บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ผลัดใบไม่พอ ต้องปลูกใหม่ทั้งต้น

ที่มา มติชน



โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 1 สิงหาคม 2554)


คน ทำสื่อจากภาคใต้คนหนึ่งบอกผมว่า แม้ ปชป.กวาดที่นั่งทางใต้ได้หมดก็จริง แต่คะแนนเสียงของผู้ชนะกลับลดลง (กว่าการเลือกตั้งครั้งก่อน) เป็นส่วนใหญ่ แสดงว่ามีแฟน ปชป.ที่ไม่ได้ลงคะแนนให้ ปชป.จำนวนหนึ่ง ส่วนหนึ่งคงเลือกพรรคอื่น อีกส่วนหนึ่งอาจโหวตโน (ซึ่งได้การสนับสนุนน้อยจนน่าสงสาร) และอีกส่วนหนึ่งนอนอยู่บ้านเฉยๆ

อะไร ในโลกนี้มันก็บ่แน่หรอกนาย ภาคใต้อาจไม่ใช่ของ ปชป.อย่างเด็ดขาดในอนาคตก็ได้ อันที่จริง ปชป.เพิ่งครอบครองภาคใต้อย่างเป็นชิ้นเป็นอันครั้งแรกในการเลือกตั้ง 2519 และในการเลือกตั้งที่ ปชป.ตกอับที่สุดในการเลือกตั้ง 2522 จำนวน ส.ส.ที่ได้จากภาคใต้ก็ลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง หรือน้อยกว่าครึ่งหนึ่งที่เคยได้ในการเลือกตั้ง 2531

การ ครองภาคใต้อย่างเด็ดขาดของ ปชป.นั้นเปราะบาง จำเป็นต้องมีการปกป้องอย่างแข็งขันและปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดมา คนใต้ไม่เลือกเสาไฟฟ้าอยู่บ่อยๆ

ในระดับประเทศ ปชป.ไม่เคยชนะการเลือกตั้งมาเกือบ 20 ปีแล้ว และหันไปดูว่าตลอด 20 ปีนี้ เกิดอะไรขึ้นในการเมืองเรื่องเลือกตั้งของไทย ก็จะพบว่า มีแนวโน้มของการรวมกลุ่มกันของผู้กุมคะแนนเสียงในแต่ละภาคและจังหวัด ตั้งขึ้นเป็นพรรค หรือขยายจากพรรคขนาดกลางขึ้นเป็นพรรคขนาดใหญ่ ปชป.ไม่เคยเอาชนะพรรคใหญ่ที่เป็นคู่แข่งได้เลย ที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ก็ด้วย "อุบัติเหตุ" ทางการเมือง

ความพ่าย แพ้ในครั้งนี้ อาจหนักข้อกว่าทุกครั้งด้วย เพราะค่อนข้างชัดเจนว่า จำนวนไม่น้อยของคะแนนเสียงที่พรรคคู่แข่งได้ไป มาจากคนที่ตั้งใจจะไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ จึงไม่เคยมีครั้งไหนที่ประชาธิปัตย์พ่ายแพ้ด้วยความสะใจของผู้คนเท่าครั้ง นี้

แม้กระนั้น ตราบเท่าที่การเมืองในรัฐสภาไทยยังเป็นอย่างปัจจุบัน ปชป.ก็ยังมีภาษีที่เป็นพรรคฝ่ายค้านเพียงพรรคเดียวที่คนเชื่อว่ามีศักยภาพจะ ตั้งรัฐบาลแข่งได้ แต่พอถึงเดือน พ.ค.ปีหน้า คนบ้านเลขที่ 111 ก็จะได้รับการปลดปล่อยสู่เวทีการเมืองใหม่ จึงอาจเกิดพรรคใหม่, เกิดการขยายสถานะของพรรคเก่า ฯลฯ

ถึงตอนนั้นภาษีที่ ปชป.มีก็ย่อมลดลงเป็นธรรมดา

ปชป.มี ภาพพจน์หรือมโนภาพที่คนทั่วไปเห็นว่า เป็นพรรคที่ร่วมมือกับอำนาจนอกระบบตลอดมา น่าประหลาดที่ว่ามโนภาพที่ว่า ปชป.เป็นพรรคการเมืองที่ยืนหยัดเพื่อประชาธิปไตยนั้น เกิดขึ้นได้เพราะประเทศไทยตกอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการมายาวนาน ปชป.เป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวที่มีอยู่ (มีแค่เงา) โดยคณะยึดบ้านยึดเมืองไม่ได้ผนวกเข้าไปร่วมถืออำนาจ (ระหว่าง 2491-2516)

แต่พอประชาธิปไตยเริ่มจะมีความสม่ำเสมอในบ้านเมืองมากขึ้น มโนภาพนั้นก็จางลงทุกที

อัน ที่จริง ตั้งพรรค ปชป.ได้ปีเดียว พรรคนี้ก็ร่วมมือกับทหารทำรัฐประหารล้มรัฐธรรมนูญและรัฐบาลที่มาจากการเลือก ตั้งใน พ.ศ.2490 ปชป.ไม่เคยมีประวัติลุกขึ้นต่อสู้กับรัฐบาลทหาร ซ้ำยังพร้อมจะเปิดทางให้ผู้คุมกองทัพขึ้นเป็นนายกฯ ทั้งๆ ที่ตนเองได้รับเลือกตั้งมาจำนวนมากที่สุด เพราะได้ "ข้อมูลใหม่" และท้ายที่สุดก็ยอมเป็นเครื่องมือให้กองทัพจัดตั้งรัฐบาลขึ้นในค่ายทหาร

ตราบ เท่าที่สังคมไทยยอมรับให้อำนาจนอกระบบเข้ามากำกับควบคุมการเมืองได้อย่าง อิสระ ประวัติความร่วมมืออย่างดีกับอำนาจนอกระบบของ ปชป.ก็อาจเป็นจุดแข็ง เพราะ ปชป.คือตัวกลางที่จะประนีประนอมผลประโยชน์ระหว่างชนชั้นนำ กับคนทั่วไปได้โดยสงบราบรื่น

แต่สังคมไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว

เพราะ มีคนจำนวนมากขึ้น (ซึ่งเรียนรู้การจัดองค์กรได้อย่างดีด้วย) ไม่ต้องการให้อำนาจนอกระบบเข้ามาแทรกแซงการเมืองอีกต่อไป ประวัติความสยบยอมของ ปชป.ต่ออำนาจนอกระบบ จึงเป็นจุดอ่อนไป

และน่าจะเป็นจุดอ่อนที่ชัดเจนมากขึ้นแก่คนทั่วไปด้วย

มโนภาพ ด้านอื่นของ ปชป.ไม่ได้ช่วย ปชป.มากนัก เมื่อสังคมไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว เช่น ปชป.คือพรรคของชนชั้นนำ (พรรคนิยมเจ้า, พรรคของข้าราชการ, พรรค "ผู้ดี", พรรคเสรีนิยม-แบบไทย--ฯลฯ), เป็นพรรคที่มีขันติธรรมสูงพอจะอยู่ร่วมกับพรรคเล็กได้ทุกพรรค ไม่ว่าอ้อมกอดของเขาจะเจือกลิ่นเน่าอะไร, อภิปรายได้น่าประทับใจ แต่บริหารงานไม่เป็นนอกจากปล่อยให้ราชการดำเนินงานของตนไป จึงเป็นพรรคที่ไม่มีวิสัยทัศน์

ถึงตอนนี้ ปชป.ต้องเลือกหัวหน้าพรรคใหม่

ถ้า ปชป.เชื่อว่า การเมืองไทยจะไม่เปลี่ยนไปกว่านี้ นั่นคืออำนาจนอกระบบจะเข้ามากำกับควบคุมการเมืองต่อไป โดยที่สังคมยอมรับการแทรกแซงนั้น สมาชิก ปชป. ก็ควรเลือกคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลับมาดำรงตำแหน่งใหม่อีกครั้ง เพราะคุณอภิสิทธิ์นั้นได้รับความไว้วางใจอย่างสูงจากอำนาจนอกระบบทุกประเภท อย่างที่ไม่อาจหาได้จากสมาชิกพรรคทุกคน ทั้งนี้ เพราะคุณอภิสิทธิ์ไม่มีพลังต่อรองอะไรเหลืออยู่

อันที่จริง ไม่มีมนุษย์คนไหนในโลกที่ไม่มีพลังต่อรองเอาเสียเลย แต่ด้วยเหตุใดก็ตาม คุณอภิสิทธิ์ใช้พลังนั้นไม่เป็น นับตั้งแต่ตกอยู่ในอ้อมกอดอำมหิต หากคุณอภิสิทธิ์รู้จักใช้พลังต่อรองของตน พรรคภูมิใจไทยจะไม่ได้ที่นั่งใน ครม.มากเท่านี้ หรือกุมตำแหน่งสำคัญระดับนี้ เพราะถึงคุณอภิสิทธิ์ต้องการพรรคภูมิใจไทยก็จริง แต่พรรคภูมิใจไทยก็ต้องการคุณอภิสิทธิ์เช่นกัน และต้องการยิ่งกว่าด้วย

เมื่อ ขึ้นรับตำแหน่งนายกฯ แรกๆ ดูเหมือนคุณอภิสิทธิ์จะพยายามสร้างความปรองดองให้สำเร็จ เพราะความปรองดองจะเพิ่มพลังต่อรองให้แก่คุณอภิสิทธิ์

แต่แผนปรองดองของคุณอภิสิทธิ์นั้น ทั้งน้อยไปและช้าไป จนกระทั่งเกิดสงกรานต์เลือดขึ้น

นับ จากนั้นคุณอภิสิทธิ์ก็ตกอยู่ในกระดองหอยของกองทัพเต็มตัว ดังนั้น จึงกลายเป็นเพียงเบี้ยตัวหนึ่งของอำนาจนอกระบบเท่านั้น หลังจากนั้นก็พฤษภามหาโหด และชัยชนะถล่มทลายของพรรคเพื่อไทย

ดังนั้น คุณอภิสิทธิ์จึงเป็นเบี้ยที่อำนาจนอกระบบเคยไม้เคยมือ หากได้โอกาสเลือกนายกฯคนใหม่โดยไม่ต้องฉีกรัฐธรรมนูญอีก ชนชั้นนำส่วนหนึ่งย่อมพอใจจะเลือกคุณอภิสิทธิ์ ตราบเท่าที่ยังไม่อาจหาคนอื่นให้เลือกแทนได้

ยิ่งกว่านี้ คุณอภิสิทธิ์ยังมีชนักติดหลังกรณีสังหารหมู่ประชาชนในเหตุ การณ์พฤษภามหาโหด จึงยิ่งอ่อนแอจนไม่มีอำนาจต่อรองอะไรเหลืออยู่เลย ที่เคยเซื่องอยู่แล้ว ก็จะเซื่องขึ้นไปกว่านั้นอีก

แต่ข้อได้เปรียบ ของคุณอภิสิทธิ์ข้อนี้ไม่จีรังยั่งยืนอะไรนัก เพราะชนชั้นนำอยากได้เบี้ยที่ปวกเปียกเช่นนี้หรือ คำตอบคือไม่ใช่ แต่หากเพราะไม่มีตัวเลือกอื่นให้เลือกต่างหาก ถ้าเขาพบใครที่น่าไว้วางใจไม่น้อยไปกว่าคุณอภิสิทธิ์ ซ้ำยังสามารถทำงานให้เป็นที่ถูกใจของประชาชนด้วย (และตัวเขาเองด้วย)

เขาก็ย่อมทิ้งคุณอภิสิทธิ์ แล้วหันไปเลือกคนใหม่

การ เลือกคุณอภิสิทธิ์นั้นมีอันตรายต่อชนชั้นนำและอำนาจนอกระบบ เพราะเป็นการตอกย้ำว่าอำนาจนอกระบบรับรองการล้อมปราบประชาชนในเหตุการณ์พฤษ ภามหาโหด (ซึ่งติดตัวคุณอภิสิทธิ์อย่างแกะไม่ออก ทั้งๆ ที่คุณอภิสิทธิ์เองก็อาจเป็นแค่เหยื่ออีกตัวเท่านั้น) ยิ่งกว่านี้ คุณอภิสิทธิ์บริหารความแตกร้าวและแตกแยกไม่เป็น แม้แต่ในพรรคเองยังแตกแยกกัน (ดังคำให้สัมภาษณ์ของคุณพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล)

ฉะนั้น ในระยะยาวแล้วจึงอาจเป็นอันตรายต่อผลประโยชน์ของชนชั้นนำเอง

และ ดังที่กล่าวในตอนต้น หากเชื่อว่าอำนาจนอกระบบจะเข้ามาอุ้มประชาธิปัตย์ขึ้นเป็นรัฐบาลอีก ก็ขอให้เลือกคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าพรรค แต่ต้องเลือกด้วยความสำนึกด้วยว่า แม้แต่สังคมยังเหมือนเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย เงื่อนไขที่ทำให้คุณอภิสิทธิ์ได้เปรียบในฐานะเบี้ยของชนชั้นนำและอำนาจนอก ระบบ ก็เป็นเงื่อนไขที่ไม่จีรังยั่งยืน

แต่หากสมาชิก ปชป.มองเห็นว่า สังคมไทยไม่เหมือนเดิมเสียแล้ว และกำลังเปลี่ยนไปสู่สภาวะใหม่ซึ่งทำให้ชนชั้นนำและอำนาจนอกระบบมีอิทธิพล น้อยลง ปชป.จะอยู่รอดในสังคมชนิดใหม่นี้ได้ ก็ต้องไม่เลือกคุณอภิสิทธิ์กลับมาเป็นหัวหน้าพรรคอีก

เพราะ ปชป.จะต้องไม่ดำรงอยู่เฉยๆ แต่ต้องเร่งปรับเปลี่ยนตัวเองไปสู่การเป็นพรรคการเมืองที่มีฐานเสียงขยาย กว้างขวางขึ้นทั่วประเทศ เป็นตัวแทนของผลประโยชน์, จุดยืน, หลักการ, หรือกลุ่มคนใดที่ชัดเจน จะไม่ฉวยโอกาสชิงอำนาจด้วยการร่วมมือกับอำนาจนอกระบบอีกต่อไป

ถ้า อย่างนั้นก็ต้องคิดอะไรให้กว้างกว่าแค่หัวหน้าพรรค แต่ต้องคิดถึงการบริหารพรรคเพื่อจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนดังกล่าว แม้จะต้องเสียคะแนนของชาวใต้ในบางท้องที่ไปบ้าง ก็ต้องยอม เพราะถ้าสังคมกำลังเปลี่ยนจริง ในที่สุด ปชป.ก็จะได้แฟนหน้าใหม่เข้ามาอีกมาก

เพื่อการนี้ต้องทำอะไรกันอีกบ้างนั้นไม่สามารถคิดแทนได้ แต่แค่หัวหน้าพรรคไม่ใช่คำตอบ

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker