หาก ไทยไม่ยอมปฏิบัติตามมติของศาลโลกโดยอ้างว่า “จะไม่ทำเสียอย่างใครจะมาว่าอะไร” แล้ว ผลที่จะตามมาก็คือ ไทยจะถูกบีบบังคับให้ปฏิบัติตามมติฯ จากสหประชาชาติและจะถูกสังคมโลกประนาม ซึ่งจะส่งผลในทางลบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย ในขณะที่กัมพูชาก็จะพูดอย่างภาคภูมิใจว่าเขาเคารพกฏหมายระหว่างประเทศแต่ยัง ถูกฝ่ายไทยรังแกและเอาเปรียบ
โดย ดร.พิทยา พุกกะมาน อดีตเอกอัครราชทูต
การตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลกให้ใช้มาตรการคุ้มครองชั่วคราว โดยให้ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายกัมพูชาถอนทหารออกจากพื้นที่รอบตัวปราสาทพระวิหาร นั้น ได้ทำให้กลุ่มการเมืองและนักวิชาการออกมาวิพากษวิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง
ซึ่ง รวมถึงผู้ที่รู้เรื่องฯ จริง ผู้ที่รู้เรื่องไม่จริงแต่ทำเป็นรู้ และผู้ที่รู้แล้วแต่ทำเป็นไม่รู้ เพราะต้องการสร้างกระแสคลั่งชาติเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง
จนทำ ให้ประชาชนรู้สึกสับสน ไม่แน่ใจว่าประเทศไทยควรจะปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลโลกหรือไม่ หากปฏิบัติตามแล้วไทยจะเสียดินแดน หรือเสียสิทธิหรือไม่ และแค่ไหน
ผู้ ที่ออกมาอ้างว่าคำตัดสินของศาลโลกทำให้ไทยเสียเปรียบนั้น มักจะอ้างว่าพื้นที่ซึ่งไทยจะต้องถอนทหารออกไปนั้น เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่อไทย และการตีกรอบพื้นที่ปลอดทหารของศาลโลกนั้น เป็นการล้ำดินแดนของไทยมากเกินไป ซึ่งจะมีผลให้ไทยเสียดินแดนในที่สุด
การกำหนดท่าทีของไทยต่อข้อตัดสินฯ ของศาลโลกนั้น จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักกฏหมายระหว่างประเทศ โดยต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และภาพพจน์ของไทยในสายตาของประชาคมโลก
จริงอยู่ เราต้องทำทุกอย่างเพื่อรักษาอธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนของไทยเ พราะคนไทยทุกคนรักชาติทั้งนั้น ไม่มีใครที่ไม่รักชาติ
แต่ เรื่องการต่างประเทศนั้น ไม่ไช่เรื่องของชาตินิยมเพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นเรื่องของผลประโยชน์ของชาติ ความถูกต้อง การดำรงอยู่กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างสันติ การปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบในฐานะที่เราเป็นสมาชิกสหประชาติ การเคารพกฏหมายระหว่างประเทศ และการทำตนให้เป็นที่ยกย่องและเชื่อถือในประชาคมโลก
การปฏิบัติตาม มติของศาลโลกนั้นเป็นสิ่งที่ควรกระทำในฐานะที่ไทยเป็นภาคีสห ประชาชาติ เพราะมาตรา 94 ของกฏบัตรสหประชาชาติบัญญัติว่า ประเทศภาคีสหประชาชาติมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามมติของศาลโลก
และใน วรรค 2 ของมาตรา 94 ก็ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า หากประเทศภาคีที่เป็นคู่กรณีไม่ปฏิบัติตามมติฯ คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งสามารถร้องเรียนต่อคณะมนตรีความมั่งคงสหประชาชาติ เพื่อให้มีมติบังคับให้ประเทศภาคีอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตาม
ซึ่ง หมายความว่า หากไทยไม่ยอมปฏิบัติตามมติของศาลโลกโดยอ้างว่า “จะไม่ทำเสียอย่างใครจะมาว่าอะไร” แล้ว ผลที่จะตามมาก็คือ ไทยจะถูกบีบบังคับให้ปฏิบัติตามมติฯ จากสหประชาชาติและจะถูกสังคมโลกประนาม ซึ่งจะส่งผลในทางลบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย ในขณะที่กัมพูชาก็จะพูดอย่างภาคภูมิใจว่าเขาเคารพกฏหมายระหว่างประเทศแต่ยัง ถูกฝ่ายไทยรังแกและเอาเปรียบ
หากจะพิจารณา อย่างถ่องแท้แล้ว มติของศาลโลกมิได้ทำให้ไทยเสียเปรียบเลย เพราะศาลโลกให้ทั้งสองฝ่ายถอนทหารออกจากเขตปลอดทหาร ไม่ไช่ให้ไทยถอนฝ่ายเดียวดังที่กัมพูชาร้องขอ
แต่ก่อนที่จะมี การถอนทหารไทยออกจากพื้นที่รอบนอกตัวปราสาทที่ศาลโลกกำหนด นั้น จำเป็นต้องมีการพูดคุยกับกัมพูชาในเรื่องรายละเอียดในระดับรัฐบาลของทั้งสอง ฝ่ายก่อน
ซึ่งก็จะมีประเด็นเรื่องพลเรือนชาวกัมพูชาที่อาศัยอยู่ใน พื้นที่ปลอดทหาร เรื่องที่กัมพูชาเสนอให้กองกำลังตำรวจเข้ามาแทนที่ทหาร เรื่องกลไกที่จะดูแลการถอนทหาร เรื่องการให้ผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้ามาในพื้นที่ฯ และเรื่องอื่น ๆ ที่เกียวข้องด้วย
นับตั้งแต่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง บรรยากาศทางการเมืองระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านได้ผ่อนคลายไปในทางที่ดี จึงเป็นที่คาดหวังว่ารัฐบาลใหม่ซึ่งนำโดยพรรคเพื่อไทย คงจะสามารถทำการเจรจากับรัฐบาลกัมพูชาได้เป็นผลสำเร็จบนพื้นฐานของความเป็น มิตรฉันท์เพื่อนบ้านและผลประโยชน์ร่วมกัน
โดยเป็นที่เข้าใจว่า มาตรการคุ้มครองนี้เป็นเพียงมาตรการชั่วคราวเท่านั้น ไม่ไช่มาตรการถาวร จนกว่าจะมีการตีความในเรื่องขอบเขตของพื้นที่รอบนอกปราสาทพระวิหารโดยศาลโลก ในขั้นต่อไป
*****************