โดยกำลังทหารในโคราช ที่อ้างชื่อตนเองว่า เป็น “คณะกู้บ้านกู้เมือง” ภายใต้การนำของ พลเอกพระองค์เจ้าบวรเดช กฤดากร อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหมสมัยราชาธิปไตย ร่วมกับ พันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ)
ตาของพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ และนายทหารอีกหลายคน
นำกำลังทหารพร้อมอาวุธครบมือ บุกเข้ายึดที่ทำการเทศาภิบาลจังหวัด
นครราชสีมา แล้วคุมตัวผู้รักษาราชการจังหวัด
กับข้าราชการใหญ่น้อยอีกหลายนายไปกักขังไว้
ในเวลาเดียวกัน พลเอกพระองค์เจ้าบวรเดช
พร้อมด้วยคณะนายทหารติดตามก็เข้าสู่หน่วยทหารที่ทุกวันนี้คือค่ายสุรนารี
แล้วแจ้งต่อข้าราชการทหารตำรวจพลเรือนว่า ทางพระนครเกิดเหตุร้าย
คณะกู้บ้านกู้เมืองจึงจำเป็นจะต้องนำทหารเข้าไปปราบปราม ขอให้ข้าราชการ
อย่าได้กระทำการใดเป็นที่ขัดขวางเป็นอันขาด หลังจากนั้นก็ประกาศกฎอัยการศึก
เรียกทหารกองหนุนเจ้าประจำการทันที
แล้วรอกำลังสนับสนุนจากทหารหัวเมืองอีกหลายจังหวัด
ก่อนเดินทางด้วยขบวนรถไฟเข้ามายึดกรมอากาศยานที่ดอนเมืองในวันที่ 11
ตุลาคม พ.ศ. 2476 ประกาศคำขาดให้รัฐบาลทำตาม มิฉะนั้น
จะใช้กำลังเข้าเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
ข้อเรียกร้องหรือคำขาดเหล่านั้น ถ้าอ่านดูแล้วจะรู้ได้ทัันทีว่า
ส่วนใหญ่ไม่ใช่ข้อเรียกร้องที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเลย
เป็นเรื่องส่วนตัวของนายทหารต่างกลุ่มที่ต้องการประโยชน์ที่พวกตนสูญเสียไป
เสียเป็นส่วนใหญ่
แต่ที่น่าสนใจก็คือการเรียกร้องให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้แต่งตั้ง
สส.บางส่วน
หรืออีกนัยหนึ่งคือให้มีการแทรกแซงระบอบประชาธิปไตยโดยทางราชสำนักได้ด้วย
ที่น่าจะพัฒนามาเป็นวุฒิสมาชิกลากตั้งของพวกอำมาตย์ในปัจจุบัน
แต่รัฐบาลของคณะราษฎร์ ซึ่งขณะนั้นนำโดย พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ปฏิเสธ และแต่งตั้งให้ พันโทหลวงพิบูลสงคราม เป็นแม่ทัพเข้าปราบกบฏ ได้รับชัยชนะในอีกสิบกว่าวันต่อมา ทหารรัฐบาลและฝ่ายกบฏเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนหนึ่ง
กบฏบวรเดช เป็นการเริ่มต้นต่อต้านขบวนการประชาธิปไตยไทยด้วยกำลัง
ของพวกทหารอนุรักษ์นิยมและกลุ่มศักดินาอำมาตย์
ภายหลังใช้วิธีการทางกฎหมายโดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ผู้สั่งปิดรัฐสภา
งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ฯลฯ แล้วไม่ประสบความสำเร็จ
เพราะทางคณะราษฎร์นำกำลังเข้ายึดอำนาจกลับคืนมายังฝ่ายประชาธิปไตยมาได้ก่อน
หน้านั้น
ข้อมูลที่น่าสนใจก็คือ กองทัพสยามหลังอภิวัฒน์ 2475 นั้น
มีนายทหารลูกชาวบ้านที่นิยมคณะราษฎร์อยู่จำนวนมาก
เพราะคณะราษฎร์สนับสนุนให้ได้ตำแหน่งหน้าที่
สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ฝ่ายกบฏบวรเดชต้องพ่ายแพ้นั้น
ก็เพราะผู้นำทหารเหล่านั้นไม่ยอมรับการเป็นหัวหน้าคณะกู้บ้านกู้เมืองของ
พระองค์เจ้าบวรเดช ฯ พวกเขาเกรงว่า
พระองค์จะนำระบอบราชาธิปไตยกลับมาปกครองประเทศไทยอีกครั้ง
และนั่นหมายถึงจุดจบของโอกาสของทหารลูกชาวบ้าน หรือทหารฝ่ายไพร่ในประเทศนี้
เนื่องจากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น รู้กันดีว่า
นายทหารลูกชาวบ้านไม่มีทางเจริญเติบโตอย่างแน่นอน
เพราะตำแหน่งหน้าที่ผู้นำกองทัพนั้น
สงวนไว้เฉพาะผู้มีเชื้อสายศักดินาและพวกผู้จงรักภักดีต่อระบอบนั้นอย่างสุด
จิตสุดใจเท่านั้น นี่เป็นความจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปในระยะก่อนหน้านั้น
กบฏบวรเดชมีรายละเอียดการสู้รบซึ่งจะได้นำมาเล่าสู่กันฟังต่อไป
แต่จบลงด้วยการพ่ายแพ้ทางทหารของฝ่ายผู้ก่อการ ตัวพันเอก
พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) เองก็เสียชีวิตในสนามรบ
แต่พระองค์เจ้าบวรเดช ฯ และครอบครัว
นำเงินทองทรัพย์สินขึ้นเครื่องบินจากสนามบินโคราช หนีไปอยู่กัมพูชา
โดยปล่อยทหารและข้าราชการที่เข้าร่วมก่อการหรือผู้สนับสนุนให้ต้องรับโทษ
หนัก จำคุกกันคนละหลาย ๆ ปี จนมีคำกล่าวซุบซิบในหมู่ทหารรุ่นนั้นว่า
“ไอ้เดชหนี ไอ้ศรีตาย” ผลที่ตามมาคือกลุ่มเจ้าถูกลดบทบาทและอำนาจลงไปนาน
จนถึงการรัฐประหาร 2490 ที่กลุ่มนี้แฝงตนกลับเข้าอีกครั้ง
การปราบกบฏบวรเดชครั้งนี้ รัฐบาลได้ดำเนินการจัดการพิธีศพทหารรัฐบาล สร้างอนุสาวรีย์ “พิทักษ์รัฐธรรมนูญ “ขึ้นที่หลักสี่อันเป็นสนามรบ ตามมาด้วยการสร้าง “วัดประชาธิปไตย” ขึ้นในบริเวณนั้น ซึ่งต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดพระศรีมหาธาตุ” เพราะ
ชื่อเดิมคงจะแสลงใจพวกศักดินาอำมาตย์นิยมทั้งหลาย
ที่เข้ามาครอบงำวงการศิลปวัฒนธรรม และการศึกษาของชาติต่อมา
จึงต้องทำให้เลือนหายไปให้ได้มากที่สุด
อยากให้ภาคประชาชนให้ความสำคัญกับเหตุการณ์นี้และอนุสรณ์สถานทั้งหลายที่
เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ให้มาก เพราะมันแสดงชัดว่า ทหารกองทัพไทยนั้น
ไม่ได้เป็นพวกต่อต้านประชาชนและระบอบประชาธิปไตยกันทุกคน
นี่รวมถึงทหารอาชีพมากมายในปัจจุบันด้วยเช่นกัน