พรรคเพื่อไทย แนะรัฐบาลตั้งคณะกรรมการระดับชาติ กำหนดยุทธศาสตร์เขาพระวิหาร แฉ ส.ส.ถูกซื้อตัวด้วยเลข 8 หลัก ให้ร่วมโหวตผ่านงบปี 54 ...
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงว่า กรณีที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ประเทศบราซิล มีมติให้เลื่อนการพิจาณาแผนการบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหาร มรดกโลกของกัมพูชา ออกไป ปี 2554 ที่ประเทศบาร์เร นั้น การเลื่อนเวลาออกไป 1 ปี ทำให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ตีปี๊บกันใหญ่เหมือนประสบความสำเร็จ ทั้งที่ข้อเท็จจริงก็แค่ซื้อเวลา ไม่ใช่ชนะคดี ตรงกับที่นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตอดีต รมว.ต่างประเทศ ระบุว่าประเทศไทยไม่ได้ชนะสักยก เพราะยกแรกกัมพูชาขึ้นทะเบียนไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ยกที่สองเมื่อปีที่แล้วที่เลื่อนเพราะกัมพูชายื่นแผนไม่ทัน
นายพร้อมพงศ์กล่าวว่า ประเด็นเรื่องปราสาทเขาพระวิหารแก้ปัญหายากขึ้นเมื่อมีกลุ่มการเมือง และนักการเมืองมาจุดกระแสคลั่งชาติ ใช้ประเด็นเขาพระวิหารทำลายล้างกันทางการเมือง โดยบิดเบือนข้อเท็จจริงและประเด็นข้อกฎหมายอย่างไร้ความละอายใจหวังแต่จะเอาชนะและทำลายคนอื่น โดยอาศัยความเท็จ แต่พอตนเองมาเป็นรัฐบาล มีหน้าที่แก้ปัญหา กลับไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และโยนบาปโทษรัฐบาลที่ผ่านมา รวมถึงนายนพดล ปัทมะ อดีต รมว. ต่างประเทศ ว่าความเสียเปรียบเกิดขึ้นในปี 2551 ที่มีแถลงการร่วมไทยกัมพูชา ทั้งที่ข้อเท็จจริง ทุกรัฐบาลที่ผ่านมาทำหน้าที่ปกป้องดินแดนและผลประโยชน์ของประเทศชาติ
นายพร้อมพงศ์กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยขอเรียกร้อง ให้นายอภิสิทธิ์ ถือเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ และตั้งคณะกรรมการระดับชาติรวมทุกภาคส่วนมาระดมความคิด และกำหนดยุทธศาสตร์ในการปกป้องผืนแผ่นดินและผลประโยชน์ของชาติร่วมกัน เหมือนคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยที่รัฐบาลเป็นคนตั้ง มีวาระถึง 3 ปี รัฐบาลชุดไหนมาก็ต้องทำตาม วันนี้ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน รวมถึงทุกภาคส่วนต้องหันหน้าเข้ามาร่วมมือกันระดมความคิดโดยไม่แบ่งแยก เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี นาย ฮิโรยูริ มูราโมโตะ นักข่าวและช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ ที่เสียชีวิต เมื่อเหตุสลายการชุมนุมเมื่อ 10 เม.ย.53 และนายฟาบิโอ โพเลนกี้ ช่างภาพชาวอิตาลีที่เสียชีวิต จากเหตุสลายการชุมนุม 19 พ.ค.53 การตายของบุคคลทั้งสองผ่านมาร่วม 3 เดือนเศษ และ 2 เดือนเศษตามลำดับ คดีไม่มีความคืบหน้า จนทางการของทั้งสองประเทศ ตลอดจนญาติพี่น้องของทั้งสอง เริ่มมาทวงถามผลของคดีและวอนให้รัฐบาลเร่งสะสางคดีที่ล่าช้าผิดปกติ เป็นการประจานรัฐบาล และหน่วยงานที่รับผิดชอบ ถึงการบังคับใช้กฎหมายที่สองมาตรฐาน ขาดความเชื่อถือต่อญาติของผู้เสียชีวิต ขาดความจริงใจในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อหาคนผิดมาลงโทษ ซ้ำยังตั้งคณะกรรมการหาข้อเท็จจริง ที่มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน เพื่อมาซื้อเวลาและกลบปัญหาข้อเท็จจริงที่จะหาคนผิดมาลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา เหมือนน่าจะมีเจตนาดองคดี ต่างกับคดีก่อการร้ายของแกนนำ นปช. และนักการเมืองฝ่ายค้าน ที่ทำคดีอย่างฉับไว ส่งฟ้องศาลอย่างรวดเร็ว
นายพร้อมพงศ์กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กตช.และประธาน กตร. ประธานคณะกรรมคดีพิเศษโดยตำแหน่ง สั่งการให้ทำสำนวนการชันสูตรพลิกศพตามป.วิ อาญา มาตรา 150 ถึงสาเหตุการเสียชีวิตของนักข่าวต่างประเทศทั้งสอง รวมถึงประชาชนผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิต เพื่อนำคดีสู่การพิจารณาของศาล เพื่อจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนานาชาติ รวมถึงอำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้สูญเสียชีวิตและบาดเจ็บ ไม่เช่นนั้นจะถือว่านายกฯมีเจตนาปกปิดความผิดของตนเอง และพวกพ้อง และขอเรียกร้องให้ พล.ต.อ. ประทีป ตันประเสริฐ รักษาการ ผบ.ตร. ทำความดีให้แผ่นดินก่อนจะเกษียณอายุราชการ โดยสั่งการให้พนักงานสอบสวน ท้องที่เกิดเหตุให้ดำเนินคดีและดำเนินการตามป.วิอาญา มาตรา 150 ที่มีญาติของประชาชนที่เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บได้แจ้งความดำเนินคดีไว้แล้ว ควรดำเนินคดีอย่างตรงไปตรงมา ไม่เช่นนั้นถึงแม้จะเกษียณอายุราชการไปแล้วอาจจะถูกร้องว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และอาจจะถูกดำเนินคดีเสียเอง
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงว่า กรณีมีพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมสภาสมัยสามัญนิติบัญญัติ ที่จะมีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณ 2554 ในวันที่ 18-19 ส.ค.นั้น วันนี้รัฐบาลมีเสียงปริ่มน้ำ และจากที่มติวิปรัฐบาลไม่ให้รัฐมนตรีที่เป็น ส.ส.จำนวน 24 คน โหวตร่างพ.ร.บ.งบประมาณได้ ทำให้เกิดกระบวนการ การตกปลาในบ่อเพื่อน โดยซื้อตัว ส.ส.ฝ่ายค้านที่อยู่ในส่วนของพรรคเพื่อไทยจำนวน 2-3 คน และพรรคการเมืองบางพรรค ให้ตัวเลขสูงถึง 8 หลัก เพื่อที่จะให้โหวตรับร่างพ.ร.บ.งบประมาณ ถือเป็นการกระทำที่ไร้ยางอาย ใช้เงินล่อส.ส. เป็นพฤติกรรมที่น่าเกลียด ดังนั้นขอให้ประชาชนติดตามส.ส.ที่ขายตัวว่าเป็นใคร เพื่อการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะได้ไม่ต้องเลือก ส.ส.ที่ขายอุดมการณ์เช่นนี้เข้าสู่สภาอีกแนะ
นายพร้อมพงศ์กล่าวว่า ส่วนกรณีคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา รักษาการณ์ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)ที่ยังคงอยู่ในตำแหน่ง ทั้งที่หมดวาระไปแล้วนั้น เรื่องนี้ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากข้าราชการในสตง.ว่า คุณหญิงจารุวรรณ ได้ทำหนังสือเวียนไปยังภายในหน่วยงานว่าจะมาดำรงตำแหน่งอีก โดยอ้างคณะกฎหมายของวุฒิสภา ที่สามารถดำรงตำแหน่งเป็นรักษาการณ์ได้ ตามพ.ร.บ.ว่าด้วย สตง.ระบุว่า ผู้ว่าการสตง.อายุต้องไม่เกิน 65 ปี ปรากฎว่า คุณหญิงจารุวรรณ อายุเกินและหมดวาระแล้ว จึงขอเรียกร้องไปยังคุณหญิงจารุวรรณ ว่า ขอให้แสดงสปิริต เสียสละตัวเอง เพราะข้าราชการ รวมถึงหน่วยงานติดต่อประสานงานเขาอึดอัด งานไม่เดิน
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงว่า กรณีที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ประเทศบราซิล มีมติให้เลื่อนการพิจาณาแผนการบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหาร มรดกโลกของกัมพูชา ออกไป ปี 2554 ที่ประเทศบาร์เร นั้น การเลื่อนเวลาออกไป 1 ปี ทำให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ตีปี๊บกันใหญ่เหมือนประสบความสำเร็จ ทั้งที่ข้อเท็จจริงก็แค่ซื้อเวลา ไม่ใช่ชนะคดี ตรงกับที่นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตอดีต รมว.ต่างประเทศ ระบุว่าประเทศไทยไม่ได้ชนะสักยก เพราะยกแรกกัมพูชาขึ้นทะเบียนไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ยกที่สองเมื่อปีที่แล้วที่เลื่อนเพราะกัมพูชายื่นแผนไม่ทัน
นายพร้อมพงศ์กล่าวว่า ประเด็นเรื่องปราสาทเขาพระวิหารแก้ปัญหายากขึ้นเมื่อมีกลุ่มการเมือง และนักการเมืองมาจุดกระแสคลั่งชาติ ใช้ประเด็นเขาพระวิหารทำลายล้างกันทางการเมือง โดยบิดเบือนข้อเท็จจริงและประเด็นข้อกฎหมายอย่างไร้ความละอายใจหวังแต่จะเอาชนะและทำลายคนอื่น โดยอาศัยความเท็จ แต่พอตนเองมาเป็นรัฐบาล มีหน้าที่แก้ปัญหา กลับไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และโยนบาปโทษรัฐบาลที่ผ่านมา รวมถึงนายนพดล ปัทมะ อดีต รมว. ต่างประเทศ ว่าความเสียเปรียบเกิดขึ้นในปี 2551 ที่มีแถลงการร่วมไทยกัมพูชา ทั้งที่ข้อเท็จจริง ทุกรัฐบาลที่ผ่านมาทำหน้าที่ปกป้องดินแดนและผลประโยชน์ของประเทศชาติ
นายพร้อมพงศ์กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยขอเรียกร้อง ให้นายอภิสิทธิ์ ถือเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ และตั้งคณะกรรมการระดับชาติรวมทุกภาคส่วนมาระดมความคิด และกำหนดยุทธศาสตร์ในการปกป้องผืนแผ่นดินและผลประโยชน์ของชาติร่วมกัน เหมือนคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยที่รัฐบาลเป็นคนตั้ง มีวาระถึง 3 ปี รัฐบาลชุดไหนมาก็ต้องทำตาม วันนี้ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน รวมถึงทุกภาคส่วนต้องหันหน้าเข้ามาร่วมมือกันระดมความคิดโดยไม่แบ่งแยก เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี นาย ฮิโรยูริ มูราโมโตะ นักข่าวและช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ ที่เสียชีวิต เมื่อเหตุสลายการชุมนุมเมื่อ 10 เม.ย.53 และนายฟาบิโอ โพเลนกี้ ช่างภาพชาวอิตาลีที่เสียชีวิต จากเหตุสลายการชุมนุม 19 พ.ค.53 การตายของบุคคลทั้งสองผ่านมาร่วม 3 เดือนเศษ และ 2 เดือนเศษตามลำดับ คดีไม่มีความคืบหน้า จนทางการของทั้งสองประเทศ ตลอดจนญาติพี่น้องของทั้งสอง เริ่มมาทวงถามผลของคดีและวอนให้รัฐบาลเร่งสะสางคดีที่ล่าช้าผิดปกติ เป็นการประจานรัฐบาล และหน่วยงานที่รับผิดชอบ ถึงการบังคับใช้กฎหมายที่สองมาตรฐาน ขาดความเชื่อถือต่อญาติของผู้เสียชีวิต ขาดความจริงใจในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อหาคนผิดมาลงโทษ ซ้ำยังตั้งคณะกรรมการหาข้อเท็จจริง ที่มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน เพื่อมาซื้อเวลาและกลบปัญหาข้อเท็จจริงที่จะหาคนผิดมาลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา เหมือนน่าจะมีเจตนาดองคดี ต่างกับคดีก่อการร้ายของแกนนำ นปช. และนักการเมืองฝ่ายค้าน ที่ทำคดีอย่างฉับไว ส่งฟ้องศาลอย่างรวดเร็ว
นายพร้อมพงศ์กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กตช.และประธาน กตร. ประธานคณะกรรมคดีพิเศษโดยตำแหน่ง สั่งการให้ทำสำนวนการชันสูตรพลิกศพตามป.วิ อาญา มาตรา 150 ถึงสาเหตุการเสียชีวิตของนักข่าวต่างประเทศทั้งสอง รวมถึงประชาชนผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิต เพื่อนำคดีสู่การพิจารณาของศาล เพื่อจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนานาชาติ รวมถึงอำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้สูญเสียชีวิตและบาดเจ็บ ไม่เช่นนั้นจะถือว่านายกฯมีเจตนาปกปิดความผิดของตนเอง และพวกพ้อง และขอเรียกร้องให้ พล.ต.อ. ประทีป ตันประเสริฐ รักษาการ ผบ.ตร. ทำความดีให้แผ่นดินก่อนจะเกษียณอายุราชการ โดยสั่งการให้พนักงานสอบสวน ท้องที่เกิดเหตุให้ดำเนินคดีและดำเนินการตามป.วิอาญา มาตรา 150 ที่มีญาติของประชาชนที่เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บได้แจ้งความดำเนินคดีไว้แล้ว ควรดำเนินคดีอย่างตรงไปตรงมา ไม่เช่นนั้นถึงแม้จะเกษียณอายุราชการไปแล้วอาจจะถูกร้องว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และอาจจะถูกดำเนินคดีเสียเอง
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงว่า กรณีมีพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมสภาสมัยสามัญนิติบัญญัติ ที่จะมีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณ 2554 ในวันที่ 18-19 ส.ค.นั้น วันนี้รัฐบาลมีเสียงปริ่มน้ำ และจากที่มติวิปรัฐบาลไม่ให้รัฐมนตรีที่เป็น ส.ส.จำนวน 24 คน โหวตร่างพ.ร.บ.งบประมาณได้ ทำให้เกิดกระบวนการ การตกปลาในบ่อเพื่อน โดยซื้อตัว ส.ส.ฝ่ายค้านที่อยู่ในส่วนของพรรคเพื่อไทยจำนวน 2-3 คน และพรรคการเมืองบางพรรค ให้ตัวเลขสูงถึง 8 หลัก เพื่อที่จะให้โหวตรับร่างพ.ร.บ.งบประมาณ ถือเป็นการกระทำที่ไร้ยางอาย ใช้เงินล่อส.ส. เป็นพฤติกรรมที่น่าเกลียด ดังนั้นขอให้ประชาชนติดตามส.ส.ที่ขายตัวว่าเป็นใคร เพื่อการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะได้ไม่ต้องเลือก ส.ส.ที่ขายอุดมการณ์เช่นนี้เข้าสู่สภาอีกแนะ
นายพร้อมพงศ์กล่าวว่า ส่วนกรณีคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา รักษาการณ์ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)ที่ยังคงอยู่ในตำแหน่ง ทั้งที่หมดวาระไปแล้วนั้น เรื่องนี้ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากข้าราชการในสตง.ว่า คุณหญิงจารุวรรณ ได้ทำหนังสือเวียนไปยังภายในหน่วยงานว่าจะมาดำรงตำแหน่งอีก โดยอ้างคณะกฎหมายของวุฒิสภา ที่สามารถดำรงตำแหน่งเป็นรักษาการณ์ได้ ตามพ.ร.บ.ว่าด้วย สตง.ระบุว่า ผู้ว่าการสตง.อายุต้องไม่เกิน 65 ปี ปรากฎว่า คุณหญิงจารุวรรณ อายุเกินและหมดวาระแล้ว จึงขอเรียกร้องไปยังคุณหญิงจารุวรรณ ว่า ขอให้แสดงสปิริต เสียสละตัวเอง เพราะข้าราชการ รวมถึงหน่วยงานติดต่อประสานงานเขาอึดอัด งานไม่เดิน