เมื่อวันที่ 17 และ 18 สิงหาคม สมาชิกในรัฐบาลไทยหลายคน รวมถึง
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและ
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรมว.ต่างประเทศ
ได้ตอบจดหมายที่ผมได้ส่งไปในวันที่ 10 สิงหาคม
โดยจดหมายฉบับนี้
ผมได้ส่งไปในนามของเหยื่อซึ่งถูกสังหารจากการสลายการชุมนุมของรัฐบาล
ในเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา
ผมได้ส่งจดหมายฉบับนี้
เพื่อทวงถามคำตอบจากคำถามหลายข้อในจดหมายที่เราได้ส่งไปเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน
โดยเนื้อความในจดหมายฉบับก่อนมีรายละเอียดที่ย้ำเตือนถึงหน้าที่ของรัฐบาล
ที่ต้องจัดให้มีการสอบสวนเหตุการณ์การสังหารประชาชน
อันเป็นพันธกรณีของรัฐบาลไทยภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่า
ด้วยเรื่องสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ขององค์สหประชาชาติ
ที่ประเทศไทยได้ลงนามไว้ นอกจากนี้
เรายังได้กล่าวถึงสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในการเข้าถึง
และตรวจสอบหลักฐานทางคดีอย่างเป็นอิสระ
เนื่องจาก
มีสมาชิกของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หลายคน
ถูกจับกุมและกล่าวหาในข้อหาหาการร้าย ดังนั้น
รัฐบาลไทยมีพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศซึ่งบัญญัติว่า
ทนายและผู้ปรึกษาด้านกฎหมายของผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิในการเข้าถึง
“เอกสารรัฐบาลหรือกองทัพที่เกี่ยวข้องและครอบคลุมถึงยุทธศาสตร์
การสั่งการ คำสั่งโดยวาจา
หรือที่เป็นลายลักษณ์อักษร ข่าวกรอง การละเอียดการสอบสวน
หรือรายงานของผู้เชียวชาญที่เจ้าหน้ารัฐไทยใช้เตรียมการ แถลงการณ์
ในการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง”
นอกจากนี้เรายังได้ร้องขอเอกสารที่ระบุถึงสายบัญชาการในกองทัพ
ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำการควบคุมและสลายการชุมนุมเหล่านี้ด้วย
ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา รัฐบาลจงใจเพิกเฉยที่จะตอบสนองข้อเรียกร้องดังกล่าว
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์กล่าวว่ายังไม่ได้อ่านจดหมายฉบับดังกล่าว
แม้ว่าเราได้ส่งสำเนาจดหมายฉบับดังกล่าวหลายสำเนา
ไปยังสำนักงานของนายกรัฐมนตรี
แล้วก็ตาม แทนที่จะตอบสนองข้อเรียกร้องดังกล่าว
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์กลับสบประมาทเรื่องส่วนบุคคล
และยกเหตุผลที่หลักลอยขึ้นมาอ้าง
เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบของรัฐบาล
ซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย
เรื่องของสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง
ทั้งนายปณิธานและนายชวนนท์อ้างว่า
สิทธิของผู้ชุมนุมเสื้อแดงไม่ได้ถูกละเมิดแต่อย่างใด
แต่แทนที่จะกล่าวว่าจะปฏิบัติตามบทบัญญัติในสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย
เรื่องของสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง
กับยกเอาเรื่องสถานภาพทางกฎหมายของผมซึ่งเป็นชาวต่างชาติขึ้นมาอ้าง
ผมรู้สึกผิดหวังที่รัฐบาลไทยละเลยโอกาสในการเริ่มต้น
ที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อเหยื่อจากการสลายการชุมนุม
และยังถอยห่างจากแนวทางการปรองดองสมานฉันท์ด้วย
การเลื่อนตำแหน่งให้กับนายทหาร
และตำรวจที่เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารประชาชน
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์และคณะได้ปฎิเสธอย่างชัดเจนว่า
จะปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศที่ต้องเคารพในหน้าที่ที่จะต้องสอบสวน
และดำเนินคดีกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของประชาชนกว่า 80 ราย
การกระทำของรัฐบาลแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการสร้างความสับสนยุ่งยาก
และความไม่เต็มใจที่จะแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคดีอันสำคัญเร่งด่วนนี้
และความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบเป็นให้หลายคนสรุปว่า
พยานหลักฐานเหล่านั้นอาจจะส่งผลให้เกิดความยุ่งยากทางการเมือง
อันกระทบต่อการรักษาไว้ซึ่งอำนาจส่วนตัวของเหล่าอำมาตย์
ประชาคมโลกจะไม่เพิกเฉย หากรัฐบาลไทยละเมิดพันธกรณีของตนเอง
ภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศอย่างสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย
เรื่องของสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง
การที่รัฐบาลสหรัฐได้ประกาศสนับสนุนการดำเนินคดีอาชญากรรมสงครามในพม่า
เมื่อไม่นานมานี้ ย้ำให้เห็นถึงการกระทำที่เป็นภัยของเหล่าอำมาตย์ในประเทศไทย
นี่ไม่ใช่การอภิปรายว่ารัฐบาลไทยมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อพลเรือนของตนเองอย่างไร
หน้าที่การสอบสวนและดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดนั้น
ได้รับการเคารพมายาวนานภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
การไม่ดำเนินคดี
แก่เหล่านายทหารและกลุ่มอำมาตย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรงนี้
แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งกับภาพลักษณ์ที่ประเทศไทยพยายามจะรักษาเอาไว้
แผนการของรัฐบาลนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปฎิเสธ หลีกเลียง
และสร้างสถานการณ์ความตึงเครียดเพื่อเป็นข้ออ้างในการใช้อำนาจเผด็จการ
ซึ่งทำให้หลายฝ่ายแสดงการคัดค้านและความกังวลในการกระทำของรัฐบาล
รัฐบาลอ้างอย่างผิดๆว่าการเรียกร้องนี้เป็นการทำลายชื่อเสียงประเทศไทย ดังนั้น
หากรัฐบาลอภิสิทธิ์ต้องการที่จะอ้างว่าตนเป็นตัวแทนของประชาชนไทย
มีหนทางเดียวที่จะสามารถอ้างเช่นนั้นได้ คือ
นายอภิสิทธิ์และคณะต้องชนะการเลือกตั้งที่อิสระและเป็นธรรม
Read more from โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและ
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรมว.ต่างประเทศ
ได้ตอบจดหมายที่ผมได้ส่งไปในวันที่ 10 สิงหาคม
โดยจดหมายฉบับนี้
ผมได้ส่งไปในนามของเหยื่อซึ่งถูกสังหารจากการสลายการชุมนุมของรัฐบาล
ในเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา
ผมได้ส่งจดหมายฉบับนี้
เพื่อทวงถามคำตอบจากคำถามหลายข้อในจดหมายที่เราได้ส่งไปเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน
โดยเนื้อความในจดหมายฉบับก่อนมีรายละเอียดที่ย้ำเตือนถึงหน้าที่ของรัฐบาล
ที่ต้องจัดให้มีการสอบสวนเหตุการณ์การสังหารประชาชน
อันเป็นพันธกรณีของรัฐบาลไทยภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่า
ด้วยเรื่องสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ขององค์สหประชาชาติ
ที่ประเทศไทยได้ลงนามไว้ นอกจากนี้
เรายังได้กล่าวถึงสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในการเข้าถึง
และตรวจสอบหลักฐานทางคดีอย่างเป็นอิสระ
เนื่องจาก
มีสมาชิกของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หลายคน
ถูกจับกุมและกล่าวหาในข้อหาหาการร้าย ดังนั้น
รัฐบาลไทยมีพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศซึ่งบัญญัติว่า
ทนายและผู้ปรึกษาด้านกฎหมายของผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิในการเข้าถึง
“เอกสารรัฐบาลหรือกองทัพที่เกี่ยวข้องและครอบคลุมถึงยุทธศาสตร์
การสั่งการ คำสั่งโดยวาจา
หรือที่เป็นลายลักษณ์อักษร ข่าวกรอง การละเอียดการสอบสวน
หรือรายงานของผู้เชียวชาญที่เจ้าหน้ารัฐไทยใช้เตรียมการ แถลงการณ์
ในการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง”
นอกจากนี้เรายังได้ร้องขอเอกสารที่ระบุถึงสายบัญชาการในกองทัพ
ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำการควบคุมและสลายการชุมนุมเหล่านี้ด้วย
ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา รัฐบาลจงใจเพิกเฉยที่จะตอบสนองข้อเรียกร้องดังกล่าว
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์กล่าวว่ายังไม่ได้อ่านจดหมายฉบับดังกล่าว
แม้ว่าเราได้ส่งสำเนาจดหมายฉบับดังกล่าวหลายสำเนา
ไปยังสำนักงานของนายกรัฐมนตรี
แล้วก็ตาม แทนที่จะตอบสนองข้อเรียกร้องดังกล่าว
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์กลับสบประมาทเรื่องส่วนบุคคล
และยกเหตุผลที่หลักลอยขึ้นมาอ้าง
เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบของรัฐบาล
ซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย
เรื่องของสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง
ทั้งนายปณิธานและนายชวนนท์อ้างว่า
สิทธิของผู้ชุมนุมเสื้อแดงไม่ได้ถูกละเมิดแต่อย่างใด
แต่แทนที่จะกล่าวว่าจะปฏิบัติตามบทบัญญัติในสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย
เรื่องของสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง
กับยกเอาเรื่องสถานภาพทางกฎหมายของผมซึ่งเป็นชาวต่างชาติขึ้นมาอ้าง
ผมรู้สึกผิดหวังที่รัฐบาลไทยละเลยโอกาสในการเริ่มต้น
ที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อเหยื่อจากการสลายการชุมนุม
และยังถอยห่างจากแนวทางการปรองดองสมานฉันท์ด้วย
การเลื่อนตำแหน่งให้กับนายทหาร
และตำรวจที่เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารประชาชน
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์และคณะได้ปฎิเสธอย่างชัดเจนว่า
จะปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศที่ต้องเคารพในหน้าที่ที่จะต้องสอบสวน
และดำเนินคดีกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของประชาชนกว่า 80 ราย
การกระทำของรัฐบาลแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการสร้างความสับสนยุ่งยาก
และความไม่เต็มใจที่จะแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคดีอันสำคัญเร่งด่วนนี้
และความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบเป็นให้หลายคนสรุปว่า
พยานหลักฐานเหล่านั้นอาจจะส่งผลให้เกิดความยุ่งยากทางการเมือง
อันกระทบต่อการรักษาไว้ซึ่งอำนาจส่วนตัวของเหล่าอำมาตย์
ประชาคมโลกจะไม่เพิกเฉย หากรัฐบาลไทยละเมิดพันธกรณีของตนเอง
ภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศอย่างสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย
เรื่องของสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง
การที่รัฐบาลสหรัฐได้ประกาศสนับสนุนการดำเนินคดีอาชญากรรมสงครามในพม่า
เมื่อไม่นานมานี้ ย้ำให้เห็นถึงการกระทำที่เป็นภัยของเหล่าอำมาตย์ในประเทศไทย
นี่ไม่ใช่การอภิปรายว่ารัฐบาลไทยมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อพลเรือนของตนเองอย่างไร
หน้าที่การสอบสวนและดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดนั้น
ได้รับการเคารพมายาวนานภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
การไม่ดำเนินคดี
แก่เหล่านายทหารและกลุ่มอำมาตย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรงนี้
แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งกับภาพลักษณ์ที่ประเทศไทยพยายามจะรักษาเอาไว้
แผนการของรัฐบาลนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปฎิเสธ หลีกเลียง
และสร้างสถานการณ์ความตึงเครียดเพื่อเป็นข้ออ้างในการใช้อำนาจเผด็จการ
ซึ่งทำให้หลายฝ่ายแสดงการคัดค้านและความกังวลในการกระทำของรัฐบาล
รัฐบาลอ้างอย่างผิดๆว่าการเรียกร้องนี้เป็นการทำลายชื่อเสียงประเทศไทย ดังนั้น
หากรัฐบาลอภิสิทธิ์ต้องการที่จะอ้างว่าตนเป็นตัวแทนของประชาชนไทย
มีหนทางเดียวที่จะสามารถอ้างเช่นนั้นได้ คือ
นายอภิสิทธิ์และคณะต้องชนะการเลือกตั้งที่อิสระและเป็นธรรม
Read more from โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม