ที่มา thaifreenews
โดย Philip Bowring
ที่มา International Herald Tribune
*อ่านบทความเกี่ยวเนื่อง THE THAI CRISIS:History repeats itselfหมายเหตุ: เมื่อ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา
หนังสือพิมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล เฮอรัลด์ ทรีบูน ได้ตีพิมพ์บทความชื่อ"ม็อบกับราชบัลลังก์"โดยเตือนกลุ่มการเมืองที่กำลังนำสถาบันกษัตริย์มาอ้างเพื่อเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมทางการเมืองของตน และนำไปทำลายฝ่ายปฏิปักษ์ทางการเมืองว่า สุ่มเสี่ยงที่จะทำให้สถาบันกษัตริย์ซึ่งเป็นที่เคารพรักของพสกนิกรทุกหมู่เหล่าต้องระคายเคือง โดยเฉพาะพฤติการณ์ยึดสนามบินของพวกที่อ้างสถาบันเป็นเครื่องมือนั้น อาจเป็นการหว่านเมล็ดของความไม่ไว้วางใจสถาบันกษัตริย์ในกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่เลือกรัฐบาลปัจจุบันอย่างไม่รู้ตัว ซึ่งเรื่องทำนองนี้เคยมีบทเรียนในกรณีของเนปาลมาก่อนแล้ว จึงต้องเตือนพวกนำม็อบมายุ่งเกี่ยวกับพระราชบัลลังก์ต้องตั้งสติให้ดี
ม็อบและราชบัลลังค์(The crowd and the crown)
เป็นไปได้ไหมว่าสถาบันกษัตริย์ของเมืองไทยจะเดินไปทางเดียวกับประเทศเนปาล ที่ราชบัลลังค์ล่าสุดได้ถูกล้มและถูกเปลี่ยนไปเป็นระบอบสาธารณรัฐ?
ความคิดนี้อาจฟังดูไร้สาระเมื่อพิจารณาถึงว่ากษัตริย์ของเมืองไทย ภูมิพล อดุลยเดช ถูกกล่าวขานโดยมีคำนำหน้าว่า "ที่เคารพรัก" มาโดยตลอดโดยสื่อต่างชาติและถูกยกย่องเชิดชูโดยสื่อในประเทศมาโดยตลอด
แต่อย่างที่เนปาลได้พิสูจน์ให้เห็นว่า สถาบันกษัตริย์สามารถทำลายตนเอง เมื่อราชวงศ์เองมีการทะลาะเบาะแว้งกันหรือเมื่อราชวงศ์ที่ไร้ความสามารถทำเลยเถิดจนก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่เกี่ยวกับสาธาณรัฐ
มันเป็นการควรที่คำนึงถึงกษัตริย์ Birendra ของเนปาลที่ได้รับการสักการะและเคารพในช่วงเวลา 30 ปีที่ครองราชย์ แต่หลังจากที่ถูกสังหารโดยลูกชายที่มีสติฟั่นเฟือน ในปี 2001 เขาก็ได้ถูกสืบทอดราชบัลลังก์โดย King Gyeandendra ซึ่งก็ได้ทำการยุบสภาในปี 2005 และพยายามจะบังคับให้ใช้ระบอบสมบูรณาฯหรือกษัตริย์มีอำนาจในการปกครองโดยตรง แต่มันก็เป็นความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ระบอบสาธารณรัฐ และการประท้วงของขบวนการนิยมลัทธิเหมา ปูทางให้เกิดการเลือกตั้งและสถาบันกษัตริย์ก็ถูกล้มล้างไปในเดือนมีนาคม
เป็นไปได้ไหมว่ากลุ่มผู้ประท้วงที่อ้างว่าสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ที่ทำให้สนามบินของไทยเป็นอัมพาต กำลังหว่านเมล็ดของความไม่ไว้วางใจสถาบันกษัตริย์ในกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่เลือกรัฐบาลปัจจุบัน เข้ามาบริหารประเทศเมื่อ 11 เดือนที่แล้ว เป็นไปได้ไหมว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่แข็งกร้าวมันกลบความขุ่นเคืองใจที่กำลังทวีคูณขึ้นทุกวัน
กษัตริย์ภูมิพลโดยปกติ จะถูกนำเสนอให้เห็นว่าทรงอยู่เหนือการเมือง จะเข้ามาแทรกแซงก็ต่อเมื่อต้องการจะยุติความขัดแย้งหรือ
ทำให้อำนาจทหารและการเมืองกลับสู่สภาวะสมดุลย์
แต่โดยแท้จริงแล้ว ประวัติศาสตร์ไม่ใชจะง่ายอย่างที่คิด โดยรวมแล้วก็ได้เห็นด้วยเป็นนัยๆต่อการรัฐประหารที่อ้างเสถียรภาพและความสะอาดของรัฐบาล
แต่ในเหตุการณ์นี้การนิ่งเงียบของกษัตริย์ในช่วงโกลาหลที่เกิดจากกลุ่มพันธมิตรนั้น มันดูเหมือนจะเป็นการบอกอะไรบางอย่าง มันอาจเป็นการสัญญาณเป็นนัยๆว่าเป็นการสนับสนุนการชุมนุม หรือไม่ก็ได้ ด้วยพระชนม์มายุ 81 พรรษา และพระพลานัยที่ไม่แข็งแรงนักและกำลังไว้ทุกข์ให้แก่สมเด็จพระพี่นางฯ พระองค์จึงไม่มีพระราชประสงค์ที่จะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการสืบทอดราชบัลลังก์
อย่างไรก็ตาม ไม่ต้องสงสัยเลยว่า กลุ่มพันธมิตรได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางโดยสถาบันที่เกี่ยวกับข้าราชการ ระบบความยุติธรรม และกองทัพที่เกี่ยวข้องกับองคมนตรี ซึ่งนำโดยอดีตนายกฯเปรม ติณสูลานนท์ซึ่งอายุ 88 ปี การสนับสนุนโดยราชวงศ์
ซึ่งสามารถเห็นได้จากการที่พระราชินีได้เสด็จไปร่วมงานศพของฝ่ายพันธมิตรที่อ้างว่าเสียชีวิตจากระเบิดแก๊สน้ำตาซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
กองทัพไม่สามารถที่จะนำความสงบกลับคืนมา หรือหยุดปัญหาโดยทำรัฐประหารอีกครั้ง เพราะครั้งก่อนก็ล้มเหลวและไม่มีแผนรองรับที่ดีหลังรัฐประหารด้วย
"พันธมิตรประชาชนประชาธิปไตย"ก็เป็นการตั้งชื่อที่ผิดด้วย เพราะส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่มาจากชนชั้นสูง หรือการสนับสนุนทางการเงินโดยชนชั้นสูงที่เกลียดและกลัวอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร ซึ่งถูกขับไล่จากตำแหน่งโดยการรัฐประหารปี 2006 พวกเขาไม่ไว้ใจระบอบประชาธิปไตย และอ้างว่าเป็นตัวแทนของรัฐบาลที่สุจริต
ทักษิณแน่นอนได้ใช้อำนาจในทางที่ผิดโดยต้องการผลประโยชน์ทางการเมืองและการเงิน และเขาก็สมควรที่จะถูกลดอำนาจลง แต่สิ่งที่ศัตรูของเขาไม่พอใจคือการกุมอำนาจ และการที่เขาพึ่งคะแนนเสียงจากกลุ่มคนในชนบท กลุ่มที่ไม่พอใจกับข่องว่างของรายได้
ที่กว้างระหว่างพวกเขากับชนชั้นกลาง
กลุ่มคนที่สนับสนุนระบอบการปกครองแบบกษัตริย์มีความต้องการอย่างมากที่จะให้ทักษิณหมดอำนาจระหว่างที่จะมีการสืบทอดพระราชบัลลังก์ มกุฎราชกุมารได้รับความนิยมน้อยกว่าพระราชบิดา และบทบาทไนอนาคตของราชวงศ์รวมทั้งราชินีก็ไม่มีความแน่นอน
ทักษิณไม่ใช่นักนิยมสาธารณรัฐ แต่เหมือนกับผู้นำที่แข็งแกร่งในทศวรรษที่ 50 และ 60 อย่างจอมพลป.พิบูลสงคราม ที่พึงพอใจจะให้สถาบันกษัตริย์เป็นแต่เพียงการรักษาสัญลักษณ์ของธรรมเนียมปฎิบัติมากกว่า และไม่ต้องการที่จะให้สถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์กลางของอำนาจ ชนชั้นสูงต้องการเพียงที่จะใช้สถาบันกษัตริย์เพื่อเกื้อหนุนสถานะภาพของตนเอง เหมือนที่กำลังทำอยู่ในขณะนี้ผ่านทางพันธมิตร
แต่นี่อาจจะลงเอยด้วยการเป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์มากกว่าไม่ใช่การช่วยเหลือเลย และถ้ากลุ่มคนที่สนับสนุนทักษิณได้เปรียบในการต่อสู้ชิงอำนาจครั้งนี้ พวกเขาจะสร้างความไม่พอใจให้กับราชวงศ์ที่ไม่สามารถดึงดูดความเคารพรักที่ให้แก่กษัตริย์ภูมิพล และความสำเร็จของชนชั้นสูงนั้นก็ต้องได้รับการสนับสนุนจากทางกองทัพด้วย ซึ่งบุคคลที่มีอำนาจในกองทัพอาจปรากฏออกมา และลดบทบาทของกษัตริย์องค์ใหม่
ดังนั้นคนไทยที่ให้ความสำคัญกับบทบาทของกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ควรศึกษาประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นไม่นานมานี้ และอันตรายของการใช้ฝูงชนประท้วงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
อ่านเพิ่มเติม
THAILAND''S POLITICAL MAZE – A BEGINNERS GUIDE
Posted: Wednesday, November 26, 2008 1:07 PM
By Ian Williams, NBC News correspondent
History repeats itself
International Herald Tribune
By W. Scott Thompson Published: December 1, 2008
Q+A-Thailand''s intractable political crisis
Reuters
Thu Nov 27, 2008 4:35am EST
LA STAMPA
29/11/2008
Thai protesters gird for a crackdown
International Herald Tribune
By Thomas Fuller Published: November 28, 2008
Welcome to Bangkok airport - no passport needed
By Ed Cropley - Reuters
Sat Nov 29, 2008 4:03am EST
Asia Sentinel: Democracy Threatened at Bangkok International Airport
Written by Giles Ji Ungpakorn
WEDNESDAY, 26 NOVEMBER 2008
บทบรรณาธิการนสพ.ญี่ปุ่น: กรณียึดครองสนามบินที่ประเทศไทย
จากหนังสือพิมพ์ไมนิจิ ฉบับวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ.2008
Analysis: dark rumours around Thai monarchy and PAD victoryRichard Lloyd Parry
From The Times
December 3, 2008
No happy ending to Thai power struggle
The Malaysian Insider
BANGKOK, Nov 29
ที่มาข่าว Thai E-News.com