บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

'เลขาฯสภา'กางปฏิทิน เปิดสภาสู่โหวตนายกฯ

ที่มา ข่าวสด

สัมภาษณ์พิเศษ



หลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง 3 ก.ค. การ เมืองไทยชะงักไปช่วงหนึ่ง พักรอขั้นตอนการประกาศรับรองจากคณะกรรม การการเลือกตั้ง (กกต.)

ที่จะต้องรับรองส.ส.ให้ได้ร้อยละ 95 หรือ 475 คน ตามกรอบรัฐธรรมนูญ เพื่อเปิดประชุมสภาภายใน 30 วัน นับจากวันเลือกตั้ง

ล่า สุดการเมืองเริ่มขยับอีกครั้ง เมื่อกกต. ประกาศรายชื่อครบตามเกณฑ์ที่จะเปิดสภาได้แล้ว รวมถึงมีแถลง การณ์จากสำนักพระราชวัง เรียกเปิดสภาในวันที่ 1 ส.ค.นี้ด�วย

ปูทางไปสู่การตั้งรัฐบาลชุดใหม่ให้เข้ามาบริหารประเทศ

ประเด็น ที่อยู่ในความสนใจของประชาชน คือ หลังจากเสร็จขั้นตอนของกกต.จนเปิดสภาได้แล้ว การเมืองหลังจากนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป จะมีการเลือกนายกฯ ตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้เมื่อไหร่

นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร อธิบายและแจกแจงระเบียบขั้นตอนสำคัญ พร้อมปฏิทินการเมืองไว้ดังนี้

กฎหมายกำหนดให้เปิดประชุมรัฐสภาภายใน 30 วัน นับแต่เลือกตั้ง 3 ก.ค. ซึ่งจะตรงกับวันที่ 1 ส.ค.

ตาม กฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 127 ระบุว่า ภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้เรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกมาประชุมเป็นครั้งแรก

ความระบุ ว่าประชุมครั้งแรกจะโยงไปในมาตรา 128 วรรคสอง พระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำรัฐพิธีเปิดประชุมสมัยประชุมสามัญ ทั่วไปครั้งแรกตามมาตรา 127 วรรคหนึ่ง ด้วยพระองค์เอง

หรือจะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระรัชทายาทซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว หรือผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้แทนพระองค์ มาทำรัฐพิธีก็ได้

ซึ่งขั้นตอนทำรัฐพิธีจะต้องรอพระราชกฤษฎีกา

โดยกรอบ 30 วัน ถ้าเราเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้งวันที่ 3 ก.ค. แล้วนับต่อไปอีก 30 วัน จะตกวันที่ 1 ส.ค. นี่คือตารางเวลาตามกรอบรัฐธรรมนูญ

ก่อนทำรัฐพิธีต้องมีพระราชกฤษฎีกาเปิดสมัยประชุมสภาก่อน

ใช่ ต้องรอพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมรัฐสภา สมัยประชุมสามัญทั่วไปก่อน

ทั้ง นี้ เป็นเรื่องที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้ดำเนินการ เราไม่ก้าวล่วง ขณะที่บุคคลใดที่ประสงค์มอบหมายก็จะมาทำรัฐพิธีในการเปิดสมัยประชุมทั่วไป ครั้งแรก

ขั้นตอนของรัฐพิธีเป็นอย่างไร

รัฐพิธีจะจัด ขึ้นที่พระที่นั่งอนันตสมาคมเหมือนครั้งที่ผ่านมา โดยมีสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี ทูตานุทูต ประธานองค์กรอิสระทั้งหลาย

นี่คือบุคคลหลัก

เพื่อ ประกาศว่ารัฐสภาจะมีการประชุมแล้ว นับจากนี้ไป 120 วัน โดยจะทำครั้งเดียวหลังจากมีการเลือกตั้งทั่วไปเท่านั้น เป็นการเริ่มศักราชของการมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่

ทั้งยังเป็นการประกาศให้สาธารณชนทั่วไปทราบว่า สภาจะเริ่มทำงานแล้ว

จากนั้นภายใน 10 วันจะต้องมีการประชุมสภา อาจเป็นวันที่ 2 ส.ค. หรือ 3 ส.ค.ก็ได้

เวลา นี้มีการประสานกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

ทั้ง 3 องค์กรมีการประสานกันอย่างใกล้ชิด เพราะบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 93 วรรคท้าย พูดถึงจำนวนที่จะเปิดประชุมได้ว่า ต้องมีสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 หรือคิดเป็น 475 คน จาก 500 คน

โดยหลักการแล้ว หากกกต.ไม่สามารถรับรองส.ส.ได้ครบร้อยละ 95 จะสามารถเปิดสภาได้หรือ

กรณี แบบนี้ไม่น่าจะเกิด กกต.ทราบภารกิจดีว่าต้องรับรองให้ครบภายใน 30 วัน กกต.ก็บอกรับรองได้ทัน หรือถ้ามีเหตุจริงๆ กกต.ก็บอกว่ารับรองไปก่อนแล้วค่อยสอยทีหลัง

สุดท้ายแล้วกกต.ต้องรับรองส.ส.ร้อยละ 95 ให้ได้ก่อนวันรัฐพิธี

ใช่ มีกรอบเวลาของแต่ละคนที่ต้องรับผิดชอบอยู่ กกต.ต้องรับรองภายใน 30 วัน

เมื่อเปิดสมัยประชุมสภาแล้วตามกำหนด กระบวนการในการเปิดสภาเป็นอย่างไร

หลัง จากที่มีการประชุมครั้งแรก มีรัฐพิธีแล้ว ข้อบังคับข้อ 12 การประชุมสภาผู้แทนราษฎร 2551 บอกให้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ภายใน 10 วัน

ซึ่งในเวลานี้เราก็รู้ว่า ทุกอย่างจะต้องเร่งรัด

เมื่อ มีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมแล้ว ผมในฐานะเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จะต้องประสานกับพรรค การเมืองต่างๆ ที่จะเข้าร่วมประชุมว่า สมาชิกของท่านพร้อมหรือไม่พร้อมอย่างไร

การประชุมสภาในครั้งแรก นอกจากสมาชิกทุกคนจะต้องปฏิญาณตนแล้ว มีสาระสำคัญอีกประการ คือ การเลือกประธาน และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร

ก่อนจะเลือกได้จะต้องมีการเลือกประธานสภาชั่วคราวก่อน มีขั้นตอนอย่างไร

ประธาน ชั่วคราวไม่ต้องโหวต เพราะข้อบังคับเขียนไว้เลยว่าเชิญสมาชิกที่อาวุโสสูงสุด เว้นแต่เบอร์ 1 ไม่มา ก็ให้เบอร์ 2 เบอร์ 3 ที่มาประชุมในครั้งนั้น ทำหน้าที่ประธานชั่วคราว

สำหรับการเลือกประธานสภา และรองประธานสภา จะเลือกภายในวันเดียวกันเลย

เริ่ม ที่การเลือกประธานสภา มีการเสนอชื่อโดยต้องมีผู้รับรอง 20 คน ถ้ามีการเสนอชื่อผู้เดียว คนนั้นก็จะได้เป็นประธานสภา แต่หากมีมากกว่าหนึ่งคนก็ให้ลงคะแนน

ซึ่งข้อบังคับเสนอว่า ให้มีการลงคะแนนโดยลับ โดยคนที่ได้คะแนนมากที่สุดจะได้เป็น

เมื่อได้ตัวประธานเสร็จ จะเป็นขั้นตอนการเลือกรองประธาน ตามรัฐธรรมนูญจะมีรองประธาน 1 คน หรือ 2 คนก็ได้ ต้องถามมติในที่ประชุมก่อน

ถ้ามี 2 คนก็เลือกตามลำดับ วิธีการเหมือนกับเลือกประธานสภา

ทันทีที่ได้ตัวประธานและรองประธานสภาแล้ว ต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แล้วรอจนกว่าจะมีการโปรดเกล้าฯ ลงมา

เมื่อโปรดเกล้าฯลงมาแล้ว ประธานสภาคนใหม่จะทำหน้าที่นัดประชุมเพื่อกำหนดวันลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีต่อไป

ขั้นตอนในการเลือกนายกรัฐมนตรี

ตาม มาตรา 172 ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็น นายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก (นับจากวันรัฐพิธี) ตามมาตรา 127

ขั้นตอนการเลือกนายกรัฐมนตรี และลงคะแนนจะไม่เหมือนกับการเลือกประธานสภา

เพราะ รัฐธรรมนูญโดยบทบัญญัติทั่วไป มาตรา 126 ระบุว่า การตั้งคนให้มาดำรงตำแหน่งใดๆ ให้โหวตลับ แต่ในวรรคท้าย ระบุว่า เว้นแต่ที่บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้

ซึ่งในมาตรา 172 วรรคท้ายนั้น ระบุว่าต้องลงคะแนนโดยเปิดเผย

นอก จากนี้ การเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรือประมาณ 100 คน

แต่มติที่เห็นชอบให้เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมากกว่ากึ่งหนึ่ง คือ 251 คนขึ้นไป และลงคะแนนโดยเปิดเผย โดยใช้วิธีการขานชื่อ และมีคะแนนมานับ เมื่อเกินกึ่งหนึ่งก็นำขึ้นทูลเกล้าฯ

ตามธรรมเนียมปฏิบัติ จะนำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯในวันโหวตเลยหรือไม่

ปกติ ก็ทูลเกล้าฯภายในวันนั้น มีมติครึ่งวันก็เสร็จ รอให้ทูลเกล้าฯ ลงมา ซึ่งระยะเวลาในการโปรดเกล้าฯก็ไม่นาน บางทีภายในวันเดียวกัน หรือไม่ก็วันรุ่งขึ้น

จากนั้นจะเปิดประชุมสภาตามปกติได้เลย หรือไม่

เมื่อ เลือกนายกรัฐมนตรีเสร็จ อาจจะให้มีมติว่าจะประชุมสภาในวันไหน ทุกอย่างเป็นเรื่องของสภาจะเป็นผู้กำหนด ชุดก่อนกำหนดประชุมสภาทุกวันพุธ พฤหัสบดี ก็แล้วแต่สภาจะกำหนด

สรุปแล้วการประชุมนัดแรก เลือกประธานสภาและรองประธานสภา ส่วนนัดที่ 2 เลือกนายกฯ

ขณะที่กำหนดวันประชุมสภาว่าจะเป็นวันไหนบ้าง จะตกลงกันในการประชุมนัดที่ 2 หรือนัดที่ 3

สมัยประชุมรัฐธรรมนูญมี 2 สมัย คือ สมัยประชุมสามัญทั่วไป 1 สมัย 120 วัน กับสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ 120 วัน

ใน 1 ปี เราจะประชุม 240 วัน ก็แล้วแต่สภาจะกำหนดว่าจะประชุมวันไหน

ส่วน ของการประชุมสามัญทั่วไป จะถือว่าวันที่ทำรัฐพิธีเป็นวันเริ่มต้นการประชุม แต่ในส่วนของสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ สภาสามารถกำหนดเองว่าจะประชุมวันไหน

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker