ลี กวน ยู อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์
แต่ในปี 1962 นายพลเน วินของพม่าได้ทำการรัฐประหาร
และใช้ระบบรัฐบาลทหารแบบสังคมนิยมซึ่งตามนโยบายเศรษฐกิจแบบพอเพียง
พม่าได้ปิดประตูให้กับโลกและเนรเทศชาวอินเดียออกไป
ซึ่งก่อนหน้านี้พวกเขาอพยพมาในสมัยที่อังกฤษปกครองเป็นอาณานิคม
และมีบทบาททำให้ธุรกิจค้าปลีกรุ่งเรืองในหลายทศวรรษ ถึงแม้พลเอกเน
วินจะลงจากตำแหน่งในปี 1988 ทหารยังปกครองประเทศด้วยความเข้มงวด
ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็เผชิญกับการรัฐประหารหลายครั้ง
แต่ผู้นำประเทศก็เลือกวิถีทางเศรษฐกิจที่แตกต่างออกไป
ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจระบบตลาดแบบเสรี
เปิดกว้างรับการลงทุนจากหลากประเทศและดูดซับผู้อพยพจากประเทศจีนซึ่งหลั่ง
ไหลเข้ามาหลังการปกครองของอังกฤษ ทุกวันนี้
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศเอเชียที่เป็นศูนย์กลางการผลิตที่คึกคักมากที่
สุด
ด้วยระบบสังคมนิยมแบบปิด ตัวเลขจีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ)
ของพม่าได้วิ่งตามหลังประเทศไทย ในทศวรรษ 1980 จีดีพีของพม่าอยู่ที่ 172
ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนประเทศไทยอยู่ที่ 1,060 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2012
ช่องว่างดังกล่าวได้ถ่างออกยิ่งขึ้น โดยจีดีพีของพม่าอยู่ที่ 1,950
ดอลลาร์สหรัฐ และของไทยอยู่ที่ 8,516 ดอลลาร์สหรัฐ
ในเดือนพฤษภาคม 1997
สหรัฐอเมริกามีมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่รุนแรงเนื่องจากการละเมิดสิทธิ
มนุษยชนของพม่า โดยการสั่งห้ามการลงทุนและการค้าทุกชนิด
และเนื่องจากการเติบโตทางเศษฐกิจของพม่าที่จำกัดร่วมกับปัญหาอื่นๆ
พลเมืองพม่าที่ต้องการการรักษาทางการแพทย์ต้องอพยพข้ามชายแดนไปยังประเทศไทย
เพื่อทำการค้าเพชรพลอยและสิ่งมีค่าอื่นๆ เพื่อแลกกับการรักษาพยาบาล
ในขณะเดียวกัน
รัฐบาลพม่าก็ยินยอมให้ประเทศจีนเข้ามาสกัดทรัพยากรพวกเพชรพลอยและโลหะมีค่า
ต่างๆ ที่อยู่ในพม่า
สัญญานที่ดี
และมันก็เริ่มมีสัญญาณที่เป็นบวกในพม่า
สิ่งที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงหนึ่งคือนางออง ซาน ซูจี บุตรีคนที่ 3
ของนายพลออง ซาน บิดาของพม่าสมัยใหม่ นางเกิดเมื่อเดือนมิถุนายน 1945
และในสมัยวัยุร่นได้เติบโตที่เมืองนอก นางเดินทางกลับบ้านในปี 1988
เพื่อดูแลมารดาที่ป่วยหนัก และภายหลังก็ได้กลายเป็นผู้นำขบวนการประชาธิปไตย
และก่อตั้งพรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตย
นางถูกกักบริเวณในเดือนกรกฎาคม 1989 แต่ต่อมาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งปี
1990 ถึงร้อยละ 59 ของคะแนนเลือกตั้งทั้งหมด และได้ที่นั่งร้อยละ 81
อย่างไรก็ตาม กองทัพก็ยังไม่สนใจผลการเลือกตั้งดังกล่าว
นับตั้งแต่การที่เธอถูกจับครั้งแรก
นางถูกกักบริเวณในบ้านของเธอเป็นเวลาเกือบ 15 ปีจากทั้งหมด 21 ปี
และได้รับรางวัลโนเบลในปี 1991
ในที่สุดเธอก็ได้รับการปล่อยตัวในเดือนพฤศจิกายน 2010
ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา
พรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตยได้รับที่นั่ง 43
ที่นั่งในการเลือกตั้งซ่อม ออง ซาน ซู จี ได้นั่งเก้าอี้ในสภาล่างของรัฐสภา
การดำรงอยู่ของเธอในการเมืองพม่านับเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะนำมาซึ่งความ
เปลี่ยนแปลงและพม่าแบบใหม่
ที่สำคัญไม่แพ้กัน คือการเปลี่ยนใจของรัฐบาลทหาร พลเอกตัน ฉ่วย
ซึ่งเป็นประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งชาติได้ลงจากตำแหน่งเมื่อเดือน
มีนาคม 2011 สมาชิกคนใหม่ในรัฐบาลทหารคือ เต็ง เส่ง
ซึ่งดูเหมือนจะเป็นนักปฏิรูปอย่างแท้จริง ได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทนที่
และภายใต้การนำของเขา พม่าได้เปลี่ยนแปลงไปสู่รัฐบาลพลเรือน
เมื่อประธานาธิบดีเต็ง เส่งได้พบกับรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ
ฮิลลารี่ คลินตัน ในเดือนธันวาคม 2011
นางได้สนับสนุนให้เขาเปิดประเทศมากขึ้นสำหรับการค้าและการลงทุนจากประเทศ
และเมื่อทั้งสองได้พบกันอีกครั้งในเดือนกันยายนที่ผ่านมา
นางคลินตันประกาศว่าสหรัฐจะยกเลิกการคว่ำบาตรการนำเข้าสินค้า
ซึ่งทำให้ช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างพม่าและไทยแคบลงไป
ประเทศไทยเองได้เปลี่ยนผ่านจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มีการจัดการเลือกตั้งที่ปรกติและวุ่นวายบ้าง
แต่กองทัพก็ยังคงทำการรัฐประหารเมื่อพวกเขาเห็นว่ารัฐบาลมีความเอาแน่เอานอน
ไม่ได้หรือมีความเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันกษัตริย์ ตลอด 80 กว่าปีที่ผ่านมา
มีการทำรัฐประหารที่สำเร็จแล้ว 11 ครั้งและล้มเหลวอีก 7 ครั้ง
การรัฐประหารครั้งล่าสุดคือการขับไล่อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ
ชินวัตรเมื่อเดือนกันยายน 2006
การแทรกแซงของทหารได้ส่งผลให้อยู่ในสภาวะของความไม่แน่นอนที่ยาวนาน
และสั่นคลอนความเชื่อมั่นของนักลงทุน
คงจะดีหากรัฐบาลของทั้งสองประเทศจำได้ว่า
นโยบายเปิดประเทศและการลงทุนเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศไทยเจริญรุ่งเรือง
และนโยบายที่ตั้งรับแบบปิดประตูซึ่งทำให้พม่าถอยหลังไป 50 ปี
*ลี กวน ยู เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีประเทศสิงคโปร์ระหว่างปี 1959-1999
เป็นผู้ก่อตั้งพรรคและเลขาธิการคนแรกของพรรค People's Action Party (PAP)
หลังจากนั้นได้เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีระหว่างปี 2004- 2011
หมายเหตุ: แปลจากบทความ Socialism or Free Markets? Consider Myanmar and Thailand โดย ลี กวน ยู ตีพิมพ์ในนิตยสารฟอร์บส์ฉบับวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555