ญาติสื่อญี่ปุ่น-อิตาลี ไล่จี้ DSI
การกระชับพื้นที่ สลายการชุมนุม ของ ศอฉ. จนทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บ
ครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ที่บริเวณสี่แยกคอกวัว
กับครั้งที่ 2 เมื่อ 19 พฤษภาคม ที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์
ทั้ง 2 กรณีหากนับกรณีแรกก็คือผ่านมา 4 เดือนเศษแล้ว
และกรณีสี่แยกราชประสงค์ถึงวันนี้ (19 สค.) ก็ เท่ากับว่า 3 เดือนพอดิบพอดี
ซึ่งการสูญเสียชีวิต และการบาดเจ็บ รวมทั้งเงื่อนงำของการตาย ของคนชุดดำ รวมไปถึง
ใครสั่งการ ใครรับผิดชอบกับการบาดเจ็บล้มตายที่เกิดขึ้น
สำหรับกับสังคมไทยทุกวันนี้ ต้องถือว่า
ยังคงเงียบสนิท!!!
ซึ่งสำหรับสังคมไทย
ประชาธิปไตยที่อยู่ในช่วงเว้นวรรคให้กับอำนาจพิเศษของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ ศอฉ.
อาจจะเป็นเรื่องเงียบและซุกหายไปได้
โดยความพยายามขุดคุ้ยอาจจะทำได้ลำบาก เพราะภาษิตไทยสอนเอาไว้เนิ่นนาน
น้ำเชี่ยวอย่าเอาเรือไปขวาง
ก็ขนาดแค่เด็กนักเรียนที่มีจิตใจเชื่อมั่นในประชาธิปไตยที่แท้จริง
เกิดกล้าแสดงออกไปยืนถือป้ายแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผย
ยังกลายเป็นเรื่องให้เห็นกันเป็นตัวอย่าง...
แล้ววันนี้จะไม่ให้ทุกอย่างตกอยู่ในอาการเงียบสงัดได้อย่างไร
เชือดไก่ให้ลิงดู ยังไม่โหดร้ายเท่าเชือดเด็กให้ผู้ใหญ่เห็น
ฉะนั้นถึงวันนี้จะโดยกลไกของอำนาจใดก็ตาม
ต้องยอมรับว่าการสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บของประชาชนจำนวนมาก
ช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม ที่ผ่านมา
ไม่ได้ทำให้รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สั่นสะเทือนเลยแม้แต่น้อย
เก้าอี้นายกรัฐมนตรี ของนายอภิสิทธิ์ และเก้าอี้รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง
ผนวกกับเก้าอี้ ผอ.ศอฉ.ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ยังมั่นคงอย่างไม่น่าเชื่อ
เช่นเดียวกันกับเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
และเก้าอี้ ผบ.ทบ.ของ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา
เรื่องแบบนี้สังคมไทยอาจจะไม่รู้สึกอะไร กับการเงียบหายของความสูญเสียที่เกิดขึ้น
แต่สิ่งที่สังคมไทยยอมรับสภาพนั้น
สังคมต่างชาติไม่สามารถที่จะยอมรับสภาพได้เช่นเดียวกับไทย
โดยเฉพาะกับกรณีที่มีคนต่างชาติพลอยได้รับความสูญเสียไปด้วย
อย่างกรณีของนักข่าว 2 ราย คือ นักข่าวญี่ปุ่น และช่างภาพอิตาลี
ที่ต้องพลอยเสียชีวิตไปด้วยจากการสลายการชุมนุมนั้น...
ญาติๆไม่สามารถยอมรับได้เหมือนกับที่สังคมไทยยอมรับ
คนตายทั้งคน จะให้จบลงแบบเงียบหายราวคลื่นกระทบฝั่งได้อย่างไร
ดังนั้นเมื่อเวลาล่วงผ่านมา 3-4 เดือนแล้วเช่นนี้
บรรดาญาตินักข่าวต่างชาติที่เสียชีวิต จึงต้องยิ่งพยายามทวงถามสาเหตุของความสูญเสีย
ซึ่งแม้ว่าล่าสุดทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ได้ส่งหนังสือ
รายงานความคืบหน้าการดำเนินการและการสอบสวน
กรณีการเสียชีวิตของ Mr. Hiroyuki Muramoto ผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่น
ที่ถูกยิงเสียชีวิตขณะเกิดเหตุการณ์ปะทะ
ระหว่างทหารกับผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
บริเวณถนนดินสอ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ที่ผ่านมา
โดยภายหลังเกิดเหตุการณ์ เจ้าหน้าที่ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
และเจ้าหน้าที่ตำรวจประสานงานประจำสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ฯ
ได้ประสานมายัง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
โดยกำชับให้ดูแลความคืบหน้าและติดตามคดีเป็นอย่างดี
และจะแจ้งความคืบหน้าให้ทางการญี่ปุ่นทราบเป็นระยะ ๆ
พนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินการสืบสวนสอบสวน
และประสานกับผู้เกี่ยวข้องในการตรวจสอบ จากกล้อง CCTV
และ สอบคำให้การพยานผู้เห็นเหตุการณ์
และภาพถ่ายส่วนหนึ่งจากกล้องที่ Mr.Muramoto ถ่ายไว้ก่อนเสียชีวิต
รวมทั้งได้ประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อและ Website ของ DSI
ขอให้ประชาชนผู้รู้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวมาให้ข้อมูลข้อเท็จจริงกับพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ
ส่วนการรายงานการตรวจศพ
Mr.Muramoto สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ ระบุว่า
สาเหตุเกิดจากบาดแผลซึ่งเกิดจากกระสุนปืนความเร็วสูงเข้าที่บริเวณทรวงอกซ้าย 1 นัด
ทะลุออกทางต้นแขนขวาด้านหลังทิศทางจากซ้ายไปขวา หน้าไปหลัง ล่างขึ้นบนเล็กน้อย
ซึ่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษจะได้ประสานขอข้อมูลเพิ่มเติมจากแพทย์ผู้ทำการตรวจศพต่อไป
นอกจากนี้
พนักงานสอบสวนดีเอสไอได้เร่งติดตามผลการตรวจ DNA ที่เก็บได้จากที่เกิดเหตุ
เพื่อตรวจเปรียบเทียบ กับ DNA ของศพผู้เสียชีวิต
เพื่อพิสูจน์ยืนยันจุดเกิดเหตุและจุดที่เสียชีวิตทางนิติวิทยาศาสตร์ต่อไป
อย่างไรก็ตาม
ดีเอสไอได้มีหนังสือรายงานความคืบหน้าการดำเนินการและการสอบสวนกรณี
การเสียชีวิตของ Mr.Muramoto ให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
และกระทรวงการต่างประเทศ
เพื่อมีหนังสือแจ้งความคืบหน้าให้สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นทราบไปแล้ว
โดยต่อมา
คณะเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยได้เข้าพบ
ผู้บริหารและพนักงานสอบสวนคดีพิเศษเจ้าหน้าที่ส่วนกิจการต่างประเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ
เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม เพื่อประชุมหารือติดตามผลความคืบหน้าของคดี
ซึ่งเจ้าหน้าที่ทางการญี่ปุ่นยังคงขอให้ ดีเอสไอเร่งรัดการสืบสวนสอบสวนคดีนี้
เนื่องจากเป็นคดีที่ทางการญี่ปุ่นและญาติผู้เสียชีวิตให้ความสำคัญ
และดีเอสไอมีกำหนดนัดหมายพบปะ หารือ กับเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ครั้งต่อไป
ประมาณกลางเดือนสิงหาคม ณ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
โดยพนักงานสอบสวน ฯ จะได้จัดเตรียมรายงานความคืบหน้าไป
เพื่อแจ้งแก่เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นต่อไป
ส่วนการเสียชีวิตของ Mr.Fabio Polenghi ช่างภาพชาวอิตาเลียน
ที่เสียชีวิตจากเหตุชุมนุมประท้วง เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 นั้น ภายหลังจากที่
Ms. Elisabetta Polenghi น้องสาว นาย Fabio เดินทางมายังประเทศไทย
เพื่อติดตามผลการชันสูตรศพ
และความคืบหน้าของการสอบสวนคดีดังกล่าว
โดยเมื่อวันที่ 29 ก.ค. ที่ผ่านมา
น้องสาวผู้เสียชีวิต พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ
และเจ้าหน้าที่กงสุล สอท. อิตาลี ได้เข้าพบ พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดีดีเอสไอ
ทางรองอธิบดีดีเอสไอ ได้กล่าวแสดงความเสียใจต่อ Ms.Polenghi ที่สูญเสียพี่ชาย
จากเหตุการณ์ดังกล่าว
และย้ำว่า ดีเอสไอ จะดำเนินการสอบสวนคดีดังกล่าวอย่างเต็มที่
แต่ยังไม่สามารถกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการได้
เนื่องจากเพิ่งจะรับสำนวนคดีบางส่วนจาก สตช. และคดีมีความยุ่งยาก
และจำต้องติดตามพยานหลาย ๆ คนมาให้ข้อมูล อย่างไรก็ตาม
ดีเอสไอ พร้อมที่จะให้ข้อมูลต่าง ๆ
ขณะที่ Ms.Polenghi กล่าวย้ำว่า
การมาติดตามเรื่องก็เพื่อต้องการทราบรายละเอียดการเสียชีวิตของพี่ชายว่า
ในวันเวลาดังกล่าว เกิดอะไรขึ้น เพื่อตนและญาติพี่น้องอื่น ๆ จะได้ทราบความจริง
รวมทั้ง อาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติหน้าที่อาชีพนักข่าวอื่น ๆ
ที่จะได้นำไปเป็นกรณีศึกษาต่อไป
ที่ผ่านมาได้ติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด
และยังได้ไปพบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน. ปทุมวัน
ซึ่งรับผิดชอบสำนวนคดีชันสูตรมาแล้วด้วย
จึงหวังว่า ดีเอสไอ จะให้ความกระจ่างในคดีนี้แก่ตนได้ในท้ายที่สุด
ซึ่งพ.ต.ท.ไพศิษฎ์ สังคหะพงศ์ ผอ.ส่วนกิจการต่างประเทศ สำนักกิจการต่างประเทศ
และคดีอาชญากรรมต่างประเทศ และ คณะ ได้แจ้งแก่ Ms.Polenghi ว่า
ดีเอสไอ เพิ่งได้รับสำนวนคดีจาก สน.ลุมพินี เมื่อต้นเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา
ส่วนสำนวนคดีของ สน. ปทุมวันนั้นยังไม่ได้รับ จึงยังไม่สามารถดำเนินการอะไร ได้มากนัก
ทั้งนี้ Ms.Polenghi ได้ให้พนักงานสอบสวน ฯ
ได้พบกับ Mr.Masaru Goto นักข่าวชาวญี่ปุ่นซึ่งรู้จักกับนาย Fabio
และอยู่กับนาย Fabio ในวันเกิดเหตุด้วย
ซึ่งพนักงานสอบสวนจะได้นัดหมายกับนาย Goto
เพื่อสอบถามข้อมูลและบันทึกปากคำต่อไป
โดยภายหลังการหารือจนเป็นที่พอใจแล้ว Ms.Polenghi แจ้งว่า
จะพยายามกลับมาประเทศไทยในอีก 2-3 เดือน
เพื่อติดตามความคืบหน้าของคดี
และยินดีจะให้ความร่วมมือกับดีเอสไอ ในการค้นหาความจริง
อย่างไรก็ตาม
เมื่อ ดีเอสไอพิจารณาแล้วเห็นว่าการเสียชีวิตของนักข่าวอิตาลีรายนี้
เป็นที่สนใจของญาติ พี่น้อง และทางการอิตาลี
และเชื่อว่าคงจะมาติดตามความคืบหน้าต่อไปเรื่อย ๆ เช่น
กรณีของการเสียชีวิตของนักข่าวญี่ปุ่น จึงได้กำชับให้พนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบ
เร่งรัดการสืบสวนสอบสวนกำหนดกรอบเวลาการทำงาน จัดเตรียมรายงานผลความคืบหน้า ไว้
เพื่อแจ้งให้กับญาติผู้เสียชีวิตและ สอท. อิตาลี ฯ ตามความเหมาะสม
เพื่อมิให้เกิดความไม่เข้าใจระหว่างกัน
ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อหน่วยงาน
หรืออาจมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อไปได้
2 คดีนี้จึงถือเป็นการบ้านใหญ่ของ ดีเอสไอ ของตำรวจ และของประเทศไทย
ที่ต้องสร้างความกระจ่างให้กับบรรดาญาติพี่น้องของผู้ตายให้ได้
ขณะเดียวกันสังคมไทยเองก็อาจจะหวังอานิสงค์ของ 2 คดีสื่อต่างชาติ
พลอยทำให้คดีอื่นๆของคนไทยพลอยกระจ่างตามไปด้วย
เพราะวันนี้มืออำมหิตเสื้อดำ ดูจะสูญหายไร้ร่องรอยอย่างไม่น่าเชื่อ...
ราวกับไม่เคยมีตัวตนมาก่อนกระนั้น
การกระชับพื้นที่ สลายการชุมนุม ของ ศอฉ. จนทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บ
ครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ที่บริเวณสี่แยกคอกวัว
กับครั้งที่ 2 เมื่อ 19 พฤษภาคม ที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์
ทั้ง 2 กรณีหากนับกรณีแรกก็คือผ่านมา 4 เดือนเศษแล้ว
และกรณีสี่แยกราชประสงค์ถึงวันนี้ (19 สค.) ก็ เท่ากับว่า 3 เดือนพอดิบพอดี
ซึ่งการสูญเสียชีวิต และการบาดเจ็บ รวมทั้งเงื่อนงำของการตาย ของคนชุดดำ รวมไปถึง
ใครสั่งการ ใครรับผิดชอบกับการบาดเจ็บล้มตายที่เกิดขึ้น
สำหรับกับสังคมไทยทุกวันนี้ ต้องถือว่า
ยังคงเงียบสนิท!!!
ซึ่งสำหรับสังคมไทย
ประชาธิปไตยที่อยู่ในช่วงเว้นวรรคให้กับอำนาจพิเศษของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ ศอฉ.
อาจจะเป็นเรื่องเงียบและซุกหายไปได้
โดยความพยายามขุดคุ้ยอาจจะทำได้ลำบาก เพราะภาษิตไทยสอนเอาไว้เนิ่นนาน
น้ำเชี่ยวอย่าเอาเรือไปขวาง
ก็ขนาดแค่เด็กนักเรียนที่มีจิตใจเชื่อมั่นในประชาธิปไตยที่แท้จริง
เกิดกล้าแสดงออกไปยืนถือป้ายแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผย
ยังกลายเป็นเรื่องให้เห็นกันเป็นตัวอย่าง...
แล้ววันนี้จะไม่ให้ทุกอย่างตกอยู่ในอาการเงียบสงัดได้อย่างไร
เชือดไก่ให้ลิงดู ยังไม่โหดร้ายเท่าเชือดเด็กให้ผู้ใหญ่เห็น
ฉะนั้นถึงวันนี้จะโดยกลไกของอำนาจใดก็ตาม
ต้องยอมรับว่าการสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บของประชาชนจำนวนมาก
ช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม ที่ผ่านมา
ไม่ได้ทำให้รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สั่นสะเทือนเลยแม้แต่น้อย
เก้าอี้นายกรัฐมนตรี ของนายอภิสิทธิ์ และเก้าอี้รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง
ผนวกกับเก้าอี้ ผอ.ศอฉ.ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ยังมั่นคงอย่างไม่น่าเชื่อ
เช่นเดียวกันกับเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
และเก้าอี้ ผบ.ทบ.ของ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา
เรื่องแบบนี้สังคมไทยอาจจะไม่รู้สึกอะไร กับการเงียบหายของความสูญเสียที่เกิดขึ้น
แต่สิ่งที่สังคมไทยยอมรับสภาพนั้น
สังคมต่างชาติไม่สามารถที่จะยอมรับสภาพได้เช่นเดียวกับไทย
โดยเฉพาะกับกรณีที่มีคนต่างชาติพลอยได้รับความสูญเสียไปด้วย
อย่างกรณีของนักข่าว 2 ราย คือ นักข่าวญี่ปุ่น และช่างภาพอิตาลี
ที่ต้องพลอยเสียชีวิตไปด้วยจากการสลายการชุมนุมนั้น...
ญาติๆไม่สามารถยอมรับได้เหมือนกับที่สังคมไทยยอมรับ
คนตายทั้งคน จะให้จบลงแบบเงียบหายราวคลื่นกระทบฝั่งได้อย่างไร
ดังนั้นเมื่อเวลาล่วงผ่านมา 3-4 เดือนแล้วเช่นนี้
บรรดาญาตินักข่าวต่างชาติที่เสียชีวิต จึงต้องยิ่งพยายามทวงถามสาเหตุของความสูญเสีย
ซึ่งแม้ว่าล่าสุดทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ได้ส่งหนังสือ
รายงานความคืบหน้าการดำเนินการและการสอบสวน
กรณีการเสียชีวิตของ Mr. Hiroyuki Muramoto ผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่น
ที่ถูกยิงเสียชีวิตขณะเกิดเหตุการณ์ปะทะ
ระหว่างทหารกับผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
บริเวณถนนดินสอ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ที่ผ่านมา
โดยภายหลังเกิดเหตุการณ์ เจ้าหน้าที่ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
และเจ้าหน้าที่ตำรวจประสานงานประจำสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ฯ
ได้ประสานมายัง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
โดยกำชับให้ดูแลความคืบหน้าและติดตามคดีเป็นอย่างดี
และจะแจ้งความคืบหน้าให้ทางการญี่ปุ่นทราบเป็นระยะ ๆ
พนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินการสืบสวนสอบสวน
และประสานกับผู้เกี่ยวข้องในการตรวจสอบ จากกล้อง CCTV
และ สอบคำให้การพยานผู้เห็นเหตุการณ์
และภาพถ่ายส่วนหนึ่งจากกล้องที่ Mr.Muramoto ถ่ายไว้ก่อนเสียชีวิต
รวมทั้งได้ประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อและ Website ของ DSI
ขอให้ประชาชนผู้รู้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวมาให้ข้อมูลข้อเท็จจริงกับพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ
ส่วนการรายงานการตรวจศพ
Mr.Muramoto สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ ระบุว่า
สาเหตุเกิดจากบาดแผลซึ่งเกิดจากกระสุนปืนความเร็วสูงเข้าที่บริเวณทรวงอกซ้าย 1 นัด
ทะลุออกทางต้นแขนขวาด้านหลังทิศทางจากซ้ายไปขวา หน้าไปหลัง ล่างขึ้นบนเล็กน้อย
ซึ่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษจะได้ประสานขอข้อมูลเพิ่มเติมจากแพทย์ผู้ทำการตรวจศพต่อไป
นอกจากนี้
พนักงานสอบสวนดีเอสไอได้เร่งติดตามผลการตรวจ DNA ที่เก็บได้จากที่เกิดเหตุ
เพื่อตรวจเปรียบเทียบ กับ DNA ของศพผู้เสียชีวิต
เพื่อพิสูจน์ยืนยันจุดเกิดเหตุและจุดที่เสียชีวิตทางนิติวิทยาศาสตร์ต่อไป
อย่างไรก็ตาม
ดีเอสไอได้มีหนังสือรายงานความคืบหน้าการดำเนินการและการสอบสวนกรณี
การเสียชีวิตของ Mr.Muramoto ให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
และกระทรวงการต่างประเทศ
เพื่อมีหนังสือแจ้งความคืบหน้าให้สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นทราบไปแล้ว
โดยต่อมา
คณะเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยได้เข้าพบ
ผู้บริหารและพนักงานสอบสวนคดีพิเศษเจ้าหน้าที่ส่วนกิจการต่างประเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ
เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม เพื่อประชุมหารือติดตามผลความคืบหน้าของคดี
ซึ่งเจ้าหน้าที่ทางการญี่ปุ่นยังคงขอให้ ดีเอสไอเร่งรัดการสืบสวนสอบสวนคดีนี้
เนื่องจากเป็นคดีที่ทางการญี่ปุ่นและญาติผู้เสียชีวิตให้ความสำคัญ
และดีเอสไอมีกำหนดนัดหมายพบปะ หารือ กับเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ครั้งต่อไป
ประมาณกลางเดือนสิงหาคม ณ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
โดยพนักงานสอบสวน ฯ จะได้จัดเตรียมรายงานความคืบหน้าไป
เพื่อแจ้งแก่เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นต่อไป
ส่วนการเสียชีวิตของ Mr.Fabio Polenghi ช่างภาพชาวอิตาเลียน
ที่เสียชีวิตจากเหตุชุมนุมประท้วง เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 นั้น ภายหลังจากที่
Ms. Elisabetta Polenghi น้องสาว นาย Fabio เดินทางมายังประเทศไทย
เพื่อติดตามผลการชันสูตรศพ
และความคืบหน้าของการสอบสวนคดีดังกล่าว
โดยเมื่อวันที่ 29 ก.ค. ที่ผ่านมา
น้องสาวผู้เสียชีวิต พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ
และเจ้าหน้าที่กงสุล สอท. อิตาลี ได้เข้าพบ พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดีดีเอสไอ
ทางรองอธิบดีดีเอสไอ ได้กล่าวแสดงความเสียใจต่อ Ms.Polenghi ที่สูญเสียพี่ชาย
จากเหตุการณ์ดังกล่าว
และย้ำว่า ดีเอสไอ จะดำเนินการสอบสวนคดีดังกล่าวอย่างเต็มที่
แต่ยังไม่สามารถกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการได้
เนื่องจากเพิ่งจะรับสำนวนคดีบางส่วนจาก สตช. และคดีมีความยุ่งยาก
และจำต้องติดตามพยานหลาย ๆ คนมาให้ข้อมูล อย่างไรก็ตาม
ดีเอสไอ พร้อมที่จะให้ข้อมูลต่าง ๆ
ขณะที่ Ms.Polenghi กล่าวย้ำว่า
การมาติดตามเรื่องก็เพื่อต้องการทราบรายละเอียดการเสียชีวิตของพี่ชายว่า
ในวันเวลาดังกล่าว เกิดอะไรขึ้น เพื่อตนและญาติพี่น้องอื่น ๆ จะได้ทราบความจริง
รวมทั้ง อาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติหน้าที่อาชีพนักข่าวอื่น ๆ
ที่จะได้นำไปเป็นกรณีศึกษาต่อไป
ที่ผ่านมาได้ติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด
และยังได้ไปพบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน. ปทุมวัน
ซึ่งรับผิดชอบสำนวนคดีชันสูตรมาแล้วด้วย
จึงหวังว่า ดีเอสไอ จะให้ความกระจ่างในคดีนี้แก่ตนได้ในท้ายที่สุด
ซึ่งพ.ต.ท.ไพศิษฎ์ สังคหะพงศ์ ผอ.ส่วนกิจการต่างประเทศ สำนักกิจการต่างประเทศ
และคดีอาชญากรรมต่างประเทศ และ คณะ ได้แจ้งแก่ Ms.Polenghi ว่า
ดีเอสไอ เพิ่งได้รับสำนวนคดีจาก สน.ลุมพินี เมื่อต้นเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา
ส่วนสำนวนคดีของ สน. ปทุมวันนั้นยังไม่ได้รับ จึงยังไม่สามารถดำเนินการอะไร ได้มากนัก
ทั้งนี้ Ms.Polenghi ได้ให้พนักงานสอบสวน ฯ
ได้พบกับ Mr.Masaru Goto นักข่าวชาวญี่ปุ่นซึ่งรู้จักกับนาย Fabio
และอยู่กับนาย Fabio ในวันเกิดเหตุด้วย
ซึ่งพนักงานสอบสวนจะได้นัดหมายกับนาย Goto
เพื่อสอบถามข้อมูลและบันทึกปากคำต่อไป
โดยภายหลังการหารือจนเป็นที่พอใจแล้ว Ms.Polenghi แจ้งว่า
จะพยายามกลับมาประเทศไทยในอีก 2-3 เดือน
เพื่อติดตามความคืบหน้าของคดี
และยินดีจะให้ความร่วมมือกับดีเอสไอ ในการค้นหาความจริง
อย่างไรก็ตาม
เมื่อ ดีเอสไอพิจารณาแล้วเห็นว่าการเสียชีวิตของนักข่าวอิตาลีรายนี้
เป็นที่สนใจของญาติ พี่น้อง และทางการอิตาลี
และเชื่อว่าคงจะมาติดตามความคืบหน้าต่อไปเรื่อย ๆ เช่น
กรณีของการเสียชีวิตของนักข่าวญี่ปุ่น จึงได้กำชับให้พนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบ
เร่งรัดการสืบสวนสอบสวนกำหนดกรอบเวลาการทำงาน จัดเตรียมรายงานผลความคืบหน้า ไว้
เพื่อแจ้งให้กับญาติผู้เสียชีวิตและ สอท. อิตาลี ฯ ตามความเหมาะสม
เพื่อมิให้เกิดความไม่เข้าใจระหว่างกัน
ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อหน่วยงาน
หรืออาจมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อไปได้
2 คดีนี้จึงถือเป็นการบ้านใหญ่ของ ดีเอสไอ ของตำรวจ และของประเทศไทย
ที่ต้องสร้างความกระจ่างให้กับบรรดาญาติพี่น้องของผู้ตายให้ได้
ขณะเดียวกันสังคมไทยเองก็อาจจะหวังอานิสงค์ของ 2 คดีสื่อต่างชาติ
พลอยทำให้คดีอื่นๆของคนไทยพลอยกระจ่างตามไปด้วย
เพราะวันนี้มืออำมหิตเสื้อดำ ดูจะสูญหายไร้ร่องรอยอย่างไม่น่าเชื่อ...
ราวกับไม่เคยมีตัวตนมาก่อนกระนั้น