พ่อเล่านาทีดับต่อหน้า 1ปีลูกตายตาไม่หลับ จี้รบ.เอาผิดคนสั่งฆ่า
ศพแรก- นาย สำราญ วางาม ระลึกถึงนายสวาท วางาม ลูกชายที่ถูกยิงด้วยสไนเปอร์ศพแรกจากเหตุการณ์ 10 เม.ย. 2553 บริเวณสี่แยกคอกวัว ทุกวันนี้ศพยังไม่ได้เผา |
เมื่อวันที่ 30 ส.ค. ผู้สื่อข่าวเดินทางไปพบนายสำราญ วางาม อายุ 51 ปี พ่อของนายสวาท วางาม อายุ 27 ปี สมาชิกแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เหยื่อสไนเปอร์รายแรก ในเหตุการณ์รัฐบาลส่งกำลังทหารขอคืนพื้นที่ เมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553 บริเวณสี่แยกคอกวัว โดยนายสำราญพักอาศัยอยู่ที่ห้องเช่า ใต้สะพานพระราม 8 ฝั่งธนบุรี อยู่กับนายวรเมศ วางาม อายุ 18 ปี ลูกชายคนเล็ก และภายในห้องเช่าเต็มไปด้วยอุปกรณ์การชุมนุม อาทิ เสื้อยืดสีแดง ธงแดง หมวกแดง และโทรโข่ง อีกทั้งตามผนังห้องมีภาพถ่ายนายสวาทติดเต็มไปหมด โดยนายสำราญบอกว่าทุกวันนี้ศพนายสวาทที่ฝากเก็บไว้ที่วัดพลับพลาไชยยังลืมตา โพลงอยู่
จากนั้นนายสำราญกล่าวย้อนเหตุการณ์ที่ไม่มีวันลืมว่า พร้อมด้วยลูกชายทั้ง 2 คนคือ นายสวาทและนายวรเมศไปร่วมชุมนุมนปช.บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและสี่แยก คอกวัว ถนนราชดำเนินกลาง ตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค.2553 เพื่อขับไล่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเรียกร้องให้ยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้งใหม่ตามระบอบประชาธิปไตย
"แม้ จะผ่านเหตุการณ์มานานถึง 1 ปี 6 เดือนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่ลืมเหตุการณ์ในวันนั้นได้ เป็นวันที่เสียใจมากที่สุดในชีวิต ที่ลูกชายคนโตต้องมาจบชีวิตลงด้วยฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐแบบนี้ ทั้งที่ในวันนั้นไม่มีอาวุธอะไรเลย แต่ผลที่ได้มาคือความตาย" นายสำราญกล่าว
พ่อ เหยื่อสไนเปอร์กล่าวต่อว่า ในวันที่ 10 เม.ย. พร้อมด้วยลูกชายเดินทางไปชุมนุมตั้งแต่ช่วงเช้าจนกระทั่งบ่าย สถานการณ์เริ่มตึงเครียด มีกำลังทหารพร้อมอาวุธและรถหุ้มเกราะ 7-8 คันมาจอดบริเวณโรงเรียนสตรีวิทยา ห่างจากผู้ชุมนุมบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไม่กี่เมตร ตนเองกับลูกชายจึงไปช่วยผลักดันทหารออกนอกพื้นที่ ก่อนจะมีเฮลิคอปเตอร์ทิ้งแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม และเริ่มใช้อาวุธปืนยิงใส่ จนผู้ชุมนุมแตกกระเจิง ขณะนั้นนายวรเมศลูกชายคนเล็กถูกแก๊สน้ำตาจนหายใจไม่ออก และถูกยิงท้องลงไปนอนกับพื้น แต่โชคดีกระสุนถูกหัวเข็มขัด
"ผมและ ลูกชายคนโตเห็นเหตุการณ์ จึงถือธงเข้าไปช่วยดึงลูกชายคนเล็กที่ถูกยิงออกมาจากพื้นที่เกิดเหตุ ระหว่างนั้นลูกชายคนโตก็ถูกสไนเปอร์ยิงใส่ศีรษะซีกซ้าย 1 นัด มันสมองกระจาย ล้มลงเสียชีวิตคาที่ต่อหน้าต่อตา ลูกชายเป็นคนแรกที่ถูกยิงเสียชีวิต และจากนั้นก็มีผู้ชุมนุมถูกยิงอีกนับสิบราย ขณะที่ลูกชายเสียชีวิต ผมเห็นมันสมองลูกไหลออกมากองอยู่ที่พื้นถนน จึงถอดเสื้อและโกยมันสมองลูกชายใส่ไว้ ก่อนจะเอาไปวางไว้ที่โคนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จากนั้นไปล้างมือแล้วตั้งใจกลับมาเอาเสื้อที่ห่อสมองลูกชายที่วางไว้ แต่ปรากฏว่าหายไป เพราะตั้งใจว่าจะเอาไปใส่กลับที่เดิมที่โรงพยาบาล" พ่อเหยื่อสไนเปอร์กล่าว
นายสำราญกล่าวต่อว่า หลังลูกชายถูกยิงเสียชีวิต เกือบจะไม่ได้นำศพออกมาจากจุดเกิดเหตุ เนื่องจากมีกลุ่มทหารพยายามเข้ามานำเอาศพลูก ชายขึ้นรถ แต่ถูกคนเสื้อแดงช่วยสกัด และตนเอง ก็กอดร่างลูกชายไว้แน่น ทหารจึงไม่สามารถเอาไปได้ และเห็นมีหลายร่างถูกโยนเข้าไปในรถหุ้มเกราะ และรถขยะสีเขียว มาทราบภายหลังเหตุ การณ์สงบ ว่ามีคนจำนวนมากหายไปในช่วงการชุมนุม และไม่ทราบชะตากรรม สำหรับศพของลูกชายยังคงเก็บไว้ที่วัดพลับพลาไชย 1 กำหนดฌาปนกิจวันที่ 16 ต.ค.2554 เวลา 17.00 น. ที่วัดบำเพ็ญเหนือ ย่านมีนบุรี กรุงเทพฯ พร้อมกับเสื้อแดงรายอื่นๆ รวม 7 ศพ
ผู้ชุมนุมนปช.กล่าวอีกว่า การเสียชีวิตของนายสวาทผ่านมานานถึง 1 ปี 6 เดือนแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถเอาตัวผู้ก่อเหตุ ผู้สั่งการในรัฐบาลชุดที่แล้วมาสู่กระบวนการศาลได้ ขอฝากรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ช่วยเร่งรัดคดีความ ทราบว่าคดีลูกชายถูกดองไว้ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) การตายของลูกชายเกิดจากการสั่งการของรัฐบาลชุดที่แล้ว ที่ออกคำสั่งให้ทหารใช้อาวุธฆ่าประชาชนที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย มีเอกสารหลักฐานคนสั่งการชัดเจน ตามที่สื่อมวลชนเสนอไปก่อนหน้านี้
"แม้ จะเสียลูกชายไปแล้วคนหนึ่ง ผมก็ยังคงยืนยันว่าขอสู้เรียกร้องประชาธิปไตยร่วมกับคนเสื้อแดง และเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับลูก ชายตลอดไป จนกว่าจะได้รับชัยชนะ ถึงทุกวันนี้ผมเชื่อว่าลูกชายยังไม่รู้ว่าตัวเองตาย เพราะถูกยิงแบบไม่รู้ตัวจากสไนเปอร์ และทุกๆ วันที่ 10 ของเดือน ครอบครัวจะไปทำบุญให้ลูกชายที่วัดพลับพลาไชย และจะเปิดโลงดูทุกครั้งพบว่าตาลูกชายยังลืมอยู่ ยืนยันว่าการเสียชีวิตของลูกชายเป็นศพแรกที่ตกเป็นเหยื่อของคำสั่งศูนย์ อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) โดยถูกสไนเปอร์ยิงระยะไกลสมองกระจายเสียชีวิตคาที่" นายสำราญกล่าว
ที่ ทำเนียบรัฐบาล นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับหนังสือร้องเรียนจากนายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 2535 เพื่อขอให้รัฐบาลแสดงความเสียใจ และรับผิดชอบเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อวันที่ 10 เม.ย. ถึงวันที่ 19 พ.ค.2553 ด้วยการสงเคราะห์เบื้องต้น
นายอดุลย์กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลใช้ความรุน แรงในการแก้ปัญหาทางการเมืองเมื่อวันที่ 10 เม.ย. ถึงวันที่ 19 พ.ค. 2553 โดยรัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉิน และกระชับพื้นที่จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บและพิการจำนวนมาก ทางคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 2535 จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความเสียใจและขอโทษ ผู้สูญเสียทุกฝ่าย ให้รัฐบาลจัดหาเงินสงเคราะห์ให้ผู้เสียหาย เพราะรัฐบาลต้องมีกระบวนการเยียวยาทั้งร่างกายและจิตใจ ที่สำคัญขอให้รัฐบาลตรวจค้นและสอบสวน เร่งทำความจริงให้ปรากฏ เพื่อสร้างความกระจ่างให้สังคมไทยโดยด่วน อีกทั้งขอให้รัฐบาลพิจารณาเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ 7 ต.ค.2550, เหตุการณ์กรือเซะ จ.ปัตตานี และตากใบ จ.นราธิวาส เพราะถือเป็นเหยื่อความรุนแรงจากการกระทำของอำนาจรัฐ ด้วยเช่นกัน
"ที่ ผ่านมาพยายามเตือนแล้ว ว่าการใช้ความรุนแรงไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ขอให้นายกฯยิ่งลักษณ์ทำตามที่ให้สัญญาประชาคมด้วยว่าจะแก้ไขไม่แก้แค้น รัฐบาลต้องจัดงบเพื่อสงเคราะห์ ผู้ได้รับผลกระทบ อย่าเอาแบบอย่างเหตุการณ์เดือนพ.ค.2535 มาใช้กับเหตุการณ์เหล่านี้ เพราะครอบครัวเขาจะอยู่ไม่ได้ ตั้งต้นชีวิตใหม่ไม่ได้ ดังนั้น คราวนี้การพิจารณาตัวเลขต้องดูให้ดี ต้องพอเพียง ไม่มีเงื่อนไข ไม่ทำให้เขาสับสน การที่สังคมวิจารณ์เรื่องตัวเลข 10 ล้านเยียวยานั้น ผมอยากขอความเมตตาจากสังคมไทย อย่ากรุณาเอาชีวิตไปเปรียบกับตัวเลขเงินทองเลย ขอวิงวอนแทนผู้ที่เดือดร้อน เพราะชีวิตคนประเมินค่าเป็นตัวเลขไม่ได้" นายอดุลย์กล่าว
ด้าน นายอนุสรณ์กล่าวว่า หนังสือที่คณะกรรม การญาติวีรชนพฤษภา 35 ส่งมาถึงนายกฯ เป็นสิ่งที่รัฐบาลเน้นย้ำ และถือเป็นนโยบายที่จะผลักดันดำเนินการอยู่แล้ว หลายเหตุการณ์ที่เกิดก่อนหน้านี้ ที่ยังไม่ถูกสังเคราะห์ถึงต้นตอของรูปแบบปัญหาที่เกิดขึ้น แต่นายกฯยิ่งลักษณ์จะมาแก้ไข ไม่แก้แค้น และเมื่อเรามองย้อนกลับไปแล้ว สบายใจได้ว่าเป็นนโยบายที่รัฐบาลผลักดัน
ผู้สื่อข่าวถามว่ารัฐบาลยืน ยันจ่ายเงินชดเชยเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์เดือนเม.ย.-พ .ค.2553 รายละ 10 ล้านบาทหรือไม่ รองโฆษกประจำสำนักนายกฯกล่าวว่า รัฐบาลไม่ได้เป็นฝ่ายเดียวที่จะตอบว่าให้รายละ 10 ล้านหรือไม่ แต่จะมีคณะกรรมการจากภาคส่วนต่างๆ เข้ามาร่วมพิจารณา คงต้องใช้เวลา แต่ภายใต้การนำรัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย จะไม่ให้รอนานถึง 19 ปี เหมือนเหตุการณ์เดือน พ.ค.2535 ซึ่งรัฐบาลต้องมีคำตอบออกมาก่อนอย่างแน่นอน
ที่กองบัญชาการตำรวจ นครบาล พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกบช.น. กล่าวถึงกรณีผู้ชาย 2 คนอ้างเป็นนักศึกษานำพวงหรีดไปวางหน้ารัฐสภา แล้วมีเรื่องกระทบกระทั่งกับกลุ่มเสื้อแดงเมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมาว่า มีความคืบหน้าพอสมควร โดยพนักงานสอบสวนตรวจสอบกล้องวงจรปิดจากสถานที่ต่างๆ ซึ่งบันทึกเหตุการณ์ตั้งแต่ต้น และตรวจสอบชายทั้ง 2 คน ทราบชื่อนายอาทิตย์ พูลศิริ อายุ 33 ปี อยู่บ้านเลขที่ 45/504 ซอยหมู่บ้านพงษ์ศิริชัย 4 แขวงหนองค้างพลู เขตหนอง แขม กทม. และนายยุทธภูมิ ตันเล่ง จึงออกหมายเรียกมาให้การกับพนักงานสอบสวน สน.ดุสิต ว่าเป็นมาอย่างไร เพื่อประกอบพยานหลักฐานต่างๆ ว่าเป็นนักศึกษาจริงหรือไม่ สังกัดสถาบันใด และมีเบื้องหลังหรือไม่
วันเดียวกัน ที่ศาลอาญา ศาลสืบพยานโจทก์ครั้งแรกในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 7 เป็นโจทก์ฟ้องนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ หรือแซ่ด่าน แกนนำกลุ่มแดงสยาม เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กรณีกล่าวปราศรัยบนเวทีนปช. ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2551
ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ในการสืบพยานโจทก์ครั้งนี้ นายสุรชัยจำเลยถูกเบิกตัวจากเรือนจำ มาร่วมฟังการพิจารณาคดีด้วย ขณะที่อัยการโจทก์นำพยานปากแรก คือพ.ต.ท.พรศักดิ์ เลารุจิราลัย อดีตสวป.สน.ชนะสงคราม ขึ้นเบิกความต่อศาลสรุปว่า ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้สังเกตการณ์ที่เวทีนปช.ท้องสนามหลวง พบว่าจำเลยปราศรัยต่อหน้ากลุ่มผู้ชุมนุมโดยกล่าวถ้อย คำที่ไม่เหมาะสม และเข้าข่ายหมิ่นสถาบันเบื้องสูง จึงรวบรวมพยานหลักฐานดำเนินคดีกับจำเลย
ภายหลังพ.ต.ท.พรศักดิ์ขึ้นเบิกความแล้วเสร็จ อัยการนำพยานโจทก์ขึ้นเบิกความอีก 2 ปาก ก่อนที่ศาลจะนัดสืบพยานโจทก์ต่อในวันที่ 31 ส.ค.
ขณะ เดียวกัน นายณัทพัช อัคฮาด น้องชายของ น.ส.กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสา 1 ใน 6 ศพที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม กล่าวว่า วันที่ 31 ส.ค. เวลา 13.00 น. พร้อมด้วยญาติ ผู้เสียชีวิต 6 ศพ จะไปเรียกร้องความเป็นธรรม และยื่นหนังสือต่อ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม เพื่อให้ระงับการพิจารณาเลื่อนตําแหน่ง พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสธ.ทบ. เป็น รองผบ.ทบ. เนื่องจาก พล.อ.ดาว์พงษ์ เป็นหนึ่งในผู้ควบคุมกำลังทหารในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือนเม.ย.-พ.ค.2553 รวมทั้งนายทหารคนอื่นๆ ที่นํากำลังออกมาปราบปรามประชาชน