บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ถามชำนาญ จันทร์เรือง:เรื่องออกพรก.ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี ๕๐ ไปใช้ปี ๔๐ ไม่ได้

ที่มา Thai E-News



คำถาม:เมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด แล้วเหตุใดคณะรัฐประหารจึงประกาศยกเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญได้

โดย ผศ.เอกพิชัย สอนศรี


เรียน คุณชำนาญ จันทร์เรือง


ผมได้อ่านข้อเขียนของท่านเรื่อง “ออก พรก.ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี ๕๐ ไปใช้ปี ๔๐ ทำไม่ได้” ทำให้ผมเข้าใจเกี่ยวกับศักดิ์ของกฎหมายมากขึ้น

ซึ่ง แม้กระผมเองแม้ไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวกับการใช้กฎหมายอย่างทนายความ อาจารย์ทางนิติศาสตร์ และอื่นๆ ทำให้ผมรู้สึกแปลกใจ และสงสัยไม่น้อย ผมจึงขอเรียนถามเป็น ดังนี้

มาตรา ๖ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันบังคับมิได้

คำถาม :เมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด แล้วเหตุใดคณะรัฐประหารจึงประกาศยกเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ และ/หรือมีใช้อำนาจตามความในมาตราใด (ทำไมคณะรัฐประหารทำอะไรก็ได้)?

หาก ท่านอ่านแล้วพิจารณาตามเนื้อหานี้ แล้วท่านยังจะเชื่อถืออำนาจ ตามประกาศของคณะรัฐประหาร และยอมรับรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ เพราะหากยอมรับเท่ากับเราจะยอมให้มีการกระทำรัฐประหารในประเทศนี้อีก เหตุที่ต้องให้รัฐประธรรมนูญสิ้นสุดลงเพราะรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุด การใดๆที่ได้มาโดยไม่เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ ถือว่าเป็นกบฏ เมื่อกระทำความผิดสูงสุดและไม่ต้องรับโทษก็คือ สั่งให้กฎหมายสูงสุดนั่นแหละสิ้นสุดลง

หลังประกาศคปค. ฉบับที่ ๑ อำนาจอธิปไตยของปวงชน อยู่ภายใต้ คปค. และประกาศคปค. ฉบับที่ ๓ อำนาจอธิปไตยทางรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี ถูกแทนที่ด้วยคปค. เรียบร้อยแล้ว กฎหมายสูงสุดที่เรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ไม่สูงอีกต่อไป มาตรา ๖ มีไว้อ่านเล่นให้เพลินใจเท่านั้น

แม้แต่ประกาศ คปค. ก็ถูกละเมิดกฎหมายสูงสุดของตัวเอง ในระหว่างที่รัฐธรรมนูญปี ๔๐ สิ้นสุดลง เช่น ประกาศ คปค. (ที่อ้างว่าเป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว) แต่งตั้งนายสวัสดิ์ โชติพานิช (ขออภัยที่เอ่ยนามพาดพิง) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธาน คตส. ภายหลังได้ลาออกไป

ถามว่า:“นั่นเป็นการทำผิดกฎหมายรัฐ ธรรมนูญ หรือไม่” และ “เมื่อแต่งตั้งแล้วบุคคลนั้นไม่ยอมรับ ตำแหน่งหัวหน้า คปค. หรือผู้ถูกแต่งตั้งควรเป็นผู้รับผิดชอบ ต่อการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญนั้น”?

การปฏิเสธ กฎ ข้อบังคับของคณะรัฐประหาร ที่กระทำตนเองเป็นผู้เหนือกฎหมายสูงสุดได้ ตอนนั้นประชาชนจะรอใครออก พ.ร.ฎ., พ.ร.ก., พ.ร.บ. เมื่อรัฐสภาถูกยุบ คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ในเมื่อประชาชนมือเปล่าคนหนึ่ง เขาออกมายืนยันสิทธิของอำนาจของเขา “ผมไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจการประกาศของคุณ” (จะฉบับใดก็ตาม)

ทีนี้ ผมขอยกตัวอย่าง “องค์กรที่เป็นการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร” และที่มีการถกเถียงกันอยู่พักหนึ่ง แล้วเรื่องก็เงียบหายไป พร้อมๆกับการสิ้นสุดของรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์

ผม ได้เขียนบทความนี้เมื่อปี ๒๕๕๑ ที่จำเป็นต้องยกตัวอย่าง องค์กรนี้ เพราะนี่คือ องค์กรอิสระ ที่มีกฎระเบียบว่าด้วย “การห้ามรับของกำนัลเกิน ๓,๐๐๐ บาท” ของบรรดาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งหลาย แต่องค์กรนี้กลับนำเข็มกลัดช่อสะอาดไปแสดงความยินดีกับผู้ได้รับการเลือก ตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แม้ว่าเข็มกลัดช่อสะอาดจะมีราคาเพียง ไม่กี่บาทก็จริงอยู่ แต่ใช้งบประมาณว่าด้วยการใช้จ่ายเรื่องอะไร แล้วองค์กรอื่นๆ เช่น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ตุลาการศาลรัฐ และอื่นๆ ควรจะมอบอะไรเพื่อแสดงความยินดีกับ สส. สว.เหล่านั้น

การแต่งตั้งป.ป.ช. เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์: เมื่อคปค.กระทำผิดกฎหมายตนเอง

ตาม ที่คณะกรรมการป.ป.ช. ได้จัดทำสมุดปกขาวโชว์หนังสือ “ราชเลขาธิการ” ชี้แจงที่มาของคณะกรรมการ ถูกต้องตามประกาศคปค. ฉบับที่ ๑๙ และฉบับที่ ๓๑ ข้อ ๘ บรรดาบทบัญญัติใดของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน

ข้อเท็จจริงมีว่า

ประ กาศคปค. ฉบับที่ ๑๙ ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบด้วย

คำว่า “ให้คณะกรรมการ...ประกอบด้วย” (ประกาศฉบับที่ ๑๙) ในที่นี้ถือว่ามีความสมบูรณ์โดยการแต่งตั้งแล้วหรือไม่? เนื่องจากประกาศคปค. ฉบับที่ ๓๑ ข้อ ๑ และให้ถือว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติซึ่งได้รับแต่ง ตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๙ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งโดยชอบตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒

๑. การแต่งตั้งคณะกรรมการป.ป.ช.เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

๒. ประกาศคปค.ฉบับที่ ๑๙ เรื่อง ให้กรรมการประกอบด้วย

๓. มาตรา ๖ ให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเรียกโดยย่อว่า “ คณะกรรมการ ป.ป.ช.” ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกแปดคนซึ่งพระ มหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา

๓. มาตรา ๗ (๒) วรรค ๓ ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการ

๔. มาตรา ๑๒ กรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งเก้าปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและให้ดำรงตำแหน่ง ได้เพียงวาระเดียว

กรรมการซึ่งพ้นจากตำแน่งตามวาระต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่

ประกาศ ของคปค. ฉบับที่ ๓๑ (โดยยังไม่พิจารณาตามข้อ ๘) อย่างน้อย ๔ ข้อข้างต้น นั้นขัด หรือแย้ง ประกาศฉบับ ๓๑ นี้ ให้ใช้ฉบับ ๓๑ นี้แทน

การแต่งตั้งเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ตามคำแนะนำของ “รัฐสภา”

ด้วย รัฐสภา เป็นอำนาจที่รัฐธรรมนูญได้มีบทบัญญัติไว้ ทั้งรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ และรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้า ให้พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง ตามคำแนะนำของรัฐสภา เช่น

มาตรา ๒๐๔ ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่ง และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีกแปดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์แต่งตั้ง ตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากบุคคลดังต่อไปนี้

มาตรา ๒๒๙ คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์แต่งตั้งตามคำแนะนำของรัฐสภา......

ให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๒๔๒ ผู้ตรวจการแผ่นดินจำนวนสามคน ซึ่งพระมหากษัตริย์แต่งตั้งตามคำแนะนำของรัฐสภา ..................

มาตรา ๒๕๒ การตรวจเงินแผ่นดิน........

คณะ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกหกคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน ............

ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการ........

มาตรา ๒๕๕ พนักงานอัยการ........................

การแต่งตั้งและการให้อัยการสูงสุดพ้นจากตำแหน่งต้องเป็นไปตามมติของคณะกรรมการอัยการ และได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา

ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งอัยการสูงสุด

มาตรา ๒๕๖ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน...........

ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ใน เมื่อประกาศคปค. ฉบับที่ ๓ ข้อ ๒.วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญไปแล้วนั้น ใคร คือ รัฐสภา

คำตอบ คือ หัวหน้าคปค. ตามประกาศคปค. ฉบับที่ ๑๖

ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๖

เพื่อ ประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินให้มีความต่อเนื่องในระหว่างที่ยัง ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้การ ดำเนินการเรื่องใดต้องได้รับ ความเห็นชอบจากรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในการให้ความเห็นชอบแทนรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา ในเรื่องนั้น

ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


ดัง นั้น ประกาศคปค. ฉบับนี้ (และฉบับอื่น) ที่ถือเป็นกฎหมายตามคำพิพากษาของศาลฎีกา หัวหน้าคปค. คือผู้ที่มีอำนาจและหน้าที่ ตามที่คปค.ร่างขึ้น ลงนามและประกาศใช้ ตามอำนาจนั้นประธานวุฒิสภาจึงเป็นผู้ที่ต้องลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งประธานกรรมการ และกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จะตีความเป็นอย่างอื่นมิได้

การที่เลขาธิการคณะกรรมการป.ป.ช. ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีก็ดี หรือ ความเห็นจากสำนักราชเลขาธิการว่า คณะกรรมการป.ป.ช. ที่ได้รับการแต่งตั้งตามประกาศคปค. ฉบับที่ ๑๙ และประกาศคปค. ฉบับที่ ๓๑ (ที่อ้างว่า) เป็นไปโดยชอบแห่งประกาศของ “รัฏฐาธิปัตย์” ขณะนั้น และข้อ ๘ ยังรับรองประกาศฉบับนี้อีกชั้นหนึ่ง นั่นก็มิใช่อำนาจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และ/หรือ มิได้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒

ประกาศคปค. ฉบับที่ ๑๖ เมื่อหัวหน้าคปค. มิได้ปฏิบัติหน้าที่รัฐสภา ในการถวายคำแนะนำ ตามมาตรา ๖ และ/หรือ มิได้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ตามมาตรา ๗ (๒) วรรค ๓ โดยอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมาย (ตามประกาศคปค. ฉบับที่ ๑๖ ที่ร่างขึ้น ลงนาม และประกาศใช้เอง) แล้ว จักถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่

หากว่ารัฏฐาธิปัตย์สามารถละเว้น การปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แล้วมีประกาศการว่าการใดที่ขัด หรือแย้งนั้นใช้มิได้ แล้วเหตุใดรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ ในหลายมาตราจึงมีบทบัญญัติ “พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา” และ “ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง”

หรือกฎหมาย มิให้ใช้บังคับกับหัวหน้าคปค. และคปค. เท่านั้น โดยแท้ที่จริงการสรรหาโดยวุฒิสภา เป็นอำนาจประกาศคปค. ฉบับที่ ๑๖ แต่การแต่งตั้งเป็นพระราชอำนาจ ของพระมหากษัตริย์ตามมาตรา ๖ ที่หัวหน้าคปค. มิได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล และตามมาตรา ๗ (๒) วรรค ๓หัวหน้าคปค. มิได้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

ผู้ออกกฎหมาย กลายเป็นผู้ฝ่าฝืนเสียเอง มิได้ปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแล้วจะอ้างอำนาจว่า นี่คือประกาศของรัฏฐาธิปัตย์ ได้อย่างไร ในเมื่อพร่ำสอนแก่ประชาชนว่า

“ประชาชนจะทำผิดกฎหมาย โดยอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้”

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker