บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

บทเรียน'ดินไหว-สึนามิ'ญี่ปุ่น แนะรัฐให้ข้อมูล'จุดเสี่ยง'ในไทย

ที่มา ข่าวสด

นงนวล รัตนประทีป / รายงาน



สึนามิ สูงร่วม 10 เมตรโถมเข้าใส่เมืองอิวานูมะ จ.มิยางิ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น เผชิญกับโศกนาฏกรรมแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ "สึนามิ" ระดับร้ายแรงที่สุดในรอบร้อยกว่าปี เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิตนับพัน บาดเจ็บจำนวนมาก และบางเมืองประชากรสูญหายไปเป็นหมื่น ขณะเดียวกัน "เตาปฏิกรณ์" ของโรงงานพลัง งานไฟฟ้านิวเคลียร์ก็เกิดระเบิดจนอาจทำให้เตาหลอมละลาย สร้างปัญหามลพิษใหญ่ตามมาได้

นอกจากนั้น แผ่นดินไหว 8.9 ริกเตอร์ จุดชนวนคลื่นสึนามิความสูงนับสิบเมตรถล่มญี่ปุ่นครั้งนี้ ยังเกิดขึ้นคล้อยหลังเหตุแผ่นดินไหวในเมืองไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์ และมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ในช่วงเวลาติดๆ กัน ทำให้เกิดความกังวลว่า "ประเทศไทย" มีโอกาสพบกับพิบัติภัยรุนแรงเหล่านี้หรือไม่ หลังจากเมื่อเดือนธ.ค. 2547 ก็ต้องเจอกับโศกนาฏกรรมสึนามิซัดถล่มพื้นที่ภาคใต้

นักวิชาการชั้นนำของไทย พร้อมอธิบายและตอบข้อสงสัยข้างต้นกับ "ข่าวสด หลาก &หลาย" ในวันนี้



ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า

ความเสียหายและความลึกของแผ่นดินไหวที่ทำให้ผิวของเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทรแปซิฟิกก่อเกิดคลื่นสึนามิในญี่ปุ่นแล้ว ยังมีรายงานเกี่ยวกับสึนามิที่แถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เช่น ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะเกาะลูซอน จะได้รับผลกระทบไล่ไปถึงหมู่เกาะกวม หมู่เกาะฮาวาย ประเทศอเมริกาที่อยู่ใจกลางมหาสมุทรแปซิฟิก ไปถึงหมู่เกาะที่อยู่ทางตอนเหนือนิวซีแลนด์ด้วย

ในช่วงนี้จะพบว่าเกิดแผ่นดินไหวติดกันในหลายประเทศและค่อนข้างรุนแรงนั้น แต่นั่นไม่ได้อยู่เหนือการคาดหมายของผู้เชี่ยวชาญด้านนี้

อย่างไรก็ตาม การพยากรณ์แผ่นดินไหวเป็นการคาดการณ์แบบคร่าวๆ เพราะมนุษย์ยังไม่มีเทคโนโลยีใดในปัจจุบัน ที่จะสามารถคาดการณ์ได้แบบแม่นยำว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด ความรุนแรงจะเป็นแค่ไหน



ดร.สมิทธ ระบุว่า ส่วนประเทศญี่ปุ่นนั้นมีการคาดการณ์ล่วงหน้าว่า จะเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าประเทศอื่นๆ

1.ถนน-อาคารบ้านเรือนในเมืองซูกางาวะ จ.ฟูกูชิมะ พังวินาศ

2.โรงกลั่นคอสโม ออยล์ ในจ.ชิบะ ระเบิดเพราะแรงแผ่นดินไหว

3.นาทีคลื่นยักษ์สึนามิเข้าถล่มเมืองนาโทริ ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น หลังเกิดแผ่นดินไหว 8.9 ริกเตอร์

4.สนามบินเมืองเซนได พังยับเยิน

5.เพลิงไหม้เมืองยามาดะ จ.อิวาเตะ

6.สภาพในตัวเมืองคาเซนนูมะ จ.มิยางิ หลังเกิดสึนามิ

7.คลื่นสึนามิทำให้เกิดคลื่นน้ำวน ซัดเข้าเมืองโออาราอิ จ.อิบารากิ

8.บ้านเรือนในเมืองนาโทริ จมบาดาล

9.ไฟไหม้



เพราะตั้งอยู่บน "รอยเลื่อน" ของเปลือกโลก

ส่วน "ประเทศไทย" ควรมีการเตรียมพร้อมกับภัยที่เราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าอย่างนี้ บริเวณแถวทิศตะวันตกภาคใต้ของเรา

ตั้งแต่ จ.ระนอง ถึง จ.สตูล อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวตามรอยเลื่อนแถวหมู่เกาะอันดามัน เกาะนิโคบาร์ลงไปถึงสุมาตรา ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่เคยเกิดแผ่นดินไหวมาแล้วแต่ไม่ทั้งหมดเพียงครึ่งเดียว

สำหรับอีกครึ่งที่ยังไม่ไหว มีผู้เชี่ยวชาญหลายประเทศพยากรณ์ว่า ครึ่งบนที่มันยังไม่ไหว แต่ถ้าในอนาคตมันไหวเมื่อไรผลกระทบ 6 จังหวัดภาคใต้เราก็ยังมีอยู่

ดังนั้น ต้องมีการเตรียมความพร้อมในการจัดระบบการเตือนภัยให้มีประสิทธิภาพ และมีการจัดซ้อมอพยพหนีภัย การดูเครื่องมือระบบเตือนภัยว่ายังทำงานหรือไม่

หอเตือนภัยทุกต้นยังทำงานปกติหรือไม่

การเตือนภัยส่งไปถึงหอเตือนภัยได้ทันเวลาหรือไม่

เพราะระยะเวลาการหลบหนีภัยนั้นมีค่อนข้างสั้น



ด้าน รศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยธรณีวิทยาแผ่นดินไหวและธรณีแปรสัณฐาน คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พูดถึงเรื่องนี้เช่นกันว่า

เหตุ "พสุธาพิบัติ" หรือแผ่นดินไหวจนเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นไปตามคาดการณ์ไว้ของนักวิทยาศาสตร์ หรือนักธรณีวิทยา

เพราะการเกิดแผ่นดินไหวจะเกิดบริเวณใกล้แนวรอยต่อของเปลือกโลก และประเทศญี่ปุ่นก็เป็นประเทศที่อยู่บนแนวรอยต่อของเปลือกโลกที่มีการประกบติดอยู่ 3 แผ่น คือ

แผ่นแปซิฟิก แผ่นเอเชีย และแผ่นฟิลิปปินส์ ซึ่งล้วนเป็นแหล่งที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดอยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์หรือนักธรณีวิทยาคนใดคาดการณ์หรือพยากรณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร แม้แต่ประเทศญี่ปุ่นที่รู้อยู่แล้วว่าประเทศตั้งอยู่ในจุดที่เกิดแผ่นดินไหวได้ทุกเมื่อ



ดร.ปัญญา ชี้ว่า การเกิดแผ่นดินไหวตามที่ต่างๆ เช่น นิวซีแลนด์ จีน กระทั่งญี่ปุ่น จริงๆ แล้วเกิดจากรอยเลื่อนที่อยู่ภายในประเทศนั้นๆ

เหมือนกับประเทศไทยก็มีรอยเลื่อนที่ จ.กาญจนบุรี สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้เช่นกัน

แต่แผ่นดินไหวที่ประเทศจีน บอกได้เลยว่า อยู่ห่างไกลจากรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกมาก

ส่วนหิมาลัยเป็นรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกของอินเดียกับเอเชีย ซึ่งเป็นดงของแผ่นดินไหวเหมือนกัน

"ประเทศไทยนั้นจะได้รับผลกระทบหรือไม่อย่างไร ผมขอบอกว่าการคาดการณ์เรื่องแผ่นดินไหวหรือภัยธรรมชาตินั้นมีทั้งผิดและถูกพอๆ กันเหมือนเล่นปั่นแปะ ใครที่อยากคาดก็คาดไปผมไม่ขอคาด แต่จะบอกเพียงว่าบริเวณพื้นที่ไหนเป็นพื้นที่อันตรายจากแผ่นดินไหว"

"อย่าง จ.นครราชสีมา บอกเลยว่าไม่มีทางเกิดแผ่นดินไหวได้ แต่อาจจะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวจากแขวงไชยบุรี ประเทศลาว ส่วน จ.กาญจนบุรีนั้นมีรอยเลื่อนอยู่แล้วและเป็นรอยเลื่อนที่อยู่ภายในประเทศที่ได้รับอิทธิพลของการชนกันของแผ่นเปลือกโลกในอดีตนานแล้วเป็นร้อยล้านปี เผอิญมันยังมีการเลื่อนตัวอยู่ ถามว่าอันตรายไหม มันก็น่าอันตรายแต่ผมบอกไม่ได้ว่าเมื่อไรมันจะเกิดเท่านั้น"

ดร.ปัญญา ผู้เชี่ยวชาญธรณีวิทยา จากจุฬาฯ กล่าวต่อไปว่า

ตั้งแต่แม่กลอง แควน้อย แควใหญ่ บริเวณใกล้กับเขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนเขาแหลม ก็มีรอยเลื่อน โดยเฉพาะเขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนเขาแหลม แต่ไม่ควรวิตกกังวลเกินไป

เชื่อว่าวิศวกรของ "การไฟฟ้าฝ่ายผลิต" ได้สร้างเขื่อนที่ต้านแรงแผ่นดินไหวได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งก็คงจะมีการเตรียมความพร้อมเรื่องนี้อยู่แล้วถ้าเกิดแผ่นดินไหว



ดร.ปัญญา ระบุด้วยว่า สำหรับการเกิดแผ่นดินไหวเป็นผลมาจาก "การปลดปล่อยพลังงาน" ในรูปของแผ่นดินไหวสั่นสะเทือนมาพร้อมๆ กันเท่านั้นเอง

นั่นหมายความว่า หินมันไม่สามารถรับแรงสั่นสะเทือน หรือพลังงานสะสมได้มาก เพราะเปลือกโลกมันไม่สงบนิ่ง ก็เหมือนตัวอย่าง "รถชนกัน"

ส่วนคำถามที่ว่า ทำไมเกิดในห้วงเวลาใกล้ๆ กัน ถ้าคิดง่ายๆ การเกิดแผ่นดินไหวนั้นเหมือนกับการ "หักไม้จิ้มฟัน" มันจะหักตอนไหนก็ได้ไม่ควรที่จะไปจับเอาแพะมาชนแกะ เพราะไม่เกี่ยวกัน มันเป็นเรื่องเดียวกัน แต่เป็นการเกิดคนละสถานที่

"ผมอยากบอกว่าคนไทยรับข้อมูลข่าวสารได้ แต่ไม่ควรไปจับแพะชนแกะเท่านั้นเอง ตอนนี้มันเหมือนกับพสุธาพิโรธ ส่วนที่เกิดแผ่นดินไหวนิวซีแลนด์และทำให้ผู้คนตายนับร้อยกว่าคนนั้นเพราะรอยเลื่อนที่เกิดจากการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกที่ไม่เท่ากันระหว่างแผ่นเปลือกโลกออสเตรเลียกับแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิก ส่วนที่บอกว่ามันจะส่งผลกระทบมาถึงไทยนั้นมันไกลกันมาก แต่ถ้าบอกว่าจะเป็นโดมิโนหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะฉะนั้น การสะสมตัวในการปลดปล่อยพลังงาน ณ จุดหนึ่ง อาจทำให้โดนด้วยก็เป็นได้"

ดร.ปัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนข้อมูลในการบอกให้ประชาชนรับทราบถึงบริเวณหรือภาคที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบแผ่นดินไหวนั้น เป็นหน้าที่ของ "รัฐบาล" โดยเฉพาะ"กรมทรัพยากรธรณี" เนื่องจากมีหน้าที่ทำแผนที่เกี่ยวกับรอยเลื่อนแผ่นเปลือกโลกที่ยังมีพลังงานอยู่ ซึ่งสามารถอาจเกิดแผ่นดินไหวได้

ประชาชนควรรับทราบความจริงจุดนี้ โดยระบุให้ชัดว่า พื้นที่หรือเขตไหนของภาคอันตรายในการได้รับผลกระทบจากรอยเลื่อนภายในประเทศและจะส่งผลถึงจุดไหนบ้าง เหมือนกับ เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ อเมริกา ซึ่งเป็นเมืองธุรกิจ ที่ประชาชนเขารู้ว่ามีรอยเลื่อนแผ่นเปลือกโลกเช่นเดียวกัน

"รัฐต้องบอกข้อมูลที่เป็นความจริงให้ประชาชนรู้ และประชาชนจะเป็นคนเลือกเองว่าจะพัฒนาบริเวณแบบนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือไม่ อย่าเพิ่งไปวิตกกังวลมากเพราะเรื่องนี้คาดเดาหรือพยากรณ์ล่วงหน้าได้ยาก แม้แต่ประ เทศที่เรียกว่าเป็นเซียนมหาเซียนก็ยังไม่รู้เช่นกัน" ดร.ปัญญา กล่าว

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker