โดย หมัดเหล็ก
ก่อนทิ้งท้ายตรงที่ว่า ระหว่างยุบสภาหรือลาออก ประชา–ธิปัตย์จะเลือกเป็นแนวทางในการแก้ทางตันทางการเมืองหรือมั่นใจว่า จะไม่ถูกยุบพรรค หรือเอาไว้ไปตายดาบหน้า เป็นไปได้ทั้งนั้น การเมืองไทยกลมยิ่งกว่าฟุตบอลโลก ขนาดเห็นคำตอบกันชัวร์ๆยังบิดไปจนได้
แต่ถ้าจะมองโลกในแง่ร้ายจริงๆ หลังงบประมาณผ่านสภา 18–19 ส.ค.นี้ไปแล้ว เกิดมีการสร้างสถานการณ์ทางการเมืองที่รุนแรงมากขึ้น แรงกว่าเดือน พ.ค. จะฝ่ายใดสร้างสถานการณ์ขึ้นมาก็ตามทีเถอะ ไม่พ้นที่กองทัพจะเข้ามาจัดการ วิธีเดิมๆคือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาล หรือวิธีการยึดอำนาจทางอ้อมทุบโต๊ะให้รัฐบาลลาออกไม่ต้องฉีกรัฐธรรมนูญ แต่แก้รัฐธรรมนูญบางมาตรา เพื่อให้คนนอกสามารถเข้ามาเป็นนายกฯได้
เป็นบันไดไปสู่รัฐบาลแห่งชาติ
จัดระเบียบการเมืองกันใหม่ ก็มีคำถามว่า แล้วบรรดาเสื้อแดงเสื้อเหลืองจะยอมหรือไม่ ในวินาทีนี้ อะไรก็ตามที่สามารถจะเข้ามาสกัดวิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองได้ ทุกฝ่ายต้องรีบพยักหน้า เพราะต่างฝ่ายต่างก็หมดแรงข้าวต้ม อีกทั้งสถานการณ์ก็ยังไม่อำนวยที่จะก่อความรุนแรง
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่า รัฐบาลแห่งชาติ จะสามารถสร้างศรัทธาให้กับประชาชนส่วนใหญ่ได้แค่ไหน อาจจะมีเสียงที่ไม่พอใจบ้างแต่เป็นเรื่องธรรมดา นอกจากนี้ ฝ่ายค้านเองก็ไม่อยากขับเคลื่อนการเมืองนอกสภาในยามที่กำลังน้ำขึ้น สู้กันในสนามเลือกตั้งมีโอกาส ชนะกว่าเยอะ
น้ำหนักของวิกฤติในขณะนี้ไม่ได้อยู่ที่ฝ่ายค้าน แต่อยู่ที่รัฐบาล ต่างหาก ต้องเจอกับปัญหาสารพัด ทั้งเรื่องของการทุจริตคอรัปชัน การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในระดับสูงที่ยังไม่ลงตัว โดยเฉพาะตำแหน่ง ผบ.ตร. ปัญหาชายแดนภาคใต้ ปัญหาชายแดนกัมพูชา เศรษฐกิจปากท้องประชาชน
สอบกี่ทีก็ไม่ผ่าน
หมากเกมนี้ประชาธิปัตย์จึงต้องหาทางออกให้ดีที่สุดและเร็วที่สุด ก่อนที่จะปล่อยให้มีการเลือกตั้ง ไม่อย่างนั้นถูกตีเละเทะ โดยเฉพาะ เหตุการณ์การสลายการชุมนุม ที่มีผู้เสียชีวิตถึง 90 ราย หายไปอีกหลายร้อยคน บาดเจ็บอีกนับพันคน
เจอแค่ประเด็นเดียวก็หัวคะมำ
บนทางสามแพร่ง รัฐบาลประชาธิปัตย์จะเลือกทางไหน ระหว่างลาออก ยุบสภา หรือไปตายเอาดาบหน้า ยกเว้นแต่จะได้ตัว ช่วยพิเศษ ซึ่งก็แน่นอนว่า วิกฤติบ้านเมืองก็จะอยู่ในวังวนวงจรอุบาทว์อีกรอบอย่างไม่รู้จบ ถามจริงๆเถอะ สมมุติถ้ามีคำวินิจฉัยว่าประชาธิปัตย์ รอดทุกประตู อะไรจะเกิดขึ้นกับการเมืองไทย
คงไม่ต้องสาธยายอะไรให้เมื่อยตุ้ม จับตาการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 3 แพร่ง 3 ระยะ ปลายเดือน ส.ค. ปลายเดือน ก.ย. และปลายเดือน ต.ค.
พ.ย.มีคำตอบแน่นอน.
แต่ถ้าจะมองโลกในแง่ร้ายจริงๆ หลังงบประมาณผ่านสภา 18–19 ส.ค.นี้ไปแล้ว เกิดมีการสร้างสถานการณ์ทางการเมืองที่รุนแรงมากขึ้น แรงกว่าเดือน พ.ค. จะฝ่ายใดสร้างสถานการณ์ขึ้นมาก็ตามทีเถอะ ไม่พ้นที่กองทัพจะเข้ามาจัดการ วิธีเดิมๆคือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาล หรือวิธีการยึดอำนาจทางอ้อมทุบโต๊ะให้รัฐบาลลาออกไม่ต้องฉีกรัฐธรรมนูญ แต่แก้รัฐธรรมนูญบางมาตรา เพื่อให้คนนอกสามารถเข้ามาเป็นนายกฯได้
เป็นบันไดไปสู่รัฐบาลแห่งชาติ
จัดระเบียบการเมืองกันใหม่ ก็มีคำถามว่า แล้วบรรดาเสื้อแดงเสื้อเหลืองจะยอมหรือไม่ ในวินาทีนี้ อะไรก็ตามที่สามารถจะเข้ามาสกัดวิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองได้ ทุกฝ่ายต้องรีบพยักหน้า เพราะต่างฝ่ายต่างก็หมดแรงข้าวต้ม อีกทั้งสถานการณ์ก็ยังไม่อำนวยที่จะก่อความรุนแรง
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่า รัฐบาลแห่งชาติ จะสามารถสร้างศรัทธาให้กับประชาชนส่วนใหญ่ได้แค่ไหน อาจจะมีเสียงที่ไม่พอใจบ้างแต่เป็นเรื่องธรรมดา นอกจากนี้ ฝ่ายค้านเองก็ไม่อยากขับเคลื่อนการเมืองนอกสภาในยามที่กำลังน้ำขึ้น สู้กันในสนามเลือกตั้งมีโอกาส ชนะกว่าเยอะ
น้ำหนักของวิกฤติในขณะนี้ไม่ได้อยู่ที่ฝ่ายค้าน แต่อยู่ที่รัฐบาล ต่างหาก ต้องเจอกับปัญหาสารพัด ทั้งเรื่องของการทุจริตคอรัปชัน การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในระดับสูงที่ยังไม่ลงตัว โดยเฉพาะตำแหน่ง ผบ.ตร. ปัญหาชายแดนภาคใต้ ปัญหาชายแดนกัมพูชา เศรษฐกิจปากท้องประชาชน
สอบกี่ทีก็ไม่ผ่าน
หมากเกมนี้ประชาธิปัตย์จึงต้องหาทางออกให้ดีที่สุดและเร็วที่สุด ก่อนที่จะปล่อยให้มีการเลือกตั้ง ไม่อย่างนั้นถูกตีเละเทะ โดยเฉพาะ เหตุการณ์การสลายการชุมนุม ที่มีผู้เสียชีวิตถึง 90 ราย หายไปอีกหลายร้อยคน บาดเจ็บอีกนับพันคน
เจอแค่ประเด็นเดียวก็หัวคะมำ
บนทางสามแพร่ง รัฐบาลประชาธิปัตย์จะเลือกทางไหน ระหว่างลาออก ยุบสภา หรือไปตายเอาดาบหน้า ยกเว้นแต่จะได้ตัว ช่วยพิเศษ ซึ่งก็แน่นอนว่า วิกฤติบ้านเมืองก็จะอยู่ในวังวนวงจรอุบาทว์อีกรอบอย่างไม่รู้จบ ถามจริงๆเถอะ สมมุติถ้ามีคำวินิจฉัยว่าประชาธิปัตย์ รอดทุกประตู อะไรจะเกิดขึ้นกับการเมืองไทย
คงไม่ต้องสาธยายอะไรให้เมื่อยตุ้ม จับตาการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 3 แพร่ง 3 ระยะ ปลายเดือน ส.ค. ปลายเดือน ก.ย. และปลายเดือน ต.ค.
พ.ย.มีคำตอบแน่นอน.