บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สัมภาษณ์"ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์": ความท้าทายทางการทูตของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1

ที่มา ประชาไท

ประชา ไท” สัมภาษณ์ ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิจัยประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ถึงความท้าทายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1 ในการฟื้นฟูภาพลักษณ์และความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศเพื่อนบ้านและนานา ประเทศ




ใน ตอนหนึ่งของการสัมภาษณ์ ปวินตอบคำถามเรื่องสิ่งท้าทายที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะต้องเผชิญหน้าว่า "ต้องเข้าใจว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบันเกิดความวุ่นวายหลายอย่าง และไทยเสียความเชื่อถือด้านการต่างประเทศไปอย่างมาก เราเปิดโอกาสให้นักการเมืองใช้ประโยชน์ทางการทูต ใช้เป็นเครื่องมือทำลายคู่ต่อสู้ทางการเมือง โดยที่มองไม่เห็นด้วยซ้ำว่าสิ่งที่ทำอยู่จะส่งผลร้ายอย่างมากต่อความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศ กรณีที่เห็นชัดๆ คือกรณีไทย-กัมพูชา"

เพราะ ฉะนั้นคิดว่า คุณยิ่งลักษณ์ (ชินวัตร) มีอุปสรรคอย่างมาก เริ่มตั้งแต่จะสามารถการรัฐมนตรีต่างประเทศ บุคคลนั้นจะเป็นใครนักการเมือง หรือเทคโนแครต มีความเข้าใจการเมืองการต่างประเทศดีมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะสิ่งที่ละเอียดอ่อนในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

อีกจุดหนึ่งเป็นเรื่องนโยบาย ถึงเวลาแล้วให้ความสำคัญไม่ใช่แค่ประเทศเพื่อนบ้าน แต่รวมถึงประเทศอาเซียนด้วย ประเทศไทยเป็นประเทศขนาดกลาง ไม่ใช่มหาอำนาจ แต่เราก็ไม่ใช่ประเทศเล็ก เพราะฉะนั้นคิดว่าจุดแข็งของเราขึ้นอยู่กับการรวมมือประเทศเพื่อนบ้าน เราไม่สามารถที่จะโดดเด่นขึ้นมาประเทศเดียวได้ ต้องพึ่งประเทศในอาเซียน ถึงเวลาแล้วที่ผมคิดว่าคุณยิ่งลักษณ์ต้องหาประโยชน์จากตรงนี้ แสดงบทบาทของเรามากขึ้นในเวทีอาเซียน ที่ผ่านมาเราไม่ได้ใช้ประโยชน์ตรงนี้เลย มิหนำซ้ำเรายังไม่ให้ความสำคัญอาเซียน คือโดดเดี่ยวอาเซียนไปเลย ซึ่งผมเห็นว่าเป็นแนวทางที่ผิด

ปวินกล่าวด้วยว่า นักการทูตส่วนใหญ่คงจะต้องเข้าใจว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่สามารถแยกออกจากประเด็นทางการเมืองได้ มันมีความเกี่ยวโยงกันทั้งแง่บวกและแง่ลบ ตั้งแต่ยุคทักษิณก็มีนโยบายต่างประเทศเพื่อตอบสนองต่อความต้องการภายใน ประเทศ ก็เป็นความเกี่ยวโยงอันหนึ่ง ในยุคของคุณอภิสิทธิ์ ก็มีความเกี่ยวโยงที่ว่า นโยบายต่างประเทศถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ในยุคของยิ่งลักษณ์ ถ้าจะทำให้การทูตของเราประสบความสำเร็จมากขึ้น คงต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการแยกประเด็นทางการเมืองกับการทูตออก ซึ่งผมคิดว่าคงเป็นไปลำบาก แต่คงต้องพยายามทำ

เพราะประเด็นทางการทูต เราไม่สามารถแก้ไขด้วยวิธีทางการเมือง เพราะฉะนั้นเอามาทำเป็นประเด็นทางการเมือง มันจะแย่ มันจะยุ่งยากมากขึ้น มันมีกลไก ปัจจัยหลายอย่างในประเทศที่เป็นอุปสรรคต่อยิ่งลักษณ์ ยังมีกลุ่มบ้าคลั่งชาตินิยมอย่างมาก ยังมีกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการที่คุณยิ่งลักษณ์ขึ้นมาเป็นรัฐบาล และจะใช้ประเด็นทางการเมืองเพื่อลดเครดิตคุณยิ่งลักษณ์ มันยังมีกลไกด้านกฎหมายภายในประเทศที่ทำให้การทำงานด้านการต่างประเทศยุ่ง ยากมากขึ้น เช่น รัฐบาลมีสิทธิ มีอำนาจมากน้อยแค่ไหนในการทำสนธิสัญญากับประเทศเพื่อนบ้าน แล้วกลไกในประเทศ กฎหมายต่างๆ มันสามารถ Overrule ตรงนี้มากน้อยแค่ไหน ในที่สุดแล้ว คิดว่านอกจากการแยกการทูตกับการเมืองภายในแล้ว ต้องมีการปฏิรูปกฎเกณฑ์ในประเทศควบคู่ไปกับการปรับตัวทางด้านการทูตในระดับ สากล ต้องทำคู่กันไป

ปวินกล่าวด้วยว่า กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานหลักด้านการต่างประเทศ อาจจะแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองไม่ได้อย่างเดียว แต่ต้องได้รับความร่วมมือ จากหน่วยงานอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องด้านการต่างประเทศเช่นกัน แต่ไม่ใช่ตัวแสดงหลัก ยกตัวอย่างเช่นจากรัฐบาล จากทหาร ตรงนี้คิดว่าละเอียดอ่อนตรงที่ว่าแล้วกระทรวงการต่างประเทศจะทำตัวอย่างไร ให้คงความร่วมมือนั้นไว้ได้ในระดับหนึ่ง ที่จะไม่ทำให้เข้ามามีบทบาทเหนือกระทรวงการต่างประเทศ

"เพราะอย่าง ที่บอก ถึงที่สุดแล้วไม่ว่าจะเกิดปัญหาทางการเมืองระหว่างประเทศอะไรก็ตาม คนที่แก้คือนักการทูต เพราะฉะนั้นผมคิดว่าอาจจะไม่แฟร์ ในแง่ที่ว่าหน่วยงานอื่นอาจจะไปสร้างปัญหาทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ทหาร แล้วทหารก็แก้ไขปัญหาปัญหาอะไรไม่ได้ ก็ต้องลงมาที่นักการทูตอีก ทั้งๆ ที่กระทรวงการต่างประเทศอาจไม่รู้เรื่องเลยตั้งแต่แรก มันต้องมีความร่วมมือกัน อันนี้เป็นจุดด้อยของเราบอกตรงๆ"

ยก ตัวอย่างว่า ในการที่เรามีปฏิสัมพันธ์กัมพูชา กัมพูชาดูเหมือนว่าจะมีนโยบายที่ชัดเจนกว่าเราหลายๆ เรื่อง เพราะว่าทุกหน่วยงานเขารับคำสั่งจากหน่วยงานเดียว คือรับคำสั่งจากรัฐบาล แล้วพูดออกมาเป็นเสียงเดียว ขณะที่ของเรามีความแตกแยกกัน มีจุดยืนต่างกัน มีการแข่งขันกันสูงในองค์กรของรัฐ กระทรวงการต่างประเทศก็มีความคิดแบบหนึ่ง ทหารก็มีความคิดแบบหนึ่ง ในยุคนั้น คุณอภิสิทธิ์ก็มีความคิดแบบหนึ่ง มันไม่ส่งผลดี ต่อการทูตของไทย

ส่วนคำถามเรื่องคุณสมบัติของผู้ที่จะ มาทำงานเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศนั้น ปวินกล่าวว่า ต้องไม่มีลักษณะเหมือนกษิต ภิรมย์ สำหรับในส่วนอื่นๆ ต้องมีความรู้ความสามารถด้านการทูต ต้องเข้าใจ ไม่ใช่เข้าใจด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ต้องเข้าใจกลไกการเมืองภายในของไทย ที่สำคัญกว่านั้นที่จะต้องมีคุณสมบัติของรัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ คือเข้าใจถึงความละเอียดอ่อนด้านการทูต ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิด หมายถึงพม่า ลาว กัมพูชา ความสัมพันธ์นี้ได้ถูกปิดกั้น ถูกบิดเบือนไปด้วยเหตุผลด้านประวัติศาสตร์ ซึ่งเหตุผลด้านประวัติศาสตร์อย่างเดียวก็สร้างความสับสนเพียงพออยู่แล้ว ถ้าไปบวกกับการเมืองภายในจะยิ่งไปกันใหญ่ เพราะฉะนั้นรัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ต้องเข้าใจตรงจุดนี้ ต้องได้รับความน่าเชื่อถือจากสายตาระหว่างประเทศ พูดภาษาอังกฤษได้ สื่อสารรู้ และเข้าใจความเคลื่อนไหวการเมืองระหว่างประเทศเป็นอย่างดี หวังว่าน่าจะเป็นเทคโนแครตมากกว่านักการเมืองตามโควตาทั่วไป

ติดตามบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มใน "ประชาไท" เร็วๆ นี้

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker