บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กวีซีไรต์ไม่เขียนมลายู คนชายแดนใต้ไม่อ่าน

ที่มา ประชาไท

ซะ การีย์ยา อมตยา กวีซีไรต์ปี 2553 พูดเรื่องวรรณกรรมในงานเรื่อง “วรรณกรรมใต้-มลายู-ไทย : สถานะและบทบาทนักเขียนท้องถิ่นภาคใต้บนเส้นทางพัฒนาการของวรรณกรรมหลัง 14 ตุลาคม 2516”

ซะการีย์ยา อมตยา

เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 29 – 30 กรกฎาคม 2554 ที่ห้องประชุมวิทยาลัยอิสลามศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี กองทุนวรรณกรรมไทย-มลายู- โครงการจัดตั้งสถาบันสมุทรรัฐแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา, สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ. วิทยาเขตปัตตานี, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, ภาควิชาภาษาไทย ม.อ.ปัตตานี, วารสารรูสสะมีแล, ซีพีออลล์, และไทยแอร์ เอเชียจัดสัมมนาระดับชาติ เรื่อง “วรรณกรรมใต้-มลายู-ไทย : สถานะและบทบาทนักเขียนท้องถิ่นภาคใต้บนเส้นทางพัฒนาการของวรรณกรรมหลัง 14 ตุลาคม 2516”

นายซะการีย์ยา อมตยา กวีซีไรต์ปี 2553 กล่าวในการสัมมนาว่า เป็นไปได้ยากมาที่จะให้คน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เขียนกวีเป็นภาษามลายู เพราะคนในพื้นที่อ่านหนังสือน้อย ยิ่งเป็นบทกวีก็ยังอ่านขึ้นลงไปอีก เพราะภาษากวีเป็นภาษาที่เข้าใจยาก แม้แต่ในระดับชาติคนก็ยังอ่านบทกวีน้อยด้วย

นายซะการีย์ยา กล่าวต่อไปว่า จึงเป็นเรื่องยากที่ตนจะเขียนบทกวีหรืองานวรรณกรรมด้วยภาษามลายูออกมา เพราะเขียนแล้วก็ไม่มีคนอ่าน จึงไม่รู้จะเขียนไปทำอะไร เขียนไปก็เปล่าประโยชน์

นายซะการีย์ยา กล่าวอีกว่า โดยปกติคน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ค่อยอ่านหนังสืออยู่แล้ว ยิ่งเป็นวรรณกรรมภาษามลายูก็ยิ่งไม่อ่าน เพราะการเขียนวรรณกรรมเป็นการใช้ภาษาที่ยากกว่าภาษาโดยทั่วไป

นายซะ การีย์ยา กล่าวต่อไปว่า นอกจากนั้น ปัจจุบันนี้ คน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้ภาษาภาษามลายูผสมกับภาษาอื่นๆ จึงทำให้การใช้ภาษามลายูเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แม้เยาวชนรุนใหม่จะพูดภาษามลายูได้ แต่อ่านและเขียนไม่ได้แล้ว

นายซะ การีย์ยา กล่าวว่า ดังนั้น จึงควรวางรากฐานการศึกษาภาษามลายูและคำภีร์อัลกุรอ่าน ของคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เน้นการเรียนคัมภีร์อัลกุรอ่าน ตั้งแต่ระดับโรงเรียนตาดีกา(โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามระดับพื้นฐาน) ให้เข้าใจคัมภีร์อัลกุรอ่านและภาษามลายูอย่างลึกซึ้ง เพื่อปูทางสำหรับการเป็นนักกวีภาษามลายูในอนาคต

นายมนตรี ศรียงค์ กวีซีไรต์ปี 2550 กล่าวว่า ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีนักเขียนวรรณกรรมอยู่น้อยมาก จึงไม่ค่อยมีวรรณกรรมหรือบทกวีที่สะท้อนปัญหาต่างๆของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นำเสนอออกมาต่อสาธารณชน ทำให้คนนอกพื้นที่ไม่รู้ปัญหาที่แท้จริงของคน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านบทกวีหรืองานวรรณกรรม ทั้งที่คนในพื้นที่สามารถสะท้อนปัญหาออกมาได้ดีกว่านักเขียนวรรณกรรมจากนอก พื้นที่ เพราะคนในพื้นที่จะรู้บริบทหรือวัฒนธรรมในพื้นที่ได้กว่านอกพื้นที่

“ใน การประกวดรางวัลพานแว่นฟ้า ซึ่งเป็นการประกวดงานวรรณกรรมเกี่ยวกับการเมือง นักเขียนที่ส่งผลงานเข้าประกวดส่วนใหญ่ มักจะเขียนงานที่เกี่ยวกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งเรื่องสั้น บทกวีและนวนิยาย แต่นักเขียนเหล่านั้นไม่รู้ปัญหาชายแดนใต้อย่างลึกซึ้ง เพียงแต่นำข้อมูลจากข่าวมาเป็นฐานในการเขียนงาน ทำให้งานเขียนที่ออกมาไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร แทนที่ผลงานที่ออกมาจะช่วยสร้างสรรค์ภาพลักษณ์ที่ดีต่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลับกลายเป็นการซ้ำเติมปัญหาให้มากขึ้น

นาย มนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีนักเขียนวรรณกรรมเพียง 5 คน เช่น นันท์ บางนรา นายซะการีย์ยา อมตยา เป็นต้น

ในการจัดสัมมนาครั้งนี้ มีนักเขียนวรรณกรรมเข้าร่วมหลายคน เช่น นายเจน สงสมพันธ์ นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย นายหะมินิง สานอ นายซะการีย์ยา อมตยา นายอับดุลรอยะ ปาแนมานา นายพิเชฐ แสงทอง นายจรูญ หยูทอง นายสถาพร ศรีสัจจัง นายมนตรี ศรียงค์ ผศ.ธัญญา สังขพันธานนท์ ฯลฯ

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker