บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ใบอนุญาตฆ่าคน (Licence to Kill)

ที่มา มติชน




ใครอนุญาตให้ฆ่า Fabio Polenghi ?


ความตายของ"ฮิโรยูกิ มูราโมโตะ" รัฐบาลไทยไม่มีคำตอบ !!!

โดย คุณชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการอิสระ

เหตุการณ์ การสลายการชุมนุมในเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมาได้สร้างความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากมาย ในจำนวนผู้เสียชีวิต ทั้ง 91 ราย นั้น มีนักข่าวต่างประเทศอยู่ด้วย 2 คน และ มีกรณีที่สื่อมวลชนได้รับ บาดเจ็บมากถึง 10 ราย โดยในจำนวนนี้บางรายอาจต้องเสียสมรรถภาพทางร่างกายไปตลอดชีวิต นอกจากนี้แล้ว ยังมีกรณีการเซ็นเซอร์และปราบปรามสื่ออีกมากมายอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ตั้งแต่หลังช่วงปี ค.ศ. 90

ภายหลังเหตุการณ์สงบแล้ว ต่างฝ่ายต่างป้ายความผิดให้ฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นผู้กระทำความเสียหาย ให้เกิดขึ้น ซึ่งตราบจนบัดนี้ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าแท้ที่จริงแล้วใครกันแน่ที่จะต้อง เป็นผู้รับผิดชอบในการสูญเสียครั้งนี้ หนึ่งในองค์กรที่เข้ามาสอบสวนข้อเท็จจริงและมีผลการสอบสวนปรากฏออกสู่สาธารณ ชนไปทั่วโลกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ก็คือ องค์กรของผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนหรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่า Reporter without Borders หรือ Reporters sans frontières โดยจัดทำเป็นรายงานการสอบสวน(investigation report)ในชื่อว่า THAILAND LICENCE TO KILL

องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนได้สัมภาษณ์และวิเคราะห์ในกรณีสื่อมวลชนได้รับการคุกคาม ดังต่อไปนี้

1. การเสียชีวิตของนักข่าวอิสระชาวอิตาเลียน นาย Fabio Polenghi

2. การเสียชีวิตของผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่นของสำนักข่าวรอยเตอร์ นายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ

3. กรณีการบาดเจ็บของ นาย Nelson Rand ผู้สื่อข่าวของสถานีโทรทัศน์ France24

4. กรณีการปิดกั้นเว็บไซต์ประชาไท

5. กรณีวางเพลิงสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3

6. การสัมภาษณ์นางสาว Agnès Dherbeys ช่างภาพหนังสือพิมพ์ The New York Times ในขณะเกิดเหตุ

7. กรณีนายสุบิน นวมจันทร์ ช่างภาพหนังสือพิมพ์มติชนได้รับบาดเจ็บ

8. กรณีนาย Chandler Vandergrift นักข่าวอิสระชาวแคนาดาได้รับบาดเจ็บสาหัส

9. คำบอกเล่าของสื่อมวลชนชาวต่างประเทศที่ไม่ต้องการเปิดเผยชื่อ

10. กรณีนายไชยวัฒน์ พุ่มพวง ช่างภาพอาวุโสของหนังสือพิมพ์ The Nation ได้รับบาดเจ็บสาหัส

องค์กร ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนตั้งคำถามว่าจำนวนสื่อมวลชนที่ได้รับบาดเจ็บและเสีย ชีวิตนั้น เป็นผลมาจากอุบัติเหตุเพียงอย่างเดียวหรือไม่ ทั้งนี้ มีนักข่าวมากมายที่ทำงานเสนอข่าวในบริเวณที่ชุมนุม และมีจำนวนหนึ่งที่อาจขาดการอบรมด้านการทำงานในพื้นที่อันตรายหรือไม่ ได้ใช้อุปกรณ์การป้องกันภัย ที่พอเพียงรวมถึงการขาดการอบรมในด้านการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อ พลเมืองของทหารที่ ทำหน้าที่ควบคุมและสลายการชุมนุม หรือว่าเหตุการณ์เศร้าสลดที่เกิดขึ้นมีเหตุมาจากความตั้งใจ คุกคามสื่อมวลชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อมวลชนชาวต่างประเทศโดยตรง

ผู้ สื่อข่าวไร้พรมแดนได้รับคำบอกเล่าจากนักข่าวชาวยุโรปที่อยู่ในพื้นที่ ว่า ในช่วงวันสุดท้ายของการชุมนุมนั้นทหารได้ใช้อาวุธสงครามกับประชาชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักข่าว นั่นแสดงให้เห็นว่า ทหารไม่ได้เคารพกติกาของการปฏิบัติ( Rules of Engagement ) แต่อย่างใด

ซึ่งในประเด็นนี้ ดร.ธานี ตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวว่า ทหาร ได้รับคำสั่งให้เคารพ ข้อปฎิบัติเฉพาะ แต่เมื่อมีการยิงทหารไร้อาวุธในวันที่ 16 เมษายน นั้น ทหารก็ได้รับคำสั่งให้ใช้กระสุนจริงเพื่อป้องกันตนเองจากชายชุดดำ ซึ่งเป็นฝ่ายเดียวกับผู้ชุมนุม นปช. แต่เขาได้ย้ำว่า กองทัพไม่ได้ รับการอนุญาตให้ยิงประชาชนแต่อย่างใด

ประเด็น สำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนคือการเซ็นเซอร์ สื่อที่เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ช่วงวิกฤติการเมือง รวมถึงการปิดปากตัวเอง (Self-Censorship) ของสื่อบางส่วนด้วย ในกรณีนี้ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ยังได้มีคำสั่งให้ปิดกั้นสื่อมากมาย รวมทั้งประชาไทด้วย ทั้งนี้ ดร.ธานีได้ยืนยันกับองค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับเสรีภาพสื่อเป็นอย่างยิ่ง แต่ได้เพิ่มเติมว่าสถานการณ์ฉุกเฉินบังคับให้สื่อต้องมีความรับผิดชอบในการ ทำงาน

ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนจัดทำรายงานฉบับนี้ขึ้น โดยมีเป้าหมายจะสะท้อนเสียงของกรณีตัวอย่าง 10 ราย ที่สื่อมวลชนได้รับการคุกคาม หรืออันตรายทั้งจากฝ่ายแรก ได้แก่ ทหาร หน่วยกำลังพิเศษ และทหารรับจ้าง และฝ่ายที่สองคือผู้ชุมนุมเสื้อแดงซึ่งเป็นสมาชิกของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อ ต้านเผด็จการแห่งชาติ โดยผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนเลือกที่จะเป็นสื่อกลางและกระบอกเสียงให้แก่สื่อมวล ชนในครั้งนี้ นอกจากนั้นแล้ว ยังได้สัมภาษณ์ตัวแทนจากรัฐบาลไทยและทนายความของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อีกด้วย ซึ่งบางกรณีตัวอย่างแสดงให้เห็นถึงการคุกคามสื่อมวลชน ทั้งจากฝ่ายความมั่นคงและฝ่ายผู้ชุมนุมเสื้อแดงอย่างชัดเจน

ผู้ สื่อข่าวไร้พรมแดนย้ำให้เห็นความสำคัญของการสอบสวนอาชญากรรมที่เกิดขึ้นใน ช่วงวิกฤติการณ์ทางการเมืองครั้งนี้อย่างโปร่งใส และเสนอให้มีการขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญจากนานาประเทศ เนื่องจากหากไม่มีการสอบสวนอย่างเป็นอิสระแล้วไซร้ เหตุการณ์ครั้งนี้อาจทำให้ประเทศไทยสูญเสียความน่าเชื่อถือในเวทีนานาชาติ

ผู้ สื่อข่าวไร้พรมแดนเรียกร้องให้มีการเพิ่มทั้งทรัพยากรและอำนาจแก่คณะกรรมการ สอบสวนข้อเท็จจริง เพื่อให้คณะทำงานดังกล่าวมีความอิสระในการทำงานอย่างแท้จริง และ ในโอกาสที่ประเทศไทยได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนจึงเรียกร้องให้เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นายบัน คี มุน ให้ความร่วมมือกับประเทศไทย โดยการให้องค์กรต่างๆ ของสหประชาชาติเข้ามามีส่วนร่วมกับการสอบสวนในครั้งนี้ โดยผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือและข้อมูลแก่คณะทำ งานอย่างโปร่งใสและเป็นอิสระ

จะ เห็น ได้ว่ารายงานการสอบสวนฉบับนี้เป็นการรายงานของมืออาชีพที่แท้จริงที่เราทุก คนและฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรจะหามาอ่าน เพราะแสดงให้เห็นว่าการคุกคามสื่อนั้นมีมาจากทั้งสองด้าน คือทั้งจากฝ่ายความมั่นคงและฝ่ายผู้ชุมนุม ซึ่งแกนนำรัฐบาลหรือแกนนำผู้ชุมนุมจะทราบหรือไม่ก็ตาม แต่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นแล้วจริง ที่สำคัญก็คือกองทัพไม่ได้รับอนุญาตให้เข่นฆ่าประชาชน(Licence to Kill) แต่อย่างใด

แต่การสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตนั้นเกิด ขึ้นได้อย่างไร ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วจะต้องมีผู้รับผิดชอบแน่นอน เพียงแต่ฝ่ายรัฐบาลอย่าเพิ่งออกกฎหมายนิรโทษกรรมดังเช่น กรณี 6 ตุลาออกมาเสียก่อนก็แล้วกัน อย่างไรก็ดีถึงแม้จะมีกฎหมายนิรโทษกรรมออกมาก็ตาม การ นิรโทษกรรมนี้ก็ไม่อยู่ในข่ายที่จะยกเว้นเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่าง ประเทศ(หากจะมีผู้หยิบยกและให้สัตยาบันต่อไปในภายหน้า)แต่อย่างใด

( จาก เว๊บไซต์ www.pub-law.net )

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker