บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554

โต๊ะเจรจาที่ปาตานี: ทางแพร่งและพงหนาม

ที่มา ประชาไท

บทความนี้จะให้ภาพรวมสถานการณ์ภาคใต้ในปัจจุบันได้ว่า ใคร เป็นใคร ทำอะไร และปัญหาภาคใต้คืออะไร

หลังจากรัฐบาลนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์จัดตั้งขึ้นเรียบร้อย เจ้าหน้าที่หลายคนทำงานด้านเจรจาสันติภาพใต้ดินในสามจังหวัดภาคใต้ รู้ชะตาตัวเองดีว่า ถึงเวลาต้องออกจากงาน เป็นที่รู้กันดีในสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. (National Security Council - NSC) มีไม่กี่คนได้พยายามเปิดการเจรจากับกลุ่มพูโลภายใต้การนำของนายกัสตูรี มาห์โกต้า และนายนัวร์ อัลดุลลามาน ทั้งคู่มักอ้างถึงความร่วมมือกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนอื่นๆเช่นกลุ่ม บีอาร์เอ็น-คอร์ดิเนต (Barisan Revolusi Nasional /Coordinate - BRN/C)

ปัญหาก็คือ ในช่วงระหว่างมีการเจรจาลับนั้น สภาความมั่นคงแห่งชาติกลับไม่ประสบความสำเร็จในการชักจูงรัฐบาลพลเรือนเปิด ทางให้อำนาจอย่างเต็มที่กับเจ้าหน้าที่และกระบวนการเจรจาดังกล่าว รวมทั้งไม่สามารถสร้างหลักประกันได้ว่าการเจรจาจะดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนรัฐบาลก็ตาม ปัญหาสำคัญประการต่อมาคือ กระบวนเจรจาดังกล่าวยังเกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายกระทั่งกลายมาเป็นความสับสน อันเนื่องจากความไม่เป็นเอกภาพของกลุ่มผู้นำมลายูที่กำลังลี้ภัยอยู่ในต่าง แดน ต่างกล่าวอ้างภาวะความเป็นผู้นำของกลุ่มองค์กรเคลื่อนไหว เช่นปรากฏว่ามีผู้กล่าวอ้างว่าเป็นผู้นำกลุ่มพูโลถึงสามราย ซึ่งไม่ต่างจากผู้ที่อ้างว่าเป็นผู้นำกลุ่มบีอาร์เอ็น คอร์ดิเนต

นอกจากนั้น ยังมีฝ่ายทหารซึ่งไม่ชอบกระบวนการเจรจาสันติภาพที่ได้นำเสนอโดยสภาความมั่น คงแห่งชาติ แต่อย่างไรก็ดี ฝ่ายทหารก็ยังส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการเจรจาลับ นายทหารอาวุโสคนหนึ่งเน้นกับผู้เขียนว่า "สภาความมั่นคงแห่งชาติไม่สามารถประกันความต่อเนื่องได้ เราเป็นกุญแจดอกสำคัญในการแก้ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้" ประเด็นนี้เป็นที่ยอมรับกันดีในกลุ่มแบ่งแยกดินแดนดั่งกล่าวที่ได้เคยจับ อาวุธสู้รบกับฝ่ายทหารมาก่อนในยุคคริสต์ศักราชที่ 1970 ถึง 1980

ในตอนนี้ บริบทความขัดแย้งทางการเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เปลี่ยนไปมาก มีกลุ่มแบ่งแยกดินแดนรุ่นใหม่เกิดขึ้นมา เป็นกลุ่มปฎิบัติการในพื้นที่ ติดตามดูแลพลพรรคตามกลุ่มเซลล์ต่างๆทั่วภาคใต้ที่พูดภาษามลายูอย่างทั่วถึง แทบพูดได้ว่ามีเพียงไม่กี่คนในกลุ่มรุ่นใหม่ที่เข้าถึงและยอมรับกลุ่มแบ่ง แยกดินแดนรุ่นพี่ๆ ผู้นำกลุ่มเหล่านี้มีการพบปะเสวนากันเป็นประจำก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะยอมรับคำสั่งร่วมจากกลุ่มอื่น กลุ่มจูแว (นักรบปาตานี) เป็นตัวอย่างที่ดี กลุ่มนี้ไม่มียุทธศาสตร์ทางหนีทีไล่เลย นอกจากจะพึ่งพากลุ่มลูกพี่เก่าๆ แต่เพราะปัญหาคือ ท่ามกลางผู้นำกลุ่มรุ่นพี่เองก็ไม่มีเอกภาพและการรวมตัวที่สมบูรณ์เพียงพอ ดังนั้น ถึงแม้จะอยู่ในสถานการณ์คงที่แบบนี้ พวกจูแวจึงไม่ได้เดือดร้อนหรือมีความรู้สึกเร่งรีบอะไรที่จะเสริมสร้างสาย สัมพันธ์กับกลุ่มรุ่นพี่

กลุ่มแบ่งแยกดินแดนรุ่นพี่ มักชอบคิดแต่เรื่องดินแดนและการแข่งขันระหว่างกลุ่ม ที่น่าสังเกตคือทุกกลุ่มมักพูดว่าพวกเขาเป็นคู่เจรจาที่แท้จริง ทั้งที่เอาเข้าจริงมีหลายกลุ่มหลายพวกที่ใช้ชื่อองค์กรเดียวกัน จนทำให้กลุ่มคลังสมอง ภาคประชาสังคม รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ เช่น องค์กรการประชุมอิสลาม (Organisation of Islamic Conference - OIC) ต้องหันมาแสดงความสนใจอย่างจริงจัง

ส่วนนักเจรจาสันติภาพหรือผู้ไกล่เกลี่ยก็เหมือนผู้นำแบกแยกดินแดนรุ่นพี่ ที่สนใจเฉพาะเรื่องดินแดนเช่นกัน ตั้งแต่กลางปีที่แล้ว องค์กรโอไอซี (OIC) ได้จัดการจัดประชุมหลายครั้งกับผู้นำแบ่งแยกดินแดนที่ลี้ภัยต่างแดนเหล่านี้ พร้อมกับได้เรียกร้องให้พวกเขาจัดตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมารองรับ โดยให้ชื่อว่า "สภาประชาชนปัตตานี" (United Patani People Council - UPPC)

ประเด็นสำคัญต่อข้อเสนอนี้คือ เมื่อยี่สิบปีก่อนเคยมีผู้นำรุ่นพี่ในขบวนการเบอร์ซาตู (Bersatu) ได้พยายามลองทำมาแล้วแต่ล้มเหลว เนื่องจากไม่มีกลุ่มแบ่งแยกดินแดนใดที่มีความยืดหยุ่นและมีข้อเสนอแลก เปลี่ยนที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

อดีตสมาชิกคนหนึ่งขบวนการเบอร์ซาตูปรารภว่า "ถ้ารัฐบาลไทยไม่สนใจในสภาประชาชนปัตตานี (UPPC) องค์กรโอไอซีก็ทำอะไรไม่ได้"

อย่างไรก็ดี ไม่มีใครรอไฟเขียวจากกรุงเทพฯ ผู้ที่เข้าร่วมประชุมที่โอไอซีจัดให้ข้อมูลว่า รุสดี ยินงอ ผู้นำรุ่นพี่พูโลอีกคนหนึ่ง (แต่เป็นคนละกลุ่มกับกัสตูรี) พร้อมจะกระโดดเข้ามาเป็นผู้นำสภาประชาชนปัตตานี ทันทีหลังจากที่มีการก่อตั้งเรียบร้อยอย่างเป็นทางการ ผู้นำอีกคนหนึ่งคือ แซมซูดิน คาน ผู้ซึ่งเคยประกาศตัวเองว่าเป็นผู้นำพูโล เขาพอจะมีสายสัมพันธ์และรู้จักผู้นำโอไอซีบางคน แต่ปัญหาก็คือไม่ใครรู้ว่ามันจะมีผลอย่างไรต่อการยอมรับในบรรดากลุ่มแบ่งแยก ดินแดนลี้ภัยทั้งหลาย อีกทั้งมีเพียงผู้คนจำนวนน้อยเท่านั้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความ เข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของกลุ่มที่เรียกว่า “ผู้นำ”

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องปวดหัวคือ ยังไม่ผู้นำแบ่งแยกดินแดนลี้ภัยคนใด มีความสามารถชักจูงให้องค์กรระหว่างประเทศ คล้อยตามว่า เขามีบารมีและความสามารถในการเป็นผู้นำหรือมีอำนาจสั่งการต่อกลุ่มวัยรุ่น ไทย-มาเลย์หลายพันคนในสามจังหวัดภาคใต้ที่รู้จักกันในนาม “จูแว” อย่างแท้จริง อย่างไรก็ดีหลายๆฝ่ายรวมทั้งทหารไทยเชื่อว่า การเจรจากับกลุ่มแบกแยกดินแดนรุ่นพี่ๆ ยังเป็นทางออกที่ดี เพราะในตอนนี้กลุ่มจูแวไม่ออกตัวมาเจรจาโดยตรงเพราะกลัวว่าอาจจะถูกปองร้าย หรือฆ่าตาย หากการเจราจาในอนาคตเกิดล้มเหลวขึ้นมา อีกเหตุผลหนึ่งที่พวกจูแวทั้งหลายจะไม่ออกมาร่วมขบวนการเจรจาสันติภาพก็คือ ทุกวันนี้ การที่พวกเขาสามารถโจมตีเหล่าเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไหน เมื่อใดก็ได้ย่อมแสดงถึงความเป็นผู้ชนะอยู่แล้ว

ตอนนี้กรอบการเจรจาของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (NSC) กำลังมาถึงโค้งสุดท้าย ในขณะที่ฝ่ายทหารกระตือรือร้นจะเริ่มกระบวนการสันติภาพอีกครั้งหนึ่งกับ บรรดากลุ่มรุ่นพี่ ผู้นำทหารหลายคนบอกกับผู้เขียนว่า ยินดียอมรับความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะอินโดนีเซียและมาเลเซีย เพื่อช่วยในเรื่องไกล่เกลี่ย และคาดหวังว่าผู้ให้การคุ้มครองเจ้าเก่าเหล่านี้จะสามารถนำพวกจูแวมาสู่โต๊ะ เจรจา หรืออย่างน้อยที่สุดก็อาจจะเข้าร่วมในฐานะตัวแทนพวกจูแวได้

เรื่องนี้พูดง่ายแต่ทำยาก เนื่องจากกลุ่มจูแว โดยเฉพาะพวกวัยรุ่นเหล่านี้ไม่ค่อยแยแสในเรื่องการเจรจาสันติภาพ พวกเขาวาดหวังว่าผู้คุ้มครองเจ้าเก่าจะสามารถผนึกเป็นกำลังสำคัญของฝ่ายการ เมืองในกระบวนการสันติภาพร่วมกับรัฐไทย แต่ก็เป็นเรื่องที่คาดหวังยาก เพราะต่างก็รู้ดีว่าขบวนการของตนอยู่ในสถานะที่แยกส่วนและมีอิสระในการ เคลื่อนไหวมากเกินไป ส่วนผู้คุ้มครองเก่าๆ ก็อยู่กันอย่างไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวอย่างมากด้วย ดังนั้นไม่ว่าการขยับไปสู่การตั้งโต๊ะเจรจากระบวนการสันติภาพอย่างเป็นทาง การจึงเป็นเรื่องยาก ยกเว้นแต่เมื่อใดที่กลุ่มผู้คุ้มครองเจ้าเก่าสามารถรวมตัวกันและยอมเป็นฝ่าย การเมืองด่านหน้าให้กับกลุ่มจูแว เมื่อนั้น กลุ่มจูแวก็อาจบรรลุความมุ่งหมายในการปลดปล่อยมาตุภูมิในประวัติศาสตร์ของ พวกเขา “ปาตานี” ซึ่งบางคนที่ผันตัวมาเป็นพวกจูแวก็เพราะความโกรธแค้นจากความอยุติธรรมที่เคย เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ เช่น เหตุการณ์ตากใบ และบางส่วนก็พอใจรับใช้กลุ่มพ่อค้ายาเสพติดและพ่อค้าของเถื่อนตามชายแดน มากกว่า ส่วนคนอื่นๆ ยังคิดว่าการเจรจาเป็นแผนการร้ายอันจะล่อพวกเขาให้ปรากฏตัวออกมาเพื่อรอวัน ตาย

สอง-สามเดือนก่อน ทั้งฝ่ายตำรวจและทหารพูดกันคนละเรื่องถึงเบื้องหลังการระเบิดรถยนต์ที่ยะลา ทหารบอกว่าเป็นฝีมือของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ตำรวจกลับบอกว่าเป็นฝีมือของพวกค้าของเถื่อน ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ หลังจากเหตุการณ์ระเบิดใช้รถจักรยานยนต์และรถยนต์ที่อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส

สิ่งที่น่าสนใจคือ การอธิบายสถานการณ์จากฝั่งรัฐก็ไม่เป็นเนื้อเดียวกันด้วย เช่นที่ฝ่ายตำรวจและทหารต่างออกมาพูดถึงเบื้องหลังเหตุการณ์ระเบิดรถยนต์ที่ ยะลาเมื่อสอง – สามเดือนก่อนกลับเป็นคนละเรื่อง เพราะในขณะที่ตำรวจบอกว่าเป็นฝีมือของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทหารกลับอธิบายว่า เป็นฝีมือของพวกค้าของเถื่อน และอีกเหตุการณ์เมื่อไม่นานมานี้หลังจากเหตุการณ์ระเบิดรถจักรยานยนต์และรถ ยนต์ที่อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลลงความเห็นว่าเป็นฝีมือของกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดที่ว่า จ้างกลุ่มวัยรุ่นหัวรุนแรง (จูแว) เพื่อตอบโต้การกวาดล้างยาเสพติด แต่แหล่งข่าวของกองทัพกลับลงความเห็นว่าเป็นปฏิบัติการของกลุ่มจูแวเองที่ ต้องการสั่งสอนบทเรียนแก่สังคมไทยว่าธุรกิจค้าประเวณีและอบายมุขทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้อีกต่อไปในพื้นที่ ซึ่งแหล่งข่าวในกลุ่มบีอาร์เอ็น โคออดิเนต (ไม่ใช่พวกเดียวกับกลุ่มของกัสตูรี) มีความเห็นสอดคล้องกับการวิเคราะห์ของของฝ่ายทหารไทยเรื่องสาเหตุในการโจมตี ที่สุไหงโกลกเมื่อเดือนสิงหาคม ศกนี้

สมาชิกคนนี้แสดงความกังวลต่อพวกวัยรุ่นบางคนที่ยอมทำงานให้กลุ่มมิชฉาชีพ ต่างๆ ประเด็นนี้ทำให้กลุ่มขบวนการติดประวัติอาชญากรรมไปด้วย สร้างความความอับอาย และบั่นทอนเป้าหมายระยะยาว เพราะมันแสดงให้เห็นว่ากลุ่มขบวนการซึ่งยังอาศัยอยู่ในต่างประเทศ ไม่สามารถควบคุมความประพฤติของวัยรุ่นเหล่านี้ได้

ทั้งนี้แหล่งข่าวคนเดียวกันยังยืนยันคำกล่าวอ้างของรัฐบาลพร้อมตอกย้ำว่า “พวกผู้ใหญ่ในขบวนการรู้สึกเป็นห่วงว่าการกระทำดังกล่าวคาบเส้นการต่อสู้ที่ มีกับอาชญากรรม” ซึ่งข้อสังเกตดังกล่าวจะเข้าทางรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่มีแนวโน้มต้องการใส่ร้าย ป้ายสีขบวนการที่ได้ต่อสู้มาเป็นเวลาช้านานเพื่อลดความสำคัญของประวัติ ศาสตร์คับแค้นใจของคนมลายูในปัตตานี

รัฐบาลยิ่งลักษณ์มีมุมมองที่น่าสนใจ คือกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ความแร้นแค้นทางประวัติศาสตร์และกลุ่มลักลอบค้ายา เสพติดนั้นถือว่าเป็นพวกทำผิดกฎหมายเหมือนกัน ฉะนั้นมันง่ายมากที่จะเดาท่าทีของรัฐบาลชุดนี้ต่อ “การเจรจาสันติภาพ” ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่าทีของฝ่ายทหารไทยจึงมีความสำคัญ ประเด็นมีอยู่ว่า ฝ่ายทหารจะสามารถทำงานร่วมกับกัวลาลัมเปอร์หรือจาการ์ตาได้หรือไม่ เพราะลึกๆในสายตาของฝ่ายทหาร ทั้งสองประเทศไม่ได้วางตัว “เป็นกลางที่แท้จริง” สำหรับการเจรจาสันติภาพ เพราะถือว่าเป็น “กลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสีย” โดยตรง อันเนื่องมาจากสาเหตุที่ผู้นำรุ่นพี่ๆเหล่านี้ได้รับสัญชาติสองประเทศนี้ พร้อมที่พำนักถาวร ซึ่งในสายตาของฝ่ายไทยไม่ได้ถือว่าเป็น “กลาง”

อย่างไรก็ตาม ในหมู่ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจกันดีว่า ทั้งกัวลาลัมเปอร์และจากาตาร์ นั้นมีความสำคัญจำเป็นต้องดึงเข้ามามีส่วนไกล่เกลี่ยไม่มากก็น้อย เพื่อโน้มน้าวเอากลุ่มต่างๆเข้ามาสู่โต๊ะเจรจาเดียวกัน กระนั้นก็ตามยังไม่มีหลักประกันว่ากลุ่มจูแวจะเห็นดีด้วย

เพื่อให้กระบวนการเจรจาสันติภาพประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องสิ่งมีดึงดูดน่าพอใจหรือข้อเสนอที่น่าสนใจที่จะทำให้กลุ่มจู แวสนใจและยอมรับ ซึ่งในขณะนี้พวกเขาเป็นฝ่ายเหนือกว่าในภาคสนามเนื่องจากสามารถโจมตีเป้าหมาย ได้ทุกพื้นที่ทุกเวลาเมื่อพวกเขาต้องการ

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker