ที่มา มติชน
แอนเนนเบิร์ก ฮอลล์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า
รายงานการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของโลกประจำปี 2010 (ARWU) ระบุว่า
มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ยังคงครองแชมป์มหาวิทยาลัยของโลก เป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน
ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ
แต่ก็แสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยของจีนกำลังปรับตัวดีขึ้น
รายงาน ARWU ซึ่งมีการเผยแพร่
โดยศูนย์การประเมินมหาวิทยาลัยระดับโลกของมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ เจียว ถง
นับตั้งแต่ปี 2003 ระบุว่า สหรัฐฯ มีจำนวนมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับโลกมากที่สุด
โดยมีมหาวิทยาลัย 8 แห่ง ติดอันดับท็อปเท็น และอีก 54 แห่ง อยู่ใน 100 อันดับแรก
มหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ที่ติด 10 อันดับแรกของมหาวิทยาลัยโลก
นอกเหนือจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์,
สแตนฟอร์ด, สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซ็ตต์, สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย,
พรินซ์ตัน, โคลัมเบีย และชิคาโก ส่วนมหาวิทยาลัยเยล อยู่ในอันดับที่ 11
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
มหาวิทยาลัยของอังกฤษที่ติดอันดับที่ดีที่สุดคือ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
ซึ่งหล่นจากอันดับ 4 เมื่อปีที่แล้ว มาอยู่ที่อันดับ 5 ในปีนี้
และอ็อกซ์ฟอร์ดยังคงครองอันดับ 10
ขณะที่โดยรวมแล้วมหาวิทยาลัยของอังกฤษที่ติดอันดับ 500 อันดับแรกของโลก
มีจำนวนลดลงมาอยู่ที่ 38 แห่ง จากเดิม 40 แห่ง
แต่จากการจัดอันดับดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า
มหาวิทยาลัยในเอเชียได้ติดอันดับโลกมากขึ้น โดยมีมหาวิทยาลัย 106 แห่ง
จากภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค ที่ติดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก 500 อันดับแรก
ขณะที่วิธีการจัดอันดับยังคงเหมือนเดิมนั้น
มหาวิทยาลัยของจีนที่อยู่ในกลุ่ม 500 อันดับแรก
ก็มีจำนวนสูงถึง 34 แห่งในปีนี้ ซึ่งมากกว่าเดิม 2 เท่าจากปี 2004
ซึ่งมีเพียงแค่ 16 แห่ง มหาวิทยาลัยเจียวถง ระบุในแถลงการณ์ฉบับหนึ่ง
มหาวิทยาลัยของจีนที่อยู่ใน 200 อันดับแรก ได้รวมถึง มหาวิทยาลัยปักกิ่ง,
ซิงหัว และมหาวิทยาลัยไชนีส ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ ฮ่องกง
โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ก็ติดใน 200 อันดับด้วย
ทั้งนี้ ARWU ได้ใช้ปัจจัยชี้วัด 6 ประการ ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก
ซึ่งรวมถึง จำนวนศิษย์เก่า และบุคลากรที่ได้รับรางวัลโนเบล,
จำนวนนักวิจัยที่มีชื่อเสียง, จำนวนบทความที่มีการเผยแพร่
และได้รับการระบุถึงในวารสารชั้นนำ
และผลการเรียนต่อคนเทียบกับขนาดของมหาวิทยาลัย
การจัดอันดับดังกล่าว
ซึ่งมีการประเมินมหาวิทยาลัยกว่า 1,000 แห่งในแต่ละปีนั้น
จะให้ความสนใจอย่างมากต่อความสำเร็จในการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยโตเกียว
สำหรับภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค
มหาวิทยาลัยโตเกียวมีความโดดเด่นโดยได้ครองอันดับที่ 20 อีกครั้ง
ตามด้วยมหาวิทยาลัยเกียวโต ในอันดับที่ 24 อย่างไรก็ตาม
การปรับตัวโดยรวมของญี่ปุ่นนับว่าแย่ลง
โดยมีมหาวิทยาลัยเพียง 25 แห่ง ที่ติด 500 อันดับแรก ซึ่งลดลงจาก 31 แห่งในปีที่แล้ว
แต่ไม่พบว่ามหาวิทยาลัยใดๆของไทยติดอยู่ใน 500 อันดับแรกแต่อย่างใด
มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก 10 อันดับแรก
อันดับ มหาวิทยาลัย ประเทศ
1 มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา
2 มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ สหรัฐอเมริกา
3 มหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด สหรัฐอเมริกา
4 สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซ็ตต์ สหรัฐอเมริกา
5 มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ อังกฤษ
6 สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
7 มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน สหรัฐอเมริกา
8 มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา
9 มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา
10 มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด อังกฤษ
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า
รายงานการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของโลกประจำปี 2010 (ARWU) ระบุว่า
มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ยังคงครองแชมป์มหาวิทยาลัยของโลก เป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน
ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ
แต่ก็แสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยของจีนกำลังปรับตัวดีขึ้น
รายงาน ARWU ซึ่งมีการเผยแพร่
โดยศูนย์การประเมินมหาวิทยาลัยระดับโลกของมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ เจียว ถง
นับตั้งแต่ปี 2003 ระบุว่า สหรัฐฯ มีจำนวนมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับโลกมากที่สุด
โดยมีมหาวิทยาลัย 8 แห่ง ติดอันดับท็อปเท็น และอีก 54 แห่ง อยู่ใน 100 อันดับแรก
มหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ที่ติด 10 อันดับแรกของมหาวิทยาลัยโลก
นอกเหนือจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์,
สแตนฟอร์ด, สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซ็ตต์, สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย,
พรินซ์ตัน, โคลัมเบีย และชิคาโก ส่วนมหาวิทยาลัยเยล อยู่ในอันดับที่ 11
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
มหาวิทยาลัยของอังกฤษที่ติดอันดับที่ดีที่สุดคือ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
ซึ่งหล่นจากอันดับ 4 เมื่อปีที่แล้ว มาอยู่ที่อันดับ 5 ในปีนี้
และอ็อกซ์ฟอร์ดยังคงครองอันดับ 10
ขณะที่โดยรวมแล้วมหาวิทยาลัยของอังกฤษที่ติดอันดับ 500 อันดับแรกของโลก
มีจำนวนลดลงมาอยู่ที่ 38 แห่ง จากเดิม 40 แห่ง
แต่จากการจัดอันดับดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า
มหาวิทยาลัยในเอเชียได้ติดอันดับโลกมากขึ้น โดยมีมหาวิทยาลัย 106 แห่ง
จากภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค ที่ติดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก 500 อันดับแรก
ขณะที่วิธีการจัดอันดับยังคงเหมือนเดิมนั้น
มหาวิทยาลัยของจีนที่อยู่ในกลุ่ม 500 อันดับแรก
ก็มีจำนวนสูงถึง 34 แห่งในปีนี้ ซึ่งมากกว่าเดิม 2 เท่าจากปี 2004
ซึ่งมีเพียงแค่ 16 แห่ง มหาวิทยาลัยเจียวถง ระบุในแถลงการณ์ฉบับหนึ่ง
มหาวิทยาลัยของจีนที่อยู่ใน 200 อันดับแรก ได้รวมถึง มหาวิทยาลัยปักกิ่ง,
ซิงหัว และมหาวิทยาลัยไชนีส ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ ฮ่องกง
โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ก็ติดใน 200 อันดับด้วย
ทั้งนี้ ARWU ได้ใช้ปัจจัยชี้วัด 6 ประการ ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก
ซึ่งรวมถึง จำนวนศิษย์เก่า และบุคลากรที่ได้รับรางวัลโนเบล,
จำนวนนักวิจัยที่มีชื่อเสียง, จำนวนบทความที่มีการเผยแพร่
และได้รับการระบุถึงในวารสารชั้นนำ
และผลการเรียนต่อคนเทียบกับขนาดของมหาวิทยาลัย
การจัดอันดับดังกล่าว
ซึ่งมีการประเมินมหาวิทยาลัยกว่า 1,000 แห่งในแต่ละปีนั้น
จะให้ความสนใจอย่างมากต่อความสำเร็จในการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยโตเกียว
สำหรับภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค
มหาวิทยาลัยโตเกียวมีความโดดเด่นโดยได้ครองอันดับที่ 20 อีกครั้ง
ตามด้วยมหาวิทยาลัยเกียวโต ในอันดับที่ 24 อย่างไรก็ตาม
การปรับตัวโดยรวมของญี่ปุ่นนับว่าแย่ลง
โดยมีมหาวิทยาลัยเพียง 25 แห่ง ที่ติด 500 อันดับแรก ซึ่งลดลงจาก 31 แห่งในปีที่แล้ว
แต่ไม่พบว่ามหาวิทยาลัยใดๆของไทยติดอยู่ใน 500 อันดับแรกแต่อย่างใด
มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก 10 อันดับแรก
อันดับ มหาวิทยาลัย ประเทศ
1 มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา
2 มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ สหรัฐอเมริกา
3 มหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด สหรัฐอเมริกา
4 สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซ็ตต์ สหรัฐอเมริกา
5 มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ อังกฤษ
6 สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
7 มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน สหรัฐอเมริกา
8 มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา
9 มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา
10 มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด อังกฤษ