บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สุภัตรา ภูมิประภาส: ผู้หญิงกับการเมือง (2)

ที่มา ประชาไท

สุ ภัตรา ภูมิประภาส นำเสนอบทความซีรีส์ตอน “ผู้หญิงกับการเมือง” ว่าด้วยสตรีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่ก้าวขึ้นมามีบทบาทเป็นผู้นำในเวทีการเมือง สตรีเหล่านั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร มีแรงบันดาลใจอย่างไรที่ผลักดันพวกเธอให้เข้าสู่การเมือง

ปักกึนเฮ (เกาหลีใต้)

สุภัตรา ภูมิประภาส: ผู้หญิงกับการเมือง (2)

ปักกึนเฮ กับคอนโดลิซา ไรซ์ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ

ปักกึนเฮ (Park Geun-hye) เป็นนักการเมืองที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งของเกาหลีใต้

เธอ เป็นธิดาคนโตของอดีตประธานาธิบดีปักจุงฮี (Park Chung-hee) แห่งเกาหลีใต้ และเธอกำลังได้รับเสียงสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากประชาชนให้ก้าวขึ้นสู่ ตำแหน่งเดียวกับบิดา ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะมีขึ้นในอีก 18 เดือนข้างหน้า

ปักกึนเฮ เกิดปี 1952 จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจาก College of Engineering, Sogang University ที่กรุงโซล

ปี พ.ศ.2517 ระหว่างที่เธอกำลังศึกษาต่ออยู่ที่ฝรั่งเศส มารดาของเธอถูกลอบสังหาร ปักกึนเฮต้องทิ้งการเรียนกลางคัน เพื่อกลับมาอยู่เคียงข้างบิดาปฏิบัติหน้าที่สตรีหมายเลขหนึ่งแห่งเกาหลีใต้ แทนมารดา เธออายุเพียง 22 ปีในขณะนั้น

บันทึกของทูตสหรัฐ ประจำเกาหลีใต้เมื่อปี พ.ศ. 2522 ระบุว่าปักกึนเฮในฐานะสตรีหมายเลขหนึ่งมีความสนใจในประเด็นสิทธิมนุษยชนและ สวัสดิการสังคม

เดือนตุลาคม 2522 ปักกึนเฮต้องสูญเสียบิดาไปอีกหนึ่งคน ประธานาธิบดีปักจุงฮีถูกเจ้าหน้าที่คนสนิทลอบสังหาร

หลัง อสัญกรรมของบิดา ปักกึนเฮไม่ได้ก้าวเข้าสู่การเมืองโดยทันที เธอเลือกไปทำงานองค์กรสาธารณประโยชน์ต่างๆที่บิดาเป็นผู้ก่อตั้ง ตราบจนเกือบสองทศวรรษต่อมา เธอถึงตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งในนามThe Grand National Party (GNP) เธอบอกว่าแรงจูงใจที่ทำให้เธอก้าวเข้าสู่การเมืองเพราะประเทศได้รับผลกระทบ อย่างรุนแรงจากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540

ปักกึนเฮชนะการเลือกตั้ง เข้าเป็น ส.ส.สมัยแรกในปี 2541และได้รับเลือกเป็น เป็น ส.ส. ต่อเนื่องกันมาถึงสี่สมัยนับตั้งแต่การลงเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2541 จนถึงปัจจุบัน ระหว่างปี 2547-2549 เธอได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรค GNP ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคฯ ปักกึนเฮนำพรรคชนะการเลือกตั้งจนได้รับฉายาว่า “นางพญาแห่งการเลือกตั้ง”

อย่างไรก็ตาม เธอเคยถูกลอบสังหารในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในปี 2549

ปี 2550 ปักกึนเฮเคยเป็นคู่แข่งของลี เมียง บัค (Lee Myung-bak ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน) ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นตัวแทนจากพรรค GNP เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เธอชนะโหวตภายในพรรค GNP แต่ต้องพ่ายแพ้คะแนนโหวตในระดับชาติไปอย่างเฉียดฉิว

แต่รายงานผล โพลล์หยั่งเสียงล่าสุดระบุว่าชาวเกาหลี 48.8% ต้องการการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และส่วนใหญ่ต้องการให้ปักกึนเฮเป็นผู้นำแทนประธานาธิบดีคนปัจจุบันซึ่งมาจาก พรรคเดียวกัน

ในสายตาของสื่อมวลชนเกาหลี ปักกึนเฮเป็นนักการเมืองที่ต่างจากนักการเมืองคนอื่น เธอไม่พูดมาก แต่ทุกคำพูดของเธอมีความหมาย ปักกึนเฮมีคุณสมบัติในการจัดการความขัดแย้งที่เธอได้พิสูจน์ให้เห็นในช่วง ที่พรรค GNP เผชิญปัญหาการแบ่งขั้วการเมืองภายในพรรค สื่อมวลชนวิเคราะห์ว่าหากขึ้นเป็นผู้นำ ปักกึนเฮจะไม่เดินตามรอยเผด็จการแบบบิดา ดูเหมือนว่าเธอมุ่งมั่นกับการที่จะสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศ และมีแนวโน้มที่จะสร้างความสมานฉันท์กับเกาหลีเหนือ

000000

Sri Mulyani Indrawati (อินโดนีเซีย)

สุภัตรา ภูมิประภาส: ผู้หญิงกับการเมือง (2)

ศรีบุลยานี อินทราวาตี ผู้นำหญิงที่ชาวอินโดนีเซียรอคอย

ศรีมุลยานี อินทราวาตี (Sri Mulyani Indrawati) เป็นผู้หญิงที่สื่อมวลชนและประชาชนอินโดนีเซียรอคอยการกลับมาสู่เวทีการเมืองของประเทศ

ปี 2551 ศรีมุลยานี ได้รับคัดเลือกจาก Forbes Magazine ให้เป็นสตรีผู้ทรงอิทธิพลอันดับที่ 23 ของโลก และเป็นสตรีที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดของประเทศอินโดนีเซีย

เธอเป็นอดีต รัฐมนตรีคลังของอินโดนีเซีย ระหว่างปี 2548 - 2553 ปัจจุบัน ศรีมุลยานี ดำรงตำแหน่ง Managing Director ของ World Bank ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี

ศรี มุลยานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2505 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก Universitas Indonesia ได้รับปริญญาโทและเอกสาขาเศรษฐศาสตร์จาก University of Illinois at Urbana-Champaign เคยทำงานเป็นที่ปรึกษายูเสด (USAID)ในโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้อินโดนีเซียในการปกครองตัวเอง ประจำสำนักงานที่ Atlanta, Georgia นอกจากนั้นยังเป็นนักวิชาการรับเชิญบรรยายพิเศษที่ Andrew Young School of Policy Studies at the Georgia State University และเป็นอดีตผู้อำนวยการบริหารกองทุนการเงินระหว่างประเทศภาคพื้นเอเซียตะวัน ออกเฉียงใต้ ในระหว่างปี พ.ศ.2545-2547 ก่อนที่จะถูกประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุทโธโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) เชิญมารับตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง

บทบาท ของศรีมุลยานีในฐานะรัฐมนตรีคลังของอินโดนีเซียได้รับความชื่นชมจาก ประชาชนทั่วประเทศ เศรษฐกิจอินโดนีเซียในยุคของเธอฟื้นตัวสูงสุดนับจากภายหลังการเกิดวิกฤตการ ทางการเงินในเอเซียเมื่อปี 2540

ศรีมุลยานีได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีคลังอีกเมื่อประธานาธิบดีซูซิโลได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาบริหารประเทศเป็นสมัยที่สอง
เมื่อศรีมุลยานีตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีคลังเพื่อไปรับตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ World Bank Group ในเดือนพฤษภาคม 2553 นั้น ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับภาวะความเชื่อมั่นของประชาชนในประเทศต่อเศรษฐกิจ ของอินโดนีเซียที่จะไม่มีเธอเป็นผู้กุมบังเหียนอีกต่อไป

แต่ทั้งนี้ มีเสียงวิจารณ์กันว่าการตัดสินใจครั้งนี้ของศรีมุลยานีมาจากแรงกดดันทางการ เมือง โดยเฉพาะจากนักธุรกิจคนสำคัญและทรงอิทธิพลของประเทศที่สูญเสียผลประโยชน์ จากนโยบายทางด้านภาษีของเธอ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติ ศรีมุลยานีไม่ยอมประนีประนอมกับเครือข่ายธุรกิจที่ทรงอิทธิพล ทั้งยังดำเนินการสอบสวนอย่างจริงจังในคดีที่เกี่ยวกับการเลี่ยงภาษีของ อาณาจักรธุรกิจของเขาอีกด้วย

นอกจากแรงกดดันจากผู้ทรงอิทธิพลทาง ธุรกิจของประเทศแล้ว การเดินหน้าจัดการกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นโดยเฉพาะทางด้านภาษีของศรีมุลยานี นั้นยังกระทบผลประโยชน์ของบรรดานักการเมืองจำนวนมาก จนเป็นเหตุให้เธอถูกกดดันจากสภาผู้แทนฯอีกด้วย

แต่สื่อมวลชนและ ประชาชนอินโดนีเซียต่างชื่นชมยกย่องเธอ และมองเธอเป็นความหวังที่จะเข้ามาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการเมืองของประเทศ ที่อื้อฉาวไปด้วยเรื่องทุจริตคอรัปชั่น

ในการประชุม รัฐมนตรีคลังอาเซียนที่บาหลีเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ ผ่านมา ศรีมุลยานีเป็นจุดรวมความสนใจของสื่ออินโดนีเซีย ด้วยกระแสความคาดหวังที่จะเห็นเธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่ง ประธานาธิบดีของประเทศในการเลือกตั้งที่จะมาถึงในอีกสามปีข้างหน้า

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker