บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

ใครที่ยังไม่มีไว้ประจำบ้าน เชิญโหลด"ประกาศคณะราษฎร" ที่แจกจริงๆในวันปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475

ที่มา Thai E-News


คณะราษฎรอ่านประกาศคณะราษฎรเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 พร้อมกับแจกจ่ายแถลงการณ์ต่อราษฎรชาวสยาม จากนั้นพากันเปล่งเสียงไชโย เอกสารที่นำมาเผยแพร่ในรายงานนี้ เขื่อว่าเป็นฉบับเดียวกันกับที่แจกในวันนั้น

โดย ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา เฟซบุ๊คสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

เอ้า! แจก pdf เก่าๆ สำหรับใครที่จนป่านนี้ยังไม่มีไว้ประจำบ้านนะครับ "ประกาศคณะราษฎร" ที่แจกจริงๆในวันปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475
http://www.mediafire.com/?fdhdocpxthl8e8t

ประกาศคณะราษฎรฉบับที่1

ความจริง ผมเคยแจกที่บอร์ดฟ้าเดียวกันมานานแล้ว แต่พอดีว่า มีเพื่อนที่อยู่ต่างประเทศบางคนถามมา ผมเลยเพิ่ง upload ให้ใหม่ ไหนๆทำแล้ว ก็เลยมาบอกกันทั่วๆ เผื่อใครที่ยังไม่มีอีก...pdf นี้ ผมได้มาจาก อ.ดร.ณัฐพล ใจจริงนะครับ





ตัวหนังสือนี่เก่าๆ 3-4 คำแรกๆสุดของหน้า 2 ก็ขาดๆนิดหน่อยนะครับ แต่คงอ่านได้ หรือไม่ก็เปรียบเทียบเอากับตัวพิมพ์สมัยใหม่ ทีนี่
http://www.pridi-phoonsuk.org/peoples-party-manifesto/

มีข้อพึงสังเกตนิดหน่อยนะครับ สำหรับท่านที่ยังไม่ทราบใน "ประกาศคณะราษฎร" นี้ ตรงหน้า 3 บรรทัดที่ 10 นับจากข้างล่าง ทีปรีดีเขียนว่า

"ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมาก็จะได้ชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา"


คำว่า "ประชาธิปไตย" ทีใช้นี้ มีความหมายว่า "รีปับบลิค" หรือสาธารณรัฐ นะครับ ไมใช่แค่ "การปกครองโดยเสียงข้่างมาก" อย่างที่เราใช้ในปัจจุบัน

ช่วงนั้น (ประมาณ 2475) ปรีดี และคนไม่น้อยใช้คำนี้ "ประชาธิปไตย" ในความหมาย republic จริงๆ ดูตัวอย่างที่มีชื่อเสียงพอสมควรได้ ที่ "คำอธิบายกฎหมายปกครอง" ของปรีดี (ปี 2474) หน้า 34 "รัฐบาลประชาธิปตัย" ทีนี่ ครับ
http://www.pridi-phoonsuk.org/wp-content/uploads/2010/01/32.pdf

เรื่องที่คำว่า "ประชาธิปไตย" ในสมัยนั้นหมายถึง republic นี้ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เน้นอย่างมาก ยืนยันว่า มีความหมายนี้เท่านั้น แต่ผมไม่เห็นด้วย ผมมีเอกสาร หรืองานเขียนสมัยนั้น ทีใช้คำนี้ ในความหมายสมัยใหม่ ที่ไมใช่หมายถึงเฉพาะ republic อยู่ พูดง่ายๆคือ ในความเห็นของผม ช่วง 2475 (ประมาณนั้น) คำนี้ มันอยู่ในช่วงที่เรียกว่า "เปลี่ยนผ่าน" คือ มีคนใช้ในความหมาย republic ล้วนๆ (อย่างกรณีปรีดี ใน "คำอธิบายกฎหมายปกครอง" หรือ "ประกาศคณะราษฎร" จริงๆ แต่ก็มีคนใช้ในความหมายการปกครองโดยคนส่วนใหญ่แบบที่เข้าใจในขณะนี้ เหมือนกัน และความหมายอย่างหลัง จะเพิ่มมากขึั้นๆ จนเป็น standard ในเวลาไม่กี่ปี หลังการปฏิวัติ 2475

อ้อ อีกนิดนะครับ ถ้าดูจากเอกสารต้นฉบับ "ประกาศคณะราษฎร" มันจะไม่มีคำว่า "ฉบับที่ 1" ผมเข้าใจว่า จริงๆแล้ว ก็ไม่มี เพราะตอนประกาศ ปรีดี และคนอื่นๆ คงไม่ได้คิดในเชิงปัจจุบัน ที รัฐประหารที มี"ประกาศ" เยอะๆ หลายฉบับอะไรแบบนั้นดูเพิ่มเติม

*****
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:

-มุมประวัติศาสตร์: เอกสารเก่าต้นฉบับ "ประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1"

-โรคประจำศตวรรษ:ประชาธิปไตย'อันมีฯVSไม่มีอันฯ'

-ผลสำรวจผู้อ่านไทยอีนิวส์ก่อน-หลังเหตุการณ์19พฤษภา53:ประชาธิปไตยแบบใดที่ท่านปรารถนา?

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker