“กษิต” ดีใจหมดเงื่อนไข ส่งทูตกลับไปประจำกัมพูชาวันนี้ หลังรัฐบาลกัมพูชาออกแถลงการณ์ระบุ "ทักษิณ" ลาออกที่ปรึกษา “ฮุน เซน-รบ.” เหตุประสบความลำบากส่วนตัว ไม่สามารถทำหน้าที่อย่างเต็มที่ โฆษกกัมพูชาปัดเกี่่ยวปมขัดแย้งเขตแดน ยันไม่ใช่การประนีประนอม
"ทักษิณ" ลาออกที่ปรึกษา ฮุนเซน-รบ.
รัฐบาล กัมพูชาออกแถลงการณ์ลงวันที่ 23 สิงหาคม ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เสนอขอยุติการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่ปรึกษาส่วนตัวสมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา และที่ปรึกษารัฐบาลด้านเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรีกัมพูชาได้นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดมสี หมุนี เพื่อทรงลงพระนามในพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 23 สิงหาคม 2553 ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นจากตำแหน่งดังกล่าว
ในระหว่าง ปฏิบัติหน้าที่ พ.ต.ท.ทักษิณ มีส่วนอย่างสำคัญในการให้ความช่วยเหลือเพื่อช่วยยกระดับความสามารถในการแข่ง ขันของประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการค้า พาณิชย์การลงทุน กสิกรรม และการท่องเที่ยว ทั้งยังได้ช่วยให้นักลงทุนระดับสำคัญของต่างประเทศสนใจและเข้าใจถึงศักยภาพ ของกัมพูชาในเรื่องดังกล่าว
อย่างไรก็ดี โดยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ประสบความยากลำบากส่วนตัว จึงไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น จึงได้เสนอขอลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาได้รับทราบข้อเสนอและขอแสดงความขอบคุณ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ด้านเศรษฐกิจแก่ประเทศกัมพูชา
นาย เขียว กันหะริด โฆษกรัฐบาลกัมพูชากล่าวว่า การลาออกของพ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ กับข้อพิพาทเรื่องเขตแดนกัมพูชาไทย โดยอธิบายว่าเหตุผลที่ พ.ต.ท.ทักษิณลาออกเป็นเพราะมีงานมาก พร้อมยืนยันว่านี่ไม่ใช่การประนีประนอมแต่อย่างใดสื่อนอกชี้อ้างเหตุผลส่วน ตัว
ขณะที่สำนักข่าวเกียวโดและเอเอฟพีรายงานว่าตรง กันถึงกรณีการออก แถลงการณ์ดังกล่าวของรัฐบาลกัมพูชา ทั้งนี้กัมพูชาแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวในเดือนพฤศจิกายน 2552 ทำให้ไทยประกาศลดระดับความสัมพันธ์กับกัมพูชาพร้อมกับเรียกเอกอัครราชทูต กลับประเทศทันที แถลงการณ์ของรัฐบาลกัมพูชาระบุด้วยว่า ระหว่างทำหน้าที่ที่ปรึกษา ทักษิณได้แลกเปลี่ยนความเห็นแนวคิด และประสบการณ์เพื่อช่วยกัมพูชาในเรื่องการค้า การลงทุน การเกษตร และการท่องเที่ยว
'กษิต' ส่งทูตไปประจำทันที
นา ยกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ได้สั่งการให้นายประศาสน์ประศาสน์วินิจฉัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกัมพูชา เดินทางกลับไปปฏิบัติหน้าที่ที่ประเทศกัมพูชา ในวันที่ 24 สิงหาคม หลังจากที่ทางกัมพูชาได้มีถ้อยแถลงออกมาว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะได้ลาออกจากตำแหน่งแล้วทำให้เงื่อนไขของการเรียกเอกอัครราชทูตไทยกลับ ประเทศหมดไปโดยปริยาย ขณะที่กัมพูชาก็จะส่งเอกอัครราชทูตกลับมาปฏิบัติหน้าที่ในไทยเช่นกัน
"ผมรู้สึกยินดีและขอบคุณรัฐบาลกัมพูชาที่จะร่วมมือกันสร้างความสัมพันธ์ให้คืบหน้าต่อไป" นายกษิตกล่าว
ขณะ ที่นายประศาสน์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นแต่พร้อมที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งแล้ว โดยจะเดินทางกลับกรุงพนมเปญด้วยเที่ยวบินทีจี 584 เวลา 18.10 น.วันที่ 24 สิงหาคม
ด้านนายกอย กวงโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชายืนยันกับสำนักข่าวเกียวโดว่า จะส่งเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยเดินทางกลับไปปฏิบัติหน้าที่ในวัน ที่ 24 สิงหาคมด้วยแบะท่าพร้อมเจรจาทุกเรื่องทันที
นาย ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวแสดงความยินดีที่ทั้งสองประเทศจะมีเอกอัครราชทูตไปประจำการจะได้เริ่ม ต้นทำงานด้วยกันอีกครั้ง เพราะขณะนี้สถานการณ์ตึงเครียดหากความสัมพันธ์กลับไปเหมือนเดิมก็จะเป็น ประโยชน์สำหรับสองประเทศ เชื่อว่าการประสานงานและความตึงเครียดด้านชายแดนจะดีขึ้น ส่วนปัญหาเรื่องคณะกรรมการมรดกโลกคงต้องมาพูดคุยกันว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ทั้งนี้ เชื่อว่าสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา อยากจะแก้ไขปัญหาขณะที่ฝ่ายไทยก็พร้อมที่จะเจรจาทุกเรื่องทันทีเช่นกัน
'อภิสิทธิ์' เชื่อแก้ปัญหา 2 ประเทศง่ายขึ้น
ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัญหาบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาเกิดขึ้นอยู่เป็นระยะๆ เรื่องการข้ามไปมา การจับกุมตัวบ้างการยิง แต่ทุกกรณียังอยู่ในวิสัยที่เจ้าหน้าที่ในพื้นที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ยังไม่ได้เป็นปัญหาขึ้นมาในระดับที่จะส่งผลกระทบกระเทือนในระดับชาติขณะนี้ จึงไม่จำเป็นต้องใช้ช่องทางทางการทูตเข้าไปเจรจา คิดว่าในพื้นที่ยังดูแลได้ ถ้าพื้นที่ดูแลไม่ได้ก็คงจะรายงานขึ้นมา จากนั้นก็เป็นเรื่องที่จะไปดำเนินการอีกครั้ง แต่เข้าใจว่าจะมีสัญญาณในทางที่ดีเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา
ผู้ สื่อข่าวถามว่า หมายถึงจะยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาสมเด็จฯฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า "ทำนองนั้นแหละครับ ขณะนี้กำลังรอยืนยันอยู่ และเข้าใจว่าทางกัมพูชาเขากำลังประกาศอยู่ ทางเราก็กำลังตรวจสอบครับ ซึ่งถ้าเขายกเลิก เราก็ยินดีที่จะมีการแลกเปลี่ยนทูตกันเหมือนเดิม"
ทั้ง นี้ สัญญาณจากกัมพูชาที่ออกมา สะท้อนการเจรจาเพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่างประเทศจะดีขึ้นด้วยหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า "คิดว่าถ้าความสัมพันธ์กลับไปอยู่ในระดับที่มีทูตอยู่ที่ 2 ประเทศ การแก้ปัญหาต่างๆ ก็คงจะง่ายขึ้น"