หมายเหตุจากผู้เขียน:
ความ เห็นฉบับนี้เขียนขึ้นช่วงข้ามคืน ยังพร่องในความสมบูรณ์และหวังจะได้ปรับปรุงต่อไปในอนาคต หากผู้อ่านมีข้อคิดเห็น คำแนะนำ หรือข้อติติง ขอน้อมรับฟังที่ verapat@post.harvard.edu. ประเด็นวิชาการบางส่วนความเห็นในฉบับนี้ ได้เคยนำเสนอไว้แล้วในวิทยานิพนธ์ สืบค้นได้ที่ Google: “Verapat Harvard Paper” อนึ่ง “มาตรา” และ “กฎหมาย” ที่กล่าวถึงในความเห็นนี้ หมายถึง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ (สำเนาดูได้ที่ http://www.parliament.go.th/mp2550/asset/law_party.pdf) เว้นแต่บริบทจะแสดงเป็นอื่น
บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ http://sites.google.com/site/verapat/ (ดูฉบับเต็มและภาคผนวกในเว็บไซต์นี้)
บทนำ
ศาล รัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยเสียงข้างมาก โดยมติ ๔ ต่อ ๒ เสียงให้ยกคำร้องที่นายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้มีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัต ย์ กรณีการใช้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองไม่เป็นไปตามกฎหมาย และรายงานการใช้เงินไม่ตรงตามความเป็นจริง (“กรณีเงิน ๒๙ ล้านบาท”) โดย ให้เหตุผลว่า กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยขณะที่ทำความเห็นนี้ ศาลได้เผยแพร่คำวินิจฉัยเป็นลายลักษณ์อักษรต่อประชาชนอย่างไม่เป็นทางการ บนเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ (http://www.constitutionalcourt.or.th/) มีทั้งสิ้น ๑๕ หน้า ซึ่งมีใจความตรงกับคำวินิจฉัยที่ศาลได้อ่าน และสื่อมวลชนได้รายงานต่อประชาชนไปเมื่อวันที่ ๒๙ พ.ย. ๒๕๕๓ แล้ว ต่อมาในวันที่ ๓๐ พ.ย. ๒๕๕๓ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ข่าวที่ ๒๔/๒๕๕๓ โดยอธิบายถึงวิธีการลงมติของตุลาการเสียงข้างมากมีความเห็นเป็นสองกลุ่ม ซึ่งมิได้มีการระบุไว้ในคำวินิจฉัยอย่างไม่เป็นทางการ
ด้วย ความอัศจรรย์ใจในคำวินิจฉัยและความเคารพอย่างแท้จริงต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ ผู้ทำความเห็นน้อมและยอมรับคำวินิจฉัยดังกล่าว อีกด้วยสำนึกในสิทธิและหน้าที่ตามมาตรา ๔๕, ๖๙ และ ๗๐ แห่งรัฐธรรมนูญ จึงได้ทำความเห็น ดังมีประการต่อไปนี้
๑. วิธีการกำหนดประเด็นเพื่อลงมติเป็นที่กังขา
ศาล วินิจฉัยโดยเสียงข้างมาก โดยมติ ๔ ต่อ ๒ เสียงให้ยกคำร้องที่นายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้มีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัต ย์ กรณีการใช้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองไม่เป็นไปตามกฎหมาย และรายงานการใช้เงินไม่ตรงตามความเป็นจริง โดยให้เหตุผลว่า กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ที่มาจองตุลาการเสียงข้างมากนั้นมีแยกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรก ๓ เสียง เห็นว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มที่สอง ๑ เสียง เห็นว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อพ้นระยะเวลาสิบห้าวันตามที่ กฎหมายกำหนด
หาก เราพิจารณาในสาระของเหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากกลุ่มแรกแล้ว จะเห็นว่าตุลาการทั้งสามมิได้ติดใจที่จะรับหรือปฏิเสธเรื่องการพ้นระยะเวลา สิบห้าวัน เพราะมองว่านายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ในทางกลับกัน สาระของเหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากกลุ่มที่สองมีความเห็นชัดเจนว่านาย ทะเบียนพรรคการเมืองได้มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ นับตั้งแต่วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ไปแล้ว หากพิจารณา ตุลาการทั้งหกที่ลงมติอย่างระเอียด จะพบข้อสังเกตว่ามีตุลาการถึง ๓ เสียงที่เห็นว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองได้มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไปเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ตุลาการเสียงข้างมากกลุ่มที่สอง ๑ เสียงบวกกับตุลาการเสียงข้างน้อยอีก ๒ เสียง ซึ่งเป็นผลทำให้มีเสียงมติที่ค้านกับเหตุผลของเท่ากับตุลาการเสียงข้าง มากกลุ่มแรกอีก ๓ เสียงที่เห็น ว่านายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์
ใน ทางหนึ่งอาจมีผู้ให้เหตุผลว่า การกำหนดวิธีการลงมติเป็นไปถูกต้องแล้ว เพราะไม่จำเป็นต้องเข้าไปดูรายละเอียดของเหตุผล แต่ควรพิจารณาถึงผลสุดท้ายของการลงมติ ดังนั้น เมื่อตุลาการเสียงข้างมากทั้งสองกลุ่ม แม้จะมีเหตุผลต่างกัน แต่ท้ายที่สุดตุลาการทั้งสี่ก็ได้ข้อสรุปเดียวกันว่า กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นมติข้างมากที่ชอบแล้วไม่ ผู้ทำความเห็นขอไม่ทักถ้วงถึงปัญหาเชิงตรรกะของการให้เหตุผลลักษณะดังกล่าว ในรายละเอียด การกำหนดวิธีการลงมติที่น่ากังขาเช่นนี้ เคยมีนักวิชาการแสดงความเห็นถ้วงไว้แล้ว เช่น ในคดีซุกหุ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในปี ๒๕๔๔
ผู้ ทำความเห็นเพียงแต่จะย้อนถามว่า หากเราอาศัยตรรกะเดียวกันนี้เอง ที่ว่าแม้สาระแห่งเหตุผลต่างกันแต่หากสุดท้ายได้ข้อสรุปตรงกัน ก็นับรวมกันได้แล้วฉันใด ข้อสรุปที่ได้จากตุลาการเสียงข้างมาก ๑ เสียงบวกกับตุลาการเสียงข้างน้อยอีก ๒ เสียง ก็คือข้อสรุปที่ว่านายทะเบียนพรรคการเมืองได้มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิ ปัตย์ไปแล้ว อันจะหักล้างตุลาการเสียงข้างมากกลุ่มแรกอีก ๓ เสียง โดยมติที่เท่ากัน โดยฉันนั้น มิใช่หรือ?
หาก จะลองเปลี่ยนจากตรรกะที่ยึดข้อสรุป มาเป็นตรรกะที่ยึดสาระแล้ว ผู้ทำความเห็นจะแสดงให้เห็นต่อไปว่า สาระแห่งเหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากทั้งสี่ที่มีความเห็นเป็นสองกลุ่ม แม้จะอ้างว่าเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยอีกทางหนึ่งก็ตาม ก็ยังขัดแย้งและหักล้างกันเองโดยสิ้นเชิง จนมิอาจถือได้ว่าเป็นมติตุลาการเสียงข้างมากที่ชอบธรรมได้
อนึ่ง มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า จากการสำรวจข่าวสารที่สื่อมวลชนรายงานหลังจากมีการอ่านคำวินิจฉัยไปแล้ว ข้อวิพากษ์วิจารณ์ส่วนใหญ่ ดูจะเกี่ยวข้องกับประเด็นมติตุลาการ ๑ เสียง ที่เห็นว่าการยื่นคำร้องต่อศาลพ้นระยะเวลาสิบห้าวันตามที่กฎหมายกำหนดก่อน โดยประชาชนทั่วไปไม่ได้ทราบมาก่อนว่าเรื่องระยะเวลาเป็นเพียงมติ ๑ เสียง อีกทั้งคำวินิจฉัยลายลักษณ์อักษร อย่างไม่เป็นทางการที่ศาลได้เผยแพร่ต่อประชาชน บนเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ ก็มิได้กล่าวไว้ชัด จนกระทั่งวันต่อมาได้มีการเผยแพร่ข่าวโดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและมีการให้ สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชนโดยตุลาการท่านหนึ่งเพื่อขยายความ คงหวังแต่เพียงว่าในอนาคต คำวินิจฉัยที่เผยแพร่ก็ดี หรือที่อ่านก็ดี คงจะชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการแต่ละคนซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องทำให้เสร็จ สิ้นและแถลงเป็นวาจาก่อนลงมติในคำวินิจฉัยกลางนั้น ก็น่าจะเผยแพร่ในเอกสารไปพร้อมกัน เพื่อช่วยให้ตุลาการไม่ต้องลำบากใจ ถูกเข้าใจผิดว่ามติใดเป็นของใคร อีกทั้งเพื่อให้ตุลาการไม่ต้องถูกตั้งคำถามว่า แรงตอบรับของสังคมต่อคำวินิจฉัยกลาง ได้กระทบต่อคำวินิจฉัยส่วนตนที่เปิดเผยเป็นลายลักษณ์อักษรภายหลังหรือไม่ อย่างไร
๒. เหตุผลทางกฎหมายไม่เป็นที่กระจ่างชัด
ไม่ ว่าวิธีการลงมติเสียงข้างมากที่ปรากฏจะชอบธรรมหรือไม่ เหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากทั้งสองกลุ่ม ก็ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดอีกทั้งขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง โดยผู้ทำความเห็นจะแสดงข้อคิดเห็นต่อเหตุผลของตุลาการ ๑ เสียงที่เห็นว่า ระยะเวลายื่นคำร้องต่อศาลต้องนับจากวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ก่อน จาก นั้นจึงจะแสดงข้อคิดเห็นต่อเหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากอีก ๓ เสียง ที่เห็นว่าในวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ นายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์
๒.๑ เหตุผลเรื่องระยะเวลายื่นคำร้อง
ประเด็น หนึ่งที่ศาลใช้วินิจฉัยการยกคำร้องในคดีนี้คือ เหตุความผิดที่จะนำไปสู่การยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๙๓ วรรคสองนั้น ได้ปรากฏต่อนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อใด
มาตรา ๙๓ วรรคสองบัญญัติว่า “เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่ง” (เหตุในคดีนี้คือมาตรา ๘๒ กรณีการได้รับเงินและจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองอย่างไม่ถูกต้อง) “ให้นายทะเบียนโดยความ
เห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียน”
ศาล วินิจฉัยว่า เหตุความผิดได้ปรากฏต่อนายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ดังนั้นเมื่อนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ยื่นคำร้องคดีนี้ต่อศาลเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๓ จึงเป็นการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
คำถามคือ ศาลนำหลักหรืออะไรมาสรุปว่าระยะเวลาที่ต้องยื่นคำร้องต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒
หากพิจารณาคำวินิจฉัย หน้า ๑๒-๑๓ ศาล อธิบายว่า เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งครั้งที่ ๑๔๔/ ๒๕๕๒ ในส่วนกรณีข้อกล่าวหาเกี่ยวกับคดีนี้ (กรณีเงิน ๒๙ ล้านบาท) คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากสั่งตามรวมกันไปกับอีกข้อหา (กรณีเงิน ๒๕๘ ล้านบาท) ว่า ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็นก่อนว่า แล้วจึงเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น เป็นความไม่ชัดเจนในการปรับบทบังคับใช้กฎหมายในองค์กรขณะนั้นเท่านั้น
ศาล อธิบายต่อว่า ในการประชุมครั้งที่ ๔ ๑/๒๕๕๓ วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ คณะกรรมการการเลือกตั้งเสียงข้างมากให้เหตุผลว่า ข้อเท็จจริงทั้งสองข้อกล่าวหาเกี่ยวพันกัน จึงยังคงมีมติให้แจ้งนายทะเบียนพรรคการเมืองดำเนินการตามมาตรา ๙๕ (กรณีเงิน ๒๕๘ ล้านบาท) เช่นเดิม โดยนายทะเบียนพรรคการเมืองและนายวิสุทธิ์ โพธิแท่น กรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นให้นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๙๓ วรรคสอง (กรณีเงิน ๒๙ ล้านบาท) และต่อมาในการ ประชุมครั้งที่ ๔๓/ ๒๕๕๓ วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเอกฉันท์ (นายอภิชาต มิได้เข้าประชุม) ยืนยันเห็นชอบให้นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๙๓ วรรคสอง
ศาล อธิบายต่อว่า เหตุการณ์เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า มติเสียงข้างมากของคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น เห็นชอบให้นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๙๓ วรรคสอง ตั้งแต่วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ แล้ว โดยนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่จำต้องเสนอความเห็นก่อนอย่างใด กรณีถือได้ว่าคดีนี้ ความได้ปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองว่า พรรคประชาธิปัตย์มีกรณีตามมาตรา ๙๓ วรรคแรกแล้ว และคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นชอบให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้แล้ว และระยะเวลาที่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวัน จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ อันเป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติดังกล่าว
นอก จากนี้ ในคำวินิจฉัยหน้า ๑๔ ศาลกล่าวต่อว่า วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ เป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากในการพิจารณารายงานของ คณะกรรมการสืบสวนสอบสวนชุดที่นายอิสระ ลิ้มศิริวงศ์ เป็นประธาน ในครั้งแรก และถือเป็นวันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง
จากการให้เหตุผลของศาล ผู้ทำความเห็นตั้งข้อสังเกตดังนี้
๒.๑.๑ ผู้ทำความเห็นเข้าใจว่า ระยะเวลาสิบห้าวันจะเริ่มนับได้ต่อเมื่อนายทะเบียนพรรคการเมืองได้เห็นว่า เหตุความผิดปรากฏต่อตัวนายทะเบียน แล้วจึงอาศัยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐ ธรรมนูญ ในฐานะประชาชนที่ไม่อาจเข้าถึงเอกสารแห่งคดีได้ทั้งหมด ผู้ทำความเห็นย่อมต้องอาศัยข้อเท็๋จจริงที่ศาลอธิบายในคำวินิจฉัย แต่หากอ่านจากคำวินิจฉัยแล้ว ไม่มีส่วนใดเลยที่ศาลยกพยานหลักฐานมาแสดงอย่างชัดเจนว่า ณ วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ นายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้ให้การรับว่าตนได้เห็นเหตุความผิดปรากฏขึ้นต่อตนแล้วหรือยัง
๒.๑.๒ ในทางตรงกันข้าม ข้อเท็จจริงที่ศาลรับฟังในคำวินิจฉัย หน้า ๖ ระบุว่า เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ นายอภิชาตในฐานะประธาน กรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นว่า จากการตรวจสอบรายงานเอกสารการใช้จ่ายเงินของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่พบความผิดปกติในระบบเอกสารแต่อย่างใด และในวันเดียวกันนั้นเอง ย่อมหมายความว่า นายอภิชาตในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งมิได้เห็นเหตุความผิดปรากฏขึ้นต่อ ตน (ในฐานะประธาน กรรมการการเลือกตั้ง) แต่อย่างใด
จริง อยู่ ศาลควรพิจารณาข้อกฎหมายที่กำหนดให้นายอภิชาต ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นนายทะเบียนพรรคการเมืองในเวลาเดียวกัน ดังนั้นแม้เป็นคนเดียวกันแต่มีบทบาทหน้าที่ต่างกัน ซึ่งศาลก็ได้อธิบายไว้ในคำวินิจฉัยอย่างดี เช่น ในหน้า ๑๐-๑๑ ว่า การลงมติในที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งนายอภิชาตเข้าร่วมด้วยในฐานะ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง นายทะเบียนพรรคการเมืองไม่มีอำนาจที่จะร่วมลงมติในการประชุมของคณะกรรมการ การเลือกตั้งได้ การลงมติดังกล่าวจึงแตกต่างจากการ สั่งที่ให้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้งในฐานะของนาย ทะเบียนพรรคการเมือง หรือที่ว่า การที่กฎหมายให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเป็นผู้ยื่นคำร้องในคดีนี้ต่อศาลย่อม หมายความว่า ประธานกรรมการการเลือกตั้งไม่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นคดีนี้ ฉันใด การทำความเห็นส่วนตนของนายอภิชาตในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ จึงมิใช่การทำความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองฉันนั้น
แต่ คำอธิบายอันฟังสละสลวยดังกล่าวก็เพียงแต่คำอธิบายในเรื่องบทบาทหน้าที่ โดยศาลพยายามจะอธิบายว่าวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ นายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองมิได้ให้ความเห็น (และไม่สามารถให้ความเห็น) ในที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งเท่านั้น ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับเรื่องว่าเหตุความผิดปรากฏต่อนายทะเบียนในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ แล้วหรือไม่แต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะมาตรา ๙๓ วรรคสอง เองก็ได้บัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องได้รับความเห็นชอบด้วยกันใน เรื่องเดียวกันจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง แม้บทบาทหน้าที่จะต่างกัน แต่ กฎหมายก็ให้ตัวนายทะเบียน และประธานกรรมการการเลือกตั้งผู้เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีบทบาทในการพิจารณาประเด็นในเรื่องเดียวกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือต้องอาศัยมโนสำนึกในทางกฎหมายของนักนิติศาสตร์คนหนึ่ง ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ท้าย ที่สุด ศาลก็สรุปว่าเหตุความผิดปรากฏต่อนายทะเบียนในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ แล้ว การวินิจฉัยของศาลลักษณะนี้ ทำให้เกิดความแปลกประหลาด กล่าวคือ นายอภิชาต ผู้เคยเป็นถึงประธานแผนกคดีในศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งเป็นนักนิติศาสตร์ที่กฎหมายให้ความไว้วางใจสวมหมวกสำคัญสองใบในเวลา เดียวกันเพื่อสามารถดำเนินภารกิจขององค์กรให้มีประสิทธิภาพไปพร้อมกัน สามารถมีมโนสำนึกในทางกฎหมายแยกเป็นสองมาตรฐาน มาใช้วินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีเดียวกัน ให้ปรากฏผลต่างกันในเวลาเดียวกันได้ กล่าวคือ ในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ศาลรับฟังว่า นายอภิชาตในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นว่า จากการตรวจสอบรายงานเอกสารการใช้จ่ายเงินของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่พบความผิดปกติในระบบเอกสารแต่อย่างใด และในวันเดียวกันนั้นเอง ศาลกำลังบอกว่า นายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้มีมโนสำนึกแยกเป็นอีกหนึ่งมาตรฐาน โดยเห็นว่า เหตุความผิดกรณีพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเงินและจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองไม่ถูกต้อง ตามกฎหมาย ได้ปรากฏขึ้นให้ตนเห็นแล้ว กระนั้นหรือ?
๒.๑.๔ ที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งกว่านั้น คือตุลาการเสียงข้างมากผู้ทำคำวินิจฉัยเอง ก็ดูเหมือนจะมีมโนสำนึกในทางกฎหมายที่แยกเป็นสองมาตรฐานในวันเดียวกันที่ เขียนคำวินิจฉัยเดียวกัน แม้จะร่วมกันเป็นเสียงข้างมากศาลจะสวมหมวกแต่เพียงใบเดียวในฐานะศาลรัฐ ธรรมนูญก็ตาม ดังนี้
ใน ช่วงแรกของคำวินิจฉัย ในส่วนที่เกี่ยวกับตุลาการเสียงข้างมาก ๓ เสียง ที่เห็นว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ (หน้า ๘-๑๐) ศาลได้อธิบายว่า กฎหมายบัญญัติให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง แต่ในส่วนมาตรา ๙๓ วรรคสอง ที่เป็นประเด็นในคดีนี้ กฎหมายได้บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ซึ่งรวมถึงประธานกรรมการการเลือกตั้ง) และนายทะเบียนพรรคการเมือง ใช้อำนาจหน้าที่ในลักษณะร่วมมือ หรือถ่วงดุลกัน กฎหมาย บัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเป็นผู้วินิจฉัยว่า มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๕๐ หรือไม่ เนื่องมาจากนายทะเบียนพรรคการเมืองมีหน้าที่ดูแลการปฏิบัติพรรคการเมืองให้ เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดและเป็นผู้ที่ทราบรายละเอียดการปฏิบัติของพรรคการ เมืองเป็นอย่างดี กล่าวคือ ศาลได้อธิบายหลักว่าแม้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ซึ่งรวมถึงนายอภิชาตในฐานะประธานด้วย) ไม่สามารถบังคับให้นายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองให้ยื่นคำร้องต่อ ศาลรัฐธรรมนูญได้ ตราบใดที่นายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่พบเหตุการกระทำความผิด (เช่น ตามมาตรา ๘๒) คณะกรรมการการเลือกตั้งย่อมไม่สามารถมีมติให้ยื่นคำร้องตามมาตรา ๙๓ วรรคสองได้
ผู้ ทำความเห็นก็เห็นพ้องด้วยกับหลักที่ศาลได้อธิบายไว้ในส่วนนี้ อีกทั้งหากพิจารณามาตรา ๘๒ ประกอบกับ มาตรา ๔๒ วรรคสอง ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญก่อนจะไปสู่การยื่นเรื่องในมาตรา ๙๓ วรรคสองแล้ว จะเห็นว่ากฎหมาย บัญญัติให้พรรคการเมืองไม่ได้รายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนให้ถูกต้องตาม ความเป็นจริงภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไปแล้ว ก็ให้นายทะเบียนพรรคการเมือง มีอำนาจสั่งให้หัวหน้าพรรคการเมืองรายงานภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าพ้นกำหนดระยะเวลาแล้วยังมิได้รายงาน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนิน การเพื่อให้มีการยุบพรรคการเมืองนั้น จึงเห็นได้ว่ากฎหมายได้ให้ความสำคัญกับนายทะเบียนพรรคการเมือง เป็นผู้มีดุลยพินิจพิจารณาระยะเวลากับเหตุผลอันสมควร ซึ่งอาจเป็นเพราะนายทะเบียนต้องอาศัยการพินิจพิเคราะห์ ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนจะวินิจฉัยว่ามีเหตุปรากฏอย่างแท้จริงอันนำไปสู่ขั้นตอนการยื่นคำร้อง ตามมาตรา ๙๓ วรรคสองได้ มิเช่นนั้นแล้ว ก็อาจมี ผู้อ้างได้โดยง่ายว่า ตนได้ส่งข้อมูลแสดงเหตุความผิดให้นายทะเบียนพรรคการเมืองได้รับทราบไปเมื่อ สิบห้าวันก่อน และถือว่าเหตุได้ปรากฏต่อนายทะเบียนแล้ว
อย่าง ไรก็ดี ในช่วงหลังของคำวินิจฉัยในส่วนที่เกี่ยวกับเหตุผลของตุลาการ ๑ เสียง (หน้า ๑๑) ศาลกลับอธิบายทำนองเป็นเหตุผลทางเลือกว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจที่จะควบคุมและกำกับการดูแลการปฏิบัติหน้าที่ ของนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ นายทะเบียนพรรคการเมืองจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการการเลือก ตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมืองต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบ พรรคการเมืองตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนด และต่อมา (หน้า ๑๓) ว่ามติเสียงข้างมากของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ (โดยมีนายอภิชาตในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง เป็นเสียงข้างน้อยที่ไม่เห็นด้วย) ที่ เห็นชอบให้อภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง เป็นกรณีที่ถือได้ว่า เหตุได้ปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองว่าตาม มาตรา ๙๓ แล้ว และต่อมา (หน้า ๑๔) ว่าวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ เป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากในการพิจารณารายงานของ คณะกรรมการสืบสวนสอบสวนชุดที่นายอิสระ ลิ้มศิริวงศ์ เป็นประธาน ในครั้งแรกและถือเป็นวันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองแล้ว
การ ให้เหตุผลเช่นนี้ ฟังประหนึ่งว่า นายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองจะเห็นเหตุตามมาตรา ๙๓ วรรคสองปรากฏต่อตนเมื่อใด ย่อมต้องพิจาราณาตามเวลาที่มีมติเสียงข้างมากของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือตามวันที่ได้มีการพิจารณารายงานของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน ถึงแม้ในเวลานั้น มโนสำนึกในทางกฎหมายของนายอภิชาตในฐานะนักนิติศาสตร์คนหนึ่งขณะนั้น เองจะไม่เห็นเหตุปรากฏต่อตนก็ตาม หากเป็นเช่นนี้แล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ในลักษณะร่วมมือหรือถ่วงดุลกันระหว่างคณะกรรมการการเลือก ตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมือง ดังที่ศาลเองได้อธิบายไว้ ในช่วงแรกของคำวินิจฉัย (หน้า ๘-๑๐) ก็จะไม่เกิด ขึ้น ส่งผลที่แปลกประหลาดคือนายทะเบียนพรรคการเมืองต้องยอม ตามมติหรือความเห็นของผู้อื่น ทั้งที่กฎหมายจะบัญญัติบทบาท หน้าที่ อำนาจและดุลยพินิจหลายประการให้แก่นายทะเบียนพรรคการเมืองก็ตาม
อีก ทั้งหากกลับไปพิจารณาตรรกะของวิธิในการลงมติแล้ว โดยพิจารณาสาระของเหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากมีความเห็นเป็นสองกลุ่ม ที่หักล้างกันเองเสียแล้ว แม้จะอ้างว่าเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยอีกทางหนึ่งก็ตาม ก็ยังขัดแย้งและหักล้างกันเองโดยสิ้นเชิง
๒.๑.๕ หากเราเห็นด้วยว่าการยื่นคำร้องในคดีนี้พ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดจริง มโนสำนึกในทางกฎหมายย่อมนำพาให้พิเคราะห์ว่า ระยะเวลาสิบห้าวันดังกล่าว มีเจตนารมณ์และความมุ่งหมายเพื่อการใด
หาก ลอง เปรียบเทียบข้อกฎหมายเกี่ยวกับระยะเวลาที่พอคุ้นเคย เช่นอายุความการฟ้องคดีแพ่ง หากผู้เสียหายไม่ฟ้องในระยะเวลาที่กำหนด เช่นภาย ๑ ปีก็ดี หรือใน ๑๐ ปีก็ดี แล้วแต่กรณี และคู่ความอีกฝ่ายยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ผู้ฟ้องคดีย่อมเสียสิทธิ ทั้งนี้เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายแพ่งส่วนหนึ่งก็เพื่อสนับสนุนให้ผู้เสียหาย ระมัดระวังและไม่เพิกเฉยดูดายต่อความเสียหายต่อสิทธิของตน รีบหาทางป้องกัน เยียวยาแก้ปัญหา ไม่ใช่สะสมความเสียหายไว้มาตั้งเป็นคดีหากได้เปรียบภายหลัง อีกทั้งเมื่อเวลาผ่านไปนาน พยานหลักฐานอาจสูญหายยากต่อการพิสูจน์
หาก พิจารณาในบริบทคดีปกครองทั่วไป กฎหมายปกครองกำหนดระยะเวลาฟ้องคดีที่กระชับพอเหมาะ เช่น ต้องยื่นฟ้องภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้อง คดี เพราะการเพิกถอนการกระทำทางปกครองที่ดำเนินการไปนานและมีผลเป็นการทั่วไป แล้วอาจเกิดความวุ่นวายได้ กระนั้นก็ดี ในบางกรณีที่ยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาการฟ้องคดีแล้ว ถ้าศาลปกครองเห็นว่าคดีที่ยื่นฟ้องนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือมีเหตุ จำเป็นอื่น ศาลปกครองจะรับไว้พิจารณาก็ได้ ทั้งนี้เพราะเจตนารมณ์และความมุ่งหมายสำคัญของกฎหมายปกครองก็คือการคุ้มครอง ประโยชน์สาธารณะ
หาก พิจารณาในบริบทวิธีบัญญัติทั่วไป ข้อกฎหมายที่บังคับให้คู่ความในคดีต้องยื่นเอกสารให้ศาลและคู่ความอีกฝ่าย ภายในเวลาที่กำหนด ก็เพื่อให้ศาลและคู่ความอีกฝ่ายสามารถมีเวลาตรวจสอบเอกสารและเตรียมตัวได้ ทันการ มิใช่นำหลักฐานหรือข้อหาใหม่มากล่าวหาโดยอีกฝ่ายมิได้ตั้งตัว เป็นต้น
หรือหากจะพิจารณาในบริบทของหลักความชอบแห่งกระบวนการทางกฎหมาย (due process of law) ซึ่ง เป็นองค์ประกอบหนึ่งของหลักนิติธรรมที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว กฎหมายย่อมป้องกันมิให้ผู้ใช้อำนาจสามารถใช้อำนาจละเมิดกระบวนการที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมายเพื่อได้มาซึ้งเป้าหมายที่อาจจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม เช่น การลักลอบนำหลักฐานการกระทำผิดที่ตำรวจได้มาโดยการใช้อำนาจตรวจค้นที่ผิด กฎหมาย เพื่อมาดำเนินคดีกับผู้ต้องหาแม้ผู้ต้องหาจะกระทำผิดจริงก็ตาม เพราะหากปล่อยให้วิธีการที่ผิดนำไปสู่ผลที่อาจจะถูกแล้ว ก็จะเปิดช่องให้มีการใช้อำนาจริดรอนสิทธิเสรีภาพได้ไม่จำกัด เพียงแค่อ้างในเป้าหมายเป็นสำคัญ
จาก ตัวอย่างเหล่านี้ หากหันมาพิจารณาเจตนารมณ์และความมุ่งหมายของระยะเวลาสิบห้าวันในบริบทกฎหมาย ว่าด้วยพรรคการเมืองที่ศาลวินิจฉัยในคดีนี้แล้ว พิเคราะห์ได้ว่า การสอดส่องติดตามกิจกรรมและการเงินของพรรคการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย กฎหมายจึงกำหนดระยะเวลาให้นายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้ง ต้องเร่งรัดดำเนินการตรวจสอบ หากพบว่ามีเหตุความผิดปรากฏต่อนายทะเบียน นายทะเบียนย่อมต้องหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง พิจารณายื่นคำร้องต่อศาลโดยไม่ชักช้า เช่น จะอ้างว่ากรรมการการเลือกตั้งติดธุระไม่ได้
ดั้ง นั้น ระยะเวลาสิบห้าวันซึ่งสั้นมากจึงมุ่งบังคับให้กระบวนการตรวจสอบอันสำคัญต่อ กระบวนการประชาธิปไตยและประโยชน์ส่วนรวมเกิดขึ้น ซึ่งต่างจากลักษณะของอายุความที่มีระยะเวลาเป็นปีในคดีแพ่ง หรือระยะเวลาในบริบทกฎหมายอื่น และที่สำคัญย่อมไม่ใช่ กรณีที่ความชอบแห่งกระบวนการทางกฎหมายจะเสียไป เพราะแม้ นายทะเบียนพรรคการเมืองจะยื่นคำร้องเกินไปอีกเดือน หรือ อีกปี ก็มิได้เป็นกรณีที่ นายทะเบียนและคณะกรรมการการเลือกตั้ง ใช้อำนาจโดยมิชอบต่อพรรคประชาธิปัตย์เพื่อได้มาซึ่งการเอาผิด แต่เป็นการทำผิดพลาดภายในองค์กรเสียเอง เว้นเสียแต่จะมีข้อเสียเปรียบที่ปรากฏ เช่น ยื่นคำร้องเกินไปสิบปีจนพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้เก็บหลักฐานไว้สู้คดีแล้ว จริงอยู่ว่าผลของการยื่นคำร้องเกินกำหนดสิบห้าวันอาจนำไปสู่การต้องรับผิด ของผู้มีหน้าที่ยื่นคำร้องตามกฎหมาย แต่ก็จากข้อ เท็จจริงที่ปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้สู้คดีโดยสง่างามอย่างเต็มที่ ก็ไม่สมควรเป็นเหตุให้ศาลต้องล้มเลิกกระบวนการเพื่อวินิจฉัยข้อเท็จจริงอัน เป็นสาระสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ระยะเวลาสิบห้าพยายามทำให้เกิดเสียแต่แรก
ใน ทางกลับกัน หากเรายึดระยะเวลาสิบห้าวันดังที่ปรากฏในคำวินิจฉัยแล้ว อาจเกิดข้อโต้เถียงในอนาคตว่า แท้จริงแล้ว เหตุตามมาตรา ๙๓ วรรคแรก ได้ปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีที่มีปริมาณพยานหลักฐานมาก ซ้ำร้ายยังจะเป็นการกดดันให้นายทะเบียนและ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ลังเลที่จะใช้เวลาเพื่อพิจารณาเหตุความผิดโดยละเอียดในที่สุด
๒.๒ เหตุผลเรื่องนายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์
ศาลอธิบายในคำวินิจฉัย (หน้า ๙-๑๑) ว่า เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งครั้งที่ ๑๔๔/ ๒๕๕๒ ในส่วนกรณีข้อกล่าวหาเกี่ยวกับคดีนี้ (กรณีเงิน ๒๙ ล้านบาท) คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากสั่งตามรวมกันไปกับอีกข้อหา (กรณีเงิน ๒๕๘ ล้านบาท) ว่า ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็นก่อนว่า แล้วจึงเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น เป็นความไม่ชัดเจนในการปรับบทบังคับใช้กฎหมายในองค์กรขณะนั้นเท่านั้น การ ที่นายอภิชาตได้ทำความเห็นส่วนตนในการลงมติเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ เป็นการกระทำในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง ความเห็นของนายอภิชาตในการลงมติดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของมติที่ประชุมคณะ กรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่มีอำนาจใดๆ ที่จะร่วมลงมติในการประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ศาล อธิบายต่อว่าการลงมติดังกล่าวแตกต่างจากการสั่งที่ให้นำเรื่องเข้าสู่การ พิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้งในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ที่ได้มีความเห็น เช่นนั้นก่อนแล้ว จึงเสนอความเห็นให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบความเห็นของ นายอภิชาตในการลงมติ ในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ จึงไม่อาจถือได้ว่า เป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง
ศาล สรุปว่า เมื่อนายทะเบียนพรรรคการเมืองยังมิได้มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ตามมาตรา ๙๓ การให้ความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ จึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมายในส่วนสาระสำคัญ จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาล รัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ได้
ผู้ทำความเห็นตั้งข้อสังเกตดังนี้
๒.๒.๑ การให้เหตุผลดังกล่าว แท้จริงแล้วเป็นการเพิ่มกฎเกณฑ์อันเข้มงวดที่ยึดรูปแบบมากกว่าสาระ
ศาล ให้เหตุผลว่า นายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ต้องแสดงความเห็นในรูปแบบที่เฉพาะที่แยกชัดเจนจากการลงมติในฐานะประธาน กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ทำความเห็นไม่แน่ใจว่าศาลนำหลักอะไรมาตีความว่า มาตรา ๙๓ วรรคสองที่บัญญัติว่า “ให้นายทะเบียนโดยความ เห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียน” หมาย ความว่า นายอภิชาต ต้องสวมสถานะนายทะเบียนพรรคการเมืองในรูปแบบเฉพาะที่ศาลพอใจ เพื่อแจ้งความเห็นต่อที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน โดยศาลก็มิได้ระบุว่ารูปแบบมีกฎเกณฑ์อย่างไร เช่นต้องทำเป็นหนังสือ หรือกล่าวโดยวาจาในที่ประชุมโดยแจ้งให้ทราบว่าตนกำลังแสดงความเห็นใน ฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง จากนั้นจึงกลับไปสนทนาในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง
ข้อ เท็จจริงสำคัญในคำวินิจฉัย (หน้า ๗-๘) ศาลรับฟังว่า ในวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีมติสำหรับกรณีคำร้องในคดีนี้ โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ (มีนายอภิชาตในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งรวมอยู่ด้วย) ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายอภิชาต ในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งมีความเห็นส่วนตนตามที่ลงมติว่า ให้นายทะเบียนพรรคการเมือง โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวัน ตามมาตรา ๙๓ วรรคสอง ศาลอธิบายต่อว่า ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง โดยนายทะเบียนพรรคการเมืองในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง มิได้เข้าประชุมด้วย ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบให้นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อ ศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ตามมาตรา ๙๓ โดยถือว่าความเห็นส่วนตนของนายอภิชาตที่ลงมติไว้ในการประชุมคณะกรรมการการ เลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ เป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง
ผู้ ทำความเห็นจำต้องนำประเด็นเรื่องมโนสำนึกในทางกฎหมายกลับมาถามว่า นายอภิชาตซึ่งเป็นนักนิติศาสตร์ที่กฎหมายให้ความไว้วางใจสวมหมวกสำคัญสองใบ ในเวลาเดียวกันเพื่อสามารถดำเนินภารกิจขององค์กรให้มีประสิทธิภาพไปพร้อมกัน สามารถมีมโนสำนึกในทางกฎหมายแยกเป็นสองมาตรฐาน มาใช้วินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีเดียวกัน ให้ปรากฏผลต่างกันในเวลาเดียวกันได้ กล่าวคือ ในวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ ศาลรับฟังว่า นายอภิชาตในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นส่วนตนตามที่ลงมติว่า ให้นายทะเบียนพรรคการเมือง โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวัน ตามมาตรา ๙๓ วรรคสอง และในวันเดียวกันนั้นเอง ศาลกำลังบอกว่า นายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้มีมโนสำนึกแยกเป็นอีกหนึ่งมาตรฐาน โดยเห็นว่า นายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ กระนั้นหรือ?
๒.๒.๒ การเพิ่มกฎเกณฑ์อันเข้มงวดที่ยึดรูปแบบมากกว่าสาระ นอกจากจะก่อให้เกิดผลประหลาดแล้ว ยังเป็นการใช้อำนาจตุลาการเข้าไปกำหนดการทำงานภายในของคณะกรรมการการเลือก ตั้งซึ่งถูกออกแบบมาให้เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ทั้งที่ระบบปฎิบติภายในองค์กรก็เพียงพอที่จะเข้าเงื่อนไขตามมาตรา ๙๓ วรรคสองแล้ว กล่าวคือ นายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นตรงกัน โดยมโนสำนึกของนายทะเบียนพรรคการเมืองปรากฎชัดต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ แล้ว และต่อมาในวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง มีมติเห็นชอบยืนยันอีกครั้ง
๒.๒.๓ ในขณะเดียวกัน ศาลไม่ได้ให้คำอธิบายเลยว่า หากปล่อยให้การดำเนินการดังกล่าวดำเนินต่อไปแล้ว จึงถือเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมายในส่วนสาระสำคัญด้วยเหตุใด เช่น หากพิจารณาตามหลักความชอบแห่งกระบวนการทางกฎหมาย (due process of law) แล้ว การดำเนินการดังกล่าวโดยผู้ใช้อำนาจคือ นายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ใช้อำนาจละเมิดกระบวนการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อได้มาซึ้งเป้าหมายที่ อาจจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม โดยริดรอนสิทธิเสรีภาพ สร้างความไม่เป็นธรรมให้แก่พรรคประชาธิปัตย์ อย่างไร หรือ การดำเนินการดังกล่าวได้สร้างความเสียหายต่อระบบการใช้อำนาจระหว่างนาย ทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้งอย่างไร และที่สำคัญเมื่อพิจารณาตามหลักความได้สัดส่วน (proptionality principle) แล้ว การนำข้อขัดข้องที่ศาลพบเห็นและไม่ได้มีระบุไว้ชัดในกฎหมาย มาเป็นเหตุให้กระบวนการยุติธรรมชะงักงันและเดินต่อไปไม่ได้ ดูประหนึ่งเป็นการทอดทิ้งเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งหวังให้มีการตรวจสอบพรรค การเมืองยิ่งนัก
๒.๒.๔ สมมติว่าเรายอมรับตรรกะของตุลาการเสียงข้างมากกลุ่มแรก ๓ เสียง ที่เน้นความเข้มงวดในทางรูปแบบมากกว่าสาระนี้ ผู้ทำความเห็นก็อดคิดไม่ได้ว่า ณ วันนี้ นายทะเบียนพรรคการเมืองจะอาศัยเหตุผลที่เข้มงวดในทางรูปแบบดังกล่าวกลับไป ให้ความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้งได้หรือไม่ โดยตีความตามคำวินิจฉัยของศาลว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา นายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ เพราะ นายทะเบียนพรรคการเมืองเอง ก็ยังไม่เคยแจ้งให้ใครทราบโดยชัดเจนว่า เหตุที่ให้ยุบพรรคพรรคประชาธิปัตย์ได้ปรากฏต่อตัวนายทะเบียนแล้ว หรือไม่ เมื่อใด มีแต่แสดงออกผ่านการลงมติและความเห็นในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง อีกทั้งการยื่นคำร้องให้ศาลในคดีนี้ ศาลเองก็วินิจฉัยว่ากระบวนการไม่ชอบ ก็ย่อมต้องตีความโดยเน้นความเข้มงวดในทางรูปแบบว่า เหตุที่ให้ยุบพรรคพรรคประชาธิปัตย์แม้อาจจะได้ปรากฏต่อตัวนายทะเบียนในทาง สาระ แต่ก็มิได้ปรากฏโดยชอบในทางรูปแบบ ดังนั้น นายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้งย่อมกลับไปเริ่มกระบวนการ ใหม่ ได้หรือไม่?
๒.๒.๕ สิ่งน่าอัศจรรย์ปรากฏอีกครั้งเมื่อตุลาการเสียงข้างมากผู้ทำคำวินิจฉัยเอง ได้มีมโนสำนึกในทางกฎหมายที่แยกเป็นสองมาตรฐานในคำวินิจฉัยเดียวกัน เพราะตุลาการเสียงข้างมาก ๓ เสียง เห็นว่านายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองต้องแสดงความเห็นเป็นรูปแบบ เฉพาะนั้น ต่อมาในการให้เหตุผลในส่วนตุลาการเสียงข้างมาก ๑ เสียง ที่เห็นว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อพ้นระยะเวลาสิบห้าวันตามที่ กฎหมายกำหนด กลับให้เหตุผลที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง ดังนี้
ใน คำวินิจฉัยหน้า ๑๑-๑๒ ศาลกล่าวว่า มีเหตุผลให้วินิจฉัยอีกทางหนึ่ง กล่าวคือกรณีข้อกล่าวหาตามมาตรา ๙๓ วรรคแรกนั้น มาตรา ๙๓ วรรคสอง มิได้บัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเข้าเสนอความเห็นด้วยว่า พรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคแรกต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อขอความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคการเมือง ต่างจากกรณีข้อกล่าวหาตามมาตรา ๙๔ ที่มาตรา ๙๕ บัญญัติว่า เรื่องปรากฏต่อนายทะเบียน พรรคการเมืองและนายทะเบียนได้ตรวจสอบแล้ว กล่าวคือนายทะเบียนต้องตรวจสอบ แล้วจึงเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง พร้อมความเห็นว่า พรรคการเมืองใดกระทำตามมาตรา ๙๔ หรือไม่
สมควร เน้นอีกครั้งว่า หากกลับไปพิจารณาตรรกะของวิธิในการลงมติแล้ว หากเราลองพิจารณาสาระของเหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากมีความเห็นเป็น สองกลุ่ม แม้จะอ้างว่าเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยอีกทางหนึ่งก็ตาม แต่สาระในทางเหตุผลไม่ใช่แค่ไม่ตรงกันบางประเด็น แต่กลับหักล้างกันเองในทุกประเด็นหลักเสียแล้ว มติทั้งสี่เสียงอันขัดแย้งกันในสาระอย่างสิ้นเชิงเช่นนี้ ยากที่จะถือว่าเป็นมติเสียงข้างมากโดยชอบธรรมได้
๓. ศาลควรปรับปรุงระบบการบริหารคดี
ไม่ ว่าเราจะเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยหรือไม่ ผลจากคำวินิจฉัยก็เป็นตัวอย่างอันดีให้ผู้เกี่ยวข้องควรหันมาทบทวนระบบการ บริหารคดีของศาลว่า พอจะมีวิธีใดที่สามารถประหยัดเวลาและทรัพยากรของชาติที่ทุ่มเทไปกับกระบวน การทั้งหมดได้หรือไม่ เช่น การพิจารณาคดีอาจแยกเป็นส่วน ส่วนแรกเรื่องเขตอำนาจและความชอบของกระบวนการยื่นคำร้อง ซึ่งพึงพิจารณาให้เสร็จก่อนที่จะทุ่มเวลากับการสืบพยานหลักฐานที่เป็น เนื้อหาสาระของคดี แน่นอนว่าการบริหารคดีที่มีความซับซ้อนเช่นนี้ ศาลเองย่อมอาศัยความช่วยเหลือจากบรรดาเลขานุการและนิติกรที่มีความรู้กฎหมาย และมาทำงานประจำได้เป็นแน่ อนึ่ง ผู้ทำความเห็นอดคิดไม่ได้ว่า ในอนาคตอันใกล้ หากนายทะเบียนพรรคการเมืองได้สืบสวนหรือค้นพบข้อมูลเพิ่มเติมที่อาจทำให้ ปรากฏซึ่งเหตุอันเป็นความผิด แต่เผอญข้อมูลดังกล่าวไม่ได้อยู่รวมเป็นส่วนหนึ่งในสำนวนของคดีที่ฟ้องอยู่ ทั้งสองคดีเสียแล้ว ก็อาจมีการเริ่มกระบวนการให้ถูกต้องเสียใหม่ โดยอาศัยบทบัญญัติตามมาตรา ๘๒ ก็ดี ๙๔ (๔) ก็ดี ซึ่งกินความกว้างพอสมควร
๔. คู่ความต้องมีโอกาสในการสู้คดีอย่างเต็มที่
ผู้ ทำความเห็นไม่ติดใจว่าประเด็นระยะเวลาสิบห้าวัน ศาลยกขึ้นพิจารณาเองได้หรือไม่ แต่ที่สำคัญคือ การพิจารณาประเด็นดังกล่าวควรเป็นกรณีศึกษาว่า เมื่อศาลไม่ได้เปิดโอกาสให้คู่ความในคดีทราบได้แน่ชัดว่าในใจตุลาการแต่ละ ท่านคิดเห็นหรือสงสัยถึงประเด็นใดอยู่เป็นพิเศษ อีกทั้งการพิจารณาคดีโดยตุลาการตั้งคำถามสดก็มิอาจพบเห็นบ่อยนัก จึงน่าพิเคราะห์ว่า คู่ความในคดี ได้มีโอกาสนำเสนอข้อต่อสู้และตรวจสอบพยานหลักฐานในประเด็นเฉพาะเจาะจงที่ อยู่ในใจตุลาการอันเป็นประเด็นตัดสินคดีมากน้อยเพียงใด เพราะหากสุดท้ายกระบวนการยุติธรรมที่ดำเนินมาทั้งหมดติดอยู่กับเพียงประเด็น ว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองหรือไม่และเมื่อเวลาใด หรือทำไปในฐานะใด ศาลก็สมควรให้คู่ความได้ทราบถึงความสำคัญของประเด็นเฉพาะเจาะจงดังกล่าว และคู่ความก็สมควรได้ซักถามนายทะเบียนพรรคการเมืองผู้นั้นต่อหน้าศาลอย่าง ละเอียด และนำเสนอข้อโต้แย้งในการตีความกฎหมายเรื่องระยะเวลาที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับประชาชนที่จะได้ติดตามรับฟัง เพื่อสุดท้ายศาลสามารถรับฟังความอย่างรอบด้านและนำความจริงในห้องเปิดมา อธิบายให้ปรากฏ
แต่ หากสุดท้ายความยุติธรรมคือกรณีที่หารือถือเอาได้แต่เพียงในห้องปิด ซ้ำโดยอาศัยพยานสำคัญที่ตัวไม่ปรากฏแต่ส่งมาเพียงเอกสารเสียแล้ว ก็คงเป็นชะตากรรมของเรา ประชาชนชาวไทย ที่ต้องเลือกระหว่างการยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ หรือเรียกร้องสังคมที่ไม่เขินอายต่อความจริง
ไม่แน่ คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ภาคต่อไป เราอาจได้เห็นกัน!
บทส่งท้าย
เหตุ แห่งกระแสความใส่ใจในความเป็นกลางและจริยธรรมของตุลาการนั้น ปรากฏพบเป็นครั้งคราว แต่เหตุอันพึงปรากฏโดยมิต้องอาศัยกระแส คือเรื่องความละเอียด แม่นยำ และแยบยลในนิติวิธีและหลักกฎหมาย ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการต่างเป็นผู้ใช้อำนาจของเรา แต่เราไม่อาจอาศัยกระบวนการทางการเมืองเพื่อคัดเลือก สนับสนุนหรือลงโทษตุลาการได้ดั่งที่เราพึงทำต่อนักการเมืองได้ อีกทั้ง การตรวจสอบตุลาการที่ผ่านมาปรากฏไม่ชัด ส่วนหนึ่งอาจด้วยเหตุที่รัฐธรรมนูญให้ตุลาการมีบทบาทสำคัญในการได้มาซึ่ง ส่วนหนึ่งของสมาชิกวุฒิสภาที่รัฐธรรมนูญมอบหมายให้ทำหน้าที่ตรวจสอบตุลาการ เสียเอง
สิ่ง ที่เราประชาชนพึงทำได้ คือติดตาม ใคร่ครวญ และกล้าหาญที่จะหวงแหนในเหตุผลและความยุติธรรมของคำวินิจฉัย เพราะความยุติธรรมในระบอบประชาธิปไตยมิอาจดำรงได้ด้วยมาตรฐานทางเหตุผลหรือ คุณธรรมจำเพาะของคนบางกลุ่ม แต่ต้องฟูมฟักและงอกเงยจากสำนึกและประสบการณ์ของปวงชนที่สะท้อนผ่านกระบวน การและกฎหมายที่เรามีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน
ครอบ ครัว คุณครู และมิตรสหาย ต้องร่วมกันกระตุ้นสำนึกดังกล่าวผ่านเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน อย่างน้อยก็โดยปฎิเสธความมักง่ายที่จะนิ่งเฉยดูดายภายใต้เงาของความเป็นกลาง อันว่างเปล่า เราต้องเรียกร้องสถาบันวิชาการและสื่อมวลชนให้ยึดมั่นและกล้าหาญในการทำ หน้าที่เพื่อสังคม และต่อต้านการนำเสนอที่มอมเมาหรือตื้นเขิน พร้อมสนับสนุนการถ่ายถอดหลักการและสิ่งที่ปรากฏจากคำวินิจฉัยผ่านผลงานใน ระดับนานาชาติ ให้ทราบไปถึงบรรดาผู้นำทางความคิด อาจารย์นิติศาสตร์ หรือ ผู้พิพากษาในต่างประเทศ ซึ่งอาจเป็นการช่วยสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ที่ดีสำหรับตุลาการ ไทยอีกทางหนึ่ง
เรา ต้องจดจำใบหน้าของผู้แทนที่พร้อมจะเชื่อมโยงมโนสำนึกที่เรามีต่อคำวินิจฉัย ไปสู่ศาลและตัวบทกฎหมาย ไม่ว่าจะผ่านการตรวจสอบทางรัฐสภา การแก้กฎหมาย หรือการรณรงค์ทางการเมือง และไม่ลืมชื่อหรือนามสกุลของผู้แทนที่พร้อมทอดทิ้งหลักการ เพื่อรักษาความสัมพันธ์ส่วนตัวและผลประโยชน์ของตนเอง
และ สุดท้าย เราต้องร่วมกันจรรโลงความหวังและเป็นกำลังใจให้ตุลาการผู้เปี่ยมด้วยใจอัน เป็นธรรม รวมไปถึงผู้พิพากษาในศาลอื่น ที่อาจพลอยต้องพิจารณาคดีที่เป็นผลพวงจากคดีนี้ ให้คงใจที่เปิดกว้างและรับฟังเสียงของปวงชน ให้สมดั่งเป็นตุลาการที่มาจากปวงชน โดยปวงชน และเพื่อปวงชน