โดย Palrak
ที่มา
http://www.go6tv.com/2010/08/blog-post_18.html
www.go6tv.com, Bangkok, อาจารย์จุฬาฯ รัฐศาสตร์งามหน้า ไล่จับนิสิตหญิงแย่งยึดป้าย "หยุดใช้ พรก.ฉุกเฉิน" ขณะนายกฯปาฐกถางานครบรอบสถาปนาคณะรัฐศาสตร์ แฉประวัติเก่า สนับสนุนการลงชื่อไล่นายกฯทักษิณ
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไปเป็นประธานงานวันครบรอบสถาปนาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกล่าวปาฐกถาเรื่องการกระจายอำนาจ แก่คณะผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษาประมาณ 100 คน
ในขณะที่นายอภิสิทธิ์ กำลังปาฐกถาอยู่ในห้องประชุมนั้น ได้มีนิสิตจุฬาฯ ประมาณ 7-8 คน ที่ทำกิจกรรมถือป้ายข้อความเกี่ยวกับเสรีภาพและประชาธิปไตย ถูกเจ้าหน้าที่ยึดป้าย และใช้กำลังขัดขวาง กลุ่มนิสิตได้เตรียมแผ่นป้ายกระดาษแข็ง 7 ใบ มีข้อความ ดังนี้ “จะหนึ่งคน หรือแสนคน รัฐบาลก็ต้องฟัง” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” “ผมอยากเห็นรัฐบาลมีบทบาทในการคุ้มครองประชาชนมากกว่านี้” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “ยุบสภา คืนอำนาจให้กับประชาชน ดีกว่ารัฐบาลอยู่อย่างนี้แล้วพังไปเรื่อยๆ” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “หยุดปิดกั้นความคิด หยุดใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน”
ในขณะที่กลุ่มนักศึกษากำลังดึงกระดาษออกมา นายวีระศักดิ์ เครือเทพ อาจารย์ประจำภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเข้าไปแย่งแผ่นกระดาษดังกล่าว สั่งด้วยเสียงอันดังว่า “นี่ไม่ใช่ที่จุฬาฯ นี่เป็นที่ของผม ฟ้องผมได้เลย”
ขณะกำลังชุลมุนนั้น นายกฯ กล่าวปาฐกถาเสร็จแล้วกำลังเดินลงมาจากอาคารเพื่อเดินทางกลับ นิสิตหญิงคนหนึ่งได้ตะโกนเสียงอันดังว่า ท่านนายกฯคะ ช่วยด้วยค่ะ
เจ้าหน้าที่จึงปล่อยแขนเธอไปแล้วเธอก็รีบวิ่งไปพร้อมยื่นจดหมายเปิดผนึกให้นายกฯ โดยมีข้อความว่า “ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ทันที เนื่องจากมองว่าการเลือกตั้งจะเป็นการกระจายอำนาจ และการรับฟังความเห็นประชาชนที่ดีที่สุด พร้อมทั้งเรียกร้องให้ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่สังหารประชาชนด้วย ความปรองดองสามัคคีไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาโฆษณาหรือบอกให้เกิดขึ้นได้ แต่ต้องเกิดจากการยอมรับความต่าง พร้อมกับการยอมรับผิดต่อการกระทำกับประชาชน การปราบปรามความเห็นต่าง และการโฆษณาชวนเชื่อผ่านกลไกรัฐ ไม่ว่าจะเป็น คุก ศาล ทหาร ตำรวจ โรงเรียน มหาวิทยาลัย เป็นสิ่งที่มีแต่สร้างความขัดแย้งและเพิ่มพูนความโกรธแค้นแก่ประชาชน การปฏิรูปการเมืองบนกองเลือดเป็นสิ่งที่ไร้ค่า และย้ำว่า ไม่จำเป็นต้องคิดถึงกระบวนการรับฟังความเห็นที่ซับซ้อนและสิ้นเปลืองงบ ประมาณ ทางออกง่ายๆ ตรงไปตรงมา สามารถดำเนินการได้ผ่านการเลือกตั้ง อันถือเป็นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ง่ายที่สุด”
สำหรับอาจารย์วีระศักดิ์นั้น ภูมิหลังเดิมเป็นอาจารย์ที่แสดงออกอย่างชัดเจนในช่วงปี 2549 ว่า เห็นด้วยกับการไล่นายกฯทักษิณ ออกจากตำแหน่ง และสนับสนุนแนวความคิดของเหล่าคณาจารย์ 24 ท่านของคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ ที่ลงชื่อไล่นายกฯทักษิณเวลานั้น โดยอ้างอิงได้จากข้อความส่วนหนึ่งในบทความเห็นเผยแพร่ของอาจารย์เองว่า “.......แม้ว่าผมจะมิได้ร่วมลงชื่อเป็นส่วนหนึ่งของคณาจารย์ทั้ง 24 ท่านของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เนื่องจากตัวมิได้พำนักอยู่ในประเทศไทยในขณะนี้ แต่ “จิตสำนึก” ของผมยังคงผูกติดอยู่กับ “รัฐไทย” ตลอดเวลา และจิตสำนึกของผมก็จะไม่เปลี่ยนแปลง
............ร่วมที่จะเป็นอาจารย์คนที่ 25 ที่ร่วมลงนามเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี (ทักษิณ)ลาออก ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสมาคมนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และขอเรียกร้องให้สังคมไทยตาสว่าง มิได้ถูกบิดเบือนข่าวสารสำคัญของบ้านเมืองจากการ “เดินหมากทางการเมือง” ของรัฐบาลชุดนี้.....
http://www.go6tv.com/2010/08/blog-post_18.html
www.go6tv.com, Bangkok, อาจารย์จุฬาฯ รัฐศาสตร์งามหน้า ไล่จับนิสิตหญิงแย่งยึดป้าย "หยุดใช้ พรก.ฉุกเฉิน" ขณะนายกฯปาฐกถางานครบรอบสถาปนาคณะรัฐศาสตร์ แฉประวัติเก่า สนับสนุนการลงชื่อไล่นายกฯทักษิณ
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไปเป็นประธานงานวันครบรอบสถาปนาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกล่าวปาฐกถาเรื่องการกระจายอำนาจ แก่คณะผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษาประมาณ 100 คน
ในขณะที่นายอภิสิทธิ์ กำลังปาฐกถาอยู่ในห้องประชุมนั้น ได้มีนิสิตจุฬาฯ ประมาณ 7-8 คน ที่ทำกิจกรรมถือป้ายข้อความเกี่ยวกับเสรีภาพและประชาธิปไตย ถูกเจ้าหน้าที่ยึดป้าย และใช้กำลังขัดขวาง กลุ่มนิสิตได้เตรียมแผ่นป้ายกระดาษแข็ง 7 ใบ มีข้อความ ดังนี้ “จะหนึ่งคน หรือแสนคน รัฐบาลก็ต้องฟัง” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” “ผมอยากเห็นรัฐบาลมีบทบาทในการคุ้มครองประชาชนมากกว่านี้” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “ยุบสภา คืนอำนาจให้กับประชาชน ดีกว่ารัฐบาลอยู่อย่างนี้แล้วพังไปเรื่อยๆ” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “หยุดปิดกั้นความคิด หยุดใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน”
ในขณะที่กลุ่มนักศึกษากำลังดึงกระดาษออกมา นายวีระศักดิ์ เครือเทพ อาจารย์ประจำภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเข้าไปแย่งแผ่นกระดาษดังกล่าว สั่งด้วยเสียงอันดังว่า “นี่ไม่ใช่ที่จุฬาฯ นี่เป็นที่ของผม ฟ้องผมได้เลย”
ขณะกำลังชุลมุนนั้น นายกฯ กล่าวปาฐกถาเสร็จแล้วกำลังเดินลงมาจากอาคารเพื่อเดินทางกลับ นิสิตหญิงคนหนึ่งได้ตะโกนเสียงอันดังว่า ท่านนายกฯคะ ช่วยด้วยค่ะ
เจ้าหน้าที่จึงปล่อยแขนเธอไปแล้วเธอก็รีบวิ่งไปพร้อมยื่นจดหมายเปิดผนึกให้นายกฯ โดยมีข้อความว่า “ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ทันที เนื่องจากมองว่าการเลือกตั้งจะเป็นการกระจายอำนาจ และการรับฟังความเห็นประชาชนที่ดีที่สุด พร้อมทั้งเรียกร้องให้ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่สังหารประชาชนด้วย ความปรองดองสามัคคีไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาโฆษณาหรือบอกให้เกิดขึ้นได้ แต่ต้องเกิดจากการยอมรับความต่าง พร้อมกับการยอมรับผิดต่อการกระทำกับประชาชน การปราบปรามความเห็นต่าง และการโฆษณาชวนเชื่อผ่านกลไกรัฐ ไม่ว่าจะเป็น คุก ศาล ทหาร ตำรวจ โรงเรียน มหาวิทยาลัย เป็นสิ่งที่มีแต่สร้างความขัดแย้งและเพิ่มพูนความโกรธแค้นแก่ประชาชน การปฏิรูปการเมืองบนกองเลือดเป็นสิ่งที่ไร้ค่า และย้ำว่า ไม่จำเป็นต้องคิดถึงกระบวนการรับฟังความเห็นที่ซับซ้อนและสิ้นเปลืองงบ ประมาณ ทางออกง่ายๆ ตรงไปตรงมา สามารถดำเนินการได้ผ่านการเลือกตั้ง อันถือเป็นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ง่ายที่สุด”
สำหรับอาจารย์วีระศักดิ์นั้น ภูมิหลังเดิมเป็นอาจารย์ที่แสดงออกอย่างชัดเจนในช่วงปี 2549 ว่า เห็นด้วยกับการไล่นายกฯทักษิณ ออกจากตำแหน่ง และสนับสนุนแนวความคิดของเหล่าคณาจารย์ 24 ท่านของคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ ที่ลงชื่อไล่นายกฯทักษิณเวลานั้น โดยอ้างอิงได้จากข้อความส่วนหนึ่งในบทความเห็นเผยแพร่ของอาจารย์เองว่า “.......แม้ว่าผมจะมิได้ร่วมลงชื่อเป็นส่วนหนึ่งของคณาจารย์ทั้ง 24 ท่านของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เนื่องจากตัวมิได้พำนักอยู่ในประเทศไทยในขณะนี้ แต่ “จิตสำนึก” ของผมยังคงผูกติดอยู่กับ “รัฐไทย” ตลอดเวลา และจิตสำนึกของผมก็จะไม่เปลี่ยนแปลง
............ร่วมที่จะเป็นอาจารย์คนที่ 25 ที่ร่วมลงนามเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี (ทักษิณ)ลาออก ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสมาคมนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และขอเรียกร้องให้สังคมไทยตาสว่าง มิได้ถูกบิดเบือนข่าวสารสำคัญของบ้านเมืองจากการ “เดินหมากทางการเมือง” ของรัฐบาลชุดนี้.....