หลังการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz
อันถือเป็นประวัติศาสตร์การประมูลคลื่นครั้งแรกของไทย เมื่อวันที่ 16
ต.ค.55 ผ่านพ้นไป และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ
กทค.ได้มีมติเห็นชอบผลการประมูล (อย่างไม่เป็นเอกฉันท์) แล้ว
แต่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
ถึงกรณีการทุจริตในการประมูล-ราคาตั้งต้นการประมูลที่ไม่เหมาะสม-การแข่งขัน
ที่ไม่เกิดขึ้นจริง ก็ยังมีอยู่ต่อเนื่อง ไม่หยุดหย่อน
ภาพข่าว: 'กสทช.' นำเอกสารประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz ยื่น 'ป.ป.ช.' ตรวจสอบ ยืนยันความโปรงใส
ความเคลื่อนไหวล่าสุด เพื่อเป็นการทานกระแสคัดค้านการประมูล
เมื่อวันที่ 24 ต.ค.55 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ
กสทช.ได้เดินทางด้วยตนเองไปยื่นเอกสารเกี่ยวกับการประมูลทั้งหมดที่สำนักงาน
กสทช.จัดรวบรวมขึ้น แก่หน่วยงานต่างๆ ที่มีอำนาจในการตรวจสอบ
ทั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
กสทช.เปิดบทวิเคราะห์สถานการณ์ 7 ข้อ โต้วิพากษ์ประมูล 3G
ก่อนหน้านี้ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กสทช.และหนึ่งใน กทค.เปิดเผยผลการวิเคราะห์สถานการณ์ของการคัดค้านการประมูล 3G ใน 7 ประเด็น ดังนี้
1.การเคลื่อนไหวต่อต้านการประมูล มีการนำประเด็นเรื่องสัมปทานมาเกี่ยวข้องทั้งๆ
ที่มีหลายคนมีแนวคิดที่ไม่เห็นด้วยกับระบบสัมปทานมาก่อน
รวมทั้งเคยผลักดันให้มีการเปลี่ยนจากระบบสัมปทานเป็นระบบการแข่งขัน
แต่ตอนนี้มีความพยายามนำเรื่องการประมูลมาเปรียบเทียบกับข้อดีของระบบ
สัมปทาน ทั้งๆ
ที่ระบบการประมูลคลื่นความถี่จะเป็นการช่วยลดการผูกขาดอำนาจของหน่วยงานของ
รัฐ เพิ่มการแข่งขันให้ภาคเอกชน ส่งผลให้คุณภาพบริการดีขึ้น
และราคาค่าบริการถูกลง การนำประเด็นเรื่องราคาตั้งต้นการประมูลมาโจมตีว่า
กสทช.ตั้งราคาตั้งต้นการประมูลต่ำไป
โดยมีการสื่อข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่คลาดเคลื่อนและนำมาเปรียบเทียบกับ
มูลค่าสัมปทาน ทั้งๆ
ที่การประมูลครั้งนี้เป็นการนำคลื่นความถี่ที่ไม่อยู่ภายใต้สัมปทานมาจัดสรร
ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยมิได้เข้าไปแทนที่ระบบสัมปทาน
จึงเป็นเรื่องที่น่ากังขาอย่างยิ่ง
2.การเคลื่อนไหวคัดค้านการประมูลในครั้งนี้เคลื่อนไหวในประเด็นที่ต้องการเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล
โดยการพยายามให้ กสทช.หารายได้ให้รัฐบาลเยอะๆ
และมุ่งโจมตีว่ารัฐบาลจะเสียผลประโยชน์จากการประมูลในครั้งนี้ ทั้งๆ ที่
กสทช.เป็นองค์กรของรัฐก็จริงแต่เป็นอิสระจากรัฐบาลและมิได้มีหน้าที่หาราย
ได้ให้รัฐบาล แต่ต้องจัดสรรคลื่นความถี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
จึงมีข้อสงสัยว่าเหตุใดจึงเคลื่อนไหวเช่นนั้น
ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดต่อบทบาทอำนาจหน้าที่ของ กสทช.ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
3.การให้ กสทช.กำหนดราคาตั้งต้นการประมูลสูงเกินไป
โดยไม่มีหลักวิชาการรองรับ
ทำให้ส่งผลเป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายย่อยไม่ให้เข้าร่วมการประมูลได้
ทำให้ตลาดผูกขาดเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น
เหตุใดการคัดค้านจึงต้องการให้
กสทช.กำหนดราคาตั้งต้นที่สูงอย่างไม่มีเหตุผล
โดยมีการบิดเบือนข้อเท็จจริงจากผลการศึกษาของคณะผู้วิจัยจากคณะเศรษฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คลิกอ่านรายงานฉบับเต็ม)
เช่นนี้ หาก กสทช.ทำตามข้อเรียกร้อง ย่อมเป็นการทำให้ กสทช.กระทำผิดกฎหมาย
เนื่องจากถูกมองว่าเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการรายใหญ่และมุ่งหารายได้ให้
รัฐบาล
โดยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบที่รัฐธรรมนูญกำหนดที่จะต้องคำนึงถึง
ประโยชน์สูงสุดของประชาชน
4.กระบวนการโจมตีการทำงาน และ discredit กสทช.ถูกทำอย่างเป็นระบบ มี
การเคลื่อนไหวตั้งแต่ก่อนการประมูล มีการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน
ส่งต่อกันเป็นทอดๆ มีการปลุกระดมโดยใช้สื่อหลายแขนง
ซึ่งถ้ากระบวนการนี้ยังดำเนินต่อไปอาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมือง
ประชาชนบางกลุ่มอาจถูกโน้มน้าวให้เกิดความเข้าใจผิดๆ
จนต้องการให้ล้มการประมูล 3Gครั้งนี้
5.มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า กระบวนการเคลื่อนไหวนี้มิได้เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ทางวิชาการอย่างสุจริตใจ เนื่องจากมีการปลุกเร้าให้คนไทยเกลียดชังและหวาดระแวงว่า กสทช.ทำให้รัฐสูญเสียรายได้นับหมื่นล้าน
ทั้งที่จริงๆ แล้วคลื่นความถี่ที่นำมาประมูลครั้งนี้
รัฐบาลไม่ได้มีต้นทุนใดๆ
เนื่องจากเป็นทรัพยากรที่มีอยู่แล้วและใช้ได้ตลอดไปโดยสามารถกำหนดระยะเวลา
การใช้ตามอายุของใบอนุญาตได้ เมื่อหมดใบอนุญาตก็สามารถนำมาจัดสรรได้ใหม่
และที่ผ่านมาคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz จำนวน 45 MHz ก็ถูกทิ้งไว้เฉยๆ
ไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ใดๆ ตรงกันข้าม
หากไม่มีการนำคลื่นความถี่นี้มาจัดสรร
หรือประวิงเวลาให้การจัดสรรคลื่นย่านความถี่นี้ต้องล่าช้าออกไป
จะทำให้เกิดวิกฤตต่อระบบโทรคมนาคมของไทยและเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ
อย่างมหาศาล
6.อีกไม่ถึง 2 ปี เราก็จะเข้าสู่ AEC แล้ว
หากประเทศไทยยังมีระบบโทรคมนาคมที่ไม่มีประสิทธิภาพเราก็จะแข่งขันกับประเทศ
อื่นๆ ไม่ได้ และเมื่อบริษัทโทรคมนาคมของต่างชาติเข้ามาแข่งขัน
บริษัทโทรคมนาคมของไทยจะไม่มีโอกาสเติบโตได้ การขัดขวางผลการประมูล 3G จะ
ทำให้ต่างชาติได้ประโยชน์แต่ประเทศไทยเสียหายย่อยยับ จึงมีหลายฝ่ายวิพากษ์
วิจารณ์ว่า
เป็นเรื่องที่ผิดปกติที่มีการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้โดยทำให้ประเทศชาติเสีย
หาย แต่ต่างชาติได้ประโยชน์
7.มีการโจมตีการทำงานของ กทค.เช่น โจมตีว่า
กทค.เร่งรับรองผลการประมูล และ รีบให้ใบอนุญาตโดยพิรุธ ทั้งๆ
ที่สื่อมวลชนก็เห็นแล้วว่าเราได้มีการถ่ายทอดเสียงในวันพิจารณาผลการประมูล
โดยมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่ได้มุบมิบแอบทำ
และไม่ได้ลุกลี้ลุกลนแต่ต้องดำเนินการตามกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด
นอกจากนี้มีการกล่าวหาว่า กสทช.เร่งรัดออกใบอนุญาตให้ผู้ชนะการประมูล
ซึ่งไม่เป็นความจริง ดังจะเห็นได้จากวันที่ 22 ต.ค.55 ที่
กทค.ได้แถลงการณ์ยืนยันว่ามีเงื่อนไขที่ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการก่อนให้
บริการ 3G (คลิกอ่านแถลงการณ์) ซึ่งเราต้องแน่ใจก่อนว่าผู้ประกอบการต้องทำตามเงื่อนไขที่เรากำหนดก่อนว่าประชาชนผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์สูงสุด
คอมเมนต์ส่งตรงถึง กสทช.การประมูลเข้าข่ายฮั้วประมูล?!?
แม้
กสทช.และกทค.บางส่วนจะออกมาให้ข่าวยืนยันว่าทำเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อ
ประชาชน แต่ในอีกฟากฝั่งหนึ่งของคนที่เฝ้าจับตาและตั้งคำถาม
ก็ยืนยันเหตุผลเดียวกันนี้ว่า
พวกเขาตั้งคำถามและตรวจสอบการประมูลก็เพื่อผลประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศ
ชาติเช่นกัน
1.นายณกฤช เศวตนันท์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายของ พ.อ.เศรฐพงษ์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค.มีหนังสือแนะนำให้มีการประมูลใหม่เพราะเข้าข่ายฮั้วประมูล
2.น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ทำหนังสือ "ด่วนที่สุด" ที่ กค (กพวอ) 0421.3/42301 ลงวันที่ 18 ต.ค.2555 ส่งตรงถึงประธาน กสทช.
8.หนังสือ "ด่วนที่สุด" จากกระทรวงการคลัง
ประมวล 6 คำฟ้อง-คำสั่งศาลปกครอง กรณีการทักท้วงประมูลคลื่น
นอกจากนี้ช่วงเวลาก่อนการประมูลคลื่นความถี่ กลุ่มบุคคล
ทั้งองค์กรภาคประชาสังคม พนักงาน บมจ.ทีโอที
และนักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม ได้ยื่นฟ้อง กสทช.ต่อศาลปกครอง
กรณีการจัดประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz จำนวนทั้งสิ้น 6 คดี
ต่อมาคดีทั้งหมดศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณา
และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
อย่างไรก็ตาม คำฟ้องดังกล่าวในหลายคดีมีรายละเอียดที่น่าสนใจ
แม้อีกหลายคดีจะถูกมองว่ายื่นฟ้องโดยมีเป้าหมายต้องการล้มการประมูลอย่าง
เห็นได้ชัดจากระยะเวลายื่นอันกระชั้นชิดกับการประมูล
ทั้งนี้ 6 คดี ดังกล่าวประกอบด้วย
1.นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มการเมืองสีเขียว หรือกลุ่มกรีนและพวก ฟ้อง
กสทช.เมื่อวันที่ 15 ต.ค.55
คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดย
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยฟ้องให้เพิกถอนประกาศ กสทช. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อน
ที่สากลย่าน 2.1 GHz เนื่องจากเห็นว่า กสทช.กำหนดหลักเกณฑ์
เงื่อนไขและราคาการประมูลใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
และทำให้รัฐสูญเสียรายได้ โดยขอให้ศาลปกครองกลาง
มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและไต่สวนฉุกเฉินการเปิดประมูลใบอนุญาตฯ ของ
กสทช.จนกว่าการปรับแก้จะแล้วเสร็จ
เมื่อวันที่ 22 ต.ค.55 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีไว้พิจารณา โดย
ศาลเห็นว่า
ผู้ที่จะมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อให้ตรวจสอบการใช้ดุลพินิจในการออกคำ
สั่งทางปกครองทั่วไปในกรณีนี้ได้แก่ผู้ตรวจการแผ่นดิน
แต่หากเป็นบุคคลทั่วไป
บุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพและได้ความเดือด
ร้อนเสียหายโดยตรงจากประกาศของ กสทช.
แม้ว่าเหตุแห่งการฟ้องคดีของนายสุริยะใสกับพวกที่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในคำ
ฟ้องจะมีข้อเท็จจริงพวกสมควรที่ทำให้ศาลในคดีนี้เห็นว่าอาจจะมีประเด็นที่
สมควรตรวจสอบการใช้ดุลพินิจและความชอบด้วยกฎหมายของประกาศ กสทช.
แต่เมื่อนายสุริยะใสกับพวกเป็นประชาชนทั่วไปมิได้มีส่วนได้เสียกับประกาศของ
กสทช.จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล
ปกครอง จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง อย่างไรก็ตามหากในอนาคตเห็นว่า
กสทช.มีการกระทำทางปกครองที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์สาธารณะและ
ละเมิดสิทธิเสรีภาพของนายสุริยะใสกับพวกก็อาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้
2.1 คำฟ้องสุริยะใส
2.2 คดีดำ 2663.55 สุริยะใสฯ
5.2 คดีดำ 2670.55 นราพลฯ2.1 คำฟ้องสุริยะใส
2.2 คดีดำ 2663.55 สุริยะใสฯ
2.นายนราพล ปลายเนตร พนักงาน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และพวกรวม 3 คน
ฟ้อง กสทช.และสำนักงาน กสทช.
คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดย
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
และการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
โดยขอให้มีคำสั่งชะลอการประมูลคลื่นความถี่
และเพิกถอนประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้คลื่นความถี่ผ่าน 2.1 GHz
ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นหนังสือต่อ ประธาน
กสทช.ขอให้ตรวจสอบการโอนทรัพย์สินของบริษัทที่ได้สัมปทานให้แล้วเสร็จก่อน
อนุญาตให้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่
และชะลอการเปิดประมูลคลื่นไว้ก่อนจนกว่าจะมีการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของ
การอนุญาต พร้อมเปิดเผยข้อมูลและการตรวจสอบต่อสาธารณะ
เมื่อวันที่ 18 ต.ค.55 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีไว้พิจารณา โดย
ศาลเห็นว่าผู้ฟ้องคดีไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากประกาศดังกล่าว
ส่วนการระบุว่า กสทช.ไม่ปฏิบัติตามบทเฉพาะกาลมาตรา 82
พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ
กรณีจะต้องตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาดังกล่าว
พร้อมเปิดเผยข้อมูลและการตรวจสอบต่อสาธารณะ ตามที่ได้ยื่นหนังสือถึงประธาน
กสทช.ไปก่อนหน้านี้ ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิฟ้องศาลให้ กสทช.ปฏิบัติตามกฎหมาย
แต่ยังไม่ใช่ในคดีนี้
(เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีที่ขอให้มีคำสั่งชะลอการประมูลคลื่นความถี่
และเพิกถอนประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้คลื่นความถี่ผ่าน 2.1 GHz)
3.นายบุญชัย รุ่งเรืองไพศาลสุข ฟ้อง
กสทช.คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำ
การโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ขอให้เพิกถอนประกาศหลักเกณฑ์และจัดการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่
สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์
คดีนี้นายบุญชัยประสงค์จะโต้แย้งการกระทำของ
กสทช.ที่มิได้นำความคิดเห็นที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียและประชาชนทั่วไป อันได้แก่ ข้อเสนอเรื่องอัตราค่าบริการจากโครงการ
“3G-200” คือให้ประชาชนเสียค่าใช้จ่ายสูงสุดในการใช้โทรศัพท์ในระบบ 3G
ในอัตรา 200 บาทต่อเดือน หากใช้ไม่ถึง 200 บาท
ก็ให้จ่ายตามจริง ที่เสนอโดยเครือข่ายโทรคมนาคมเพื่อประชาชน
กำหนดไว้ในประกาศของ กสทช.
เมื่อวันที่ 18 ต.ค.55 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีไว้พิจารณา โดย
ศาลเห็นว่า การดำเนินการของ
กสทช.ยังไม่ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิของนายบุญชัย ตามมาตรา 28
วรรคสองของรัฐธรรมนูญ
เนื่องจากการละเมิดสิทธิเสรีภาพของนายบุญชัยในฐานะประชาชนทั่วไปในคดีจะเกิด
ขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีการประมูลเกิดขึ้น
และผู้ชนะประมูลซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ได้ประกอบกิจการโทร
คมนาคมโดยมีอัตราค่าบริการที่สูงเกินไป และ กสทช.ไม่ได้ดำเนินการ
หรือละเลยไม่ดำเนินการกับผู้รับใบอนุญาต
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างถูกต้องเป็นธรรม
นายบุญชัยจึงจะเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายจากการงดเว้นการกระทำของ กสทช.
4.สมาคมสถาบันคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค ฟ้อง
กสทช.และสำนักงาน กสทช.เมื่อวันที่ 10 ต.ค.55
คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อ
หน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนประกาศ
กสทช.และสำนักงาน
กสทช.เรื่องรายชื่อผู้เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับ
กิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่ประกาศให้เอไอเอส
ดีแทค และทรู มีสิทธิเข้าร่วมประมูล 3G
โดยเฉพาะในกรณีผู้ขอรับใบอนุญาตบางรายไม่มีคุณสมบัติเนื่องจากเป็นคน
ต่างด้าว
พร้อมขอให้ศาลพิจารณาไต่สวนฉุกเฉินและมีคำสั่งระงับเปิดการประมูลเป็นการ
ชั่วคราว จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
เมื่อวันที่ 18 ต.ค.55 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีไว้พิจารณา
โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า
ขณะนี้ผู้ฟ้องคดีไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำของ
กสทช.และสำนักงาน กสทช.ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ.2542 อีกทั้งมูลเหตุแห่งการฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้าง
อาจเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นในอนาคต หากในอนาคตเป็นไปตามที่กล่าวอ้าง
ก็ยังมีสิทธินำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลได้ภายหลัง
4.2 คดีดำ 2664.55 สมาคมสถาบันคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค
5.พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ และพวกรวม 3 คน ฟ้อง
กสทช.คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำ
การโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีประกาศหลักเกณฑ์และจัดการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz
โดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ
เพราะการเรียกเก็บเงินประมูลขั้นต่ำ 4,500 ล้านบาท อาจทำให้
กสทช.ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคได้ตามกฎหมาย โดยขอให้ศาล
ปกครองกลางสั่งเพิกถอนประกาศดังกล่าว และขอทุเลาการบังคับตามประกาศ
เมื่อวันที่ 15 ต.ค.55 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีไว้พิจารณา โดย
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า
เงินที่ได้จากการประมูลหลังหักค่าใช้จ่ายย่อมตกเป็นของแผ่นดิน
กสทช.จึงไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่แต่อย่าง
ใด และหากมีกรณีที่
กสทช.จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชำระหนี้
ไม่ว่าจะเป็นหนี้เงินประมูลคลื่นความถี่หรือหนี้อื่นใดก็เป็นเพียงการดำเนิน
การแทนรัฐเท่านั้น
6.นายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม ฟ้อง
กสทช.เมื่อวันที่ 10 ต.ค.55
คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดย
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เนื่องจากการประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับ
กิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2.1 GHz
ไม่มีข้อกำหนดที่จะแสดงให้เห็นว่าประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการ
ประมูล โดยเฉพาะใน 3 ประเด็น คือ
1.พื้นที่และระยะเวลาที่จะได้รับบริการต้องครอบคลุมประชาชนทั้งประเทศในเวลา
ที่ทัดเทียมกัน โดยไม่แบ่งตัวเมืองและชนบท
2.คุณภาพการให้บริการต้องครอบคลุมและมีความเสถียรของโครงข่ายและคุณภาพ
สัญญาณดี ซึ่ง กสทช.ไม่ได้กำหนดความชัดเจน และ
3.อัตราค่าบริการขั้นสูงที่ผู้ให้บริการจะเรียกเก็บได้
เมื่อวันที่ 15 ต.ค.55 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีไว้พิจารณา เนื่อง
จาก ผู้ฟ้องไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยตรงตามคำร้อง
และการฟ้องเป็นการกล่าวหาและการคะเนล่วงหน้า
ซึ่งความเสียหายอาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้
ผู้ฟ้องในคดีนี้จึงยังไม่ได้เป็นผู้เสียหาย
1.2 คำสั่ง อนุภาพ
ในความเคลื่อนไหว กระบวนการตรวจสอบ ‘การประมูลคลื่น’
ขณะนี้ กระบวนการการจัดสรรคลื่นความถี่ 2.1 GHz
อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาดำเนินการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และใบ
อนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมให้แก่ผู้ผ่านการประมูล
ในส่วนกระบวนการตรวจสอบ
คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล
วุฒิสภาได้รับเรื่องร้องเรียนจากเครือข่ายภาคประชาชนกลุ่มต่างๆ
และจะมีการเชิญคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค.
คณะผู้วิจัยจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสำนักงาน
กสทช.เป็นผู้ว่าจ้างให้ทำ
เพื่อประเมินมูลค่าคลื่นความถี่และมูลค่าขั้นต่ำฯ ตัวแทนผู้ตรวจการแผ่นดิน
ตัวแทนเอกชน 3 ราย รวมไปถึงนางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง
มาร่วมประชุมพร้อมกัน วันที่ 25 ต.ค.นี้
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติ หน้าที่ของ กสทช. นำโดย นายสุรศักดิ์ ศิริพรอุดมสิน อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยคณะลูกศิษย์ลูกตามหาบัว ได้รวบรวมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน 57,904 รายชื่อ ยื่นต่อ นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เพื่อขอให้วุฒิสภาถอดถอน กสทช.ทั้งคณะจำนวน 11 คน ออกตากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 (2) เมื่อวันที่ 18 ต.ค.55
เนื่องจากเห็นว่า มีพฤติการณ์
1.ส่อว่าทุจริตต่อหน้าที่ในกรณีการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3G
เป็นความผิดตามมาตรา 11 ของ
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542
(พ.ร.บ.ฮั้วประมูล)
2.ส่อว่าฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
3.ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการ
อนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 3G โดยถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 47 วรรคสาม
ที่ระบุว่า การดำเนินการของ กสทช.จะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน
ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
รวมทั้งต้องจัดให้ประชาชนมีส่วนในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ
และ
4.ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายโดยใช้
อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการ
วิทยุกระจายเสียง พ.ศ.2555 โดยใช้กฎหมายอย่างไม่มีความเสมอภาค
ตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า
บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาและมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม
นอกจากนั้นยังมีพฤติกรรมส่อว่าไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด
โดยจงใจละเว้นการอนุญาตการใช้คลื่นความถี่และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมให้กับ
สถานีวิทยุที่ทดลองออกอากาศ
และจงใจไม่ออกระเบียบหรือประกาศหลักเกณฑ์การอนุญาตกิจการกระจายเสียงประเภท
บริการชุมชนให้ครอบคลุมตามกฎหมาย
ขณะที่ น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค (สอบ.) เข้ายื่นหนังสือต่อ น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ประธาน กมธ.ศึกษา ตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่รัฐสภาเช่นกัน ขอให้ตรวจสอบการฮั้วและธรรมาภิบาลในการประมูล 3G ใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1.การกระทำของ กสทช.เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดการฮั้วประมูลตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้วประมูล) หรือไม่
ขณะที่ น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค (สอบ.) เข้ายื่นหนังสือต่อ น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ประธาน กมธ.ศึกษา ตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่รัฐสภาเช่นกัน ขอให้ตรวจสอบการฮั้วและธรรมาภิบาลในการประมูล 3G ใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1.การกระทำของ กสทช.เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดการฮั้วประมูลตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้วประมูล) หรือไม่
2.มาตรการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การกำหนดเงื่อนไขของการให้บริการ
การประกาศสัญญามาตรฐานในการให้บริการ
ราคาค่าบริการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค
เพราะผลการประมูลเอื้อประโยชน์กับผู้ให้บริการ (ราคาต่ำกว่าทรัพย์สิน) และ
3.แนวทางในการกำหนดกติกาที่ชัดเจนในการให้ผู้ประมูลหรือผู้รับใบอนุญาตใน
อนาคตใช้โครงข่ายร่วมกัน
ป.ป.ช.รับลูกเตรียมประชุมสรุปฮั้วประมูล 3G พรุ่งนี้
ด้านความเคลื่อนไหวล่าสุด วันนี้ (24 ต.ค.55) น.ส.สุมล
สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ในฐานะ กมธ.ศึกษา
ตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา พร้อมคณะ
ยื่นหนังสือต่อนายนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. เพื่อให้คณะกรรมการ
ป.ป.ช.ตรวจสอบการประมูลคลื่น 3G
ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่ามีการทำผิด
พ.ร.บ.การเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือไม่
จากการที่
คณะอนุกรรมการกฎหมายป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคมที่มี
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา เป็นประธาน ตรวจสอบพบว่า
การประกาศรับรองผลการประมูล 3G ของ กทค.มีเจตนาเอื้อประโยชน์ต่อผู้เสนอราคา
ส่อทุจริตในการกำหนดราคาโดยมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม
เห็นได้จากการตั้งราคาเริ่มต้นการประมูลที่ต่ำเกินไป
พฤติกรรมบริษัทที่เข้าประมูลไม่มีการแข่งขัน และพฤติกรรมของ
กทค.ที่เร่งรีบลงมติเห็นชอบผลการประมูล แม้จะมีผู้คัดค้านจำนวนมาก
จึงนำข้อมูลยื่นให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบ เพื่อความโปร่งใส
ขณะที่เดลินิวส์ รายงานว่า
ในวันเดียวกันที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ
ป.ป.ช.กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่าจะนำเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการ
ป.ป.ช. ในวันที่ 25 ต.ค.นี้ โดยหากที่ประชุม
ป.ป.ช.เห็นว่าหลักฐานที่มีอยู่เข้าองค์ประกอบที่
ป.ป.ช.จะสามารถรับเรื่องมาพิจารณาได้
กล่าวคือมีมูลเหตุที่ส่อให้เห็นว่าการกระทำที่เกิดขึ้นอาจขัด
พ.ร.บ.การฮั้วประมูล ป.ป.ช.จะรับเรื่องไว้
พร้อมตั้งอนุกรรมการมาศึกษาเรื่องนี้อย่างเร็วที่สุด
แต่หากพบว่าไม่เข้าเงื่อนไขก็ถือว่าคำร้องนั้นยุติไป
ทั้งนี้ ข้อร้องเรียนที่เข้ามายื่นให้ ป.ป.ช.พิจารณาประกอบไปด้วย
ข้อร้องของกระทรวงการคลัง กลุ่มกรีน
และคณะกรรมาธิการวุฒิสภาตรวจสอบการทุจริตฯ วุฒิสภา รวมถึงกรณีที่
กสทช.แสดงเจตนาขอรับการตรวจสอบด้วยตัวเอง
ย้ำอีกครั้ง... อำนาจ ป.ป.ช. ตรวจสอบ ไม่ใช่พิพากษา
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเรื่องจะเข้าสู่ ป.ป.ช. แล้ว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า การประมูลที่ผ่านมาจะถูกล้มเลิ กไป
โดยเมื่อวันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านมา นายวิชัย วิวิตเสวี หนึ่งในคณะกรรมการ
ออกมาระบุว่า อำนาจของ ป.ป.ช.นั้น เป็นการวินิจฉัยเพียงว่า
กสทช.ได้กระทำความผิดทางอาญา ฐานทุจริตต่อหน้าจริงหรือไม่เท่ านั้น
ขณะที่การดำเนินการเพื่อให้ล้ มเลิกการประมูลที่เกิดขึ้นไปแล้ ว เป็นอำนาจของศาลปกครอง เนื่องจากมติของ กทค.ที่ได้รับรองการประมูลไป ถือว่าเป็นสัญญาหรือนิติ กรรมทางปกครอง ซึ่งอยู่ในข่ายอำนาจวินิจฉั ยของศาลปกครองแต่เพียงผู้เดียว โดยผู้มีส่วนได้เสียสามารถยื่ นคำร้องไปยังศาลปกครองได้
หากมีข้อมูลข้อเท็จจริงปรากฏชั ดว่า กสทช.ในฐานะผู้จัดการประมูลมีส่ วนเกี่ยวข้องกับการฮั้วประมู ลตามกฎหมาย ป.ป.ช.ก็ไม่สามารถดำเนินการกั บบริษัทเอกชนทั้ง 3 รายได้ เพราะเป็นอำนาจของกรมสอบสวนคดี พิเศษ (ดีเอสไอ) และพนักงานสอบสวน แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับพยานหลั กฐาน
ขณะที่การดำเนินการเพื่อให้ล้
หากมีข้อมูลข้อเท็จจริงปรากฏชั