คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา
สั่งปลดรองฯ พิศิษฐ์ ผู้ทำหน้าที่รักษาการแทนผู้ว่า สตง.
"คุณหญิงจารุวรรณ" ลั่นจะปฏิบัติหน้าที่ถึงอายุ 70
ชี้เป็นไปตามกฎหมายของ สตง. อ้างปกป้องการเมืองแทรกแซง...
ตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กลายเป็นประเด็นร้อน
ที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง
แม้ว่าทางคุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา จะให้ความเห็นว่า
คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา พ้นจากตำแหน่งผู้ว่า สตง.ไปแล้ว เนื่องจาก
ตามประกาศคณะกรรมการปฏิรูปการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)
ระบุให้ผู้ว่า สตง.ดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 30 ก.ย. 2550
จากนั้นให้มีการสรรหาใหม่ภายใน 90 วัน
โดยในระหว่างการสรรหาผู้ว่า สตง.คนใหม่ ให้อยู่ในตำแหน่งต่อไปได้
ดังนั้นคุณหญิงจารุวรรณ จึงอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้อย่างมากแค่ 90 วัน
ทว่าความเห็นของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา
ในฐานะประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภา
ที่ส่งไปให้คุณหญิงจารุวรรณ กลายเป็นเครื่องมือ
ที่คุณหญิงใช้เป็นข้ออ้างในการลากยาวเก้าอี้รักษาการผู้ว่า สตง.
ตำแหน่งเดียวกับนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการ สตง. ที่ก็รักษาการผู้ว่า สตง.เช่นกัน !?!
ล่าสุด คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ปฏิบัติหน้าที่รักษาการผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
เปิดเผยกับไทยรัฐออนไลน์
ถึงปมปัญหาตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ว่า
เมื่อวันที่ 18 ส.ค. ได้เซ็นคำสั่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
เรื่อง ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
ให้รักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไป 3 ฉบับ
มีผลทันที โดยให้เหตุผลว่า
การที่นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน อ้างว่าเป็นผู้รักษาการแทน ดังนั้น
ตนในฐานะคนแต่งตั้ง ก็สามารถที่จะยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งได้ และมั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาขึ้น
ส่วนการทำงานในตำแหน่งของผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินนั้น คุณหญิงจารุวรรณ ระบุว่า
ตอนนี้ก็ยังทำงานอยู่
โดยต้องเซ็นเอกสารทุกวัน และมองว่าหากจะให้คนอื่นมาลบล้างอะไรก็ตาม
คนนั้นจะต้องมารับผิดชอบเรื่องด้วย ส่วนกรณีที่จะมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องนั้น ก็ยังงงๆ อยู่
แต่ก็พยายามระมัดระวังตัว ไม่ให้การเมืองเข้ามายุ่ง ซึ่งทั้งหมดอาจเป็น
เพราะตนไม่ใช่คนที่จะคล้อยตามใครง่ายๆ ถ้ามีข่าวการเมืองเข้ามาแทรกแซงจริง
เราจึงต้องระวังสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินไว้ให้ดี
"ที่ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่ในขณะนี้ ไม่ใช่หน้าด้านอยากอยู่
แต่องค์กรของเราจะมีเรื่องการเมืองเข้ามาแทรกแซง
ซึ่งเราไม่ได้มีความต้องการหรือประสงค์เช่นนั้น และที่สำคัญความจริงคือ
ตนสามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้จนถึงอายุ 70 ปี ในฐานะประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
โดยเป็นไปตามกฎหมายของ สตง. ที่ถือเป็นคุณสมบัติของคนที่อยู่ในองค์กร"
สำหรับกรณีที่มีการโจมตีถึงการก่อสร้างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแห่งใหม่
คุณหญิงจารุวรรณ อธิบายให้ฟังว่า สำนักงานใหม่เกิดจากความคิดที่ว่า
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ต้องอาศัยตึกอื่นอยู่ถึง 95 ปี ตั้งแต่สมัยรัชการที่ 5 จึงเห็นว่าเราควรมีตึกของเราเอง
ซึ่งตอนแรกกรมธนารักษ์เสนอให้ไปอยู่ที่ศูนย์ราชการฯ ถ.แจ้งวัฒนะ
แต่เห็นว่าหากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นองค์กรอิสระ ไปอยู่กับส่วนราชการ
เวลาจะใช้ห้องประชุม
จำเป็นจะต้องไปขออนุญาตราชการนั้น มองว่ามันจะไม่สะดวก
และถ้าทำอย่างนั้นอีกกี่ปีถึงจะได้ตึกของตัวเอง
แถมต้องตั้งงบประมาณจ่ายเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ เบี้ยจ่าย
หากมองในแง่จุดคุ้มทุน ยิ่งไม่สมควรอย่างยิ่ง
ดังนั้นจึงมองหาที่สร้างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแห่งใหม่ โดยได้ที่ จ.ปทุมธานี
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีความขัดแย้งกับนายพิศิษฐ์ หรือไม่
คุณหญิงจารุวรรณ ตอบว่า จริงๆ แล้วไม่ได้ขัดแย้งกัน
แต่อยู่ๆ เขาก็ทำเป็นขัดแย้งกับเรา
เมื่อถามว่า ใครเป็นคนชงเรื่องตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา
คุณหญิงจารุวรรณ ตอบว่า "รองฯ พิศิษฐ์ เป็นคนส่งเรื่องไป ซึ่งเขาก็ต้องยอมรับ
เพราะมันมีลายเซ็นของผู้ที่ทำหนังสือไป ให้เร่งรัดการพิจารณาเรื่องนี้"
"จะให้ทำยังไง เมื่อเราก็ยังทำงานอยู่ทุกวัน เมื่อเขาบอกว่าเป็นรักษาการ
แต่เราก็บอกว่า เขาไม่ได้เป็นแล้ว
เพราะตัวจริงกลับมาตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว" คุณหญิงจารุวรรณกล่าว
ทั้งนี้ ไทยรัฐออนไลน์ ได้พยายามติดต่อไปยังนายพิศิษฐ์หลายครั้ง
เพื่อที่จะให้รองผู้ว่าฯ ได้ชี้แจงเรื่องดังกล่าว แต่ก็ได้รับปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์.
สั่งปลดรองฯ พิศิษฐ์ ผู้ทำหน้าที่รักษาการแทนผู้ว่า สตง.
"คุณหญิงจารุวรรณ" ลั่นจะปฏิบัติหน้าที่ถึงอายุ 70
ชี้เป็นไปตามกฎหมายของ สตง. อ้างปกป้องการเมืองแทรกแซง...
ตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กลายเป็นประเด็นร้อน
ที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง
แม้ว่าทางคุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา จะให้ความเห็นว่า
คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา พ้นจากตำแหน่งผู้ว่า สตง.ไปแล้ว เนื่องจาก
ตามประกาศคณะกรรมการปฏิรูปการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)
ระบุให้ผู้ว่า สตง.ดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 30 ก.ย. 2550
จากนั้นให้มีการสรรหาใหม่ภายใน 90 วัน
โดยในระหว่างการสรรหาผู้ว่า สตง.คนใหม่ ให้อยู่ในตำแหน่งต่อไปได้
ดังนั้นคุณหญิงจารุวรรณ จึงอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้อย่างมากแค่ 90 วัน
ทว่าความเห็นของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา
ในฐานะประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภา
ที่ส่งไปให้คุณหญิงจารุวรรณ กลายเป็นเครื่องมือ
ที่คุณหญิงใช้เป็นข้ออ้างในการลากยาวเก้าอี้รักษาการผู้ว่า สตง.
ตำแหน่งเดียวกับนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการ สตง. ที่ก็รักษาการผู้ว่า สตง.เช่นกัน !?!
ล่าสุด คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ปฏิบัติหน้าที่รักษาการผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
เปิดเผยกับไทยรัฐออนไลน์
ถึงปมปัญหาตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ว่า
เมื่อวันที่ 18 ส.ค. ได้เซ็นคำสั่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
เรื่อง ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
ให้รักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไป 3 ฉบับ
มีผลทันที โดยให้เหตุผลว่า
การที่นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน อ้างว่าเป็นผู้รักษาการแทน ดังนั้น
ตนในฐานะคนแต่งตั้ง ก็สามารถที่จะยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งได้ และมั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาขึ้น
ส่วนการทำงานในตำแหน่งของผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินนั้น คุณหญิงจารุวรรณ ระบุว่า
ตอนนี้ก็ยังทำงานอยู่
โดยต้องเซ็นเอกสารทุกวัน และมองว่าหากจะให้คนอื่นมาลบล้างอะไรก็ตาม
คนนั้นจะต้องมารับผิดชอบเรื่องด้วย ส่วนกรณีที่จะมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องนั้น ก็ยังงงๆ อยู่
แต่ก็พยายามระมัดระวังตัว ไม่ให้การเมืองเข้ามายุ่ง ซึ่งทั้งหมดอาจเป็น
เพราะตนไม่ใช่คนที่จะคล้อยตามใครง่ายๆ ถ้ามีข่าวการเมืองเข้ามาแทรกแซงจริง
เราจึงต้องระวังสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินไว้ให้ดี
"ที่ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่ในขณะนี้ ไม่ใช่หน้าด้านอยากอยู่
แต่องค์กรของเราจะมีเรื่องการเมืองเข้ามาแทรกแซง
ซึ่งเราไม่ได้มีความต้องการหรือประสงค์เช่นนั้น และที่สำคัญความจริงคือ
ตนสามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้จนถึงอายุ 70 ปี ในฐานะประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
โดยเป็นไปตามกฎหมายของ สตง. ที่ถือเป็นคุณสมบัติของคนที่อยู่ในองค์กร"
สำหรับกรณีที่มีการโจมตีถึงการก่อสร้างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแห่งใหม่
คุณหญิงจารุวรรณ อธิบายให้ฟังว่า สำนักงานใหม่เกิดจากความคิดที่ว่า
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ต้องอาศัยตึกอื่นอยู่ถึง 95 ปี ตั้งแต่สมัยรัชการที่ 5 จึงเห็นว่าเราควรมีตึกของเราเอง
ซึ่งตอนแรกกรมธนารักษ์เสนอให้ไปอยู่ที่ศูนย์ราชการฯ ถ.แจ้งวัฒนะ
แต่เห็นว่าหากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นองค์กรอิสระ ไปอยู่กับส่วนราชการ
เวลาจะใช้ห้องประชุม
จำเป็นจะต้องไปขออนุญาตราชการนั้น มองว่ามันจะไม่สะดวก
และถ้าทำอย่างนั้นอีกกี่ปีถึงจะได้ตึกของตัวเอง
แถมต้องตั้งงบประมาณจ่ายเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ เบี้ยจ่าย
หากมองในแง่จุดคุ้มทุน ยิ่งไม่สมควรอย่างยิ่ง
ดังนั้นจึงมองหาที่สร้างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแห่งใหม่ โดยได้ที่ จ.ปทุมธานี
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีความขัดแย้งกับนายพิศิษฐ์ หรือไม่
คุณหญิงจารุวรรณ ตอบว่า จริงๆ แล้วไม่ได้ขัดแย้งกัน
แต่อยู่ๆ เขาก็ทำเป็นขัดแย้งกับเรา
เมื่อถามว่า ใครเป็นคนชงเรื่องตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา
คุณหญิงจารุวรรณ ตอบว่า "รองฯ พิศิษฐ์ เป็นคนส่งเรื่องไป ซึ่งเขาก็ต้องยอมรับ
เพราะมันมีลายเซ็นของผู้ที่ทำหนังสือไป ให้เร่งรัดการพิจารณาเรื่องนี้"
"จะให้ทำยังไง เมื่อเราก็ยังทำงานอยู่ทุกวัน เมื่อเขาบอกว่าเป็นรักษาการ
แต่เราก็บอกว่า เขาไม่ได้เป็นแล้ว
เพราะตัวจริงกลับมาตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว" คุณหญิงจารุวรรณกล่าว
ทั้งนี้ ไทยรัฐออนไลน์ ได้พยายามติดต่อไปยังนายพิศิษฐ์หลายครั้ง
เพื่อที่จะให้รองผู้ว่าฯ ได้ชี้แจงเรื่องดังกล่าว แต่ก็ได้รับปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์.