บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เตือนกรุงเทพ-มหานครเอเชีย เสี่ยง 'โคตรพายุ'

ที่มา Voice TV

 เตือนกรุงเทพ-มหานครเอเชีย เสี่ยง 'โคตรพายุ'



ผู้เชี่ยวชาญออกโรงเตือนภัย มหานครริมฝั่งทะเลทั่วเอเชีย รวมทั้งกรุงเทพ ไม่มีขีดความสามารถมากพอที่จะรับมือโคตรพายุในระดับเดียวกับแซนดี้ เหมือนอย่างนิวยอร์กได้

มหานครนิวยอร์กมีความพร้อมที่รับมือผลกระทบจากพายุลูกใหญ่ที่รุนแรง เพราะมีระบบวิศวกรรมโยธาที่ดี มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐก็มีกำลังเงิน

แต่บรรดาเมืองตลอดแนวชายฝั่ง ตั้งแต่ประเทศจีนไปจนถึงทะเลอาหรับ ล้วนเติบโตอย่างพรวดพราด ขาดการวางผังเมือง ไร้ระบบและไม่มีระเบียบ

บ็อบ วอร์ด ผอ.ฝ่ายนโยบายของสถาบันวิจัยแกรนแธมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสภาพ แวดล้อม ในกรุงลอนดอน บอกว่า เมืองเหล่านี้มีการขยายตัวเร็วมาก ไม่เพียงแต่มีความเสี่ยงต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น แต่ยังเสี่ยงต่อพายุไซโคลนเขตร้อนด้วย และยังมีคนจนจำนวนมากอาศัยอยู่ในบ้านเรือนที่ไม่มั่นคงแข็งแรง

รายงานของโออีซีดีฉบับหนึ่งเมื่อปี 2550 ระบุว่า โลกมีเมืองท่า 20 แห่ง ซึ่งตกอยู่ในความเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วมชายฝั่งภายในปี ค.ศ. 2070

ในจำนวนนี้เป็นเมืองของเอเชีย 15 แห่ง โดย 8 อันดับแรกนำโดยกัลกัตตา ตามด้วยมุมไบ, ธากา, กวางโจว, โฮจิมินห์, เซี่ยงไฮ้, กรุงเทพ (อันดับ 7) และย่างกุ้ง

ในเอเชียยังมีความเสี่ยงอีกหลายเมือง คือ ไฮฟอง (อันดับที่ 10), เทียนจิน (อันดับ 12), กุลนาในบังกลาเทศ (อันดับ 13), หนิงโปในจีน (อันดับ 14), จิตตกอง  (อันดับ 18), โตเกียว (อันดับ 19) และจาการ์ตา (อันดับ 20) ทั้งนี้ นิวยอร์กอยู่ในอันดับที่ 17

ซูซาน แฮนสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชายฝั่ง แห่งศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทินดอล ในอังกฤษ บอกว่า ปัจจัยที่ทำให้บรรดามหานครของเอเชียมีความเสี่ยงต่อโคตรพายุอย่างแรกคือ ระดับน้ำทะเลซึ่งจะสูงขึ้น 20 นิ้วภายในค.ศ. 2070 อย่างที่สองคือ คลื่นพายุหมุนซัดฝั่ง หรือ storm surge จากพายุไซโคลน ซึ่งทำให้เกิดฝนตกหนัก

Source : AFP
31 ตุลาคม 2555 เวลา 13:50 น.

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

'แซนดี้'ไม่สิ้นฤทธิ์ ถล่มนิวยอร์กจมบาดาล

ที่มา Voice TV

 'แซนดี้'ไม่สิ้นฤทธิ์ ถล่มนิวยอร์กจมบาดาล

 อิทฤทธิ์แซนดี้ เหลือกำลัง ซัดสหรัฐฯอ่วมอรทัย CNN รายงานยอดคนตาย 11 ราย ขณะที่ตัวเลขไม่เป็นทางการพุ่งถึง 58 ศพ สูญเสียใหญ่หลวง ตลาดหุ้นสหรัฐต้องปิดอีกครั้งในรอบ 27 ปี 




วันนี้ (30 ต.ค.) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองแอตแลนติก ซิตี รัฐนิวเจอร์ซีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า แม้พายุเฮอริเคนแซนดี้ จะอ่อนกำลังลง ซึ่งการก่อตัวของพายุครั้งนี้ มีอีกชื่อว่า "แฟรงเก้นสตอร์ม" หรือ "ซูเปอร์สตอร์ม" เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่รัฐนิวเจอร์ซีย์แล้ว ในวันนี้ พร้อมสร้างสถิติก่อให้เกิดคลื่นพายุซัดฝั่งสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 13 ฟุต


รายงานของศูนย์เตือนภัยพายุหมุนแห่งชาติ (เอ็นเอชซี) ระบุว่า ช่วงเวลาประมาณเที่ยงคืน ตามเวลาท้องถิ่น หรือประมาณ 07.00 น. เช้าวันที่ 30 ต.ค. ตามเวลาในไทย พายุลูกดังกล่าวเคลื่อนที่ด้วยความเร็วลมศูนย์กลาง 135 ก.ม./ชม. เข้าสู่ชายฝั่งเมืองแอตแลนติก ซิตี รัฐนิวเจอร์ซีย์ ส่งผลให้เกิดฝนตกกระหน่ำ น้ำท่วมฉับพลัน และลมกระโชกแรงจนต้นไม้หักโค่น ไล่ตั้งแต่รัฐนอร์ทแคโรไลนา ไปจนถึงรัฐเมน


นอกจากนี้ อิทธิพลรุนแรงของพายุทำให้ประชาชนในแถบตะวันออกของสหรัฐกว่า 2.8 ล้านคน ใน 11 รัฐ รวมถึงกรุงวอชิงตัน ประสบภาวะขาดแคลนกระแสไฟฟ้า รวมถึงมีรายงานผู้เสียชีวิตแล้ว 5 ศพ ในจำนวนนี้ 1 ศพพบในเขตควีนส์ ของนครนิวยอร์ก เป็นชายซึ่งเสียชีวิตจากการถูกต้นไม้ล้มทับ อย่างไรก็ตาม ยังพบว่ายอดรายงานผู้เสียชีวิต อย่างเป็นทางการ อ้างการรายงานจาก CNN ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตในสหรัฐฯจำนวน 11 ราย ในแคนาดา 1 ราย แต่ขณะเดียวกันมีรายงานไม่เป็นทางการว่ายอดผู้เสียชีวิตอาจจะถึง 58 รายแล้ว



เอ็นเอชซีประเมินด้วยว่า การที่พายุยังคงมีเคลื่อนที่ได้เร็วเท่าพายุเฮอริเคน แม้จะอ่อนกำลังลงบ้าง เกิดจากการที่ที่พายุเคลื่อนตัวเข้ารวมกับมวลอากาศเย็นในมหาสมุทร จึงอาจทำให้เกิดหิมะตกหนักได้เช่นกัน โดยรัฐเวอร์จิเนียอาจต้องเผชิญหิมะตกหนักถึง 3 ฟุต ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า มีเครนก่อสร้างในแมนฮัตตันหักเสียหาย เจ้าหน้าที่เข้าควบคุม เบื้องต้นคาดว่า อาจเกิดจากกระแสลมแรงพัด แต่ไม่พบรายงานผู้บาดเจ็บจากเหตุดังกล่าว



ขณะเดียวกัน ทางการนครนิวยอร์กประกาศตัดกระแสไฟฟ้าในเขตแมนฮัตตันตอนล่าง ที่มีพลเมืองอาศัยอยู่ราว 6,500 คน เนื่องจากเริ่มมีน้ำท่วมขังในพื้นที่แล้ว พร้อมกับประกาศห้ามมิให้ประชาชนออกนอกเคหะสถานเด็ดขาด ส่วนตลาดหลักทรัพย์นครนิวยอร์กประกาศปิดทำการต่ออีก 1 วัน โดยเปิดการซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เน็ทเท่านั้น นับเป็นการปิดทำการครั้งแรกในรอบ 27 ปี หลังพายุเฮอริเคน "กลอเรีย" ถล่มสหรัฐเมื่อปี 2528



ส่วนสายการบินชั้นนำของโลกหลายสายยังคงระงับให้บริการเที่ยวบินสู่สหรัฐ โดยเฉพาะเที่ยวบินที่มีจุดหมายปลายทางสู่ภาคตะวันออก ไม่ว่าจะเป็น บริติช แอร์เวย์ส, เวอร์จิ้น แอตแลนติก, กาตาร์ แอร์เวย์ส, เอมิเรตส์, ลุฟท์ฮันซ่า, แควนตัส และเตอร์กิช แอร์ไลน์ส, ขณะที่ ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ส หนึ่งในสายการบินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ ประกาศระงับเที่ยวบินในประเทศ 3,700 เที่ยวบิน จนถึงวันที่ 31 ต.ค. ส่วนอเมริกัน แอร์ไลน์ส และเดลต้า แอร์ไลน์ส ระงับเที่ยวบินเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของประเทศ


ด้านประธานาธิบดีบารัค โอบามา และนายมิตต์ รอมนีย์ 2 ผู้สมัครตัวเต็งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 พ.ย. ต่างระงับการเดินสายรณรงค์หาเสียงที่เหลือทั้งหมด โดยโอบามาเดินทางจากรัฐฟลอริดากลับไปยังทำเนียบขาว และแถลงทันทีว่า รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่าง เต็มที่ พร้อมกับขอร้องให้ประชาชนปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด และให้คำมั่นว่า ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะไม่ทอดทิ้งประชาชน และจะให้ความช่วยเหลืออย่างสุดความสามารถ

ขณะที่รอมนีย์ซึ่งอยู่ที่รัฐโอไฮโอ ได้บริจาคเงินส่วนตัวจำนวนหนึ่งเพื่อเริ่มกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมกับเปิดรับบริจาคสิ่งของที่ศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง "วิกตอรี่ เซ็นเตอร์" ของเขาแล้ว

ส่วนการรายงานความเสียหาย เบื้องต้นคาดการณ์ว่า เหตุการณ์พายุถล่มครั้งนี้ จะทำให้เสียหายมากถึง 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อชาวอเมริกันกว่า 60 ล้านคน หรือราว 1 ใน 5 ของประเทศ.

Source : Time News Feed

30 ตุลาคม 2555 เวลา 11:33 น.

ลาว เตรียมเปิดให้บริการ 4G เร็วกว่า 3G ถึง 5 เท่า

ที่มา Voice TV

 ลาว เตรียมเปิดให้บริการ 4G เร็วกว่า 3G ถึง 5 เท่า



ลาว เตรียมเปิดให้บริการ 4G แล้ว ในเวทีการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 9 เร็วกว่าระบบ 3G ถึง 5 เท่า ชาวลาวเฮเตรียมใช้หลังจบประชุม

บ.ลาว เทเลคอมมูนิเคชั่น ได้เปิดให้บริการ 4G แล้วเมื่อวานนี้ โดยเปิดให้ใช้ในกรุงเวียงจันทร์ สำหรับการเวทีการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 9 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 5-6 พ.ย.นี้ ซึ่งเร็วกว่าระบบ 3G ถึง 5 เท่า ทั้งนี้การให้บริการต่อประชาชนทั่วไปจะได้ใช้หลังจบการประชุมสัปดาห์หน้า
30 ตุลาคม 2555 เวลา 08:43 น.

เรื่องจริงไม่อิงนิยายของราชสำนักกัมพูชา (2): ชายาของพ่อ

ที่มา ประชาไท




พระบาทสมเด็จสุรมฤต และพระนางกุสุมะ นารีรัตน์ ในพิธีราชาภิเษก ปี พ.ศ.2498
กษัตริย์สีหนุ กับพระบิดาและพระมารดา

หลังจากที่เจ้ารณฤทธิ์ประสูติ มารดาของท่านได้อำลาจากที่พำนักบนถนนสุธารถไปใช้ชีวิตอยู่ในเมือง สนมคนงามวัย 22 ปี ผู้จดทะเบียนสมรสกับกษัตริย์สีหนุ ในปี 2485 ไม่ได้รับการเหลียวแลจากสามีที่หันไปหลงใหลสตรีอื่น
ในที่สุด เนียก โมเนียง พัต กันฮอล มารดาของเจ้ารณฤทธิ์ตัดสินใจตัดขาดความสัมพันธ์กับกษัตริย์สีหนุ และแต่งงานใหม่กับนายทหารชื่อจาบ ฮวด (Chap Huot) ทั้งสองมีลูกด้วยกัน 5 คน ลูก 4 คนของทั้งสองตายในช่วงการยึดครองของเขมรแดง ลูกคนเดียวที่เหลือรอดชีวิตมาได้คือ จาบ เนลีวอล (Chap Nhalyvoul)  ส่วนพัต กันฮอลเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ในปี พ.ศ.2512 ในวัย 49 ปี ร่างของเธอถูกฝังไว้ที่กรุงพนมเปญ จาบ ฮวด สามีใหม่ของเธอตายในปีต่อมาในเหตุการณ์ลอบวางระเบิดก่อนที่กษัตริย์สีหนุจะ ถูกโค่นราชอำนาจในปีเดียวกัน
จาบ เนลีวอล น้องชายต่างบิดาของเจ้าชายรณฤทธิ์ เกิดในปี พ.ศ.2495 ตอนที่สูญเสียทั้งบิดามารดานั้นเขายังอยู่ในช่วงเป็นวัยรุ่น เนลีวอลได้รับการศึกษาในฝรั่งเศสเช่นเดียวกับเจ้ารณฤทธิ์  และได้เข้าร่วมในการต่อต้านการปกครองของระบอบเฮง สัมริน ที่สนับสนุนเวียดนาม  หลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ.2541 เนลีวอลได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเสียมเรียบ เขาเล่าให้ Harish C. Mehta ผู้เขียนหนังสือ “Warrior Prince” ฟังว่าในช่วงเวลานั้น “เสียมเรียบของเรากำลังคืนกลับมาสู่ความมีชีวิตชีวา มีนักท่องเที่ยวหลายพันคนแห่กันมาดูซากปรักหักพังของนครวัด”
เมื่อเติบโตและหันไปมองย้อนอดีตความสัมพันธ์ระหว่างบิดาและมารดา  เจ้ารณฤทธิ์พบว่ามีเหตุผลมากมายที่กษัตริย์สีหนุจะไม่สนใจที่เหนี่ยวรั้ง มารดาของท่านไว้ในฐานะพระสนมของพระเจ้าแผ่นดินอีกต่อไป
“โอ! ถ้าคุณมีภรรยา 6 คนนี่ มีเหตุผลมากพอทีเดียว...มีคนบอกกับข้าพเจ้าว่าพ่อมีเหตุผลมากพอทีเดียว และท่านมีภรรยาแค่ 6 คน เพราะปู่ของข้าพเจ้ามีสนมตั้ง 360 คน มีเวลาว่างแค่ 5 วันในหนึ่งปี”
พระคลังหลวงตั้งงบประมาณไว้สำหรับค่าใช้จ่ายและการเลี้ยงดูชายาและสนมรวม ทั้งโอรสและธิดาของพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นภาระที่หนักมากของพระคลัง
กษัตริย์สีหนุมีชายาและสนม 6 คน และมีโอรสธิดารวม 14 คน
ชายาที่ให้กำเนิดโอรสและธิดากับกษัตริย์สีหนุมากที่สุด คือ เจ้าหญิงพงสานมุนี ผู้มีศักดิ์เป็นเจ้าน้าของพระองค์ด้วย ทั้งสองสมรสกันปี 2485 และหย่าขาดจากกันปี 2494 มีโอรสธิดาด้วยกันรวม 7 คน เจ้าหญิงพงสานมุนี สิ้นในปี พ.ศ.2517
พระญาติอีกสองท่านที่กลายมาเป็นชายาของกษัตริย์สีหนุ คือ เจ้าหญิงมุนีเกสร (Princess Monikessan) และเจ้าหญิงถาเวท นรลักษณ์ (Norodom Thavet Norleak) เจ้าหญิงนรลักษณ์ได้หย่ากับเจ้านโรดม วกรีวรรณ (Norodom Vakrivan) ในปี พ.ศ.2488 และเสกสมรสกับกษัตริย์สีหนุในปีต่อมา
ความทรงจำในวัยเด็กของเจ้ารณฤทธิ์ต่อบรรดาชายาและพระสนมของพระบิดา คือ
“ต่างคนต่างอยู่ ไม่สมาคมกัน ข้าพเจ้าไม่เคยพบเจ้าหญิงมุนีเกสร เพราะท่านสิ้นตอนที่นรธีโป (Naradipo) เกิดเมื่อปี พ.ศ.2489 ข้าพเจ้ารู้สึกใกล้ชิดกับภรรยาของพ่อทุกคน ซึ่งทุกคนเมตตาข้าพเจ้ามาก เป็นความโชคดีของข้าพเจ้า”
ส่วนความสัมพันธ์ในระหว่างพี่น้องร่วมพระบิดา คือ เจ้าชายนรทีโป เจ้าชายจักรพงศ์ (Prince Chakkrapong)  เจ้าหญิงอรุณรัศมี  (Princess Arunrasmey) และเจ้าหญิงสุชาตา (Princess Suchata) นั้น เจ้าชายรณฤทธิ์เล่าว่า
“ตอนเป็นเด็ก พวกเราพบกันบ่อย  ข้าพเจ้าสนิทกับอรุณรัศมีและสุชาตามาก เราโตมาด้วยกัน เพราะตอนที่พ่อพาหม่อมมุนีวรรณ (Princess Mam Manivann) ซึ่งเป็นมารดาของทั้งสองคนมาจากลาวนั้น พ่อเอาหม่อมมาฝากไว้ในความดูแลของเจ้าย่า”
ในปี พ.ศ.2544 ที่กษัตริย์สีหนุและพระราชินีโมนิกประทับอยู่ที่ฝรั่งเศสนั้น ชายาอีกท่าน คือ เจ้าหญิงถาเวท นรลักษณ์ อยู่ที่ฝรั่งเศสด้วย    แต่ท่านมีปัญหาด้านสุขภาพ จึงมีเพียงราชินีโมนิกที่อยู่เคียงข้างกษัตริย์สีหนุตลอดเวลา  เจ้าชายรณฤทธิ์เล่าว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสามคนนั้นราบรื่น  เจ้าหญิงนรลักษณ์ ยังคงติดต่อกับสมเด็จเจ้านโรดม สีหนุ ทั้งสองเขียนจดหมายถึงกันตลอดช่วง 30 ปีนับตั้งแต่กษัตริย์สีหนุถูกยึดอำนาจเมื่อปี พ.ศ.2517 ข้าราชบริพารใกล้ชิดของกษัตริย์สีหนุ เล่าว่า
“เจ้าหญิงนรลักษณ์ส่งของขวัญวันเกิดและใน วาระพิเศษอื่นๆ เช่น เทศกาลปีใหม่ของกัมพูชา มาถวายสมเด็จนโรดม สีหนุ อยู่เสมอ และพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงส่งของขวัญวันเกิดและเงินไปให้อดีตชายาอยู่เสมอเช่น กัน”
ส่วนราชินีโมนิกนั้นเปิดพระทัยกว้างและไม่เคยขัดขวางการติดต่อทางจดหมาย ระหว่างกษัตริย์สีหนุและอดีตชายา บางครั้งพระนางยังได้เขียนข้อความต่อท้ายและร่วมลงพระนามในจดหมายที่สมเด็จ เจ้านโรดม สีหนุ เขียนถึงเจ้าหญิงนรลักษณ์ด้วย
ราชินีโมนิก เกิดในปี พ.ศ.2479 เป็นสาวงามที่โดดเด่นอยู่ในสังคมพนมเปญด้วยความงามจากสายเลือดผสมอิตา เลี่ยน-ฝรั่งเศส (Franco-Italian) ของบิดา Francois Izzi และเลือดผสมเขมร-เวียดนาม ของมารดา ปอมมี เป็ง (Pomme Peang) ความงามเจิดจรัสจับตาในวัยสาวของพระนางโมนิกทำให้กษัตริย์แห่งกัมพูชาคลั่ง ไคล้หลงใหลนับแต่แรกพบ
บรรยากาศในพระราชวังนั้นเต็มไปด้วยพิธีรีตอง การเข้าเฝ้าของบรรดาโอรสธิดาจะต้องได้รับพระราชทานอนุญาตจากกษัตริย์สีหนุ ก่อน พระบิดามักโปรดให้โอรสธิดาร่วมเสวยพระกายาหารกลางวันและมื้อค่ำ และมักจะทรงเล่นแซกโซโฟนให้ลูกๆ ฟัง  สมเด็จนโรดม สีหนุไม่โปรดอาหารเขมร  พระองค์ทรงโปรดอาหารฝรั่งเศส และอาหารบนโต๊ะเสวยจะเป็นอาหารฝรั่งเศสทั้งหมด  เจ้ารณฤทธิ์ก็โปรดอาหารฝรั่งเศสเช่นเดียวกับพระบิดา
เจ้ารณฤทธิ์ไปที่พระราชวังบ่อย แต่ไม่ได้ไปเข้าเฝ้าพระบิดา ท่านไปเยี่ยมสมเด็จปู่และสมเด็จย่า คือ สมเด็จเจ้าสุรมฤต และพระนางกุสุมะ นารีรัตน์ ทั้งสองพระองค์โปรดปรานรักใคร่เจ้าชายรณฤทธิ์และเจ้าหญิงบุปผาเทวีมาก นอกจากสืบสายเลือดศิลปินจากมารดาแล้ว เจ้าหญิงบุปผาเทวียังได้รับอิทธิพลจากสมเด็จย่าที่อนุรักษ์นาฏศิลป์เขมรราช สำนักไว้
กษัตริย์สีหนุเป็นผู้ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสได้อย่างคล่องแคล่วรวมทั้งคลั่งใคล้ความเป็นฝรั่งเศส ซึ่งได้ตกทอดมาถึงลูกๆด้วย
ความทรงจำในวัยเด็กของเจ้ารณฤทธิ์ที่มีต่อ ความสัมพันธ์กับพ่อ คือ ลูกๆ ของกษัตริย์สีหนุถูกเข้มงวดในเรื่องการศึกษา และไม่ค่อยมีโอกาสได้ตามเสด็จพระบิดา “พ่อไม่เคยพาพวกเราออกไปทานอาหารนอกบ้านเหมือนพ่อแม่คนอื่น”
ครั้งหนึ่ง เจ้ารณฤทธิ์มีโอกาสตามเสด็จไปพักผ่อนที่บ้านพักตากอากาศสไตล์ฝรั่งเศส ริมทะเล Kep และเกาะรอบๆ ที่อยู่ในภาคใต้ของกัมพูชา
“พวกเราไม่เคยไปเที่ยวด้วยกันเป็นส่วนตัว แบบพ่อลูก ข้าพเจ้าจะติดตามไปพร้อมกับหม่อมมุนีวรรณ หรือไม่ก็พระนางโมนิก กับพ่อนี่ พวกเราไม่สามารถที่จะแลกเปลี่ยนแสดงความเห็นได้เลย พ่อพูดมากและคุ้นเคยกับการแสดงความเห็นของตัวเองให้ผู้ติดตามฟัง แต่ข้าพเจ้าไม่ได้รู้สึกเบื่อกับประเด็นสนทนาของพ่อ เพราะข้าพเจ้าสนใจเรื่องการเมืองมาตั้งแต่เป็นเด็กแล้ว”
แต่สิ่งที่ร้าวรานอยู่ในความทรงจำของเจ้ารณฤทธิ์นั้น คือ พระบิดาไม่เคยพูดจาสื่อสารตรงกับท่านแบบพ่อกับลูกชายเลย
“พ่อจะพูดกับลูกทั้งหมดพร้อมๆ กัน พ่อรักการเมืองมาก พระองค์เป็นนักการเมืองที่ยิ่งใหญ่ของกัมพูชา แต่พ่อไม่ต้องการให้ลูกๆ เข้ามาสู่การเมือง จึงมักจะหลีกเลี่ยงไม่พูดถึงเรื่องการเมืองกับพวกเรา”
เจ้ารณฤทธิ์ถูกส่งเข้าเรียนครั้งแรกที่โรงเรียนประถมศึกษาของกัมพูชา ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆกับบ้านบนถนนสุธารถ ท่านได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับเด็กนักเรียนคนอื่นๆ ไม่มีการจัดเตรียมห้องเรียนพิเศษ หรือครูพิเศษสำหรับท่านเป็นการเฉพาะ ต่อมา ท่านถูกส่งไปเรียนที่โรงเรียนนโรดม ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมศึกษาที่มีการเรียนการสอนระบบฝรั่งเศส และย้ายไปเรียนที่ Lycee Descartes เจ้ารณฤทธิ์ทำคะแนนได้ดีในวิชาวรรณคดี ประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ แต่ได้คะแนนต่ำมากในวิชาคณิตศาสตร์และเคมี  ท่านเป็นนักกีฬาเช่นเดียวกับพระบิดา เจ้ารณฤทธิ์ชอบเล่นฟุตบอลและบาสเกตบอล
เจ้าชายรณฤทธิ์มีชันษาเพียง 11 ปีเมื่อพระบาทสมเด็จนโรดม สีหนุทรงสละราชสมบัติครั้งแรกในปี 2498 เจ้าชายจำได้ว่าวันนั้นน้ำตาท่วมวัง
“สิ่งที่ข้าพเจ้าจำได้คือทั้งเจ้าปู่และเจ้าย่าร้องไห้อย่างหนัก ได้ยินเสียงร่ำไห้ทุกที่ ไม่มีใครอยากให้พ่อสละราชย์”
แต่กษัตริย์สีหนุตัดสินพระทัยแน่วแน่ที่จะลงไปเล่นการเมืองกับสามัญชน ทรงยกราชบังลังก์กัมพูชาให้กับพระบิดาของพระองค์ คือ เจ้าชายสุรมฤต ส่วนพระองค์ที่กลายเป็นอดีตกษัตริย์สีหนุเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ชื่อ พรรคสังคมราษฎรนิยม (Sangkum Reastr Niyum) ในอีกไม่กี่เดือนต่อมา และทรงชนะเลือกตั้งในปีนั้นเอง

จอน อึ๊งภากรณ์: หลักประกันสุขภาพของไทย จากอดีดสู่อนาคต

ที่มา ประชาไท



ระบบหลักประกันสุขภาพของไทย   หมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์และคณะ เป็นผู้คิดริเริ่มศึกษาวิจัย และแสดงถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน 11  เครือข่าย เป็นผู้ออกแบบระบบในหลักการสำคัญ โดยการร่างเป็นกฎหมายประชาชนที่มีเนื้อหานวัตกรรม (รวมทั้งมาตรา 41 ที่เลื่องลือ) และได้ขับเคลื่อนรณรงค์ทั่วประเทศจนได้ลายเซ็นสนับสนุนพร้อมสำเนาบัตร ประชาชนและทะเบียนบ้านกว่า 9 หมื่นคน  พรรคไทยรักไทยโดยการผลักดันของหมอสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี และความเห็นชอบของคุณทักษิณ ชินวัตร ได้กำหนดไว้เป็นนโยบายของพรรคภายใต้คำขวัญ “30 บาทรักษาทุกโรค” และได้นำเอาร่างกฎหมายของภาคประชาชนไปดัดแปลงบางส่วน แล้วผลักดันเป็นร่างกฎหมายของรัฐบาลผ่านรัฐสภาจนคลอดเป็นระบบหลักประกัน สุขภาพของไทยเมื่อสิบปีที่แล้วพอดี
สิบปีที่ผ่านมา ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนก้าวหน้าไปกว่าระบบ การรักษาพยาบาลของประกันสังคม และมีประสิทธิภาพมากกว่าสวัสดิการรักษา พยาบาลของข้าราชการ ในปัจจุบันสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติครอบคลุมถึงการ รักษาโรคที่รักษาแพงเช่นโรคไตวายเรื้อรัง โรคเอดส์ และมะเร็งต่างๆ ซึ่งมีผลช่วยชีวิตคนจำนวนนับแสนที่สมัยก่อนอาจต้องเสียชีวิตไปเพราะไม่มี เงินค่ารักษา ระบบหลักประกันสุขภาพยังได้ช่วยครอบครัวรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางจำนวนมาก ให้สามารถหลีกเลี่ยงการล้มละลายหรือการสูญเสียที่ดินหรือทรัพย์สินจำนวนมาก เพื่อรักษาสมาชิกครอบครัวที่เป็นโรคเรื้อรังรักษาแพง ทั้งยังได้ช่วยสนับสนุนให้ประชาชนได้ตรวจสุขภาพและอาการที่ไม่ปกติต่างๆ ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อรักษาให้ทันท่วงที
ระบบหลักประกันสุขภาพของไทยเป็นการยืนยันหลักการว่า การรักษาสุขภาพเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ไม่ใช่บริการที่จะจำหน่ายให้ตามจำนวนเงินในกระเป๋า มาตรฐานและคุณภาพการรักษาย่อมเท่าเทียมกันทุกคนไม่ว่ารวยหรือจน และมุ่งสู่การรักษาให้สามารถคงคุณภาพชีวิตที่ดี  ทุกคนจะได้รับการรักษาสุขภาพตามความจำเป็น โดยทุกคนได้จ่ายค่าประกันสุขภาพตามกำลังความสามารถของตนในรูปแบบของภาษี
เมื่อเครือข่ายภาคประชาชนได้ผลักดันระบบหลักประกันสุขภาพของไทยให้คลอดจน สำเร็จ ในส่วน การเข้าไปมีส่วนร่วมของภาคประชาชนก็ได้มีการพัฒนามาโดยตลอด ตั้งแต่การเลือกผู้แทนเข้าไปมีบทบาทสำคัญในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติและคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข การจัดตั้งศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนและหน่วยรับเรื่องร้อง เรียนอิสระทั่วประเทศ ตลอดจนการรวมตัวกันเป็นกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพในทุกภูมิภาคเพื่อพิทักษ์ รักษาระบบไม่ให้ถูกกลุ่มผลประโยชน์ด้านการขายบริการทางการแพทย์มาทำลาย
เพื่อเป็นการสาธิตบทบาทของภาคประชาชนในพื้นที่ ผมขอคัดข้อความจากรายงานทางอีเมล์ที่ส่งในเครือข่ายภาคประชาชนเมื่อไม่นานมา นี้มาให้อ่าน จะช่วยให้เห็นภาพชัดเจน
กรณีนี้เป็นเรื่องหมอไล่คนไข้กลับบ้าน คือไปรักษาด้วยอาการเบาหวานขึ้นสูง ไปโรงพยาบาลติดกัน 3 ครั้งด้วยอาการเดิมและหนักขึ้น โดยรพ.ไม่รับเป็นผู้ป่วยใน แต่อาการกลับแย่ลง จนกระทั่งครั้งที่ 4 อาการหนักขึ้น เมื่อพาไปถึงโรงพยาบาลแพทย์ทำการช่วยเหลือและพบว่าเสียชีวิตแล้ว ศูนย์ฯ(ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน) รับเรื่องแล้วรีบลงไปพื้นที่  “เห็นแล้วก็สังเวชมากตอนเอาศพไปไว้ที่วัดลูก 8 เดือนพยายามคลานไปเปิดนมกิน เขาจนมาก เจ้าหน้าที่ศูนย์ต้องร่วมลงขันเพื่อช่วยเหลือ แล้วก็ช่วยทำหนังสือร้องไปที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.) แต่เนื่องจากกรณีนี้ไม่ได้ตายที่โรงพยาบาลเพราะไปไม่ถึง(ตายกลางทาง) เจ้าหน้าที่สสจ.และอนุกรรมการมาตรา41 ประสานเสียงยืนยันว่าจ่ายไม่ได้ (หมายถึงเงินช่วยเหลือเบื้องต้นที่ให้แก่ผู้รับบริการ ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล) เพราะไม่เกี่ยวกับโรงพยาบาล มีเราคนเดียวในฐานะอนุกรรมการ ม.41 ยืนยันว่าจ่ายได้ แต่อนุกรรมการ ม.41 จังหวัดไม่ยอม ศูนย์ฯเลยอุทรณ์จนได้รับเงินเยียวยามาสองแสน แต่ศูนย์ก็ยังไม่หมดภาระ เพราะผัวมีเมียใหม่แล้ว แม่คนตายก็ยังอยู่ ย่าที่เลี้ยงหลานอีก งานนี้ศูนย์เลยใช้วิธีเชิญทั้งผัว แม่ตัว แม่ผัวของคนตายมาคุยกัน แล้วก็ตั้งคำถามว่าใครจะเป็นผู้เลี้ยงเด็กทั้งสองคน ปรากฎว่าผัวบอกเลี้ยงไม่ไหว แม่ตัวก็เลี้ยงไม่ไหว แม่ผัวเป็นผู้รับเลี้ยง ก็เลยให้ทั้งสองคนเซ็นเอกสารสละสิทธิ์ให้แม่ผัวเซ็นรับไปดูแลหลานและให้เงิน ไปทั้งหมด 2 แสนบาท นอกจากนั้นศูนย์ยังประสานงานไปที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัด(พมจ.)ให้เข้าไปช่วยเหลืออีกทา เรื่องค่านมเด็ก ...”   แม้ว่าการต่อสู้จนได้มาซึ่งระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและผลักดันพัฒนา สิทธิประโยชน์ในระบบประกันสุขภาพจนสำเร็จหลายส่วน ซึ่งถือว่าเป็นผลงานที่น่าภูมิใจสำหรับภาคประชาชน แต่ยังมีภารกิจอีกมากมายที่จะต้องบรรลุให้ได้ต่อไปข้างหน้า เพื่อให้ระบบหลักประกันสุขภาพได้ตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างทั่วถึง มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพที่พึงปรารถนา ในความเห็นของผม เรื่องสำคัญๆ ที่ยังต้องต่อสู้ให้บรรลุต่อไป ได้แก่
1. ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต้องทำให้ครอบคลุมประชาชนผู้อาศัยอยู่ในประเทศ ไทยทุกส่วน รวมทั้งแรงงานข้ามชาติที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย ไม่ใช่ครอบคลุมเฉพาะผู้มีสัญชาติไทยตามกฎหมาย นี่เป็นหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เป็นความประสงค์แต่แรกของภาคประชาชน และจะเป็นผลดีต่อสุขภาพของประชาชนโดยรวม (เช่นช่วยในการป้องกันการระบาดของโรคติดต่อต่างๆ)
2. ประชาชนที่เคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยและถิ่นที่ทำงานจำนวนนับล้านคนจะต้อง มีวิธีการย้ายหน่วยบริการรักษาพยาบาลปฐมภูมิได้อย่างสะดวกรวดเร็วและโดยกึ่ง อัตโนมัติ เช่นโดยการแจ้งย้ายถิ่นทางสายด่วน 1330 หรือเมื่อมารับบริการครั้งแรกในถิ่นใหม่ ปัจจุบันยังมีคนนับแสนหรือนับล้านเข้าไม่ถึงบริการเพราะอยู่ในต่างถิ่นจาก หน่วยบริการของตน นี่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าถึงบริการ
3. ระบธุรกิจรักษาพยาบาลของเอกชนได้แย่งทรัพยากรบุคคลจำนวนมาก ทั้งแพทย์ พยาบาล และบุคคลากรส่วนอื่นๆจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การแก้ปัญหานี้ทำได้หลายทาง เช่นการเพิ่มค่าตอบแทนบุคคลากรในระบบบริการของรัฐ การแก้กฎหมายเกี่ยวกับโรงพยาบาลเอกชนเพื่อกำหนดให้ต้องรับคนไข้ในระบบหลัก ประกันสุขภาพส่วนหนึ่งทุกโรงพยาบาล (เช่นอย่างน้อย25% ของจำนวนคนไข้ทั้งหมด) และสำหรับแพทย์พยาบาลและบุคคลากรส่วนอื่นๆที่เรียนจบโดยทุนการศึกษาของรัฐ ใบประกอบโรคศิลป์ในระยะ 10-15 ปีแรกน่าจะระบุอนุญาตให้ประกอบโรคศิลป์เฉพาะในสถานพยาบาลที่เป็นของรัฐ ขององค์กรปกครองท้องถิ่น หรือของชุมชน
4. การบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพจะต้องสามารถลดระยะเวลาที่ประชาชนต้อง รอรับบริการให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ใช่ใช้เวลากว่าครึ่งวันรอพบแพทย์แล้วรอรับยาต่อ ส่วนการรอการตรวจด้วยเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ และการผ่าตัดใหญ่ จะต้องไม่นานเกินควร
5. ทัศนคติและท่าทีของบุคคลากรต่อคนไข้ในระบบหลักประกันสุขภาพจะต้องพัฒนาไม่ให้ต่างกับในระบบการรักษาพยาบาลเอกชน
6. ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติควรต้องส่งเสริมและพัฒนาหน่วยปฐมภูมิที่ก่อ ตั้งโดยชุมชน ที่ชุมชนร่วมกันจ้างบุคคลากรและพัฒนาบริการ เพื่อให้ชุมชนเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง
7. ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติควรจะต้องขยายไปถึงผู้ประกันตนในระบบประกัน สังคม (โดยงดเก็บเบี้ยประกันสังคมในส่วนของการรักษาพยาบาล เพราะค่าประกันสุขภาพได้จ่ายเป็นภาษีอยู่แล้ว) และควรจะต้องเข้าไปทดแทนระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการ
โดยสรุปแล้วเราต้องช่วยกันพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้เป็นหลักประกันด้านการรักษาสุขภาพของทุกคน ที่ทุกคนพอใจที่จะเป็นเจ้าของ และที่ทุกคนพอใจที่จะใช้บริการ ไม่ใช่ระบบรักษาสุขภาพที่ผู้ใช้บริการโดยส่วนใหญ่ยังคงได้แก่ครอบครัวที่มี รายได้น้อยเท่านั้น

มูลค่าการประมูลคลื่น 3G ของไทยเหมาะสมแล้วเมื่อเทียบกับต่างประเทศ?

ที่มา ประชาไท




การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz (คลื่น 3G) โดยสำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ผ่านพ้นไปประมาณ 2 สัปดาห์แล้ว โดยผลการประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 9 ชุดคลื่นสร้างรายรับให้กับรัฐ 41,625 ล้านบาท สูงกว่าราคาตั้งต้นที่ กสทช. ตั้งไว้ที่ 40,500 ล้านบาท (4,500 ล้านบาทต่อชุดคลื่น x 9 ชุดคลื่น) ประมาณ 2.8% แต่ยังต่ำกว่ามูลค่าประมาณการรายรับ 57,960 ล้านบาทที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ซึ่งสำนักงาน กสทช. มอบหมายให้ไปศึกษา) คำนวณเอาไว้ถึง 16,335 ล้านบาท หรือประมาณ 27.2% ซึ่งผลการประมูลที่เกิดขึ้นเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ที่หลากหลายและกว้าง ขวางในสังคม ในประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ทั้งหมดมีประเด็นหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่ สุด คือความเหมาะสมของรายรับการประมูลเมื่อเทียบกับต่างประเทศ

หาก พิจารณาตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์ ราคาที่เหมาะสมคือราคาที่สะท้อนต้นทุนค่าเสียโอกาสของการนำคลื่นความถี่ไป สร้างประโยชน์ในทางอื่น หรือโดยผู้ประกอบการรายอื่น ดังนั้นถ้าหากการประมูลมีการแข่งขันที่ดี การสู้ราคาในการประมูลจะส่งผลให้ราคาที่ผู้ชนะเสนอสะท้อนต้นทุนค่าเสียโอกาส ของคลื่นความถี่ ในกรณีที่คาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าการประมูลจะไม่มีการแข่งขันดังเช่นที่เกิด ขึ้นในประเทศไทย ราคาการประมูลจะไม่สะท้อนถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสของการใช้คลื่นความถี่เนื่อง จากผู้ประกอบการไม่จำเป็นที่จะต้องแข่งขันกันเสนอราคา และ กสทช. จำเป็นที่จะต้องตั้งราคาที่เหมาะสมเองผ่านการกำหนดราคาตั้งต้น ซึ่งเป็นเหตุผลว่าเพราะอะไรงานศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมีความสำคัญ จากงานศึกษาชิ้นดังกล่าวคณะผู้วิจัยประมาณการรายรับที่ควรจะได้รับจากการ ประมูลที่ 6,440 ล้านบาท ต่อ 1 ชุดคลื่นความถี่ 5 MHz หรือ 0.64 เหรียญสหรัฐฯต่อ 1 MHz ต่อประชากร 1 คน (USD/MHz/Population)

อย่าง ไรก็ดีภายหลังการประมูล รายรับที่ได้รับต่ำกว่ารายรับที่ประมาณการที่ระบุในงานศึกษาของคณะวิจัยจาก เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ อย่างมาก เนื่องจากการตั้งราคาตั้งต้นที่ลดลงมาถึง 30% ประกอบกับการไม่มีการแข่งขันในการประมูลทำให้ราคาที่ได้เพิ่มขึ้นจากราคา ตั้งต้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งคิดเป็น 0.46 USD/MHz/population

ภายหลัง การประมูล ผู้ประกอบการซึ่งเข้าร่วมประมูลรายหนึ่งได้ออกมาให้ความเห็นผ่านรายการ โทรทัศน์ โดยให้ข้อมูลว่าราคาการประมูลของประเทศไทยเป็นราคาที่สูงพอสมควรและเหมาะสม แล้ว ซึ่งหากเทียบกับต่างประเทศ ประเทศไทยมีรายรับจากการประมูลสูงที่สุดในประเทศอาเซียน พร้อมทั้งยกข้อมูลราคาการประมูลของประเทศต่างๆ ได้แก่ (หน่วยเป็น USD/MHz/population) เกาหลีใต้ (ปี 2011) ที่ 0.40,เยอรมนี (ปี 2010) ที่ 0.28, เม็กซิโก (ปี 2010) ที่ 0.15, สิงคโปร์ (ปี 2010) ที่ 0.08, อินโดนีเซีย (ปี2006) ที่ 0.04 และมาเลเซีย (ปี 2006) ที่ 0.03 (ดูภาพประกอบด้านบน) ตัวเลขชุดเดียวกันนี้ยังถูกกล่าวอ้างถึงในบทความทางหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ แห่งหนึ่ง ซึ่งเขียนโดยที่ปรึกษาของ กสทช. อีกด้วย ผู้เขียนมีข้อสังเกตเกี่ยวกับคำกล่าวอ้างและตัวเลขต่างๆ ดังนี้

1. ตัวเลขที่ยกมาเป็นเพียงการเลือกประเทศบางประเทศ (7-9 ประเทศ) และตัวแปรบางตัวมาสนับสนุนคำกล่าวอ้างเท่านั้น ในขณะที่การศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่คำนวณราคาตั้งต้นที่ 0.64 เหรียญสหรัฐฯต่อ 1MHz ต่อประชากร 1 คน ใช้ข้อมูลจำนวนประเทศที่ครอบคลุมกว่า และคำนึงถึงปัจจัยที่ผู้ประกอบการยกมา เช่น ระยะเวลาของใบอนุญาต ขนาดเศรษฐกิจ ปีที่ทำการประมูล ไว้ทั้งหมดแล้ว โดยงานศึกษาดังกล่าวใช้ข้อมูลการประมูลจากต่างประเทศทั้งหมด 17 ประเทศ รวมทั้งสิ้น 69 ใบอนุญาต ด้วยวิธีทางเศรษฐมิติ ซึ่งเป็นวิธีการหาค่าประมาณการมูลค่าคลื่น 3G ของไทยโดยคำนึงถึงปัจจัยที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ซึ่งคณะผู้วิจัยได้รวมปัจจัยต่างๆ ของแต่ละประเทศเอาไว้ในการพิจารณากำหนดมูลค่าคลื่นไว้อย่างหลากหลาย เช่น ขนาดของเศรษฐกิจ จำนวนประชากร รายได้ต่อหัว ระยะเวลาของใบอนุญาต ความหนาแน่นของประชากร รวมถึงช่วงปีที่ประมูลว่ามีกระแสการตื่นตัวของเทคโนโลยี 3G หรือไม่ ดังนั้นผลการประมาณการ 6,440 ล้านบาทต่อชุดคลื่น 5 MHz จึงถือว่าเป็นมูลค่าที่สมเหตุผลเมื่อคำนึงถึงปัจจัยที่แตกต่างกันในแต่ละ ประเทศ และมีความน่าเชื่อถือกว่าการยกตัวเลขของประเทศเพียงบางประเทศมาเปรียบเทียบ โดยไร้หลักเกณฑ์ที่เป็นวิชาการมาสนับสนุน

2. ตัวเลขที่ผู้ประกอบการกล่าวอ้างในส่วนของประเทศสิงคโปร์และอินโดนีเซีย มีความคลาดเคลื่อน ซึ่งจำเป็นต้องขยายความเพื่อมิให้เกิดความเข้าใจผิด ในกรณีของประเทศสิงคโปร์ การประมูลในปี 2010 เป็นการออกใบอนุญาตคลื่น 3G เป็นครั้งที่ 2 หลังจากมีการประมูลรอบแรกไปแล้วในปี 2001 ซึ่งการประมูลในรอบนี้มีคลื่นที่ได้รับการจัดสรรทั้งสิ้น 15 MHz แบ่งออกเป็น 3 ชุด ชุดละ 5 MHz โดยรัฐบาลสิงคโปร์ตั้งราคาตั้งต้นอยู่ที่ 20 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ต่อ 1 ชุดคลื่น หรือคิดเป็น 15.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ดูเอกสารอ้างอิง 1.หัวข้อที่ 8 สำหรับข้อมูลราคาตั้งต้น) โดยผู้ประมูลมีทั้งสิ้น 3 ราย ซึ่งทั้งหมดเป็นผู้ประกอบการรายเดิม ผลการประมูลปรากฏว่าราคาสุดท้ายเท่ากับราคาตั้งต้น ซึ่งคิดเป็น 0.61 USD ต่อ MHz ต่อประชากร (15.4 ล้านเหรียญ/5MHz/ประชากร 5.08 ล้านคน) ซึ่งสูงกว่าไทย และมิใช่ 0.08 ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด

ในกรณีของ อินโดนีเซีย วิธีการประมูลจะแตกต่างไปเล็กน้อย กล่าวคือรัฐบาลอนุญาตให้ผู้ประกอบการผ่อนชำระเงินค่าประมูลได้ตลอดอายุใบ อนุญาต โดยผู้เข้าประมูลจะทำการ เสนอราคาผ่อนชำระต่อปี ไม่ ใช่ราคารวมที่จ่าย โดยผู้ชนะการประมูลต้องชำระเงิน 2 เท่าของราคาที่ตนเสนอในปีแรก และชำระเงินในอัตราคงที่ทุกปีเท่ากับราคาที่ผู้ชนะรายสุดท้ายเสนอตลอดอายุใบ อนุญาต 10 ปี ดังนั้นการคิดมูลค่าจะต้องรวมค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการต้องชำระคงที่ตลอด อายุใบอนุญาตในราคาประมูลด้วย เนื่องจากต้นทุนที่ชำระในส่วนนี้ทั้งหมดเป็นมูลค่าที่กำหนดโดยวิธีการประมูล และไม่ขึ้นอยู่กับรายได้ประกอบการ ดังนั้นจะไม่ใช่ส่วนแบ่งของรายได้และควรรวมอยู่ในราคาประมูล เพียงแต่ว่ารัฐอนุญาตให้ผ่อนจ่ายเท่านั้น  ในขณะที่การเก็บค่าธรรมเนียมตามสัดส่วนของรายได้ก็ยังมีอยู่ตามปกติและแยก ออกมาต่างหาก(เช่น Universal Service Obligation ประมาณ 0.75% ของรายได้) ฉะนั้นแล้ว ถ้าใช้เพียงแต่ตัวเลขที่เอกชนเสนอตามข้อมูลที่ที่ปรึกษา กสทช. ใช้กล่าวอ้าง จะทำให้มูลค่าลดลงจากความเป็นจริงถึง 10 เท่า แท้ที่จริงแล้วตัวเลขมูลค่าคลื่นจากการประมูลในกรณีของอินโดนีเซียควรจะอยู่ ที่ประมาณ 0.4-0.5 USD/MHz/population ซึ่งถือว่ามีผลลัพธ์ที่ดีเมื่อเทียบกับประเทศที่มีรายได้ต่ำ มีลักษณะเป็นเกาะ และใบอนุญาตมีอายุเพียง 10 ปี (ดูเอกสารอ้างอิง 2. สำหรับวิธีการประมูลของอินโดนีเซียและราคาเป็น USD/MHz/population)

3. ประเทศต่างๆ ที่ผู้ประกอบการนำมากล่าวอ้างส่วนใหญ่ เช่น เกาหลีใต้ เยอรมัน และสิงคโปร์ เป็นข้อมูลของการจัดสรรใบอนุญาตรอบที่ 2 นั่นคือประเทศเหล่านี้มีการให้ใบอนุญาตคลื่น 2.1 GHz รอบใหญ่มาแล้ว การประมูลในรอบหลังเป็นการประมูลใบอนุญาตที่เหลืออยู่เพื่อวัตถุประสงค์ใน การเพิ่มการแข่งขันของรายใหม่ หรือเพิ่มคลื่นให้เพียงพอต่อการให้บริการ ซึ่งการประมูลรอบหลังนี้มูลค่าคลื่นย่อมต่ำกว่าการประมูลรอบแรก เพราะตลาดเริ่มมีการอิ่มตัว อุปสงค์ของการใช้ 3G ส่วนใหญ่ถูกตอบสนองไปแล้วอีกทั้งส่วนแบ่งการตลาดของผู้ประกอบการรายเดิมก็ สูงอยู่แล้ว จึงเป็นการยากสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ที่จะเข้าไปแข่งขันและทำให้โอกาสของ การทำกำไรต่ำลง การแข่งขันและราคาตั้งต้นจึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดไว้ต่ำ

ใน กรณีของประเทศเกาหลีใต้ปี 2011 วัตถุประสงค์สำคัญคือการเพิ่มการแข่งขันในการให้บริการ (ดูเอกสารอ้างอิง 3.หน้า 55) เนื่องจากก่อนหน้านี่ผู้ให้บริกา ร3G ในคลื่น 2.1 GHz ผูกขาดอยู่เพียง 2 ราย ซึ่งเป็น 2 รายใหญ่ที่สุดในตลาด โดยทั้ง 2 รายได้รับการจัดสรรคลื่น 2.1 GHz มาก่อนหน้าแล้ว แต่รัฐต้องการเพิ่มผู้เล่นรายใหม่ในตลาด จึงจัดการประมูลใบอนุญาตเพิ่มอีก 1 ใบ โดยไม่อนุญาตให้เจ้าตลาดทั้งสองรายเข้าร่วมประมูล (ดูเอกสารอ้างอิง 5. หน้า 3) ซึ่งแน่นอนว่าการเข้ามาแข่งกับเจ้าตลาดรายใหญ่ที่ให้บริการอยู่แล้วย่อมทำ ให้มูลค่าใบอนุญาตใบนี้มีค่อนข้างต่ำเนื่องจากรายใหม่จะต้องแข่งกับเจ้าตลาด รายใหญ่ที่มีฐานลูกค้ามากและตลาดค่อนข้างอิ่มตัว รัฐบาลย่อมต้องตั้งราคาจูงใจให้ต่ำลง ซึ่งสุดท้ายก็มีผู้เข้าร่วมประมูลเพียงรายเดียวและได้ใบอนุญาตไปในราคาตั้ง ต้น

ในกรณีของสิงคโปร์ปี 2010 รัฐต้องการเพิ่มศักยภาพการให้บริการ จึงนำคลื่นอีก 15 MHz ที่ไม่ได้ถูกจัดสรรเมื่อครั้งการประมูลรอบแรกในปี 2001 มาประมูล และอนุญาตให้ผู้ประกอบการรายเดิมร่วมประมูลได้ ซึ่งส่งผลทำให้ไม่มีผู้ประกอบการรายใหม่สนใจ แม้ว่าราคาตั้งต้นที่รัฐตั้งจะต่ำกว่าราคาตั้งต้นในครั้งที่ประมูลรอบแรก เมื่อปี 2001 ประมาณ 40% (ราคาตั้งต้นปี 2010 อยู่ที่ 20 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ต่อ 5  MHz ในขณะที่ราคาตั้งต้นในปี 2001 อยู่ที่ 100 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 15 MHz) โดยผู้ประกอบการรายเดิมทั้ง 3 รายชนะการประมูลรายละ 5MHz ในราคาตั้งต้น

4. ประเทศมาเลเซียไม่ได้ใช้วิธีการประมูล แต่ใช้การให้ใบอนุญาตด้วยการคัดเลือกบริษัทที่เหมาะสม (Beauty Contest) ในราคาที่รัฐกำหนด ซึ่งเป็นวิธีที่ขาดความโปร่งใส ดังนั้นจึงไม่สามารถเปรียบเทียบมูลค่ากับวิธีการประมูลได้ (ดูเอกสารอ้างอิง 8. ส่วนที่ 1 ข้อที่ 1 สำหรับวิธีการจัดสรรคลื่นแบบคัดเลือก) นอกจากนี้การออกใบอนุญาตในปี 2006 ยังเป็นการออกใบอนุญาต 3G รอบที่ 2 หลังจากได้ออกใบอนุญาตในรอบแรกไปแล้วเมื่อปี 2001 ด้วยวิธีคัดเลือกบริษัทที่เหมาะสม

จะเห็นได้ว่าข้อมูลที่นำเสนอผ่าน สื่อนั้นมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความจริง และเป็นการจงใจอ้างอิงเฉพาะผลการประมูลในกลุ่มประเทศเพียงไม่กี่ประเทศเพื่อ สนับสนุนคำกล่าวอ้าง  แตกต่างจากงานศึกษาที่ใช้เทคนิคการประมาณค่าที่มีความเป็นวิชาการของคณะ เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่า และคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่ผู้ประกอบการได้นำมากล่าวอ้างทั้งหมดในการประมาณมูลค่าแล้ว ซึ่งในท้ายที่สุด ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนก็คือ ราคาสุดท้ายของการประมูลของไทยต่ำกว่าราคาที่ได้จากการประมาณการอย่างเป็น วิชาการจากหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจาก กสทช. เอง และต่ำกว่าราคาเฉลี่ยของประเทศต่างๆ ที่ประมูลก่อนหน้ามากถึงเกือบ 30%


เอกสารอ้างอิง: เอกสารอ้างอิงทั้งหมดสามารถดูได้จากบทความฉบับเต็มตีพิมพ์ใน www.thaipublica.org
หมายเหตุ: ชื่อบทความเดิม: จริงหรือที่มูลค่าการประมูลคลื่น 3G ของไทยเหมาะสมแล้วเมื่อเทียบกับต่างประเทศ?

รายงาน: สรุปข้อต่อสู้คดี 112 บนเฟซบุ๊ค ‘เราจะครองxxxx’ ก่อนพิพากษาพรุ่งนี้

ทีี่่มา ประชาไท




พรุ่งนี้ (31 ต.ค.55)  เวลา 9.00 น. ที่ศาลอาญา รัชดา จะมีการพิพากษา คดีของนายสุรภักดิ์ จำเลยในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และ ความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3)
มาตรา 14 ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(1) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

สุรภักดิ์ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 2 ก.ย.54 ไม่ได้ประกันตัวและอยู่ในเรือนจำจนถึงปัจจุบัน
สุรภักดิ์ อายุ 40 ปี เป็นโปรแกรมเมอร์ที่เพิ่งจัดตั้งบริษัทของตนเอง รับจ้างออกแบบระบบให้บริษัทเอกชนต่างๆ รวมถึงรัฐวิสาหกิจด้วย
เขาถูกกล่าวหาว่า เป็น “เจ้าของ” บัญชีเฟซบุ๊คที่ใช้ชื่อว่า “เราจะครองxxxx”  โพสต์ข้อความที่เข้าข่ายความผิดทั้งสิ้น 6 ข้อความ แต่เมื่ออัยการทำคำฟ้องปรากฏเพียง 5 ข้อความ (4 พ.ค.54, 18 มิ.ย.54, 22 มิ.ย.54, 23 มิ.ย.54, 16 ส.ค.54) ดังนั้น หากศาลพิพากษาให้เขามีความผิดจริง เขาจะมีความผิด 5 กรรม
สุรภักดิ์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาทั้งในชั้นจับกุมและในชั้นสอบสวน โดยระบุด้วยว่า ไม่ใช่เจ้าของอีเมล์และเฟซบุ๊คดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หลังสุรภักดิ์ถูกจับกุม เฟซบุ๊คบัญชีนี้ยังเปิดใช้งานและมีความเคลื่อนไหวอยู่
ความเป็นมาของคดีนี้เริ่มต้นจาก มีประชาชนทั่วไปชื่อ มานะชัย แจ้งเบาะแสไปยังกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง เทคโนโลยี หรือ ปอท. โดยแจ้งว่ามีเฟซบุ๊คที่กระทำความผิดดังกล่าว มีเจ้าของเป็นนายสุรภักดิ์ พร้อมให้ชื่อ-นามสกุล-ที่อยู่ แก่เจ้าหน้าที่ด้วย โดยในการสืบพยานในศาล เจ้าหน้าที่เบิกความว่าไม่รู้และไม่ได้ตรวจสอบว่าบุคคลผู้ให้เบาะแสนี้คือ ใคร และไม่สามารถนำตัวผู้แจ้งเบาะแสมาเบิกความได้
จากนั้นไม่นานจึงมีนักศึกษาราชภัฏคนหนึ่งไปร้องทุกข์กล่าวโทษกับตำรวจ ทำให้เรื่องนี้เป็นคดีขึ้นมาอย่างเป็นทางการ พยานปากนี้ขึ้นเบิกความในชั้นศาลด้วย ซึ่งทั้งพยานและจำเลยไม่รู้จักกันเป็นการส่วนตัว อย่างไรก็ตาม พยานปากนี้ระบุว่าได้ปลอมตัวเป็นคนเสื้อแดงเข้าไปเป็นเพื่อนในเฟซบุ๊คที่ ถูกกล่าวหาดังกล่าว จึงสามารถเห็นข้อความหมิ่นที่ถูกโพสต์ได้ และทำการ capture หน้าจอ ปริ๊นท์ออกมาเป็นหลักฐานให้ตำรวจ
นักศึกษาราชภัฏยังระบุถึงความเชื่อมโยงระหว่างอีเมล์และเฟซบุ๊คที่กระทำ ผิดไว้ว่า พยานเป็นสมาชิกในอีเมล์กรุ๊ปหนึ่งของกูเกิลกรุ๊ป และได้นำอีเมล์สมาชิกคนหนึ่ง คือ dorkao@hotmail.com (ดอกอ้อ) ไปค้นหาใน google ผลการค้นหาพบหน้าเฟซบุ๊คบัญชี เราจครองxxxx จึงสันนิษฐานว่าเจ้าของอีเมล์นี้เป็นเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊คดังกล่าวด้วย ต่อมาจึงได้ทราบในภายหลังจากตำรวจว่า อีเมล์ดังกล่าวนั้นคือนายสุรภักดิ์
สิ่งที่น่าสนใจในคดีนี้ คือ การต่อสู้กันระหว่างพยานผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจำเลยและตัวจำเลยเอง กับ พยานผู้เชี่ยวชาญฝ่ายโจทก์ ไม่ว่าจะเป็นกองพิสูจน์หลักฐาน , เนคเทค (ไอซีที)
กองพิสูจน์หลักฐานซึ่งตรวจสอบคอมพิวเตอร์ของกลางระบุว่า ไม่พบถ้อยคำหมิ่นสถาบันตามที่พนักงานสอบสวนให้ตรวจเช็คหลายรายการ แต่พบร่องรอยการใช้อีเมล์ dorkao@hotmail.com  และการใช้เฟซบุ๊คเจ้าปัญหาในฐานะเจ้าของเพจ โดยทำการกู้จาก temporary file  ขึ้นมาได้อย่างละ 1 ไฟล์
อย่างไรก็ตาม ข้อต่อสู้ที่สำคัญของฝ่ายจำเลยคือ คอมพิวเตอร์ของกลางดังกล่าวมีการเปิดใช้เพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์ในวันที่ 2 ก.ย.เวลากลางคืน และ 7 ก.ย.54 (อ้างอิงตามเอกสารที่อยู่ในสำนวนคดี) ทั้งที่จำเลยถูกจับกุมและอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 2 ก.ย.54 ช่วงบ่ายแล้ว ซึ่งเมื่อพยานจากกองพิสูจน์หลักฐานดูเอกสารก็รับว่าเป็นเช่นนั้น
ประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ใช้ในการต่อสู้ เนื่องจากคดีเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีหลักการที่ต้องไม่เปิดคอมของกลางอีกเลย ดังที่หัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดีนี้ก็ได้เบิกความไว้ว่าการส่งคอมพิวเตอร์ จากพนักงานสอบสวนไปให้กองพิสูจน์หลักฐานต้องผนึกหีบห่ออย่างดี จะเปิดได้ต่อเมื่อส่งถึงผู้ชำนาญการแล้วและมีการทำสำเนาข้อมูลออกมาโดยไม่ เปิดเครื่อง ที่ทำเช่นนี้เพราะถ้าเปิดดูก่อนเครื่องจะบันทึกการเปิดเครื่องไว้ทำให้เกิด ความเสียหายต่อหลักฐานที่ได้มา
นอกจากนี้ยังมีการต่อสู้กันว่า temporary file หรือ cache ที่เจ้าหน้าที่กู้ได้และใช้เป็นหลักฐานในคดีนี้ เป็นเอกสารจริงหรือไม่
เนื่องจากฝ่ายจำเลยชี้ว่าฮอตเมล์และโดยเฉพาะเฟซบุ๊ค จะมีระบบที่กำหนดไม่ให้คอมพิวเตอร์ผู้ใช้งานเก็บ temporary file ใดๆ ที่เกี่ยวกับการใช้งาน อีกทั้งตามหลักฐานในสำนวนยังพบว่ามีการเก็บไฟล์ดังกล่าวใน partition ที่สองของเครื่อง ไม่ใช่ partition หลัก ซึ่งเชื่อว่าผิดปกติ
ที่สำคัญฝ่ายจำเลยระบุว่า ไฟล์ที่เกิดจาก cache file จะไม่มี source code ในภาษา html ส่วน source code ที่เจ้าหน้าที่ได้มาและใช้เป็นหลักฐานในคดีนั้นเป็นการ copy มาจากหน้าเว็บโดยการเข้าไปในเว็บไซต์เฟซบุ๊คแล้วคลิ๊กขวาคัดลอก source code โดยเปลี่ยนข้อความให้เป็นอีเมล์ที่ต้องการ (dorkao@hotmail.com  เพื่อระบุความเป็นเจ้าของ-ประชาไท) แล้วนำมาลงไว้ใน partition 2 เสมือนว่าเจ้าของเครื่องได้เข้าไปใช้เว็บไซต์นั้นจริงๆ อีกทั้งในเอกสาร source code ที่เจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นหลักฐานการเข้าใช้เฟซบุ๊คเพจ ก็เป็นภาษา htm ขณะที่ source code ของเฟซบุ๊คใช้ภาษา php
ดังนั้นจำเลยจึงสันนิษฐานว่า ไฟล์ที่เอามาใช้ฟ้องคดีนี้เป็นการคัดลอก source code จากเว็บมาวางใน note pad แล้วแก้ไขสาระสำคัญที่ต้องการ จากนั้นก็ทำการบันทึกซึ่งจะบันทึกเป็นนามสกุลใดก็ได้ ในกรณีนี้บันทึกเป็นนามสกุล html แล้วนำไปเก็บไว้ในเครื่อง จากนั้นใช้โปรแกรม internet explorer อ่าน โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตก็ได้ เพราะไฟล์ลักษณะนี้เป็นชิ้นส่วนของเว็บไซต์ที่ไม่ต้องต่ออินเตอร์เน็ต และสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงถ้อยคำได้ จากชื่อเพจดังกล่าวจะเปลี่ยนให้เป็นเพจเรารักในหลวงก็สามารถทำได้
คำเบิกความของทั้งสองฝ่ายก็ต่างสนับสนุนข้อสันนิษฐานของตนเอง แต่สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษสำหรับคดีนี้คือ การที่ศาลอนุญาตให้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วมประกอบการอธิบาย โดยให้ฉายผ่านโปรเจ๊กเตอร์ไปยังผนังห้องเพื่อให้เห็นกันได้อย่างสะดวก ขณะในคดี 112 ที่เกี่ยวพันกับคอมพิวเตอร์ก่อนหน้านี้ ศาลมักไม่อนุญาตให้เอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ประกอบ ด้วยเหตุผลว่าไม่ว่าเรื่องจะซับซ้อนเพียงใดก็สามารถใช้การอธิบายผ่านปากผู้ เชี่ยวชาญของสองฝ่ายได้ และเปิดไปศาลก็ไม่เข้าใจ
อย่างไรก็ตาม เมื่อคดีนี้อนุญาตให้มีการใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการอธิบาย ทำให้ฝ่ายจำเลยสามารถเรียกร้องให้พยานฝ่ายโจทก์สาธิตให้ดูว่า การเปิดใช้เฟซบุ๊คจะมีการเก็บ temporary file หรือไม่  ซึ่งปรากฏว่าไม่มี แต่พยานโจทก์ระบุว่าอาจเป็นเพราะ browser ของคอมพิวเตอร์ที่กำหนดให้เก็บหรือไม่เก็บก็ได้ นอกจากนี้ฝ่ายจำเลยยังมีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสาธิตให้ดูได้ว่า ไฟล์ html ไม่สามารถใช้กับเฟซบุ๊คได้ การปรับแต่งหลักฐาน หากจะมีเกิดขึ้นนั้นกระทำได้ง่ายเพียงใด และสามารถเปลี่ยนการตั้งค่าวันเวลาให้เป็นตามต้องการได้ด้วย ส่วนผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจำเลยก็สามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงให้ศาลเห็นได้ว่า source code ของเฟซบุ๊คในส่วน header จะมีคำสั่งไม่ให้เครื่องผู้ใช้มีการเก็บ cache file จริง
หากจะดูรายละเอียดของคดีไล่ตั้งแต่การจับกุมจนถึงการเบิกความของพยานปาก ต่างๆ ทั้งของโจกท์และจำเลย แหล่งข้อมูลที่ละเอียดที่สุดในเวลานี้ก็คือ เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพของโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อสังคม หรือ iLaw  (คดีสุรภักดิ์ http://freedom.ilaw.or.th/th/case/176#detail ) ก่อนจะรับฟังคำพิพากษาร่วมกันในวันที่ 31 ต.ค.นี้

จากใจคนเสื้อแดง...ถ้ามีพรรคใหม่ให้เลือกดิฉันก็จะเลือกเพราะเกลียดพวกหยิบชิ้นปลามัน

ที่มา thaifreenews


ถ้ามีพรรคใหม่ให้เลือกดิฉันก็จะเลือกเพราะเกลียดพวกหยิบชิ้นปลามัน
โดย...คุณเบล


ดิฉันไม่ใช่พวกคลั่งจตุพร ณัฐวุฒิ หรือทักษิณ

เกลียดการปฏิวัติ เกลียดทหาร  ดีใจได้รัฐบาลจากการเลือกตั้ง

ดิฉันดูการตั้งและการปรับรัฐบาล

บางกระทรวง ห่วยแตก หากินกับแรงงานต่างด้าวอย่างเพลิดเพลิน กลุ่มคนนี้ไม่ใช่คนเสื้อแดงด้วยซ้ำ มีเสียงเล่าว่า เกลียดเสื้อแดงอีกต่างหาก  แต่เก้าอี้ยังเหนียวแน่น

บางกระทรวงสิ่งควรทำไม่ทำ..แค่อธิบดียังไม่กล้าตั้งเพราะไม่อยากได้คนปราบคนกินป่าอย่างดุรงค์ พิเดช..ที่คนชื่นชมแต่นักการเมืองกินป่าไม่ชอบ..อยากทราบว่า  นายกฯปูชอบคนกินป่าหรือคะ

หลายเรื่องหลายราวขัดใจจริง ๆ ...อ้อ อนุสรณ์ น่ะตั้งเป็นโฆษกได้แล้ว  รอพระแสงดาบยาวที่ไหนคะ

คนที่เลือกเพื่อไทย เพราะ เราอยากให้ไปสู้ ไปสู้เพื่อเสียงของคนส่วนใหญ่

เราสู้เพื่อประชาธิปไตย  ไม่ต้องบอกว่าหลายอย่างดีขึ้น  อะไรคะดีขึ้น คดี ปรส. ก็ไม่ทำ  คดียึดสนามบิฯนก็ไม่ขยับ  คดีช่อง11 ก็ไม่เห็นไปถึงไหน คนเสื้อเดงอีกหลายคนที่ถูกจับ ก็ไม่เห็นทำอะไรให้กระเตื้อง ให้ได้ปล่อยตัว  ไม่ต้องเถียงค่ะว่าปล่อยแล้ว..ยังอยู่อีกเยอะค่ะ ม.112 ก็ตายคาคุกไปแล้วคนนึง  อากง..จะรออีกกี่คน 

เวลาจะฆ่ากันตายที่ราชประสงค์ ..หมาหลายตัวไม่เคยเห็นหน้าเลยค่ะ..

เออ..เค้ามีแต่เกาะชายผ้าเหลือง ส.ส.เพื่อไทยหลายคนเกาะผ้าแดงค่ะ

ปวดตับจริง ๆ..นายกฯปูน่ะยังรัก  แต่เกลียดพวกลิ่วล้อสามานย์..  


http://www.tfn5.info/board/index.php?topic=42715.0

ล้านคำบรรยาย (พิเศษ) การ์ตูนเซีย 30/10/55 หาให้ได้..ในชาตินี้

ที่มา blablabla

โดย 

 ภาพถ่ายของฉัน




วาทกรรม ออดอ้อน ค่อนตอแหล
ไม่เปลี่ยนแปร คนระยำ ทำสาไถย
เที่ยวถามหา จริยธรรม อยู่ร่ำไป
ตนนั่นไง หาให้เจอ ก่อนเพ้อครวญ....

ปากค่อนแคะ คอยชี้นำ ด้วยคำพูด
บทพิสูจน์ คนเลว-ดี ที่โหยหวน
ผ่านกี่ปี ยังเพ้อฝัน สุดรัญจวน
โทษใครป่วน ที่แท้ตน เป็นคนทำ....

หาให้ได้ ในชาตินี้ ที่อยากเห็น
อย่าซ่อนเร้น อวดรู้ กูไม่ขำ
หนึ่ง..ไหนล่ะ เคยใส่ร้าย ชายชุดดำ
มันตอกย้ำ คำที่พูด พิสูจน์คน....

สอง..ไหนล่ะ อยู่ไหน ใบสด.9
อย่างี่เง่า แสร้งมารยา พาสับสน
ที่แน่ๆ กรรมจ่อหัว ทุกตัวตน
หนีไม่พ้น คนสั่งฆ่า ขออย่าลืม....

๓ บลา / ๓๐ ต.ค.๕๕

จักรภพเปิดตัวหนังสือบางทีมีสัมผัส:คนเสื้อแดงต้องหาฉันทามติร่วมกันเพื่อก้าวเดินไปข้างหน้าร่วมกัน

ที่มา Thai E-News



ที่มา เว็บไซต์ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน

เมื่อวันที่ 28 ต.ค. นายจักรภพ เพ็ญแข เปิดตัวหนังสือ "บางทีมีสัมผัส" ณ ร้าน TPNews ชั้น 4 อิมพีเรียลเวิล์ด ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

โดย นายจักรภพ สไกป์จากต่างประเทศแสดงความขอบคุณ วัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียนรางวัลศรีบูรพาที่มาร่วมงานเปิดตัวหนังสือในครั้งนี้ และกล่าวว่า วัฒน์ได้ใช้ประสบการณ์ของตัวเองบอกเล่าให้สังคมรับรู้ว่า การปฏิวัติทางการเมืองในประเทศไทยมักต้องเจอกับศัตรูในเงามืด ซึ่งมักจะออกมาสกัดขัดขวางเป็นประจำ จนทำให้ชีวิตของนักต่อสู่ไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร


หาก ชีวิตทุกคนเกิดมาได้แค่ครั้งเดียว พวกเราไม่ควรเสียดายที่จะใช้มัน เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่น บทกลอนของตนเองที่นำมารวบรวมจนเป็นหนังสือเล่มนี้ ไม่เคยคิดว่า ตนเองจะเป็นมากกว่า "คนเขียนกลอน" กลอนที่ตนเองเขียนขึ้นทั้งหมดเป็นเพียงการถ่ายทอดประสบการณ์ของตนเอง 


ส่วน ชื่อหนังสือที่มีคำว่า "สัมผัส" นั้นมีความหมาย 2 นัยยะคือ บทกลอนที่มีสัมผัส และกระบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ซึ่งบางอาจมีความขัดแย้ง จึงจำเป็นต้องหา "ฉันทามติ" ร่วมกัน เพื่อก้าวเดินไปข้างหน้าร่วมกัน ท่ามกลางความแตกต่างของแต่ละบุคคล

'เหวง' โต้คนจนเสียภาษีมากกว่าคนรวย

ที่มา uddred

 Facebook นพ.เหวง โตจิราการ 30 ตุลาคม 2555 >>>


วานนี้ (29 ต.ค. 55) นพ.เหวง โตจิราการ โพสท์ข้อความตอบโต้ อ.ณรงค์ เพชรประเสริฐ กรณีกล่าวอ้างว่า คนจนเสียภาษีน้อยกว่าคนรวย ดังนี้

ไม่น่าเชื่อว่า อ.ณรงค์ เพชรประเสริฐ จะปล่อยไก่ได้ตัวเบ้อเร่อขนาดนี้ กล่าวหาว่า ชาวนา 20 ล้านคนไม่เสียภาษี แต่คนชั้นกลางชั้นสูง 15 ล้านคนเสียภาษี
เขาถึงกล่าวกันว่า คนที่ไม่อยากเห็นจะตาบอดยิ่งกว่าคนตาบอด คนที่ไม่อยากได้ยินจะหูหนวกเสียยิ่งกว่าคนหูหนวก คนที่จิตมืดด้วยอคติทั้งสี่จะวิปริตยิ่งกว่าคนที่จิตบ้า
คนจนในประเทศนี้ครับที่เสียภาษีมากยิ่งกว่าคนรวยในประเทศนี้เสียอีกและอัตราภาษีหนักหนาสาหัสยิ่งกว่าคนรวยเป็นไหนๆ
ยก ตัวอย่าง ซื้อยาสีฟันหลอดละหนึ่งร้อยบาทคนจนเสียเจ็ดบาทเท่าคนรวย คนจนที่รายได้ปีละไม่กี่หมื่นบาท เสียภาษีเท่ากับคนรวยรายได้วันละหลายสิบ หลายร้อยหลายพันหมื่นบาท (ซึ่งก็คือวันละแสน ล้าน สิบล้านบาท)
โอ้ย อ.ณรงค์ เพชรประเสริฐ ครับ ถอดยศ ดร. ของตัวเองได้แล้วครับ แล้วก็คืนยศศาสตราจารย์ของตัวเองเสียดีกว่าครับ

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สุรพศ ทวีศักดิ์ : ปรัชญาตายแล้ว!

ที่มา ประชาไท



 
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา ผมได้ฟังศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ ปาฐกถาในการสัมมนาทางวิชาการของสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย พูดตอนหนึ่ง (ประมาณ) ว่า
 
“วิชาปรัชญากำลังจะตายไปจากอุดมศึกษาไทย เพราะผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่รู้ว่าปรัชญาคืออะไร มองว่าวิชาปรัชญาไม่มีประโยชน์ การวิจัยทางปรัชญาที่ใช้วิธีวิจัยทางมนุษยศาสตร์โดยการกำหนดประเด็นปัญหาทาง ปรัชญา สำรวจข้อโต้แย้งทางปรัชญา ตีความ วิเคราะห์ วิจารณ์ ความคิด ทฤษฏีปรัชญาต่างๆนั้น ผู้มีอำนาจในการอนุมัติทุนวิจัยในหน่วยงานระดับชาติมองว่า วิธีแบบนี้ไม่ใช่วิธีวิจัย เพราะไม่ได้ใช้หลักสถิติ อีกทั้งผู้เรียนก็น้อยลง ทำให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งต้องยกเลิกวิชาปรัชญาไปโดยปริยาย”
 
ในช่วงแลกเปลี่ยน อาจารย์บางคนบอกว่านักศึกษามักจะบ่นว่า “เรียนปรัชญาน่าเบื่อ ไม่รู้เรื่อง” อาจารย์สอนปรัชญาก็มักจะตอบทันทีว่า “ปรัชญามันต้องไม่รู้เรื่อง ถ้ารู้เรื่องก็ไม่ใช่ปรัชญา” (ฮา) อีกอย่างนักศึกษาเรียนปรัชญาไปแล้วก็ไม่รู้จะไปทำงานอะไร เพราะไม่มีอาชีพรองรับ ฯลฯ
 
นานมากแล้วที่ผมไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาทางปรัชญา (เคยไปครั้งนี้เป็นครั้งที่สาม) แต่ก็เห็นได้ชัดว่า คนในวงวิชาการด้านปรัชญายังพูดถึงปัญหาเดิมๆ ของตัวเองมาหลายสิบปี (เช่นเดียวกับคนในแวดวงศาสนา) มันคือปัญหา “ความมั่นคง” ของวิชาปรัชญา และ/หรือสถานภาพของอาจารย์ นักวิชาการด้านปรัชญา แต่ไม่ค่อยได้เห็นการถกเถียงว่า “ปรัชญาทำหน้าที่อะไรในสังคมไทยปัจจุบัน?” (หรือผมอาจอยู่ “ชายขอบ” เกินไปเลยไม่รู้ว่าเขาก็เถียงเรื่องนี้กันอยู่)
 
โดยเฉพาะ 80 ปี ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตยที่ ยังหา “จุดลงตัว” ไม่ได้ ในสภาวะที่ยังหาจุดลงตัวไม่ได้ยิ่งนานวันขึ้นมันยิ่งสะท้อนปัญหาพื้นฐานทาง ปรัชญาเด่นชัดมากขึ้นๆ ตั้งแต่ปัญหาพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ เสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม ความหมายของ “คน” หรือ “ประชาชน” ในโลกประชาธิปไตยสมัยใหม่ ปัญหาอุดมการณ์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ VS.อุดมการณ์ประชาธิปไตย ปัญหาความเป็นไทย VS.ความเป็นสากล ปัญหาว่าศาสนาครอบงำ ลดทอน หรือส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และศีลธรรมทางสังคม
 
รวมทั้ง “ปัญหามโนธรรมทางสังคม” ที่ดูเหมือนจะสรุปความขัดแย้งทางการเมืองกันง่ายๆ แค่ว่า การนองเลือดครั้งต่างๆ ที่ผ่านมานั้น เป็นความผิดของแกนนำที่พาคนไปตาย น่าเห็นใจนักศึกษาประชาชนที่ถูกปลุกปั่นให้กลายเป็น “เหยื่อ” ของความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอำนาจและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง แต่ขาดความเอาใจใส่อย่างลึกซึ้งจริงจังต่อประเด็นมนุษยธรรม และการอ้างอิงหลักการประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนเพื่อกดดันให้รัฐบาล และกลุ่มอำนาจนอกระบบที่อยู่เบื้องหน้าเบื้องหลังรับผิดชอบทางกฎหมายและ ศีลธรรมทางสังคม
 
ถามว่า ท่ามกลางปัญหายากๆ และซับซ้อนต่างๆ นั้น “ปรัชญา” และ/หรือนักวิชาการด้านปรัชญาในบ้านเราทำหน้าที่อะไร? หากปรัชญาไม่ทำ หรือไม่สามารถจะทำอะไรในเชิงช่วยให้สังคมกระจ่างชัดในประเด็นปัญหาพื้นฐาน และข้อโต้แย้งต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องอุดมการณ์ทางสังคมการเมืองที่ส่งเสริมศักดิ์ศรีของมนุษย์ เสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรมเป็นต้นได้เลย ปรัชญาก็สมควรตายไปจากสังคมนี้มิใช่หรือ? การตีโพยตีพายว่าคนอื่นๆ ไม่รู้จัก และไม่เห็นประโยชน์ของปรัชญาย่อมเป็นเรื่องที่ไร้ความหมาย
 
สำหรับผมแล้ว เราอาจมองปรัชญาเป็นสองส่วนหลักๆ คือ ส่วนที่เป็น “ความคิดทางปรัชญา” กับส่วนที่เป็น “ทักษะทางปรัชญา” ส่วนแรกคือแนวคิดหรือทฤษฎีของนักปรัชญาหรือสกุลปรัชญาสำนักต่างๆ ส่วนหลังคือวิธีการทางปรัชญาได้แก่ “วิภาษณ์วิธี” (dialectic) บางทีเราเรียกสิ่งนี้ว่าเป็น “กิจกรรมทางปรัชญา” คือ การที่เราใช้วิธีคิดเชิงวิพากษ์มาทำความกระจ่างในประเด็นปัญหาทางความคิดที่ ยุ่งยากซับซ้อน การริเริ่มประเด็นปัญหาพื้นฐานและข้อโต้แย้งต่างๆ การวิเคราะห์หักล้างข้อโต้แย้งต่างๆ ตลอดถึงการเสนอความคิดใหม่ หรือทางเลือกใหม่ สรุปคือส่วนที่เป็นทักษะทางปรัชญาช่วยให้เราคิดอะไรชัดเจน เป็นระบบ สมเหตุสมผล ไม่สับสนหรือขัดแย้งในตัวเอง
 
โดยปกติเมื่อเราผ่านการศึกษาทางปรัชญาแล้ว “ความคิดทางปรัชญา” ที่ประทับใจเราจะไม่มีวันตายไปจากเรา เช่น ความคิดเรื่องธรรมชาติของเหตุผล อารมณ์ คุณค่าของชีวิต เสรีภาพ ความยุติธรรม ฯลฯ ส่วนทักษะทางปรัชญานั้นก็ไม่มีวันตายไปจากเรา เหมือนทักษะอื่นๆ เช่นการปั่นจักรยาน เป็นต้นที่จะตายไปพร้อมกับชีวิตเรา
 
ปัญหาอยู่ที่ว่า วิธีการเรียนการสอนปรัชญาในบ้านเรานำไปสู่การสร้าง “รอยประทับ” ของความคิดทางปรัชญาที่แจ่มชัดลงในห้วงคำนึง การคุ่นคิดอย่างลึกซึ้งของผู้เรียนหรือไม่ ทำให้ผู้เรียนมีทักษะทางปรัชญาที่สามารถนำไปใช้ “จับปลากินเอง” หรือไปจับประเด็นปัญหาซึ่งพบเห็นได้ในสังคม ในชีวิตประจำวันขึ้นมาวิเคราะห์วิพากษ์เชิงปรัชญาได้เพียงใด
 
รวมทั้งนักวิชาการในแวดวงปรัชญาได้ใช้ทักษะทางปรัชญามาทำความกระจ่างใน ปัญหาพื้นฐานต่างๆ ในทางสังคมการเมืองเป็นต้นอย่างไร คือถ้าเราทำให้ปรัชญามีชีวิต ปรัชญาก็จะไม่ตาย แต่ถ้าจำกัดพื้นที่ให้ปรัชญาอยู่แค่ในห้องเรียนแคบๆ เอาไว้เรียนกันตามที่พูดๆ กันว่า “ปรัชญามันต้องเรียนไม่รู้เรื่อง ถ้ารู้เรื่องก็ไม่ใช่ปรัชญา” ก็บอกได้เลยครับว่า ปรัชญาตายแน่ๆ (รีบจองศาลา เตรียมฌาปกิจได้เลย)
 
ทำไมปรัชญาทั้งส่วนที่เป็น “ความคิดทางปรัชญา” กับส่วนที่เป็น “ทักษะทางปรัชญา” จึงไม่ตายไปจากสังคมตะวันตก คงไม่ใช่เพียงเพราะว่าเขาเรียนกันทั้งระดับมัธยมและอุดมศึกษาเท่านั้น ที่สำคัญว่านั้นคือถ้าเราสังเกตจะเห็นว่า คนตะวันตกเขามี “character ทางปรัชญา” ที่ปรากฏออกมาในบุคลิกภาพของเขาตั้งแต่การมองความหมาย คุณค่าของชีวิต การเคารพสิทธิ เสรีภาพ ความเป็นตัวของตัวเอง อดทนต่อความเห็นต่าง มีความคิดเชิงวิพากษ์ ต้องการคำตอบปัญหาต่างๆ ที่อ้างอิงความรู้ ความเป็นเหตุเป็นผล ฯลฯ ซึ่งบุคลิกภาพเช่นนี้มันถูกวางรากฐานและมีพัฒนาการคลี่คลายมาเป็นพันๆ ปี อย่างน้อยก็ตั้งแต่ยุคภูมิปัญญากรีกเป็นต้นมาที่ส่งเสริมความเป็นมนุษย์ผู้ ซึ่งใช้เสรีภาพและเหตุผลของตนเองอย่างเต็มศักยภาพในการแสวงหาการมีชีวิตที่ มีคุณค่า การสร้างหลักปรัชญา อุดมการณ์ และระบบสังคมการเมืองที่ยุติธรรม
 
ที่จริงปรัชญาไม่ควรจะตาย เพราะมีปัญหาให้ปรัชญาไปร่วมถกเถียงด้วยอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เช่น โพสต์ในเฟซบุ๊กของ “ตี้” นิติพงษ์ ห่อนาค ที่ว่า
 
“แผ่นดินสยามครั้งที่ยังอยู่ในพระหัตถ์ปิยกษัตริย์ ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีประปา เลิกทาสได้อย่างนิ่มนวล มีรถไฟพร้อมญี่ปุ่น ฯลฯ ต่อเมื่อแผ่นดินอยู่ในมือของคนเพียงไม่กี่คน เปลี่ยนมือกันไปมา ก็ก้าวหน้าตามที่เห็นแล อดคิดไม่ได้ว่า ถ้ายังไม่เปลี่ยนการปกครอง ป่านนี้อาจมี 6G ใช้แล้วก็ได้...กษัตริย์ไทย บารมีพระมากพ้น รำพันโดยแท้”
 
แค่โพสต์นี้ก็ชวนให้ถกเถียงทางปรัชญาได้มากมายเลยครับ ถ้าคนในวงวิชาการปรัชญามองเห็นจริงๆ ว่า ปรัชญายังมีคุณค่าต่อสังคม นำทักษะทางปรัชญามาร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประชาชนที่ถูกครอบงำ กดขี่ให้มากขึ้น ปรัชญาก็จะไม่ตาย!

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ: น่านเจ้า

ที่มา ประชาไท

 

ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๒ แล้วที่ชาวจีนได้เข้ามาครอบครองเหนือดินแดนที่เป็นมณฑลยูนนานในปัจจุบัน ณ ที่นั้น ชาวจีนได้พบกับความหลากหลายของบรรดาผู้คนที่จีนเรียกว่า “คนป่าคนเถื่อน” (หม่าน Man) ที่บางพวกก็ยอมรับอารยธรรมจีน ตระกูลผู้ปกครองท้องถิ่นหนึ่งนามว่า จ้วน (Zuan) มีศูนย์กลางอยู่ในอาณาบริเวณทางทิศใต้ของเมืองคุนหมิง ต่อไปจนจรดชายแดนเวียดนามปัจจุบัน ภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่น ในต้นศตวรรษที่ ๓ ตระกูลนี้ได้กลายเป็นเจ้าปกครองมณฑล
นี่คือดินแดนที่มีชนเผ่าไทและแม้ว/เย้าอาศัยอยู่ ส่วนด้านทางตะวันตกกับตะวันตก เฉียงใต้ของมณฑลนี้ ก็มีผู้คนที่ครอบครองอยู่แล้ว และจีนเรียกว่า หวู-หม่าน (Wu-man) หรือ “คนป่า-คนเถื่อนดำ” พวกนี้พูดภาษาในตระกูลทิเบต-พม่า คล้ายกับพวก “โลโล่” หรือ “ละหุ” ที่ก็ยังอาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้ พวกหวู-หม่านแห่งยูนนานตะวันตกนี่แหละที่ในศตวรรษที่ ๗ ได้กลายเป็นศูนย์กลางของรัฐน่านเจ้า
ภายในศตวรรษที่ ๗ ชาวจีนก็ได้เข้ามาครอบครองยูนนานได้ถึงครึ่งหนึ่ง การปกครองของจีนขยายไปทางตะวันตกจนจรดแม่น้ำโขง แต่ในไม่ช้าจีนก็ต้องตั้งรับการขยายตัวของทิเบต ซึ่งคุกคามต่อจีนตามชายแดนตะวันตกเฉียงใต้ในยูนนานและในเสฉวน จีนพยายามรักษาความมั่นคงทางชายแดน ด้วยการเป็นพันธมิตรกับแว่นแคว้นในท้องถิ่น พันธมิตรหนึ่งดังกล่าวก็คือพระเจ้าพีล่อโก๊ะ หนึ่งในหกของเจ้าแว่นแคว้นเล็กๆ รอบทะเลสาบต้าลี่ในยูนนานตะวันตก พระเจ้าพีล่อโก๊ะถือว่ารัฐเล็กรัฐน้อย ๖ รัฐนี้ อยู่ภายใต้การปกครองของตนตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. ๗๓๐
 และเมื่อปี ๗๓๘ ก็ได้รับการรับรองจากราชสำนักจีนให้เป็น “เจ้าแห่งยูนนาน” ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับ “เจ้าทางใต้ (น่านเจ้า)” ดำเนินไปฉันมิตรจนกระทั่งประมาณปี ๗๔๐ แต่ก็กลับเลวร้ายลงอย่างรวดเร็วใน ทศวรรษต่อมา ภายใต้ลูกชายของพีล่อโก๊ะเอง คือ โก๊ะล่อฝง ระหว่างปี ๗๕๒ ถึงปี ๗๕๔ จีนส่งทัพไปโจมตีน่านเจ้าถึง ๔ ทัพ แต่ทุกครั้งก็ถูกกองกำลังของโก๊ะล่อฝงตีแตกกลับมา และน่านเจ้าก็ขยายการปกครองของตนเหนือยูนนานตะวันออกกับกุ้ยโจวตะวันตก และเมื่อจีนยุ่งอยู่กับการกบฏ แรงกดดันต่อน่านเจ้าก็ลดถอยลง และการสถาปนาจักรวรรดิใหม่นี้ในเขตตะวันตกเฉียงใต้ก็สร้างขึ้นด้วยการตั้งเมืองหลวงที่สองที่เมืองคุนหมิงในปี ๗๖๔
 จดหมายเหตุร่วมสมัยที่ครอบคลุมเรื่องน่านเจ้าได้ดีที่สุดคือ “หม่านชู” (Man Shu) ที่เขียนขึ้นโดยข้าสำนักจีนเมื่อประมาณปี ๘๖๐ เอกสารนี้ชี้ให้เห็นถึงรัฐกึ่งทหารที่ได้รับการจัดตั้งเป็นอย่างดี ปกครองอยู่เหนือหลายชนเผ่าชาติพันธุ์ ในแง่การบริหารนั้น แบ่งเป็น ๖ “คณะกรรมการ” หรือกรม ต่างรับผิดชอบการสงคราม การประชากรและรายได้ การรับรองแขกต่างประเทศ การลงโทษทัณฑ์ การแรงงาน และการระดมพล เหนืออำนาจและสถานะของคณะกรรมการชุดนี้ก็จะมี “อัครเสนา ๑๒” ซึ่ง แต่ละวันๆ ...ต้องเข้าเฝ้า “น่านเจ้า” เพื่อพิจารณาข้อราชการ
และยังมี “ข้าราชการบริสุทธิยุติธรรม” ทั้งหกที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นอง คมนตรีของเจ้าอีกด้วย การปกครองนี้ รวมถึงลำดับขั้นของเจ้าหน้าที่ จากระดับหัวหน้า ที่ดูแลหนึ่งร้อยครัวเรือน ไปจนถึงเจ้าเมืองที่ควบคุมครัวเรือนถึงหนึ่งหมื่น หัวหน้าครอบครัวที่เป็นชายจะต้องชำระภาษีเป็นปริมาณข้าว ๑๘ ลิตร รวมทั้งยังอาจต้องถูกเกณฑ์ไปเป็นไพร่พลทหาร กองทัพดึงดูดเด็กหนุ่มให้มาร่วมฝึกฝนเมื่อว่างจากงานการเกษตร กองทัพน่านเจ้ามีประสิทธิภาพ มีพลัง มีวินัยดี และมีผลสำเร็จเป็นอย่างดีในการสู้รบ
น่านเจ้าเป็นมหาอำนาจใหญ่ในกิจการของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนเหนือและทางเอเชียตะวันออกทางตอนใต้เป็นเวลาหลายศตวรรษ กองทัพน่านเจ้าสร้างแรงกดดันต่ออาณาจักรพยูในพม่าภาคกลาง จู่โจมตีดินแดนที่ในปัจจุบันคือพม่าตอนใต้กับไทยตอนเหนือ น่านเจ้ายังส่งกองทัพไปโจมตีเขมร เจนละ และมีบันทึกกล่าวไว้ว่า “ไปไกลถึงชายฝั่งทะเล” ทั้งยังส่งกองทัพไปตีอันนัม (เวียดนามเหนือ) ดินแดนในอารักขาของจีน ต่อจากนั้นอำนาจของน่านเจ้าก็ค่อยลดลง จีนกลับฟื้นตัวขึ้นใหม่ เวียดนามเป็นอิสระ (ปี ๙๓๙) และพัฒนาการใหม่ก็เริ่มก่อรูปขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนเหนือ
ความสำคัญของน่านเจ้าต่อประวัติศาสตร์ของคนเผ่าไท ไม่ได้อยู่ที่ว่าใครคือเจ้าผู้ปกครอง ซึ่งก็ไม่ได้เป็นคนเผ่าไท เจ้าของน่านเจ้าสืบสายกันทางบิดา มีระบบของการตั้งชื่อ พยางค์แรกของชื่อเจ้าแต่ละคน คือพยางค์เดียวกันกับพยางค์สุดท้าย ของนามบิดา ดังนั้น ก็จะเป็นเช่นนี้ คือ พี-ล่อ-โก๊ะ, โก๊ะ-ล่อ-ฝง, ฝง-เจี่ย-อี้, อี้-มู่-ซุ่น (Pi-lo-ko, Ko-lo-feng, Feng-chia-i, I-mou-hsun) ฯลฯ นี่เป็นแบบแผนที่พบทั่วไปในหมู่ของชนเผ่าโลโล่กับกลุ่มทิเบต-พม่า แต่ไม่เป็นที่รู้จักกันในชนเผ่าไท
นอกจากนี้บันทึกรายการของคำศัพท์น่านเจ้าที่กล่าวถึงไว้ในหนังสือหม่านชู ก็เทียบได้กับภาษาโลโล่ ไม่ใช่กับภาษาไท และตำนานชนเผ่าไท หรือพงศาวดาร ก็ไม่มีการเอ่ยถึงอาณาจักรน่านเจ้าหรือเจ้าตนใดเลย ในขณะที่ในศตวรรษที่ ๑๙ นี้ บรรดาหัวหน้าเผ่าโลโล่ในยูนนานกลางกลับสืบบรรพชนของตนกลับไปยังราชสำนักน่านเจ้า ในทางกลับกันความสำคัญของน่านเจ้าน่าจะต้องพิจารณาต่อผลกระทบที่มีต่อชนเผ่าไทที่อาศัยอยู่ในดินแดนทางตอนใต้และทางตอนตะวันออกตามชายขอบของจักรวรรดินั้น
น่านเจ้าได้เปิดเส้นทางคมนาคมข้ามแดนระหว่างอินเดียกับจีน ผลลัพธ์ทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมครั้งนี้สำคัญยิ่ง น่านเจ้ากลายเป็นรัฐนับถือพุทธ และคงได้ช่วยในการเผยแผ่พุทธศาสนาไปในดินแดนที่ตนครอบครองอยู่ รวมทั้งการเผยแพร่ศิลปะและวิทยาการของอินเดียด้วย การที่น่านเจ้าเรืองอำนาจขึ้นมาได้ ก็ปิดกั้นมิให้ดินแดนตอนเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนในติดต่อกับจีนได้โดยตรง ในเวลาเดียวกันอำนาจของน่านเจ้าก็ช่วยทำให้การค้าขายข้ามแดนระหว่างอินเดียกับจีนกระตุ้นต่อการค้าในท้องถิ่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนเหนือ เจ้าในท้องถิ่นก็คงจับโอกาสทางการเมืองใหม่นี้ได้ สามารถได้ผลประโยชน์ หรือไม่ก็ได้รับอารักขาในความสัมพันธ์ต่อสู้กับเพื่อนบ้าน พร้อมทั้งยังได้ลอกเลียนรูปแบบของการปกครองกับการทหารของน่านเจ้าด้วย
 แม้ว่าบรรดาเจ้าเผ่าไทที่ไม่ได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของน่านเจ้าโดยตรง แต่ก็อาจถูกกดดันให้รวบรวมกำลังพลเพื่อป้องกันตนเอง และน่านเจ้าหาใช่รัฐแรกที่รุกเข้ามาในโลกของเผ่าไทไม่ และก็ไม่ใช่รัฐสุดท้ายอย่างแน่นอน แต่น่านเจ้าก็เป็นระบอบสำคัญแรกที่เข้ามาพัวพันกับที่สูงตอนในของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป
กล่าวคือ ในดินแดนที่ปัจจุบันคือ รัฐฉานของพม่า ไทยภาคเหนือ และลาว ตลอดจนเวียดนามตะวันตกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตาม ในศตวรรษต่อจากยุครุ่งเรืองของน่านเจ้า ในศตวรรษที่ ๘ และ ๙ แรงกดดันกลับจะมาจากทางทิศใต้ จากจักรวรรดิใหญ่โตที่ต่างออกไป
หลักฐานเกี่ยวกับน่านเจ้าที่หลงเหลือตกทอดมา ไม่ได้กล่าวถึงอะไรที่จะทำให้คิดว่า นี่คือรัฐของชนเผ่าไทในดินแดนที่สูงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในศตวรรษที่ ๙ และที่ ๑๐ แต่หลักฐานก็กล่าวถึงบรรดารัฐเกือบทั้งหมดที่อยู่ข้างเคียงทางใต้ และเป็นปฏิปักษ์กับเผ่าไทในศตวรรษต่อๆ มา ทั้งยังมีความสำคัญยิ่งยวดในการสร้างอารยธรรมของชนเผ่าไท จากทิศตะวันออก ไปทิศตะวันตก จะรวมถึงหน่วยของเวียดนามในหุบเขาลุ่มแม่น้ำแดง และดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำในเวียดนามเหนือ รวมทั้งอาณาจักรจามปาทางฝั่งทะเลตอนกลางของเวียดนาม จักรวรรดิเขมรที่อังกอร์ (พระนครหลวง-ยโศธรปุระ) รวมทั้งบรรดาอาณาจักรในไทยภาคกลางกับภาคเหนือ อาณาจักรมอญกับพยูในพม่า โดยรวมแล้วบรรดาอาณาจักรเหล่านี้หันหน้าออกทะเล สร้างเป็นวงแหวนล้อมรอบชนเผ่าไทไว้ในดินแดนที่สูง

หมายเหตุ: แปลจากบางส่วนของหนังสือ Thailand : A short History ของ Prof. David K. Wyatt
 เผยแพร่ครั้งแรกที่: http://www.matichon.co.th

เสียงจากคนคุกเสื้อแดง : ชะตากรรมของประสิทธิ พลอยทับทิม

ที่มา ประชาไท

 

นายหัว ส.
 
 
 
การรณรงค์เรียกร้องต่อศาลให้พิจารณาคดีด้วยความยุติธรรมอย่างเสมอภาค จึงจะเป็นหนทางนำไปสู่การปรองดองของคนในชาติ
 
สภาผู้แทนคนเสื้อแดงในคุกรู้สึกสงสารและเห็นใจคนเสื้อแดงที่ยังถูกคุม ขังอยู่ในคุกทุกคน และมีความคิดเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะศาลมีความยุติธรรมลำเอียง ระหว่างคนเสื้อเหลืองและเสื้อแดง เป็นการสร้างเงื่อนไข ร้ายแรงที่ก่อให้เกิดความแตกยกของคนในชาติ เพราะคนเสื้อแดงยากจะทำใจได้ต่อความอยุติธรรมที่ได้รับจนเป็นกล่าวสรุปที่ ว่า “คนเสื้อเหลืองทำอะไรก็ไม่ผิด คุกก็ไม่ต้องติด แต่คนเสื้อแดงทำอะไรก็ผิดหมดต้องติดคุกอยู่ฝ่ายเดียว ช่างน่าแค้นใจนัก”
 
มีการลำดับเปรียบเทียบการกระทำความผิดระหว่างคนเสื้อเหลืองกับคนเสื้อ แดงดังนี้ คนเสื้อเหลืองชุมนุมสนับสนุนการให้ก่อรัฐประหารในปี 2549 ชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ทำร้ายนายณรงค์ศักดิ์ กรอบไธสงที่เป็นฝ่ายเสื้อแดงจนเสียชีวิต และพกพาอาวุธปืนขับรถไปยิงคนจนได้ รับบาดเจ็บหลายคน ที่ถนนวิภาวดีซอย 3 ใน 2550 บุกยึดทำเนียบรัฐบาล ยึดสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ยึดสนามบินดอนเมืองและสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ บุกล้อมรัฐสภา ขัดขวางการต่อสู้การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ขับรถชน พยายามฆ่าเจ้าพนักงานในขณะปฏิบัติหน้าที่ แล้วถอยรถยนต์ชนซ้ำ พยายามฆ่าเจ้าพนักงานในขณะปฏิบัติหน้าที่โดยไตร่ตรองไว้ก่อนอีกกระทงหนึ่ง ทั้งหมดนี้เหตุเกิดในปี 2551
 
คดีต่างๆ เหล่านี้ผ่านมาห้าปีแล้วยังไม่มีคนเสื้อเหลืองคนใดถูกขังอยู่ในคุกเลย ที่ถูกดำเนินคดีได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวหมด ไม่ว่าจะเป็นคดีร้ายแรงแค่ไหน ยึดสนามบินสุวรรณภูมิเสียหายกว่าสองแสนล้านบาท มากกว่าศาลากลางที่ถูกเผาเป็นไหนๆ แล้วยังเข้าข่ายเป็นผู้ก่อการร้ายสากล ก็ยังได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
 
ส่วนคดีพยายามฆ่าเจ้าพนักงานในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ถึงสองกระทง นอกจากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวตั้งแต่ต้นแล้ว สุดท้ายศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้มีการรอลงอาญาไม่ต้องติดคุก แล้วทราบว่าอัยการก็ไม่อุทธรณ์ คดีสิ้นสุดอย่างน่าอัศจรรย์
 
ต่างจากคดีฝ่ายเสื้อแดง คือ นายประสิทธิ์ พลอยทับทิม ที่ขัดขวางการเข้ารื้อเวทีและเต็นท์ของกลุ่ม “พิราบขาว 2006” ที่ชุมนุมขับเผด็จการ คมช. ที่ท้องสนามหลวงในเช้าตรู่ของวันที่ 14 มีนาคม 2550 ขัดขวางการเข้ารื้อเวทีและเต็นท์ของกลุ่ม “คนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ” โดยเจ้าหน้าที่เทศกิจในวันที่ 15 มีนาคม ถูกศาลจำคุกคดีละ 6 เดือน รวม 1 ปี
 
คนเสื้อแดงอื่นๆ ที่ถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดในปี 2553 หลังคดีคนเสื้อเหลืองถึง 3 ปี และความร้ายแรงของคดีก็น้อยกว่า เวลานี้ถูกขังอยู่ในคุกหลายสิบคน นี่คือสิ่งที่คนเสื้อแดงมองว่าไม่ยุติธรรมอย่างมาก เป็นสองมาตรฐานที่น่าแค้นเคือง จึงควรที่คนเสื้อแดงทั้งประเทศ นปช. และรัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องออกมาเรียกร้องต่อศาลให้พิจารณาให้เกิดความ ยุติธรรมอย่างเสมอภาค ถ้าไม่ปล่อยคนเสื้อแดง ก็ต้องเอาคนเสื้อเหลืองที่คดีร้ายแรงกว่ามาขังคุกด้วยกัน
 
ขอให้คนเสื้อแดงจัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งเพื่อรณรงค์เรียกร้องต่อศาลสถิต ยุติธรรมให้พิจารณาให้ความเป็นธรรมแก่คนไทยทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความปรองดองของคนในชาติ
 
6 ตุลาคม 2555
 
 

บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา: ดูการเมืองอเมริกันอย่างไรให้มันส์ ตอนที่ 3

ที่มา ประชาไท

 Sun, 2012-10-28 19:08



มาคุยกันต่อกับ ดร.สติธร ธนานิธิโชติ นักวิจัยจากสถาบันพระปกเกล้า ถึงการเมืองอเมริกัน หลังการดีเบตรอบ 2 หรือรอบ Hall town ของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐสมัยที่ 2 บารัค โอบามา กับคู่ท้าชิง มิค รอมนีย์ คะแนนสนับสนุนของทั้งสองฝั่งเริ่มสูสีกันมากขึ้น มาจับตาดูมลรัฐที่มักเป็นตัวชี้ขาดชัยชนะการเลือกตั้ง หรือที่เรียกว่า swing state ว่ามีมลรัฐไหนบ้าง และมาดูอินโฟกราฟฟิคสนุกๆ ทำนายทางเลือกของว่าที่ประธานาธิบดีทั้ง 2 คนว่าจะออกมาในรูปใดที่ http://elections.nytimes.com/2012/electoral-map?hp#scenario



5 ปีแช่แข็งประเทศ ม๊อบสนามม้า

ที่มา thaifreenews


5 ปีแช่แข็งประเทศ โมเดลเสธอ้าย
 

จตุพร:ไม่ได้เป็นรัฐมนตรีก็ไม่ตาย แต่...

ที่มา Thai E-News



โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
29 ตุลาคม 2555

นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำเสื้อแดงกล่าวในงานเปิดโรงเรียน นปช.อุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ในวันที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯครม.ชุดใหม่ โดยไม่มีชื่อของเขาเป็นรัฐมนตรี ประเด็นสำคัญ

-ไม่ได้เป็นรัฐมนตรีก็ไม่ตาย เพราะได้รับกำลังใจจากเสื้อแดงท่วมท้นยิ่งกว่าได้รับตำแหน่ง
-ยังสนับสนุนรัฐบาลต่อไป ตราบเท่าที่ไม่คอรัปชั่น ทำเพื่อประชาชน ไม่ทรยศต่อประชาชน
-เผยเบื้องหลังวืดรัฐมนตรีเพราะบางคนที่ไม่เคยร่วมต่อสู้ เอาตัวรอดตอนมีรัฐประหาร19กันยาฯ แล้วกลับมามีอิทธิพลชี้นำรัฐบาลว่าไม่ควรให้จตุพรเป็นรัฐมนตรีอ้างว่ามีรอย ตำหนิ มีบาดแผล
-นี่ไม่ใช่การวิจารณ์รัฐบาลแบบสาดเสียเทเสีย แต่เตือนแบบคนรักกัน แต่หากเตือนแล้วไม่ฟังก็ต้องมาคิดว่าจะจัดการกับคนที่เรารักอย่างไร
-คนเสื้อแดงต่อสู้มาเพื่อประชาธิปไตยแต่รัฐบาลแทนที่จะฟังเสียง16ล้านคนที่ เลือกมากลับต้่องไปฟังเสียงอวค์กรอิสระของอำมาตย์ ถึงขั้นมาบอกว่ารายชื่อรัฐมนตรีใหม่ไม่ให้มี"ไอ้ตู่"
-ต้องเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปลดแอกอำมาตย์ ไม่ใช่มัวแต่จะใส่แอกอำมาตย์เอาไว้เพราะอยากอยู่ในตำแหน่งรัฐบาลต่อไป แอกมีไว้ใส่คอวัวคอควายไม่ใช่คอคน ทั้งที่คนเสื้อแดงต่อสู้เพื่อปลดแอกจากอำมาตย์ไปสู่ประชาธิปไตย และคนตั้งรัฐบาลก็เสียสละแลกเลือดเนื้อ เสียอิสรภาพ
-น้ำทำให้เรือลอยอยู่ได้ แต่ก็ทำให้เรือคว่ำได้ หากรัฐบาลทรยศประชาชน ไม่ต้องรอให้เสธ.อ้าย ม็อบสนามม้ามาไล่ พวกเราจะจัดการกับรัฐบาลที่เราแลกเลือกเนื้อให้มีรัฐบาลนี้ขึ้นมาเอง
-ผมไม่มีวันยอมแพ้ ตำแหน่งไหนก็ไม่ใหญ่เท่ากับเป็นคนเสื้อแดง ยังมีพลังกว่าเดิม

*********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:

-เหตุผลที่จตุพรพลาดเก้าอี้รัฐมนตรี

-งานเปิดโรงเรียนนปช.อุตรดิตถ์



ล้านคำบรรยาย (พิเศษ) การ์ตูนเซีย 29/10/55 นอน...นอนให้หลับ

ที่มา blablabla

โดย 

 ภาพถ่ายของฉัน




เรื่องของตน ใช่ไหม..โทษใครหนอ
กทม. ยุคดัมมี่ นี่แหละหนา
สารพัด สิ่งที่เห็น ตามเป็นมา
ร้อยปัญหา บีบรัด ไล่มัดคอ....

นอน..ให้หลับ หลับให้ลง ขอจงหลับ
ยังคอยนับ วันเวลา ตาค้างถ่อ
โน่นไม่เสร็จ นี่ไม่ทัน กลั้นใจรอ
สุดท้ายหงอ เฉไฉ ไปไม่เป็น....

อะไรๆ ที่ทำไป ไม่สำเร็จ
แถมมดเท็จ โน่น นี่ นั่น มันแสนเข็ญ
ข้างๆ คูๆ งานลำบาก สุดยากเย็น
หลายคนเห็น สุดขำ ย้ำ "เอ๋อ" จริง....

จากอุโมงค์ยักษ์ ถึงฟุตซอล อ้อน..รอหน่อย
ไม่ซ้ำรอย เสร็จทันใจ ได้ทุกสิ่ง
คนกลับมอง ว่ากลับกลอก หลอกเหมือนลิง
แอบขำกลิ้ง คำแก้ตัว มั่วร่ำไป....

มือถือไวน์ ไฟส่องหน้า ตาเบิ่งค้่าง
มันอ้างว้าง หมองหม่น จนหวั่นไหว
ร้อยปัญหา ถาโถม โหมกวนใจ
เอ๋อ..เอาไง รีบบอกมา อย่ากวนTEEN....

๓ บลา / ๒๙ ต.ค.๕๕

เหลียวหลังแลไปข้างหน้า : ความจริงที่ถูกป้ายสี

ที่มา uddred





ทีมข่าว นปช.
29 ตุลาคม 2555



รายการเหลียวหลังแลไปข้างหน้าเพื่อประชาธิปไตย (ออกอากาศทุกวันศุกร์-อาทิตย์ เวลา 21.00-22.00 น.) ประเด็น ความจริงที่ถูกป้ายสีออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม 2555 โดย อ.ธิดา  ถาวรเศรษฐ
ในวันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคมนี้ มีการเปิดโรงเรียนการเมืองนปช. ปี 2555 ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และอ.ธิดาหวังว่านักเรียนที่มาเรียนทุกคนเป็นผู้ปฏิบัติงานนปช. โดยมีแนวทางนโยบาย หลักทฤษฎีของนปช. วิธีคิด-วิธีทำงาน การขยายงานมวลชน  ปัญหาและอุปสรรคเป็นอย่างไร เพื่อเป้าหมายในการขยายมวลชนอีก 10 ล้านคน
ในประเด็น “ความจริงที่ถูกป้ายสี” อ.ธิดาเล่าให้ฟังว่าเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมานี้  นางพิชซีร่า เฮร์ ที่ปรึกษาของ คอป. ที่ได้รับการสนับสนุนจากสถานทูตสวิสเซอร์แลนด์ มาเข้าพบและพูดคุยกันในระดับหนึ่ง  ต่อมาอ.ธิดาเล่าให้ฟังเรื่องที่ไปงานสัปดาห์หนังสือที่ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ ได้ไปพบหนังสือ “ความจริงไม่มีสี” ของนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ อ.ธิดาบอกว่าไม่ต้องไปอุดหนุนหรอกหนังสือเล่มนี้ จะเล่าให้ฟังให้พี่น้องได้เก็บเกร็ดเรื่องราวเอาไปคุยและตอบโต้กับฝั่งตรงข้าม
รายละเอียดต่าง ๆ ติดตามรับชมได้ในคลิปรายการเหลียวหลังแลไปข้างหน้าเพื่อประชาธิปไตยข้างต้นค่ะ.....

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โปรดเกล้าฯ'ครม.ยิ่งลักษณ์3' รวม23ตำแหน่ง

ที่มา Voice TV



มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ  รายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ "ยิ่งลักษณ์ 3" รวมทั้งสิ้น 23 ตำแหน่ง
 
วันนี้ (28 ต.ค.55)  ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศ เรื่อง ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี โดยมีรายละเอียดดังนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 และแต่งตั้งรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินตามประกาศลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และประกาศครั้งสุดท้ายลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 นั้น
 
บัดนี้ นายกรัฐมนตรีได้กราบบังคมทูลว่า ได้มีรัฐมนตรีลาออกบางตำแหน่ง สมควรปรับปรุงรัฐมนตรีบางตำแหน่ง เพื่อความเหมาะสมและบังเกิดประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 171 และมาตรา 183 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
 
1.ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
 
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
 
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
 
นางนลินี ทวีสิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
 
นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
 
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
 
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
 
พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
 
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
 
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
 
นายภูมิ สาระผล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
 
นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
 
นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
 
นายฐานิสร์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
 
นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
 
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
 
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
 
นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
 
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
 
นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขิ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
 
ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
 
 
ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
 
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง
 
นายปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นรองนายกรัฐมนตรี
 
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
 
นายวราเทพ รัตนากร เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 
น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 
นายยุคล ลิ้มแหลมทอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
 
นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
 
นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
 
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
 
พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
 
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
 
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
 
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
 
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
 
พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
 
นายประชา ประสพดี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
 
นายสนธยา คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
 
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
 
นายประดิษฐ สินธวณรงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
 
นายชลน่าน ศรีแก้ว เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
 
นายประเสริฐ บุญชัยสุข เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
 
นายฐานิสร์ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
 
 
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
 
ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พุทธศักราช 2555 เป็นปีที่ 67 ในรัชกาลปัจจุบัน
 
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
28 ตุลาคม 2555 เวลา 17:28 น.

แค่สงค์ฟันดำคนเดียวก็ทำให้เก้าอี้นายกสั่นสะเทีอนได้

ที่มา การ์ฺตูนมะนาว


ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker