื้นที่ 4 จังหวัดที่เหลือ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม พร้อมตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์ (ศตส.) ขึ้นมาทดแทนศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่ต้องยุบเลิกไปโดยสภาพ โดยมี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสนาธิการทหารบก (เสธ.ทบ.) เป็นผู้อำนวยการ ศตส. และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ศตส.
หากดูกันเฉพาะเบื้อง หน้าการถ่ายทำ ก็คงเป็นอย่างที่คนรอบข้างนายกรัฐมนตรี และคนที่เกี่ยวข้องที่ดาหน้าออกมา ราวกับว่าเห็นดีเห็นงามเสียเต็มประดา เพราะก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่จะไม่มีหือมีอือให้เห็นความกระตือรือล้นกันสักเท่า ไหร่เลย
ขนาดในช่วงหลังนายกฯออกมาย้ำแล้วย้ำอีก ก็ยังมีรายการประวิงเวลาสุดขีด
ดังนั้นหลังการมีมติ ครม.แล้ว เพิ่งมีการออกมาขยับ จึงดูเป็นอะไรที่ “ดราม่า”ไม่น่อยเลยจริงๆ
โดย ที่กองบัญชาการกองทัพบก พล.ต.ดิฏฐพร ศศะสมิต โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) แถลงผลการประชุมศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ครั้งสุดท้าย โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ในฐานะ ผอ.ศอฉ. เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ที่เข้าร่วมรับฟังประชุม ว่า ที่ประชุมได้สรุปผลการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ที่ได้ปฏิบัติงานมาตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา โดยคณะกรรมการทั้ง 8 ชุดที่ได้ปฏิบัติภารกิจต่างๆ ได้มีการชี้แจงในส่วนที่เกี่ยวข้อง
และเตรียมถ่ายโอนมอบงานที่ยังค้างอยู่ให้กับทางกอ.รมน.ทั้งคดีความ การประสานงาน การช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ที่ถูกดำเนินคดี
“นับตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่เป็นหน้าที่ของศูนย์ติดตามสถานการณ์ (ศตส.) ของ กอ.รมน. โดยมี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสนาธิการทหารบก ในฐานะเลขาธิการ กอ.รมน. เป็นผู้รับผิดชอบสถานการณ์”
ซึ่ง ศตส.จะอยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการอำนวยการของ กอ.รมน. ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
สำหรับ งานของ ศตส. เดิมทีอยู่ในโครงการของ กอ.รมน.อยู่แล้ว แต่การจัดการ ศตส.ขึ้นมาได้มีการเพิ่มเจ้าหน้าที่จากทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหารกว่า 100 คน เพื่อติดตามภารกิจที่กระทบต่อความมั่นคงในเรื่องของการชุมนุม หรือการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ทั้งนี้จะใช้องค์กรที่มีอยู่เดิมเป็นหลัก
และ ในวันที่ 22 ธ.ค.นี้ที่กองบัญชาการกองทัพบก คาดว่า พล.อ.ดาว์พงษ์ จะเรียกประชุมศตส.ครั้งแรก เพื่อหารือในรายละเอียดการดำเนินการทั้งในส่วนนโยบาย ยุทธศาสตร์ โครงสร้าง การเตรียมการ และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
โดยหลังจากผลการ ประกาศยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินมีผลบังคับใช้ในวันที่ 22 ธ.ค.นี้ เวลา 06.00 น. ทั้งตำรวจและทหารที่ร่วมกันตั้งจุดตรวจในจุดเฝ้าระวังต่างๆจะกลับเข้ากรมกอง ทั้งหมด ยกเว้นกำลังสารวัตรทหาร (สห.)ที่ยังคงต้องรักษาความปลอดภัยในสถานที่สำคัญ และบุคคลสำคัญต่างๆ ซึ่งต่อจากนี้จะให้ตำรวจแต่ละพื้นที่ดูถึงความจำเป็น หากจะมีการตั้งจุดตรวจต่อไป
ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลัง ครม.มีมติยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค.นี้ ทางศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ก็จะหมดสภาพไปด้วย
ส่วน ว่า การใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ เข้ามาจะแตกต่างจากการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อย่างไร นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ตอนนี้คือใช้”กฎหมายปกติ” แต่การใช้กฎหมายความมั่นคงครั้งนี้ ไม่ได้เป็นการประกาศพื้นที่ความมั่นคง แต่เป็นเพียงการอาศัยกลไกของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ซึ่งมีหน้าที่จัดทำแผนรองรับสถานการณ์ต่าง ๆ โดยศูนย์ติดตามสถานการณ์ (ศตส.) ที่ตั้งขึ้นมา กอ.รมน. ก็จะเป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งนี้ตนคิดว่ามาตรการการควบคุมจะเพียงพอในการดูแลการเคลื่อนไหวของกลุ่ม ผู้ชุมนุมต่าง ๆ ส่วนการที่กลุ่มคนเสื้อแดงประกาศยกระดับการชุมนุม อยากขอให้ทุกอย่างอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย
"ในส่วนของ กอ.รมน.เวลานี้มีโครงสร้างอยู่แล้ว โดยผมเป็นผู้อำนวยการ กอ.รมน. ส่วน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม เป็นรองผู้อำนวยการฯ แต่ตัวของ ศตส.นั้นเพียงเรื่องของหน่วยงานภายใน ซึ่งเวลาดำเนินการตามแผนต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องผ่านผม ซึ่งแผนงานต่าง ๆ มีอยู่แล้วสามารถใช้อำนาจตามกฎหมาย กำหนดแผน และคนที่มาติดตามสถานการณ์บริหารแผนก็จะมีอำนาจหน้าที่ตามลำดับชั้นของเจ้า หน้าที่ โดยเจ้าพนักงานหลักจากนี้คือเจ้าหน้าที่ตำรวจ" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายก รัฐมนตรี กล่าวอีกว่า นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้รายงานต่อที่ประชุม ครม. ถึงการประเมินสถานการณ์ว่าหลังจากที่ได้ประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาจนถึงวันนี้ ก็คิดว่าน่าจะสามารถกลับมาใช้กฎหมายปกติได้ และหวังว่าจากนี้ไปจะไม่มีการก่อเหตุในลักษณะที่ท้าทายอำนาจรัฐอีก
"ที่ ผ่านมาผมได้คุยกับ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร.ไว้แล้ว ซึ่งท่านก็ทราบดีว่าจากนี้ไปจะเป็นภาระหนักสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ก็สามารถที่จะดำเนินการได้" นายอภิสิทธิ์ กล่าว.
กับประเด็นที่ ว่ารัฐบาลมั่นใจว่ากลุ่มผู้ใช้ความรุนแรง หมดไปแล้วใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ยังติดตามสถานการณ์อยู่ และมั่นใจว่าจะสามารถควบคุมได้
ส่วนการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินครั้งนี้ จะเป็นการเปิดทางให้กลุ่มคนเสื้อแดงเคลื่อนไหวหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ ยืนยันว่า ทุกอย่างยังอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย และถ้ามีเหตุการณ์ความจำเป็น เราก็มีแผนรองรับอยู่ และจะมีการประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การที่มี ศตส.ในโครงสร้างของ กอ.รมน. เพื่อติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งถ้ามีอะไรก็สามารถรายงานให้ตนทราบได้ทันทีในฐานะ ผอ.กอ.รมน.
ทั้ง นี้หลังปิด ศอฉ.แล้วจำเป็นต้องมีการรายงานงบประมาณที่ใช้ไปทั้งหมดหรือไม่นั้น เรื่องนี้นายอภิสิทธิ์ อ้างว่า โดยปกติไม่มีการรายงาน เพราะเรื่องของการอนุมัติงบประมาณต่าง ๆ จะผ่านความเห็นชอบจาก ครม. หรือผ่านความเห็นชอบของผู้ที่มีอำนาจในการจ่ายงบประมาณอยู่แล้ว.
นาย อภิสิทธิ์ ย้ำว่า จากนี้ไปจะใช้กฎหมายปกติ โดยใช้กลไกของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ที่มีหน้าที่โดยปกติในการจัดทำแผนเพื่อรองรับสถานการณ์ต่างๆ แต่หากมีความจำเป็นอะไรก็มีแผนการรองรับตลอด โดยจะประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
"ศตส.จะเป็นหน่วยงานภายในของ กอ.รมน. ใช้โครงสร้างตามกฎหมายมากำหนดแผนงานต่างๆ และคนที่เข้ามาติดตามสถานการณ์ รวมถึงบริหารแผนงานก็จะมีอำนาจหน้าที่ตามลำดับชั้น" นายอภิสิทธิ์กล่าว
นาย ปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ข้อมูลว่า ในการทำงาน ศตส.จะประสาน 14 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงยุติธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพลังงาน และหน่วยงาน คือ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) เป็นต้น
โดยครม.ได้อนุมัติงบประมาณให้ กอ.รมน. เพื่อประสานงานกับ ศตส. ประมาณ 156 ล้านบาท
นาย ปณิธานรับว่า ครม.ประเมินว่ามีความเป็นไปได้น้อยมาก ที่สถานการณ์ภายหลังการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะกลับไปมีความรุนแรงอีก แต่ก็ไม่ใช่ว่าโอกาสที่จะไม่เกิดขึ้นเป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น จึงได้เตรียมแผนรองรับสถานการณ์ไว้ 2 แผน 1.การใช้หมวด 2 ตาม พ.ร.บ.ความมั่นคง คือการกำหนดพื้นที่ตาม พ.ร.บ.ความมั่นคง
2.ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หากไม่สามารถรองรับสถานกาณณ์ได้
โดยเชื่อว่าในเร็วๆ นี้ ไม่มีโอกาสที่จะใช้ทั้ง 2 แผนดังกล่าว
"เหตุผลที่ ศอฉ.เสนอยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินผ่านทาง สมช.คือ
1.การชุมนุมคลี่คลาย เข้าไปสู่การใช้กฎหมายปกติ การชุมนุมมีการปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้กฎหมายพิเศษ
2.เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจ และสามารถประสานงานเชิงบูรณาการมากขึ้น ทำให้เกิดความมั่นใจในการใช้กฎหมายปกติ
3.สังคม ไม่ตอบรับการใช้ความรุนแรง ปฏิเสธกลุ่มที่ฉวยโอกาสใช้ความรุนแรงในการชุมนุม ฉะนั้น สังคมจะช่วยอีกแรงหนึ่งที่จะปฏิเสธ ทั้งหมดทำให้ ศอฉ.มั่นใจว่าสามารถที่จะกลับไปใช้กฎหมายปกติได้" คนที่ออกมาพูดเรื่องนี้ คือ นายปณิธาน วัฒนายากร มือขวาทางสมองของนายอภิสิทธิ์
ในแง่ของเกม การเมืองที่นายอภิสิทธิ์ เลือกที่จะทิ้งไพ่ใบสำคัญ แม้บางส่วนจะมองว่า นี่เป็นรายการวัดใจบนความเชื่อมั่นของนายอภิสิทธิ์ ที่คิดว่ากำลังมีแต้มต่อทางการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ จากทิศทางการเลือกตั้งซ่อม และจากบรรดากลุ่มอำนาจต่างๆที่ให้การอุ้มชูอยู่เบื้องหลัง
แต่ในความเป็นจริงอีกมุมหนึ่ง อาจจะมีปมลึกซ่อนเร้น ที่บีบคั้นให้นายอภิสิทธิ์ ต้องเร่งเดินหมากตานี้ในช่วงนี้ก็เป็นได้
เพราะลึกๆจริงๆแล้วรัฐบาลและนายอภิสิทธิ์ ยังคงมีปมที่แก้ไม่ตก และที่สำคัญไม่สามารถที่จะตอบได้อย่างชัดเจน
ไม่ ว่าจะเป็นกรณีของภาพรวมเหตุการณ์พฤษภาอำมะหิต ที่มีผู้เสียชีวิต 91 ราย บาดเจ็บกว่า 2,000 คน ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องนี้รัฐบาลพยายามที่จะเลี่ยงไม่พูดถึง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีการตาย 6 ศพ ในวัดปทุมวนาราม!!!
ไม่ใช่แค่เพียงจะตอบคนเสื้อแดงไม่ได้ แม้แต่ในสังคมโลกก็ตอบไม่ได้ด้วยเช่นกัน
เช่น เดียวกับการตายของนักข่าวญี่ปุ้น และช่างภาพชาวอิตาลี... ทั้งยังไม่นับนักข่าวต่างประเทศที่แม้ไม่ถึงตาย แต่ก็มีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บกันไประนาวเช่นกัน
เป็นอีกคำถามที่วันนี้รัฐบาลไม่กล้าตอบ และไม่สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับครอบครัวของผู้ตายทั้คู่ได้เลย
ดังนั้นจะเห็นว่าระยะหลังรัฐบาลโดนหนักจากองค์กรทางด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ในเรื่องที่รัฐบาลไทยควรจะตอบแต่ยังไม่ยอมตอบ
มองในแง่นี้ จะเห็นว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ถูกกดดันและปิดล้อมอย่างหนัก
ใน ขณะที่กรณีการจับกุมคนเสื้อแดงเอง แม้นายอภิสิทธิ์ พยายามที่จะหาทางลงจากแรงกดดัน โดยหาทางที่จะประนีประนอมกับกลุ่มคนเสื้อแดง ในเรื่องของการประกันตัว เพื่อที่จะได้ผ่อนคลายสถานการณ์การเผชิญหน้าลงได้บ้าง
แต่ก็กลับถูกกดดันจากกลุ่มพันธมิตร และกลุ่มขั้วอำนาจพิเศษ ตลอดจนนายทหารสาย ศอฉ.ทั้งหลาย
นาย อภิสิทธิ์ ตั้งใจจะปล่อยคนเสื้อแดงที่ถูกขังคุก เพื่อลดการเผชิญหน้า และลดแรงกดดันจากกลุ่มคนเสื้อแดง แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่สำเร็จ เพราะมีแรงไม่เห็นด้วยจากกลุ่มผู้มีพระคุณทั้งหลาย
ทำให้ครั้งนี้นายอภิสิทธิ์ต้องทำภายใต้แรงกดดันจากทุกสังคม จากทั้งโลก
งานนี้นอกจากจะพิสูจน์ฝีมือแล้ว ยังเป็นการพิสูจน์บารมีไปในตัวด้วย ว่า”โลกจะปิดล้อม” นายอภิสิทธิ์ได้นานเพียงใด
และการเลือกตั้งครั้งต่อไป จะนำประชาธิปไตยที่แท้จริงกลับมาให้ประชาชนคนไทยได้หรือไม่??
หรือสุดท้ายแล้ว ก็แค่การดราม่า ตีหน้าเรียกศรัทธาหวังลดแรงกดดันเท่านั้น แบบนี้อนาคตเหนื่อยแน่นอน?!?