หมายเหตุไทยอีนิวส์:เมื่อ วันที่ 24 ที่ผ่านมานี้ นายแอนโทนี่ ไชย พลเมืองอเมริกันได้ยื่นฟ้องต่อบริษัทที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตรายหนึ่งต่อ ศาลสหรัฐฯ ฐานเปิดเผยข้อมูลของเขาต่อทางการไทยว่า เขาเป็นผู้เขียนข้อความวิพากษ์วิจารณ์มาตรา 112 ของไทยในเว็บไซต์ชื่อ manusaya.com ทำให้ทางการไทยควบคุมตัวเขาไปสอบสวน และตามมาสอบสวนถึงอเมริกาด้วย
นี่เป็นคดีที่รัฐบาลไทยยุคนายอภิสิทธิ์ ได้ลุกล้ำอธิปไตยประเทศมหามิตรอเมริกากรณีหนึ่ง และมีอีกอย่างน้อยก็ 2 กรณี (ดูเรื่องเกี่ยวเนื่องท้ายข่าวนี้)
โดย เสื้อแดงอเมริกา
ที่มา Human Rights USA
ถ้อยแถลงเรื่อง นายแอนโธนี่ ไชย พลเมืองสหรัฐฟ้องร้องบริษัทเจ้าของเว็บไซต์โทษฐานแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับตัวเขาแก่รัฐบาลไทย
ได้มีการยื่นฟ้องต่อบริษัทเน็ตเฟิร์มแห่งแคนาดาที่จดทะเบียนเป็นบรรษัทใน สหรัฐเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ ด้วยข้อหาทำการเปิดเผยรายละเอียดส่วนตัวของบุคคลต่อรัฐบาลไทย
การเปิดเผยของเน็ตเฟิร์มทำให้เจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยชี้ตัว กักกัน และทำการสอบสวนโจทก์ คือนายแอนโธนี่ ไชย ทั้งในประเทศไทย และบนแผ่นดินสหรัฐ หากไม่มีการเปิดเผยนี้ก็จะไม่ปรากฏตัวตนของนายแอนโธนี่ ไชย และเขาจะไม่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฏหมายไทยซึ่งเป็นกฏหมายที่จำกัดสิทธิในการ แสดงความคิดเห็น อันเป็นเรื่องตลกร้ายสวนทางกับข้อเท็จจริงที่ว่าข้อเขียนของเขาบนอินเตอร์ เน็ตนั้นเป็นการวิจารณ์กฏหมายฉบับดังกล่าวนั่นเอง
คำฟ้องที่ยื่นไว้ต่อศาลแขวงสหรัฐสำหรับส่วนกลางท้องที่แคลิฟอร์เนียโดยองค์ การโลกเพื่อสิทธิมนุษยชน สหรัฐอเมริกา ร่วมกับสำนักงานทนายความสเนล และวิลเมอร์กล่าวหาว่าพฤติกรรมของบริษัทจำเลยละเมิดกฏหมายของมลรัฐแคลิ ฟอร์เนีย พร้อมทั้งกฏหมายรัฐธรรมนูญ และกฏหมายสิทธิมนุษยชนนานาชาติ
"คดี นี้ตั้งอยู่บนทางแพร่งของหลักประกันสิทธิส่วนตัว เสรีภาพในการแสดงออก ระเบียบกฏหมายสิทธิมนุษยชนของนานาชาติ และระบบอินเตอร์เน็ต ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมงานกับองค์การสิทธิมนุษยชนสหรัฐในคดี ที่มีความสำคัญเช่นนี้"เอ็ม ซี ซันไกล่า ภาคีคนหนึ่งของสำนักทนายสเนลและวิลเมอร์กล่าว
ตามที่ระบุไว้ในคำฟ้อง นายไชย เป็นเจ้าของกิจการคอมพิวเตอร์ในลองบีช แคลิฟอร์เนียซึ่งทั้งตัวเขา และผู้มาใช้บริการสามารถเข้าถึงและเขียนความเห็นลงโดยนิรนามในเว็บไซ้ท์ภาษา ไทยที่นิยมประชาธิปไตย manusaya.com ความเห็นที่เขียนโดยนิรนามจำนวนมากแสดงความวิตกเกี่ยวกับกฏหมายหมิ่นพระบรม เดชานุภาพของประเทศไทยที่ห้ามข้อความใดๆ ที่เป็นไปในทางลบต่อสถาบันกษัตริย์ไทย และกำหนดการลงโทษไว้อย่างรุนแรง รวมถึงการจำคุกอย่างสูงถึง ๑๕ ปี
สิทธิส่วนบุคคลของนายไชยถูกละเมิดเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลร้องขอ และเน็ตเฟิร์มปฏิบัติตามในการสั่งปิดเว็บมานุสะยาแล้วเปิดเผยหมายเลขไอพี กับที่อยู่อีเมล์ของนายไชยต่อเจ้าหน้าที่ไทยโดยไม่แจ้งให้เจ้าตัวทราบ และไม่ได้รับการยินยอมจากเขา ผลของการเปิดเผยข้อมูลปกปิดส่วนตัวของนายไชยต่อเจ้าหน้าที่ไทยทำให้ต่อมาเขา ถูกควบคุมตัวที่สนามบินกรุงเทพฯ แล้วนำตัวไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ทำการซักปากคำเกี่ยวกับการโพสต์ข้อความลงบนเว็บไซ้ท์
หลังจากที่เขาได้รับการปลดปล่อยจากการควบคุมตัวของตำรวจ และเดินทางกลับบ้านในแคลิฟอร์เนียแล้วยังถูกเจ้าหน้าที่ไทยตามไปสอบปากคำอีก ถึงสองวันบนผืนแผ่นดินของสหรัฐในโรงแรมแห่งหนึ่งในท้องที่ฮอลลีหวูด ต่อมาเจ้าหน้าที่ไทยได้แจ้งกับเขาว่า ถ้าเขาเดินทางกลับไปประเทศไทย จะถูกจับกุมดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
เธเรสซ่า แฮริส ผู้อำนวยการบริหารขององค์การสิทธิมนุษยชนโลก ยูเอสเอ กล่าวว่า
"บริษัท อินเตอร์เน็ตจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูงก่อนที่จะยินยอมเปิดเผย ข้อมูลปกปิดแก่พนักงานสืบสวนสอบสวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นคำร้องขอโดยรัฐบาลต่างประเทศ ข้อมูลนั้นเป็นอำนาจอย่างหนึ่ง และบริษัทพวกนี้มีอำนาจที่จะทำให้บุคคลตกอยู่ในภาวะอันตรายจากการคุมขัง แม้เพียงแค่เพราะจดหมายไม่เปิดเผยนามฉบับหนึ่งถึงบรณาธิการ บริษัทจะต้องรับผิดในการกระทำของตนตราบใดที่ละเลยไม่คำนึงถึงสิทธิของ ประชาชนผู้มาใช้บริการของบริษัท"
คดีของนายไชยเน้นให้เห็นความจำเป็นที่บริษัทสื่อสารอินเตอร์เน็ตไม่ว่าใหญ่ หรือเล็กจักต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนก่อนอื่นใดในการทำความตกลงทางธุรกิจ เมื่อบริษัทดำเนินการโดยเป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสารระหว่างประเทศเป็น บริการหลัก สิทธิมนุษยชนย่อมเป็นส่วนสำคัญในเนื้อหาของแบบแผนทางธุรกิจ
หมายเหตุ:องค์การโลกเพื่อสิทธิมนุษยชนเป็นผลมาจากการรวมตัวของกลุ่ม สิทธิมนุษยชน และกลุ่มเพื่ออิสรภาพมหาชนในสหรัฐตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๗๙ จนได้มีการก่อตั้งขึ้นเป็นองค์การโลกต่อต้านการทารุณกรรม สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. ๑๙๙๖ โดยที่เป็นส่วนหนึ่งของข่ายงานองค์การต่อต้านทารุณกรรมแห่งโลก (OMCT) อันประกอบด้วยกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆ ทั่วโลกกว่า ๒๐๐ หน่วยงาน ซึ่งรายงานผลการปฏิบัติตามครรลองสิทธิมนุษยชนในท้องที่ตรวจสอบของตนไปยัง องค์การสหประชาชาติโดยตรงเป็นประจำ
องค์การโลกเพื่อสิทธิมนุษยชนมีผลงานส่วนใหญ่ในปกป้องสิทธิ และเอาผิดแก่การทำทารุณกรรมต่อผู้ลี้ภัยในปี ค.ศ. ๒๐๐๒ และ ๒๐๐๕ ต่อมาชนะคดีชาวอเมริกันเชื้อสายซาอุดิอาราเบียซึ่งถูกตำรวจกักขังคุกเป็น เวลาสองปีก่อนที่จะยอมปล่อยให้เดินทางกลับสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. ๒๐๐๔ และชนะคดีต่อนายกรัฐมนตรีกัมพูชา นายฮุนเซนยอมชดใช้ตามคำฟ้องในปี ค.ศ. ๒๐๐๕ ส่วนคดีที่เกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างประเทศมีการฟ้องร้องบริษัทยาฮูในปี ค.ศ. ๒๐๐๗ ที่ส่งมอบข้อมูลส่วนตัวของนักหนังสือพิมพ์จีนต่อรัฐบาลจีน เป็นผลให้บริษัทยาฮูยอมความ และชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้อง
*******
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:
ข้อความจากคุกที่โจ กอร์ด้อน นักโทษ112อยากให้โลกได้ยิน พญาอินทรีได้ฟังเต็ม2หูแล้วถึงกับเต้น
-DSIเบ่งกล้ามข้ามโลก ส่งกงสุลข่มขู่ขบวนการของคนเสื้อแดงในLA
-แนวรบแดงยุโรปคลี่คลายล่องเรือปารีสฉลองชัย กลุ่มใหม่แจ้งเกิดลุย112เรียกร้องประชาธิปไตยแท้จริง