บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประมวลบทความ "น้ำท่วม" น่าสนใจจากเฟซบุ๊ก "ข้อเสนอแนะถึง ศปภ. - การปรับวิถีชีวิตช่วงอุทกภัย"

ที่มา มติชน



ในช่วงเวลาที่สังคมไทยกำลังเผชิญหน้ากับสภาวะอุทกภัย ครั้งใหญ่ มีบทความน่าสนใจหลายชิ้นถูกเขียนและเผยแพร่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก


มติชนออนไลน์ ขออนุญาตนำบทความ 2 ชิ้นที่ถูกเขียนขึ้นในเฟซบุ๊ก มาเผยแพร่ต่อ ณ ที่นี้ โดยบทความชิ้นแรกมีเนื้อหาแนะนำวิธีการนำเสนอข้อมูลเรื่องน้ำท่วมให้เข้าใจ ง่าย แก่รัฐบาลและศปภ. ส่วนบทความชิ้นที่สอง กล่าวถึงการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในช่วงน้ำท่วม

"ท่วม ไม่ท่วม ท่วมที่ไหน ท่วมเมื่อไหร่ แค่ไหน" พอ


โดย Howhow Salwala


"ท่วม ไม่ท่วม ท่วมที่ไหน ท่วมเมื่อไหร่ แค่ไหน" พอ


- ไม่ควรใส่ข้อมูลทางเทคนิคเยอะ … เพราะประชาชนจะสับสน


และอาจจะนำไปสู่การวิเคาระห์ที่เกิดผลลัพธ์ในอีกทางได้


- คนที่ออกมาแถลงข่าว ควรมีคนเดียว คนเดิม ทุกครั้งยืนพื้น


อย่าออกมากันเป็นแผง (และสลับหน้ากันมา) จะช่วยให้คนที่ดู Focus ได้ว่าควรจะฟังใคร


ขอมืออาชีพ เช่นคุณ พงศพัศ พงษ์เจริญ หรือเด็ดขาดชัดเจนอย่างคุณ ปลอดประสพ


- ถ้าเกิดความผิดพลาดหรือการปรับเปลี่ยนข้อมูล


ต้องออกมาแก้ไขและแถลงอย่างเป็นทางการ


ชั่วโมงนี้ต้องการความชัดเจนตรงไปตรงมา

- ควรมีช่วงเวลาที่ชัดเจนในการนำเสนอ คนดูจะสามารถติดตามได้ เปิดมาทุกครั้งก็จะเจอ


ออกซ้ำหลังจากแถลงแล้ว 15 นาทีอีกครั้ง เพื่อย้ำ


ถ้ามีข่าวด่วนแทรก ให้ตัดเข้ามาได้ แต่ต้องขึ้นให้ชัดเจนว่าข่าวด่วน!

- Info Graphic ควรจะดูเรียบง่าย สะอาดชัดเจน … มีผังยืนพื้นเอาไว้


"ไม่ควรใช้แผนที่ปกติ" เพราะว่ามันดูยุ่งเหยิง มองยากสำหรับคนทั่วไป


หรือจะใช้วิธีสร้าง Template ขึ้นมาแล้ว วาดเอาตรงนั้นก็ได้


Minimalist มันจะง่ายต่อการทำความเข้าใจในภาวะฉุกเฉินครับ

- ทำ Template ลำดับการนำเสนอเอาไว้ ว่าต้องพูดอะไรเป็นลำดับ


และไล่ตามเขตให้ชัดเจน พูดเป็นเขตๆ ไป ไม่ควรกระโดดไปกระโดดมา


(ลองใช้ Template ที่พี่หาวใส่ไว้ในประโยคแรกก็ได้)


- ตอนนี้ปัญหาในการสื่อสาร อยู่ที่คนดูไม่สามารถหา Focus ได้ สิ่งที่ต้องการสื่อก็จะใช้การไม่ได้


- ให้ออกแถลงการณ์ทางเดียวในสื่อหลัก … สื่ออื่นเช่น Social Media ให้ใช้สำหรับรับข้อมูลเป็นหลัก


แถลงออกทางสื่อหลักแล้ว ค่อยนำไปกระจายต่อใน Social Media

- เพราะการใส่ข้อมูลออกมาทาง Social Media มากเกินไป จะขาดความเป็นเอกภาพของข้อมูล


มันจะกระจัดกระจายและตามหาต้นทางไม่ได้ และอาจมีเรื่องการเปลี่ยนแปลงสารจากการส่งต่อ

- และทางที่ดีที่สุดคือใช้ "โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ" ไม่ต้องกลัวว่าประชาชนจะแตกตื่น


การได้รับรู้ข่าวสารที่ชัดเจน จะนำไปสู่การเตรียมพร้อม และลดอาการตื่นตระหนกได้

----------

น้ำท่วม - ภัยจากการจัดการแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ (ท่วม) ภาคสอง


โดย A Journey through Science and Art


ภาคสอง ได้เวลาปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต


ช่วงน้ำท่วม


■ทำใจ เพราะหนทางข้างหน้าจะต้องลำบากแน่นอน มีสติ มองหาหนทางออกที่ดี ทั้งกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน ออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด การช่วยเหลือจากภาครัฐหรือหน่วยงานต่างๆ มักมีขึ้นเพื่อการสร้างภาพ พึ่งตนเองได้ดีที่สุด


หากมีญาติพี่น้องอยู่ต่างจังหวัดในพื้นที่ ที่ไม่มีน้ำท่วม การย้ายไปพักอาศัยชั่วคราวดูเป็นทางออกที่ดีมาก การย้ายไปอยู่พื้นที่อพยพน่าจะเป็นทางเลือกสุดท้าย และเราก็ได้เรียนรู้แล้วว่า ภาครัฐไม่ได้เลือกศูนย์อพยพที่ปลอดภัยแน่นอน ทำให้ต้องมีการเคลื่อนย้ายคนอีก ดังนั้น ต้องเลือกพื้นที่อพยพที่ดี ไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง


การอาศัยบนชั้นสองของบ้าน เป็นทางออกชั่วคราว เพราะ ปัจจัยด้านไฟฟ้า ด้านน้ำสะอาด และสุขภัณฑ์ มนุษย์ปัจจุบันอยู่แบบไม่มีเทคโนโลยีไม่ได้อีกต่อไป โดยเฉพาะช่วงน้ำท่วม ให้ระวังว่า โดยส่วนมาก ชั้นสองของบ้านจะออกแบบให้มีทางเข้าออกทางเดียวโดยการขึ้นลงผ่านบันได ซึ่งจะถูกปิดโดยน้ำในกรณีน้ำขึ้นสูง จะทำให้ไม่มีทางออกถ้าติดตายด้วยเหล็กดัด


Logistic จะมีปัญหา การกักตุนสินค้าจะทำให้สินค้าขาดแคลน ปัจจุบันกระแสบริจาคทำให้สินค้าบางรายการขาดแคลนแบบไร้สติ คนที่ได้รับก็ไม่ได้ต้องการ เลือกไม่ได้ ได้มาก็จะทิ้ง


การผลิตในหลายๆ สินค้าจะหยุดชะงัก ขาดแคลน การกักตุนสินค้าจะทำให้สินค้าขาดแคลน ปัจจุบันกระแสบริจาคทำให้สินค้าบางรายการขาดแคลนแบบไร้สติ คนที่ได้รับก็ไม่ได้ต้องการ เลือกไม่ได้ ได้มาก็จะทิ้ง


ปัจจัยที่ห้า ที่ราคาสูงที่สุดในบ้าน ก็คือ รถ เมื่อน้ำท่วมจะมีปัญหาทันที ปัจจุบันมีวิธีการจัดการกับรถตอนน้ำท่วมหลายวิธี ตั้งแต่โฟม ไปจน ห่วงยาง หรือใช้แม่แรงยกรถแล้วใส่อิฐทีละล้อ วิธีที่แย่สุดคือ นำรถไปจอดที่อื่น ซึ่งมักสูงไม่พอและไม่มีการดูแล (ถูกโจรกรรม)


การคมนาคมจะลำบากมาก ให้ระวังไฟฟ้ารั่ว เพราะเพื่อนบ้านไม่ได้ระมัดระวังเหมือนเราทุกคน และพึงเรียนรู้ว่า การไฟฟ้าไม่ได้ตัดไฟอัตโนมัติกรณีน้ำท่วม และดูเหมือนการไฟฟ้าไม่ได้มีแผนหรือนโยบายเรื่องนี้เลย!


สัตว์ต่างๆ จะมีการหนีน้ำ บางพวกหลุดออกจากบริเวณกักขัง (จระเข้ งู) เช่นเดียวกันเรื่องสาธาณสุข โรคระบาด โรคติดต่อ โรคจากการแช่น้ำ หรือแม้แต่โรคประจำตัวที่ต้องหยูกยาพิเศษ พวกนี้ต้องระมัดระวังหาหนทางและเตรียมการที่ดีที่สุด


ของมีค่า พกได้พกไปด้วย จะได้ไม่ต้องห่วงบ้าน พกไม่ได้ เก็บในที่ที่คาดไม่ถึง และทำใจว่านี่เป็นสิ่งที่ต้องปลงหากหายไปหลังกลับมาที่บ้านแล้ว ให้แยกแยะให้ออกว่า สิ่งใดมีค่า สิ่งใดมีมูลค่า ตู้เย็น ทีวี มีมูลค่า แต่ไม่มีค่า ซื้อแพง ขายถูก ของพวกนี้ห้ามขน ให้ใช้วิธีคิดว่า ตอนไปเที่ยวนำสิ่งใดไป ให้นำไปเท่านั้น

ปรับตัวด้านการดำรงชีวิต


■เรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติโดยเฉพาะเรื่องนิเวศ ให้เข้าใจว่า ปรัชญานิเวศ นั้นเน้นเรื่องฟังก์ชัน (หน้าที่ในระบบนิเวศ) การปรับตัวและความสัมพันธ์กันของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ เมื่อทำลายองค์ประกอบใดในระบบนิเวศ จะมีผลตามมาเสมอ


ถึงเวลาต้องพึ่งตนเอง ภาครัฐจะไม่สามารถรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ และฟังก์ชันของภาครัฐคือป้องกันทรัพย์สินและผลประโยชน์ของภาครัฐและกลุ่ม อำนาจรัฐก่อนป้องกันทรัพย์สินของประชาชน ถ้าต้องดำรงชีวิตเป็นระยะเวลานานในเขตน้ำท่วมจริงๆ ก็ปรับตัว ปรับใจ หาพื้นที่แห้งพ้นน้ำท่วมในบ้าน ปลอดภัยจากสัตว์หนีน้ำ ต้องหาแหล่งน้ำสะอาด เรื่องห้องน้ำห้องท่า ระบบแสงสว่าง ไฟฟ้า เครื่องปั่นไฟ เครื่องสูบน้ำ ระบบสื่อสาร บางคนนึกถึงการหาเรือ ซึ่งเป็นไปได้ แต่ให้นึกถึงเวลาน้ำลดว่าจะนำมันไปเก็บที่ไหนอย่างไร


ศึกษาฮวงจุ้ย ตามหลักวิทยาศาสตร์ ของบ้านและชุมชนของท่านเอง ทั้งทางน้ำ ทางลม ทางฝน ทางแดด ดูที่สูง ที่ต่ำ ที่ราบ นโยบายภาครัฐ (เช่น ฝั่งธนบุรียังไงก็ต้องจัดการให้ท่วมก่อนฝั่งกรุงเทพฯ) โดยเฉพาะที่ดินที่อยู่ติดทางน้ำ (ทั้งทะเล ชายหาด ลำคลอง แม่น้ำ ลำธาร ทะเลสาบ ฯลฯ)


ปรับตัวด้านเศรษฐศาสตร์


ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างจะสูงขึ้นมาก การซ่อมยานพาหนะ การซ่อมแซม ทำความสะอาดที่อยู่อาศัย


ภาวะว่างงานของตัวท่านเอง ตัวคนในชุมชนของท่าน (รวมทั้งงบประมาณวิจัยและพัฒนา)


เอกชนโดนกระทบมาก ให้ตระหนักประเด็นนี้ให้ดี


■ในบางพื้นที่ น้ำท่วมเป็นเวลานานมาก สัปดาห์ เดือน ต้องพิจารณาทบทวนประเด็นทั้งหมดโดยอาศัยกรอบเวลานี้ด้วย


หมายเหตุ อ่านบทความ "น้ำท่วม - ภัยจากการจัดการแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ (ท่วม)" ตอนแรก ได้ที่นี่

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker