บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เสรีนิยมไปกันได้ด้วยดีกับเศรษฐกิจพอเพียง?

ที่มา ประชาไท

 

เมื่ออาจารย์คณะพัฒนาเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลขัดต่อรัฐธรรมนูญฉบับที่มาจากคณะรัฐประหาร พ.ศ.2550 มาตรา  84 (1) ข้อความว่า รัฐต้องดำเนินการตามนโยบายด้านเศรษฐกิจต่อไปนี้ “สนับ สนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรมโดยอาศัยกลไกตลาด และสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน   โดยต้องยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจซึ่งมีบท บัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน  เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ...”  ทำให้เกิดความสงสัยอย่างมาก เมื่อเหลียวกลับไปมองมาตราที่อยู่ด้านบนมาตรา 84  เพราะมีข้อความที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิงต่อความรู้สึกที่เคยรับรู้ผ่าน สื่อสารธารณะในสังคมไทยกล่าวคือ มาตรา 83 ของรัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่า “รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
ทั้งสองมาตราเป็นสิ่งที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐบาลไทยต้องดำเนินนโยบายตาม ที่ระบุไว้นี้ จะทำเป็นอย่างอื่นมิได้  คำถามที่ชวนให้สงสัยก็คือ  เศรษฐกิจพอเพียงกับเสรีนิยมอยู่ด้วยกันได้ด้วยหรือ แล้วหน้าตาของนโยบายการปฏิบัติจะออกมาอย่างไร ในเมื่อฝ่ายหนึ่งบอกให้พอเพียง กินใช้เท่าที่ไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน พอใจกับสิ่งที่มีอยู่ ไม่โลภ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่เป็นหนี้ กับอีกฝ่ายที่ส่งเสริมการแข่งขัน การค้ากำไร โดยไม่มีเส้นจำกัดขีดกั้น ?
ต่อเมื่อได้คิดทบทวน วิเคราะห์แล้วจึงได้คำตอบว่า ทั้งสองสิ่งไปด้วยกันอย่างลงรอย สอดคล้องสนับสนุนซึ่งกันและกันในบริบทของสังคมไทย ด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
เสรีนิยม (libertarian) พวกเสรีนิยมเชื่อว่า มนุษย์เป็นเจ้าของร่างของตนเอง เพราะร่างกายคือสิ่งที่ติดตัวเรามาแต่เกิด อยู่กับเรา และไม่มีใครสามารถพรากไปจากเราได้ มนุษย์จึงมีเสรีอย่างเต็มที่ที่จะกระทำใด ๆ ต่อร่างกาย  การถูกใช้กำลังทำร้าย บังคับ ควบคุมต่อร่างกายถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสิทธิที่ติดตัวมาพร้อมกับร่างกาย  ดังนั้น พวกเสรีนิยมเมื่อได้ลงแรงไปกับการทำงานใด ๆ เพื่อผลิต สร้าง ทางเศรษฐกิจด้วยร่างกายที่ตนเป็นเจ้าของแล้ว  ผลผลิตที่ได้มาจากแรงงานนั้นจะต้องตกแก่ตนผู้เป็นเจ้าของแรงงาน ทรัพย์สินที่เกิดขึ้น   ผลผลิตจากการค้า การลงทุน จึงเป็นทรัพย์สินที่ไม่พึงแบ่งปัน หรือกระจายให้กับใคร เพราะเมื่อผู้อื่นไม่ได้ลงแรงผลิตก็ย่อมไม่มีสิทธิที่จะได้รับ เช่นเดียวกันเมื่อรัฐเข้ามาแทรกแซงกลไกราคาทำให้ผลกำไรที่เคยได้รับน้อยลงไป ทั้งที่ตนเองลงแรงเท่าเดิมตามกลไกตลาด ในทัศนะของพวกเสรีนิยมย่อมไม่สามารถยอมรับได้
ความยุติธรรมของเสรีนิยมจึงเป็นเรื่องของการที่รัฐต้องไม่เข้ามายุ่ง เกี่ยวแทรกแซงกับการจัดโครงสร้างการกระจายรายได้ให้ทั่วถึงและเท่าเทียม  ในสายตาของคนกลุ่มนี้ ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ไม่ได้แสดงให้เห็นว่า สังคมไม่เป็นธรรม ในทางตรงข้าม มันเป็นธรรมดีอยู่แล้ว เพราะคนจนไม่มีความสามารถมากพอที่จะหารายได้หรือทรัพย์สินได้เท่ากับคนรวย  รัฐจึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมาบังคับด้วยการจัดสรรงบประมาณ หรือจัดเก็บภาษีเพื่อให้นำเงินของคนรวยไปช่วยคนจน เพราะมันละเมิดสิทธิความเป็นเจ้าของทรัพย์สินเสมือนเป็นการขโมยแรงงานไปให้ คนยากจนที่ด้อยกว่า
เสรีนิยมให้เหตุผลว่า การได้มาซึ่งทรัพย์สิน รายได้ เป็นการใช้แรงงานมันสมองของตนเองไปเพื่อแสวงหาทรัพยากรที่ใคร ๆ ก็เข้าถึงและหยิบฉวยมาใช้ประโยชน์ได้ ภายใต้สิทธิที่สังคมเปิดโอกาสให้ทุกคนเท่าเทียมกัน  เพราะโดยเริ่มแรกแล้วไม่มีใครเป็นเจ้าของทรัพยากรเหล่านั้น ใครก็ตามที่มีความสามารถก็ย่อมหยิบฉวยเอาได้เท่าที่มีกำลังแรงงานที่จะไขว่ คว้าหามาได้   และตราบเท่าที่ยังคงมีทรัพยากรเหลืออยู่ก็ไม่จำเป็นต้องจำกัดยับยั้งการแสวง หา  ขอเพียงอยู่ภายใต้การแข่งขันอย่างเสรีและได้ทรัพยากรเหล่านั้นมาโดยชอบด้วย กฎหมาย
วิธีอธิบายแบบนี้คือคำอธิบายของผู้มีอำนาจที่มั่งคั่ง ร่ำรวย และเป็นผู้เข้าถึงทรัพยากรโดยง่าย ซึ่งไม่ต่างจาก
เศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ฯ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้เผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อันเป็นจุดเริ่มต้นของหลักการที่เรียกกันติดปากว่า “หลักสามห่วง สองเงื่อนไข”  กล่าวคือ หลักพอประมาณ  มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน ส่วนสองเงื่อนไขได้แก่ เงื่อนไขคุณธรรม และเงื่อนไขหลักวิชาความรู้ แต่ต่อมามีการเพิ่มเงื่อนไขที่สามคือ เงื่อนไขการดำเนินชีวิต หมายถึงการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร   หลักการที่กล่าวมา เมื่อถูกนำมาปฏิบัติในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง มีกลุ่มเป้าหมายของการเผยแพร่และชี้บอกให้รับแนวทางนี้ไปใช้ในการดำเนิน ชีวิต ได้แก่ กลุ่มเกษตรกร ชาวนาผู้ยากจน จะเห็นได้ว่า ตัวอย่างแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงล้วนเป็นการดำเนินชีวิตแบบสังคมเกษตรกรรม ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ มีเหลือจึงขาย ผลิตสิ่งของใช้เอง และดำเนินชีวิตแบบสมถะเรียบง่าย ชีวิตแบบพอเพียง คือชีวิตของชาวนาที่ไม่เป็นหนี้เป็นสิน ไม่โลภ ใช้ชีวิตในถิ่นฐานบ้านเกิด ไม่อพยพเคลื่อนย้ายแรงงานเข้ามาทำงานในเมือง
ลักษณะการดำเนินชีวิตของเกษตรกรชาวนา นี้อธิบายได้ว่า ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตัวเองเพราะมีความพอประมาณ ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่คิดแสวงหารายได้จากโยกย้ายแรงงาน มีเหตุมีผล เพราะไม่เป็นหนี้  และมีภูมิคุ้มกัน เพราะมีอาหารจากการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรมในทางปฏิบัติ คือการแบ่งปัน และการแสวงหาความรู้ ซึ่งก็ไม่พ้นการเข้าอบรมหรือเข้าโครงการพัฒนาที่หน่วยงานภาครัฐมาชี้บอกให้ ทำ
เงื่อนไขข้อสุดท้าย ช่วยตอกย้ำ การพึงพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่โดยไม่ดิ้นรน แข็งขืน ต่อสู้ เพราะบอกให้ต้องอดทน และมีความเพียร สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องพึ่งตนเองให้ได้ การพึ่งตนเองได้ ย่อมหมายถึงไม่พึ่งคนอื่น และไม่จำเป็นที่จะต้องให้ผู้อื่นมาช่วยเหลือ  เมื่อฐานะดีขึ้นก็สามารถบริโภคขยายกิจการได้ ดังเช่นที่ระบุไว้ในทฤษฏีใหม่ 3 ขั้น คือ ขั้นแรกให้ทำเพื่อพึ่งตัวเองให้ได้ เรียกว่าขั้นต้น ขั้นต่อมาคือขั้นกลาง ได้แก่ การรวมกลุ่มจัดตั้งวิสาหกิจภายในชุมชนเพื่อค้าขายกับชุมชนใกล้เคียง และขั้นสุดท้ายคือการรวมกันเป็นเครือข่ายขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น
เศรษฐกิจพอเพียงจึงสนทนาบอกเล่าโดยตรงกับคนยากจน เกษตรกรในชนบท ไม่ให้เข้ามาแข่งขัน แย่งชิงในระบบเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม และให้ก้มหน้ายินยอมรับสิ่งที่ตนเองมีอยู่ และดำเนินชีวิตภายใต้ความพอเพียงในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก สามชาย ศรีสันต์ ระบบความคิดเชิงคำสั่งในวาทกรรม “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง”, วารสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 10 ฉบับที่1)
หลักปรัชญาทั้ง 2 มีความสอดคล้องลงรอยกันในความเชื่อพื้นฐานดังต่อไปนี้
1. ทั้งสองไม่เห็นด้วยที่จะปรับโครงสร้างการกระจายรายได้ให้เป็นไปอย่างเป็น ธรรม เสรีนิยมเห็นว่า รัฐไม่จำเป็นต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวจัดการแทรกแซงราคาผลผลิต หรือกำหนดมาตรการภาษี  ขณะที่เศรษฐกิจพอเพียงมองว่า ชาวนาไม่จำเป็นต้องไขว่คว้าหารายได้ด้วยผลิตเพื่อขาย เพราะทำให้เป็นหนี้สิน แต่ควรหันมาผลิตเพื่อบริโภค
2. ทั้งสองมีฐานคิดว่าทรัพยากรมีอยู่อย่างเพียงพอรอให้ประชาชนลงทุน ลงแรงเข้าไปแสวงหาครอบครอง โดยทุกคนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่จำเป็นต้องไปปรับโครงสร้างการกระจายทรัพยากรอีก จะเห็นได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียงกล่าวถึงที่ดิน 5 ไร่ สำหรับทำการเกษตรผสมผสานเป็นต้นทุนตั้งต้น แต่ไม่เคยกล่าวว่าจะนำที่ดิน 5 ไร่ และแหล่งน้ำเพื่อทำการเกษตรมาจากไหน
3. ทั้งเศรษฐกิจพอเพียงและเสรีนิยมไม่จำกัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ถ้ามีเงินมีกำลังก็สามารถผลิต - บริโภคได้ตราบเท่าที่ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน
4. ข้อเสนอยืนอยู่บนฐานที่ว่า โครงสร้างทางสังคมมีความเป็นธรรมอยู่แล้ว การผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดก็ย่อมได้ราคาสูง ส่วนการผลิตที่ขาดคุณภาพ ไม่เป็นที่ต้องการย่อมได้ราคาต่ำ สังคมไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ กดราคา ใช้อำนาจที่ทำให้สินค้าและบริการบางประเภทมีราคาต่ำ แต่บางประเภทมีราคาสูง เช่น ข้าวเปลือก กับข้าวสาร เมื่อสังคมมีความเป็นธรรมอยู่แล้วจึงต้องแก้ไขที่ตัวปัจเจกเองไม่ใช่แก้ไข ที่โครงสร้าง
5. ปล่อยให้การแลกเปลี่ยน แบ่งปัน ช่วยเหลือ เป็นไปด้วยความสมัครใจแบบปัจเจกบุคคล โดยที่รัฐไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยว แต่ให้เป็นเรื่องของการสงเคราะห์ เยียวยา ด้วยจิตเมตตาของคนรวยที่จะช่วยเหลือคนจนตามหลักคุณธรรมที่ผู้ปกครองในฐานะ ปัจเจกบุคคลพึงมี
6. ฐานคติความเชื่อข้างต้น เป็นสิ่งที่ทำให้ดูเสมือนว่าเป็นจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์โต้แย้ง เศรษฐกิจพอเพียงบอกให้มีศรัทธาเหมือนศรัทธาในศาสนา เพราะหลักปรัชญาอิงอยู่กับศาสนาพุทธ ขณะที่เสรีนิยมบอกว่าเป็นสิทธิที่ติดมาตั้งแต่เราเกิด
สิ่งที่สอดคล้องเชื่อมประสานกันประการสุดท้ายคือ ทั้งสองผลิตซ้ำความไม่เท่าเทียม ช่วยธำรงค์รักษาสังคมของการเอารัดเอาเปรียบให้ฝ่ายผู้ครอบครองทรัพยากรมี สิทธิอำนาจที่อยู่เหนือกว่าให้อยู่ในสถานะตำแหน่งที่เหนือกว่าต่อไป โดยมีคำอธิบายสาเหตุของความยากจนคล้ายคลึงกันคือ เป็นเหตุปัจจัยอันเนื่องมาจากบุคคลผู้ยากจนที่กระทำต่อตัวเอง ฉะนั้นจึงต้องแก้ด้วยตนเอง อย่าไปเรียกร้องให้ใครมาหยิบยื่นช่วยเหลือ

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker